ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เวลาที่ข้อนิ้วหักคุณจะรู้สึกเจ็บมาก และทำให้ชีวิตของคุณยุ่งยากหากงานที่คุณทำต้องใช้มือ บางครั้งมันก็ยากที่จะบอกว่าข้อนิ้วหักจริงๆ หรือว่าแค่ฟกช้ำธรรมดา แม้ว่าโดยทั่วไปคุณจะต้องไปพบแพทย์หากข้อนิ้วของคุณหักอย่างรุนแรง แต่ถ้าข้อนิ้วแค่ฟกช้ำหรือแม้แต่ร้าวเล็กน้อยนั้นสามารถหายได้เอง เรียนรู้วิธีที่จะดูว่าข้อนิ้วหักหรือเปล่า คุณจะได้รู้ว่าต้องดูแลตัวเองอย่างไร

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ประเมินสถานการณ์ทันที

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คนที่ข้อนิ้วหักมักรายงานว่ารู้สึกเหมือนได้ยินเสียงดังเป๊าะหรือแกร๊กตรงมือตอนที่ข้อนิ้วหัก ความรู้สึกแกร๊กๆ อาจเกิดจากการที่กระดูกหักจริงๆ หรือชิ้นส่วนของกระดูกเคลื่อนจากที่เดิม ถ้าคุณรู้สึกแบบนี้ ก็ควรหยุดทำกิจกรรมนั้นๆ ก่อนแล้วดูว่ามือเป็นอะไร [1]
    • เวลาที่ข้อนิ้วหักอาจจะไม่ได้มีเสียงดังเป๊าะเสมอไป คุณจะรู้สึกว่ามันมีเสียงดังเป๊าะหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่ากระดูกแตกรุนแรงแค่ไหน
  2. ข้อนิ้วหักในภาษาอังกฤษมักเรียกกันว่า “Boxer’s fracture” (กระดูกหักแบบนักมวย) เพราะส่วนใหญ่เกิดจากการต่อยพื้นผิวที่แข็ง ตอนที่ข้อนิ้วหัก คุณต่อยกำแพงหรือพื้นผิวอื่นๆ ที่ไม่สามารถขยับได้หรือเปล่า หรือว่าคุณอาจมีเรื่องชกต่อย ถ้าคุณกระแทกของแข็ง ก็เป็นไปได้ว่าข้อนิ้วของคุณอาจจะหัก [2]
    • ข้อนิ้วหักอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ที่พบได้ไม่บ่อยนัก ข้อนิ้วของคุณอาจจะหักระหว่างที่คุณล้ม ทำงานกับเครื่องจักร หรือทำกิจกรรมใดๆ ที่ทำให้มือบาดเจ็บ
    • ปัจจุบันแพทย์บางคนก็เรียกข้อนิ้วหักว่า “Brawler’s fracture” (กระดูกหักแบบนักสู้) แทน “Boxer’s fracture” (กระดูกหักแบบนักมวย) เพราะนักมวยจะสวมอุปกรณ์ป้องกันไม่ให้ข้อนิ้วหัก เพราะฉะนั้นข้อนิ้วของคุณมีโอกาสที่จะหักจากการกระแทกบางอย่างด้วยหมัดเปล่าๆ มากกว่า
  3. เวลาที่ข้อนิ้วหักคุณจะรู้สึกเจ็บอย่างรุนแรงทันที ทันทีที่ข้อนิ้วหัก มือของคุณจะรู้สึกเจ็บจี๊ดและปวดตุ๊บๆ อย่างรุนแรง คุณอาจจะเจ็บจนแทบทนไม่ไหวและต้องหยุดทำกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ ขึ้นอยู่กับว่าร่างกายของคุณทนความเจ็บได้มากแค่ไหน [3]
    • ถ้าข้อนิ้วของคุณแค่ร้าวเล็กน้อย คุณก็อาจจะไม่ได้รู้สึกเจ็บมาก แต่คุณก็ควรหยุดใช้มือก่อนอยู่ดีเพราะมันอาจจะทำให้อาการบาดเจ็บที่ข้อนิ้วรุนแรงขึ้นได้
  4. ทันทีที่ข้อนิ้วหัก เลือดจะเริ่มไหลไปยังรอยแตกและทำให้มือของคุณร้อน วัดอุณหภูมิมือข้างที่บาดเจ็บแล้ววัดอีกข้างหนึ่ง ถ้ามือข้างที่บาดเจ็บอุ่นกว่าอีกข้างมาก เป็นไปได้ว่าข้อนิ้วอาจจะหัก [4]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ตรวจสอบข้อนิ้วจากสายตา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าข้อนิ้วหัก มันจะเริ่มบวมหลังจากผ่านไปแล้วประมาณ 10 นาที โดยจะเริ่มบวมตรงข้อนิ้วที่หักและอาจจะลามไปทั้งมือ อาการบวมที่เกิดจากข้อนิ้วหักอาจจะรุนแรงมาก ถ้าบวมมากๆ อาจจะถึงขั้นขยับมือไม่ได้ [5]
    • เมื่อข้อนิ้วเริ่มบวม คุณก็อาจจะรู้สึกเจ็บแปล๊บๆ หรือชาด้วย
    • รับประทานแอสไพริน ไอบูโพรเฟน หรือยาแก้ปวดอื่นๆ ที่หาซื้อได้เองเพื่อลดอาการบวมและรักษาอาการปวด
    • แพทย์อาจจะไม่สามารถรักษามือคุณได้ถ้ามันบวมมาก การประคบน้ำแข็งตรงบริเวณที่บาดเจ็บตั้งแต่เนิ่นๆ ช่วยบรรเทาอาการบวมได้ พันถุงน้ำแข็งกับกระดาษทิชชูอเนกประสงค์แล้วประคบตรงข้อนิ้วหรือใช้ถุงผักแช่แข็งแทนก็ได้ ประคบน้ำแข็งครั้งละไม่เกิน 20 นาที จากนั้นปล่อยให้ผิวหนังกลับมาที่อุณหภูมิปกติก่อนแล้วค่อยประคบน้ำแข็งอีกครั้ง [6]
  2. รอยฟกช้ำที่เกิดจากข้อนิ้วหักจะปรากฏเร็วกว่ารอยฟกช้ำทั่วไปมาก บริเวณนั้นจะเริ่มเปลี่ยนสีภายในเวลาไม่กี่นาทีเนื่องจากเลือดจะพุ่งไปยังบริเวณที่บาดเจ็บ นอกจากนี้รอยฟกช้ำยังทำให้อาการบาดเจ็บไวต่อการสัมผัสมากๆ แค่แตะตรงข้อนิ้วที่หักก็อาจจะรู้สึกเจ็บแล้ว
    • มีกรณีที่กระดูกหักแต่ไม่มีรอยฟกช้ำด้วยเช่นกัน แต่น้อยมาก
    • ยกมือสูงๆ เพื่อลดอาการช้ำ การยกมือเหนือหัวใจจะทำให้เลือดไหลผ่านบริเวณที่บาดเจ็บ [7]
  3. วิธีที่บอกได้อย่างแน่นอนว่าข้อนิ้วของคุณหักหรือไม่ก็คือ ให้ดูว่ามันบุ๋มลึกลงไปกว่าข้อนิ้วข้ออื่นๆ หรือเปล่า ถ้าทำได้ให้กำหมัดมือข้างที่บาดเจ็บแล้วดูตรงข้อนิ้ว ข้อนิ้วควรจะโผล่ออกมา แต่ถ้ามีข้อนิ้วนึงที่คุณมองไม่เห็น แสดงว่าข้อนิ้วนั้นหักแน่นอน [8]
    • รอยแตกอาจมีผลต่อตำแหน่งหรือการหักงอของข้อนิ้ว ทำให้มันบุ๋มลงไป
  4. ถ้ากระดูกทะลุผิวหนังขึ้นมา แสดงว่าเป็นกระดูกแผลเปิดและคุณต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อรักษา อย่าลืมใช้สบู่ฆ่าเชื้อโรคทำความสะอาดบริเวณนั้นให้ทั่ว [9] เพราะแผลเปิดตรงบริเวณที่กระดูกหักนั้นติดเชื้อได้ง่าย ซึ่งจะทำให้รักษายากขึ้นไปอีก
    • คุณอาจจะเจ็บเมื่อทำความสะอาดข้อนิ้วที่ไวต่อการสัมผัส แต่คุณจำเป็นต้องทำ
    • คุณต้องทำความสะอาดแผลให้แห้งสนิท เพราะความชื้นจะทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ง่าย นอกจากนี้คุณก็อาจจะใช้ผ้าปิดแผลที่สะอาดพันทับไว้ด้วยก็ได้เพื่อป้องกันไม่ให้แผลติดเชื้อ
    • ปัดเศษวัสดุที่หลุดง่ายออกจากแผล แต่ถ้ามีสิ่งของเสียบเข้าไปในข้อนิ้ว ให้ทิ้งไว้ให้แพทย์เป็นคนเอาออกที่โรงพยาบาล
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ทดสอบการเคลื่อนไหว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พยายามงอนิ้วที่บาดเจ็บเพื่อดูว่าข้อนิ้วเคลื่อนหรือหมุนผิดทางหรือเปล่า ถ้าข้อนิ้วเคลื่อน คุณอาจจะไม่สามารถงอนิ้วได้เลยเพราะกระดูกมันเคลื่อนในลักษณะที่ทำให้นิ้วไม่สามารถใช้งานได้ แต่ถ้ากระดูกมันหมุน คุณอาจจะงอนิ้วได้แต่มันจะชี้ไปทางนิ้วโป้ง การหมุนผิดทางก็คือการที่กระดูกบิดงอในลักษณะที่นิ้วจะงอไปในทิศทางที่ต่างไปจากปกติ
    • ถ้ากระดูกเคลื่อนหรือหมุนผิดทาง คุณต้องให้แพทย์ทำให้มันกลับมาเป็นเหมือนเดิม
    • ข้อนิ้วที่หมุนผิดทางหรือเคลื่อนมักใช้เวลารักษานานกว่าข้อนิ้วหักทั่วไป
  2. ถ้าข้อนิ้วหัก คุณจะกำหมัดไม่ได้ คุณสามารถทดสอบความรุนแรงของอาการบาดเจ็บได้ด้วยการพยายามกำหมัด ถ้าข้อนิ้วหัก มือของคุณอาจจะบวมมากหรือเจ็บจนไม่สามารถขยับนิ้วได้ หรือคุณอาจจะงอนิ้วเพื่อกำหมัดได้ทุกนิ้วยกเว้นนิ้วที่ข้อนิ้วหัก ถ้าคุณกำหมัดได้ทั้งที่ข้อนิ้วหัก นิ้วที่บาดเจ็บก็อาจจะไม่ได้อยู่ในแนวเดียวกับนิ้วอื่นๆ ตามปกติ
    • อย่าฝืนตัวเอง ถ้าคุณพยายามฝืนความเจ็บเพื่อกำหมัดมากจนเกินไป ข้อนิ้วอาจยิ่งบาดเจ็บหรือเคลื่อนมากกว่าเดิมได้
  3. ข้อนิ้วที่หักจะทำให้นิ้วมือของคุณแทบไม่มีแรง สมองอาจสั่งปิดการทำงานของกล้ามเนื้อรอบๆ บริเวณที่บาดเจ็บอย่างรุนแรงเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายมากไปกว่านี้ ถ้าคุณกำสิ่งของแน่นๆ ไม่ได้ เป็นไปได้ว่าสมองของคุณอาจกำลังพยายามปกป้องข้อนิ้วที่หักอยู่ [10]
    • ถ้าข้อนิ้วร้าวเล็กน้อย คุณก็อาจจะออกแรงกำสิ่งของได้เกือบเท่าปกติ แต่หากคุณสงสัยว่ามีรอยแตกก็อย่าฝืน เพราะการออกแรงกำสิ่งของมากเกินไปอาจทำให้รอยแตกยิ่งรุนแรงกว่าเดิม
  4. ข้อนิ้วอยู่ตรงปลายกระดูกฝ่ามือ ตรงฐานของกระดูกฝ่ามือจะเชื่อมกับกระดูกคาร์ปัสหรือกระดูกข้อมือ [11] เนื่องจากว่ากระดูกสองชิ้นนี้เชื่อมกัน ข้อนิ้วที่หักก็อาจจะส่งผลต่อการขยับข้อมือ ลองขยับข้อมือไปด้านข้างและขึ้นลง ถ้าคุณรู้สึกเจ็บจี๊ดขึ้นมาที่มือ เป็นไปได้มากว่าข้อนิ้วหักอย่างรุนแรง
  5. ถ้าคุณสงสัยว่าข้อนิ้วหัก ให้ไปพบแพทย์หรือไปที่ห้องฉุกเฉินโดยเร็วที่สุดเพื่อเข้ารับการรักษา คุณอาจจะต้องใส่อุปกรณ์พยุงชนิดชั่วคราวหรืออุปกรณ์ค้ำ 2-3 สัปดาห์จนกว่าข้อนิ้วจะหาย [12] รอยแตกที่มือและนิ้วมักไม่จำเป็นต้องใส่เฝือกแข็ง [13]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เพื่อให้ข้อนิ้วอยู่กับที่ คุณควรพยุงไว้กับนิ้วอื่น
  • ถ้าคุณคิดว่าข้อนิ้วหัก ให้รีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด แพทย์สามารถเอ็กซเรย์เพื่อยืนยันข้อสงสัยให้คุณได้
  • คลุมหรือพันแผลเปิดเสมอเพื่อไม่ให้แบคทีเรียเข้าไปได้
  • ถ้าแผลมีเลือดออกภายนอก ให้ล้างด้วยน้ำเย็น
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าพยายามฝืนใช้งานข้อนิ้วที่หักเด็ดขาด เพราะรอยร้าวเล็กน้อยอาจกลายเป็นรอยแตกรุนแรงได้
  • อย่าต่อยวัตถุที่เป็นของแข็งเพื่อป้องกันไม่ให้ข้อนิ้วหัก ถ้าคุณต่อยมวยหรือเล่นศิลปะป้องกันตัว ให้สวมอุปกรณ์ป้องกันมือ
  • ถ้าข้อนิ้วหักอย่างรุนแรงจนต้องเข้าเฝือกแข็ง อาจต้องใช้เวลา 4-6 สัปดาห์กว่าจะหาย ถ้างานที่ทำอยู่ต้องใช้มือทำงานก็เตรียมตัวลางานได้เลย
  • บางครั้งข้อนิ้วหักก็อาจจะต้องผ่าตัด ถ้าคุณต้องผ่าตัด กว่าจะหายก็อาจจะต้องใช้เวลานานกว่านั้น
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,449 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา