ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

"การคลอดลูกที่บ้าน" คือการที่ผู้หญิงเลือกที่จะคลอดลูกที่บ้านของเธอเองแทนการไปคลอดที่โรงพยาบาล ผู้หญิงบางคนชอบคลอดลูกที่บ้านด้วยเหตุผลหลายประการ ยกตัวอย่าง มันทำให้ผู้เป็นแม่มีอิสระมากขึ้นที่จะขยับตัวในช่วงระยะคลอดบุตร ทานอาหาร และอาบน้ำ และสามารถทำให้แม่มีความสบายใจในการคลอดลูกในสถานที่ที่คุ้นเคยซึ่งถูกล้อมรอบไปด้วยคนที่พวกเขารัก อย่างไรก็ตาม การคลอดลูกที่บ้านก็มีความท้าทายและความเสี่ยงหลายประการเช่นกัน ดังนั้น ถ้าคุณตัดสินใจคลอดลูกที่บ้าน มันเป็นสิ่งสำคัญที่จะเข้าใจให้แน่ชัดว่ากระบวนการใดบ้างที่จะส่งผลดีต่อกระบวนการการคลอดลูก ดูวิธีที่ 1 เพื่อเริ่มศึกษา

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

การวิจัย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปัจจุบัน การคลอดลูกส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่บ้าน อย่างไรก็ตาม ในปี2009 สหรัฐอเมริกามีเปอร์เซ็นต์การคลอดลูกที่บ้านเพียง 0.72% [1] สถิติของประเทศอื่นๆ ที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่ก็ต่ำลงเช่นเดียวกัน ทั้งๆ ที่ประเทศพัฒนาแล้วในยุคปัจจุบันแทบจะไม่มีการคลอดลูกที่บ้านแล้ว แต่แม่บางคนชอบที่จะคลอดลูกที่บ้านมากกว่าคลอดที่โรงพยาบาล มีเหตุผลหลายประการว่าทำไมแม่ถึงเลือกคลอดลูกที่บ้านมากกว่าที่โรงพยาบาล อย่างไรก็ตาม ควรรู้ไว้ว่า งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ระบุว่าการคลอดลูกที่บ้านจะมีความเสี่ยงมากกว่า 2-3 เท่า [2] ถึงแม้ว่าอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สูงกว่านั้นจะยังไม่สูงมากจนเห็นได้ชัด (พบการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างคลอดไม่กี่ครั้งต่อทุกๆ การคลอด 1,000 ครั้ง) แม่ที่ยังตัดสินใจไม่ได้ควรเข้าใจว่าการคลอดลูกที่บ้านจะมีความเสี่ยงมากกว่าการคลอดลูกที่โรงพยาบาลเล็กน้อย ในทางตรงกันข้าม การคลอดลูกที่บ้านก็มีข้อดีที่การคลอดลูกที่โรงพยาบาลไม่อาจมี รวมไปถึง: [3]
    • ผู้เป็นแม่มีอิสระมากขึ้นที่จะขยับตัว อาบน้ำ และทานอาหาร ตามที่เห็นว่าเหมาะสม
    • แม่สามารถปรับตำแหน่งหรือขยับตัวในระยะคลอดได้ดีขึ้น
    • ความสบายใจที่ถูกล้อมรอบด้วยผู้คนและสิ่งแวดล้อมที่คุ้นเคย
    • ความสามารถที่จะคลอดลูกโดยปราศจากความช่วยเหลือทางการแพทย์ (เช่น ใช้ยาแก้ปวด) หากต้องการ
    • ความสามารถที่จะได้ทำตามความเชื่อทางวัฒนธรรมและศาสนาในการคลอดบุตร
  2. ควรรู้ว่าเวลาไหน “ไม่ควร” พยายามคลอดลูกที่บ้าน. ในบางสถานการณ์ที่แน่นอน การคลอดลูกจะมีความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อเด็กหรือแม่ หรือทั้งสองคนมากขึ้น ในสถานการณ์เหล่านี้ สุขภาพของแม่และเด็กมีความสำคัญมากกว่าประโยชน์อย่างอื่นที่จะได้รับจากการคลอดลูกที่บ้าน ดังนั้นการคลอดลูกควรคลอดที่โรงพยาบาล ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีทางการแพทย์ในการช่วยชีวิต นี่คือสถานการณ์สำหรับแม่ที่ตั้งครรภ์ "จะต้อง" วางแผนคลอดลูกที่โรงพยาบาล: [4]
    • เมื่อแม่มีภาวะสุขภาพเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคลมบ้าหมูหรืออื่นๆ)
    • เมื่อแม่ประสบกับการผ่าตัดคลอดบุตรในการตั้งครรภ์ครั้งก่อน
    • ถ้าการวินิจฉัยทารกก่อนคลอดพบว่าทารกในครรภ์มีปัญหาสุขภาพ
    • ถ้าแม่มีภาวะสุขภาพที่เกี่ยวเนื่องกับการตั้งครรภ์
    • ถ้าแม่ใช้ยาสูบ ดื่มแอลกอฮอล์ และใช้ยาผิดกฎหมาย
    • ถ้าแม่มีลูกแฝดสอง แฝดสาม หรืออื่นๆ หรือถ้าเด็กไม่กลับหัวลงตอนที่จะคลอด
    • ถ้าเป็นการคลอดก่อนหรือช้ากว่ากำหนด พูดง่ายๆ คือ อย่าวางแผนคลอดลูกที่บ้านก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์หรือหลังสัปดาห์ที่ 41
  3. โดยทั่วไป การคลอดลูกที่บ้านมักถูกห้ามโดยรัฐหรือรัฐบาล การคลอดลูกที่บ้านเป็นสิ่งถูกต้องตามกฎหมายในสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย แคนาดา และรัฐอาจจะให้เงินทุนสำหรับการทำคลอดขึ้นอยู่กับสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม กฎหมายในสหรัฐอเมริกาที่เกี่ยวข้องกับพยาบาลผดุงครรภ์นั้นค่อนข้างซับซ้อน
    • ในสหรัฐอเมริกาการจ้างพยาบาลผดุงครรภ์ที่ผ่านการรับรอง (certified nurse midwife - CNM) เป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมายทั้ง 50 รัฐ [5] CNMs คือ พยาบาลที่ผ่านการรับรองซึ่งทำงานอยู่ในโรงพยาบาล ถึงแม้ว่าจะพบไม่บ่อยที่พวกเขาจะถูกเรียกไปดูคนไข้ที่บ้าน แต่มันก็ถูกกฎหมายในทุกรัฐที่จะจ้างพวกเขาไปทำคลอดให้ที่บ้าน ใน 27 รัฐ มันถูกกฎหมายเช่นกันที่จะจ้างพยาบาลเฉพาะทางหรือพยาบาลที่เชี่ยวชาญและผ่านการรับรอง (CPM) [6] พยาบาลผดุงครรภ์เฉพาะทางคือผู้ที่ได้รับสถานะโดยการผ่านการศึกษาด้วยตัวเอง การเป็นผู้ฝึกหัด หรืออื่นๆ โดยไม่ได้จำเป็นต้องเป็นหมอหรือพยาบาล CPMs ถูกรับรองโดย North American Registry of Midwives (NARM) CPMs ไม่จำเป็นต้องทำประกันและไม่มีแนวโน้มที่จะโดนตรวจสอบ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การวางแผนการคลอด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มันเป็นคำแนะนำที่ดีที่คุณควรมีพยาบาลผดุงครรภ์ที่ผ่านการรับรองหรือหมอที่จะช่วยคุณทำคลอดที่บ้าน วางแผนที่จะให้หมอหรือพยาบาลผดุงครรภ์มาที่บ้านของคุณล่วงหน้า พบและปรึกษาเขาหรือเธอก่อนที่ช่วงเวลาคลอดจะใกล้เข้ามา ขอเบอร์โทรศัพท์ของเขาหรือเธอไว้ ดังนั้นคุณจะสามารถโทรหาพวกเขาได้ถ้าคุณเจ็บท้องใกล้จะคลอดอย่างไม่ได้ตั้งตัว
    • คลินิก Mayo แนะนำอีกด้วยว่า ให้แน่ใจว่าหมอหรือพยาบาลผดุงครรภ์สามารถเข้าไปขอคำปรึกษาในโรงพยาบาลใกล้ๆ ถ้าเป็นไปได้ [7]
    • คุณอาจจะต้องการหาหรือจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการทำคลอดให้ดูแลคุณตลอดในช่วงการคลอด
  2. ตัดสินใจแผนสำหรับประสบการณ์การคลอดลูกของคุณ. การคลอดลูกเป็นประสบการณ์ที่จะต้องใช้ทั้งแรงกายแรงใจ ถ้าคุณมีความกังวลใจ สิ่งสุดท้ายที่คุณจะต้องทำในระยะคลอดคือตัดสินใจให้รวดเร็วว่าจะคลอดแบบไหน การออกแบบและทบทวนแผนที่เหมาะสมสำหรับการคลอดให้ดีก่อนที่จะเข้าสู่ระยะคลอดจึงเป็นเรื่องที่ฉลาดกว่ามาก พยายามทำตามให้ได้ทุกขั้นตอนของการคลอดตั้งแต่ต้นจนจบ ถึงแม้ว่าคุณจะไม่สามารถทำตามแผนได้อย่างชัดเจน “การมี” แผนจะช่วยให้จิตใจของคุณสงบ ในแผนของคุณ พยายามตอบคำถามให้ได้ตามนี้: [8]
    • นอกจากหมอหรือพยาบาลผดุงครรภ์แล้ว ใครอีกที่คุณอยากให้อยู่ด้วยตอนที่คุณคลอด
    • คุณวางแผนว่าจะคลอดลูกที่ไหน จำไว้ว่า ในระยะคลอด คุณสามารถขยับตัวเดินไปรอบๆ ได้เพื่อให้รู้สึกสบายตัว
    • อุปกรณ์อะไรบ้างที่คุณวางแผนไว้ว่าควรมี ให้บอกหมอ โดยปกติคุณจะต้องการผ้าขนหนู ผ้าปูที่นอน หมอน และผ้าห่ม รวมทั้งผ้าคลุมกันน้ำสำหรับเตียงและพื้น
    • คุณจะจัดการความเจ็บปวดอย่างไร คุณจะใช้ยาแก้ปวด ใช้เทคนิค Lamaze หรือวิธีอื่นในการจัดการความปวดหรือไม่
  3. การคลอดลูกที่บ้านส่วนใหญ่จะเป็นผลสำเร็จและไม่มีโรคแทรกซ้อน “อย่างไรก็ตาม” ทุกๆ การคลอด มีโอกาสที่จะเกิดสิ่งผิดพลาดเล็กน้อยอยู่เสมอซึ่งจะคุกคามสุขภาพของเด็กและ/หรือแม่ ด้วยเหตุนี้เอง มันจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องนำแม่ส่งโรงพยาบาลในเวลาฉุกเฉิน เติมน้ำมันรถของคุณไว้ให้เต็มถัง และเก็บอุปกรณ์ต่างๆ ผ้าห่ม และผ้าขนหนูให้สะอาดไว้ในรถ รู้เส้นทางที่เร็วที่สุดที่จะไปถึงโรงพยาบาล คุณอาจจะต้องฝึกขับรถไปที่นั่นก่อน
  4. ถึงแม้ว่าคุณจะสามารถปรับตำแหน่งและเดินไปรอบๆ ในช่วงการคลอดของคุณ แต่มันก็เป็นความคิดที่ดีที่จะเตรียมสถานที่ในบ้านของคุณไว้เพื่อเป็นสถานที่สุดท้ายเพื่อคลอดลูก เลือกจุดที่สบายและปลอดภัย แม่หลายคนชอบที่จะคลอดบนเตียง แต่มันเป็นไปได้ที่จะคลอดบนโซฟา หรือแม้แต่บนพื้นนุ่มๆ อย่างไรก็ตามให้แน่ใจว่าสถานที่ที่คุณเลือกได้ถูกทำความสะอาดไว้แล้ว และมีผ้าขนหนู ผ้าห่ม และหมอนที่สะอาดเตรียมไว้ด้วย คุณอาจจะต้องการใช้แผ่นพลาสติกกันน้ำไว้กันคราบเลือดด้วยเช่นกัน
    • ในสถานการณ์คับขัน ผ้าม่านในห้องน้ำที่แห้งและสะอาดสามารถใช้เป็นที่ป้องกันคราบเลือดได้
    • ถึงแม้ว่าหมอหรือพยาบาลผดุงครรภ์ของคุณมีแนวโน้มที่จะมีอุปกรณ์เหล่านี้อยู่แล้ว แต่คุณอาจจะต้องมีผ้าก๊อซ เบาะ และเชือกไว้เพื่อตัดสายสะดือเด็กด้วย
  5. ทันทีที่คุณเตรียมสิ่งที่จำเป็นไว้ทุกอย่างแล้ว รอสัญญาณของการพร้อมคลอดที่จะเริ่ม โดยทั่วไป การตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะต้องรอประมาณ 38 สัปดาห์ ถึงแม้ว่าครรภ์ที่แข็งแรงสามารถเริ่มได้ภายในหนึ่งสัปดาห์หรือสองสัปดาห์แรกใน 38 สัปดาห์นั้นก็ตาม [9] ถ้าคุณเข้าสู่ระยะคลอดก่อนสัปดาห์ที่ 37 หรือหลังสัปดาห์ที่ 41 คุณต้องรีบไปโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน เพื่อรอสัญญาณของการพร้อมคลอดเหล่านี้ที่จะเริ่มขึ้น: [10]
    • น้ำเดิน
    • การขยายตัวของปากมดลูก
    • มูกเลือด (มีน้ำเมือกปนเลือดสีน้ำตาลหรือชมพูออกมา)
    • การหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกจะใช้เวลา 30 ถึง 90 วินาที
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การคลอด

ดาวน์โหลดบทความ

การคลอดแบบธรรมชาติ

  1. ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่คุณเลือกเพื่อทำคลอดคุณที่บ้านได้ถูกอบรมที่จะทำคลอดได้อย่างปลอดภัยและผ่านการรับรองแล้ว ฟังคำแนะนำของหมอหรือพยาบาลผดุงครรภ์ของคุณเสมอและทำตามให้ดีที่สุด บางสิ่งที่เขาหรือเธอแนะนำอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณเจ็บมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดแล้วหมอหรือพยาบาลผดุงครรภ์ก็ต้องการที่จะช่วยคุณให้ผ่านการคลอดนี้ไปอย่างรวดเร็วและปลอดภัยเท่าที่จะเป็นไปได้ ดังนั้นทำตามคำสั่งของพวกเขาให้ดีที่สุดเท่าที่คุณสามารถทำได้
    • ส่วนที่เหลือของคำแนะนำในส่วนนี้อาจเป็นคำแนะนำที่กะทันหัน ยอมทำตามคำแนะนำของหมอหรือพยาบาลผดุงครรภ์ เสมอ
  2. ระยะคลอดสามารถเจ็บปวดเป็นระยะยาวนาน จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเกิดความวิตกกังวล อย่างไรก็ตาม มันไม่ใช่ความคิดที่ดีที่จะตกอยู่ในความหมดหวัง ทำให้ตัวคุณเองผ่อนคลายและมีจิตใจแจ่มใสเท่าที่จะเป็นไปได้ วิธีนี้จะทำให้คุณทำตามคำแนะนำของหมอหรือพยาบาลผดุงครรภ์ได้ดีที่สุดตามความสามารถของคุณที่จะทำให้คุณมั่นใจว่าการคลอดของคุณจะเป็นไปอย่างรวดเร็วและปลอดภัยเท่าที่จะเป็นไปได้ มันง่ายมากที่สุดที่จะทำตัวผ่อนคลายถ้าคุณอยู่ในสถานที่ที่สบายแล้วหายใจเข้าลึกๆ
  3. ตามคำแนะนำก่อนหน้านี้ การคลอดที่บ้านส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยไม่มีอุปสรรค อย่างไรก็ตาม ภาวะแทรกซ้อนอาจเป็นไปได้เสมอที่จะเกิดขึ้นระหว่างคลอด ถ้าคุณสังเกตเห็นสัญญาณเหล่านี้ ให้ไปโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน เนื่องจากสัญญาณเหล่านี้อาจบ่งบอกถึงภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์ที่รุนแรงซึ่งต้องพึ่งพาเทคโนโลยีและผู้เชี่ยวชาญที่โรงพยาบาล: [11]
    • ร่องรอยของอุจจาระที่ปนมากับน้ำคร่ำตอนที่เกิดน้ำเดิน
    • สายสะดือตกลงมาที่ช่องคลอดของคุณก่อนที่เด็กจะตกลงมา
    • คุณมีเลือดไหลออกมาจากช่องคลอดโดยที่ไม่ใช่มูกเลือด “หรือ” ถ้ามูกเลือดของคุณประกอบด้วยเลือดจำนวนมาก (มูกเลือดปกติจะต้องมีสีน้ำตาลหรือชมพูปนมากับเลือด)
    • รกในครรภ์ยังไม่ออกมาหลังจากที่เด็กคลอด “หรือ” รกที่ออกมาไม่สมบูรณ์
    • ลูกของคุณไม่เอาหัวออกมาก่อน
    • ลูกของคุณดูเจ็บปวด
    • การปวดท้องคลอดไม่ได้พัฒนาไปสู่การคลอดลูก
  4. ช่วงแรกของระยะคลอด มดลูกจะขยายใหญ่ขึ้น ปากมดลูกบางและขยายเปิดช่องทางให้เด็ก ช่วงแรก ความไม่สบายอาจจะยังน้อยอยู่ เมื่อนานเข้าการหดตัวจะค่อยๆ ถี่เกร็งขึ้น คุณอาจจะรู้สึกเจ็บปวดและกดดันที่หลังส่วนล่างหรือช่วงท้องเพิ่มขึ้นขณะที่มดลูกของคุณขยายตัว ขณะที่มดลูกของคุณขยายตัว ผู้ช่วยของคุณควรตรวจกระดูกเชิงกรานของคุณบ่อยๆเพื่อสังเกตความก้าวหน้า เมื่อมันขยายตัวเต็มที่ที่ความกว้างประมาณ 10 เซนติเมตร คุณก็พร้อมที่จะเข้าสู่ช่วงที่สองของระยะคลอดแล้ว
    • คุณอาจจะรู้สึกอยากเบ่ง ผู้ช่วยของคุณมักจะบอกคุณว่า “อย่า” ทำแบบนั้น จนกระทั่งมดลูกของคุณขยายได้ 10 เซนติเมตร
    • ณ จุดนี้ มันไม่สายเกินไปที่จะรับยาแก้ปวด [12] ถ้าคุณวางแผนสำหรับความเป็นไปได้นี้ และเตรียมยาแก้ปวดไว้ บอกหมอหรือพยาบาลผดุงครรภ์ให้ประเมินว่ามันเหมาะสมที่จะใช้หรือไม่
  5. ในช่วงที่สองของระยะคลอด การหดตัวจะถี่และเกร็งมากกว่าเดิม คุณอาจจะรู้สึกอยากเบ่งมันมาก ถ้ามดลูกของคุณขยายเต็มที่ ผู้ช่วยที่ทำคลอดคุณก็จะบอกว่าให้คุณเบ่งได้ คุยกับหมอหรือพยาบาลผดุงครรภ์ของคุณและแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะต่างๆ ของคุณ เขาหรือเธอก็จะบอกคุณว่าให้เบ่งเมื่อไหร่ หายใจอย่างไร หยุดพักเมื่อไหร่ ทำตามคำแนะนำเหล่านี้เท่าที่คุณจะทำได้ ช่วงระยะคลอดนี้อาจใช้เวลามากกว่าสองชั่วโมงสำหรับคนที่เป็นแม่ครั้งแรก คนที่เคยเป็นแม่แล้วอาจจะใช้เวลากับช่วงนี้สั้นว่า (บางครั้งใช้เพียงแค่ 15 นาที) [13]
    • อย่ากลัวที่จะลองเปลี่ยนท่า เช่นการคลาน คุกเข่า หรือนั่งยอง หมอหรือพยาบาลผดุงครรภ์ของคุณมักจะต้องการให้คุณอยู่ในท่าที่รู้สึกสบายที่สุด และให้คุณเบ่งมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    • ขณะที่คุณเบ่งและค้างไว้นั้น อย่ากังวลเกี่ยวกับปัสสาวะหรืออุจจาระ มันเป็นเรื่องปกติมาก และหมอหรือพยาบาลผดุงครรภ์ของคุณคาดหวัง ให้จดจ่ออยู่กับการเบ่งทารกออกมาเท่านั้น
  6. แรงที่คุณเบ่งรวมไปถึงการหดตัว จะช่วยเคลื่อนตัวทารกจากมดลูกออกมายังช่องคลอด ในตอนนี้ หมอหรือพยาบาลผดุงครรภ์ของคุณสามารถที่จะเห็นหัวเด็กได้ มันถูกเรียกว่า “หัวโผล่” คุณสามารถใช้กระจกส่องดูมันด้วยตัวของคุณเอง อย่ากังวลถ้าหลังจากที่หัวโผล่แล้ว แล้วหัวของเด็กหายไป เพราะมันเป็นเรื่องปกติ ต้องใช้เวลานานที่จะให้เด็กไหลมาอยู่ที่ช่องคลอด คุณจำเป็นต้องเบ่งให้แรงขึ้นเพื่อให้หัวเด็กออกมา หมอหรือพยาบาลผดุงครรภ์ของคุณควรกำจัดน้ำคร่ำในจมูกและปากของทารกทันทีและช่วยคุณให้เบ่งส่วนที่เหลือของทารกออกมา [14]
    • การคลอดท่าก้อน (เมื่อเท้าของเด็กออกมาก่อนหัว) เป็นสภาวะทางการแพทย์ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อเด็กทารกและทำให้การไปโรงพยาบาลนั้นเป็นสิ่งจำเป็น ปัจจุบันการคลอดท่าก้อนส่วนใหญ่จะต้องใช้การผ่าตัดคลอด
  7. ขอแสดงความยินดีด้วย คุณได้คลอดลูกที่บ้านสำเร็จแล้ว หมอหรือพยาบาลผดุงครรภ์ของคุณจะหนีบสายสะดือและตัดมันโดยใช้กรรไกรปลอดเชื้อ ทำความสะอาดเด็กทารกโดยใช้ผ้าขนหนูที่สะอาดเช็ดที่ตัวเขา ต่อไปก็ใส่เสื้อผ้าให้ และห่อเขาด้วยผ้าห่มที่อุ่นและสะอาด
    • หลังจากคลอด หมอหรือพยาบาลผดุงครรภ์ของคุณอาจแนะนำวิธีการป้อนนมลูกในครั้งแรก
    • อย่าอาบน้ำเด็กทารกทันที ตอนคลอดออกมาคุณจะสังเกตเห็นว่าตัวของทารกเหมือนมีแผ่นซีดขาวปกคลุมอยู่ มันเป็นเรื่องปกติ แผ่นซีดขาวที่ปกคลุมอยู่เรียกว่า “ไขหุ้มทารก” มันช่วยปกป้องการติดเชื้อจากแบคทีเรียและให้ความชุ่มชื่นกับผิวทารก
  8. หลังจากที่เด็กเกิด แม้ว่าสิ่งที่แย่ที่สุดจะจบไปแล้ว แต่คุณยังทำมันไม่จบ “อย่างแท้จริง” ในช่วงที่สามและช่วงสุดท้ายของระยะคลอด คุณต้องคลอดรกออกมา ซึ่งมันเป็นอวัยวะที่หล่อเลี้ยงลูกของคุณขณะที่ยังอยู่ในครรภ์ การหดรัดตัวของมดลูกที่นุ่มนวล (นุ่มนวลมาก ในความเป็นจริง แม่บางรายไม่สามารถสังเกตพวกมันได้ [15] ) จะแยกรกออกจากผนังมดลูก ไม่นานหลังจากนั้น รกก็จะไหลผ่านช่องคลอด กระบวนการนี้มักใช้เวลา 5-20 นาที ซึ่งแทบเป็นเรื่องเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับการคลอดลูก
    • ถ้ารกของคุณ “ไม่” ออกมา หรือไม่ออกมาเป็นชิ้นเดียว ให้ไปโรงพยาบาล นี่คือภาวะการเจ็บป่วย ถ้าถูกละเลย มันสามารถนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ร้ายแรงได้
  9. ถ้าลูกของคุณมีสุขภาพแข็งแรงหลังเกิดก็ควรนำไปเช่นกัน “อย่างไรก็ตาม” มันเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำลูกสาวหรือลูกชายคนใหม่ของคุณไปหาหมอเพื่อตรวจสุขภาพภายในสองสามวันหลังจากเกิดเพื่อทำให้แน่ใจว่าเขาหรือเธอไม่ได้กำลังทรมานกับภาวะการเจ็บป่วยใดๆ ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ง่าย วางแผนที่จะไปหากุมารแพทย์ภายในหนึ่งหรือสองวันหลังจากคลอด หมอจะทำการตรวจลูกของคุณและให้คำแนะนำที่เอาใจใส่
    • คุณอาจจะต้องได้รับการตรวจสุขภาพตัวคุณเองเช่นกัน การคลอดลูกเป็นกระบวนการที่หนักหนาสาหัส และถ้าคุณรู้สึกไม่ปกติ สิ่งที่ดีที่สุดควรไปพบหมอเพื่อตรวจดูว่ามีความผิดปกติกับคุณหรือไม่
    โฆษณา

การคลอดลูกในน้ำ

  1. การคลอดลูกในน้ำแน่นอนว่าฟังดูเหมือนกับการคลอดลูกในสระน้ำ วิธีการคลอดแบบนี้กลายเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน โรงพยาบาลบางแห่งก็เสนอวิธีการคลอดลูกในน้ำ อย่างไรก็ตาม หมอบางคนพิจารณาว่ามันไม่ปลอดภัยเท่ากับวิธีคลอดแบบธรรมชาติ ขณะที่แม่บางรายบอกว่าการคลอดในน้ำมันรู้สึกสบาย ผ่อนคลาย และไม่เจ็บปวด และเป็น “ธรรมชาติ” มากกว่าวิธีการคลอดแบบปกติ แต่มันก็มีความเสี่ยงรวมอยู่ด้วย: [16]
    • การติดเชื้อจากน้ำที่มีสารปนเปื้อน
    • ภาวะแทรกซ้อนจาการที่เด็กกลืนน้ำเข้าไป
    • มันอาจจะเกิดได้ยาก แต่ว่ามันก็มีความเสี่ยงที่สมองจะถูกทำลายหรือตายจากการขาดออกซิเจนขณะที่ทารกอยู่ใต้น้ำ
  2. เหมือนกับการคลอดที่บ้าน การคลอดในน้ำก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรถูกพยายามต่อไปเช่นกันถ้าแม่หรือทารกมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน ถ้ามีภาวะดังกล่าวตามที่กล่าวไว้ในส่วนแรกที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ของคุณ อย่าพยายามที่จะคลอดลูกในน้ำต่อไป แทนที่จะทำเช่นนั้น ให้วางแผนไปโรงพยาบาล นอกจากนี้ คุณไม่ควรพยายามที่จะคลอดลูกในน้ำถ้าคุณเป็นโรคเริมหรือเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ถ้ายังทำเช่นนี้ เชื้อสามารถถูกส่งผ่านไปสู่ทารกของคุณด้วยน้ำได้ [17]
  3. ภายใน 15 นาทีแรกของระยะคลอด ให้หมอ พยาบาลผดุงครรภ์ หรือเพื่อนของคุณเติมน้ำในสระเล็กๆ ให้ลึกประมาณหนึ่งฟุต สระที่ถูกออกแบบมาเพื่อสำหรับคลอดในน้ำโดยเฉพาะสามารถเช่าหรือซื้อได้ บางแบบที่มีประกันสุขภาพด้วยจะมีราคารวมอยู่แล้ว ถอดชุดของคุณให้อยู่ใต้เอว (คุณอาจจะเลือกที่จะเปลือยทั้งตัวเลยก็ได้ถ้าคุณชอบ) และลงไปในสระ
    • ให้แน่ใจว่าน้ำสะอาดและไม่ร้อนเกิน 37 องศาเซลเซียส [18]
  4. มีสามีหรือผู้ทำคลอดลงไปในสระกับคุณด้วย (เป็นทางเลือก). แม่บางรายชอบที่จะให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง (สามี หรือคนอื่น) อยู่ในสระด้วยขณะที่เขาคลอดเพื่อแสดงความใกล้ชิดและให้เกิดความสบายใจ หรือแม่คนอื่นๆ ชอบที่จะให้หมอหรือพยาบาลผดุงครรภ์อยู่ในสระด้วย ถ้าคุณวางแผนที่จะให้สามีอยู่ในสระกับคุณ คุณอาจทดลองพิงที่ตัวเขาเพื่อช่วยให้คุณเบ่งลูกได้
  5. หมอหรือพยาบาลผดุงครรภ์จะช่วยคุณตลอดระยะคลอด ช่วยให้คุณหายใจ เบ่ง และพักตามความเหมาะสม เมื่อคุณรู้สึกว่าลูกกำลังออกมา ขอให้หมอหรือพยาบาลผดุงครรภ์เอื้อมมือไปที่ระหว่างขาของคุณเพื่อดึงเด็กออกมาทันทีที่เด็กออกมา คุณอาจต้องการที่จับแน่นๆ เวลาทำการเบ่ง
    • ระยะคลอดปกติ คุณสามารถเปลี่ยนตำแหน่งหรือขยับตัวได้เพื่อความสะดวก ยกตัวอย่าง คุณอาจจะลองเบ่งขณะที่คุณนอนหรือคุกเข่าอยู่ในน้ำ
    • เวลาใดก็ตาม ถ้าคุณหรือลูกแสดงอาการแทรกซ้อน (ดูส่วนที่สาม) ให้ออกจากสระ
  6. ทันทีที่ลูกออกมา อุ้มให้อยู่เหนือน้ำเพื่อที่จะสามารถหายใจได้ หลังจากอุ้มลูกได้สักครู่ ให้ออกจากสระอย่างระมัดระวังเพื่อที่สายสะดือของคุณจะสามารถถูกตัดได้และตัวของลูกก็สามารถแห้งได้ เช็ดตัว และห่อตัวไว้ในผ้าห่ม
    • ในบางกรณี ทารกจะมีการขับถ่ายอุจจาระครั้งแรกในครรภ์ของคุณ ในกรณีนี้ ให้จับหัวทารกให้อยู่เหนือน้ำและเอาออกให้ห่างจากน้ำที่ปนเปื้อนอุจจาระนั้น เพราะอาจมีการติดเชื้อได้ถ้าทารกหายใจเข้าหรือดื่มน้ำที่มีอุจจาระปนเปื้อนเข้าไป ถ้าคุณเชื่อว่าสิ่งนี้อาจเกิดขึ้นได้ ให้นำทารกส่งโรงพยาบาลทันที
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • มีเพื่อนที่มีความสามารถหรือพยาบาลวิชาชีพที่ผ่านสอบรับรองมาตรฐานอยู่ใกล้ๆ
  • อย่าคลอดลูกเพียงลำพังโดยที่ไม่มีหมอหรือพยาบาลอยู่ใกล้ๆ หลายสิ่งสามารถที่จะเลวร้ายได้
  • ถ้าคุณสามารถล้างปากช่องคลอดได้ก่อนที่ลูกจะออกมา มันจะทำให้ส่วนนั้นสะอาดเท่าที่จะเป็นไปได้ที่จะปลอดเชื้อมากขึ้น
โฆษณา

คำเตือน

  • เมื่อคลอดลูกแฝด ถ้าครั้งแรกเอาหัวลง แต่ครั้งที่สองเอาเท้าออกมาก่อน นี่เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เลวร้าย (คิดว่าขาข้างหนึ่งกำลังออกมาขณะที่ขาอีกข้างหนึ่งยังอยู่ภายในมดลูก พยาบาลผดุงครรภ์ที่ถูกอบรมมาพิเศษจำเป็นที่จะต้องแก้ปัญหากับการบิดเบี้ยวนี้)
  • พยาบาล เพื่อน หรือแม้แต่หมอ ก็สามารถที่จะกังวลได้เล็กน้อยถ้าคลอดที่บ้าน ในสังคมปัจจุบัน มันไม่ใช่สิ่งที่สะดวกสบาย อย่างไรก็ตาม ให้พยายามเข้าใจ ถ้าพวกเขาแสดงอาการไม่เห็นด้วยหรือทำให้คุณสับสน อย่าตะคอกใส่พวกเขาอย่างไม่จำเป็น
  • ถ้าสายสะดือพันกันอยู่ที่รอบคอทารก หรือที่อื่นๆ หรือสายสะดือของฝาแฝดพันกัน หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายของฝาแฝดติดกัน ถูกเรียกว่าฝาแฝดติดกัน ให้ส่งไปทำการผ่าตัดทำคลอด อย่าคลอดโดยปราศจากความช่วยเหลือที่เหมาะสม
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,307 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา