ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เคยไหม? ที่กำลังจะอบขนมหรือทำอาหาร แล้วเพิ่งเห็นว่าไข่ที่ซื้อเตรียมไว้ เลย "วันหมดอายุ" ไปแล้วซะงั้น บอกเลยว่าอย่าเพิ่งรีบทิ้งลงถัง เพราะบทความวิกิฮาวนี้มี 2 - 3 วิธีช่วยเช็คว่าไข่เน่าแล้วจริงหรือเปล่า

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ทดสอบไข่สด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เอาไข่ต้องสงสัย ใส่ชามหรือแก้วปากกว้าง ที่เติมน้ำเย็นไว้ แล้วดูว่าไข่ลอยหรือเปล่า. ปกติในไข่จะมีถุงอากาศจิ๋วๆ ยิ่งเวลาผ่านไป อากาศก็ยิ่งผ่านเข้าไปในรูพรุนของเปลือกไข่ อากาศเข้าไปในไข่มากเท่าไหร่ ถุงอากาศนี้ก็ยิ่งขยายใหญ่ ทำให้ไข่ยิ่งลอยตุ๊บป่องในน้ำ [1]
    • ถ้าไข่ตะแคงข้างอยู่ก้นชาม แสดงว่าสดที่สุด [2]
    • ถ้าไข่ตั้งตรงด้านใดด้านหนึ่ง แต่ยังจมติดก้นชาม แสดงว่าไม่ได้สดที่สุด แต่กินได้ ปลอดภัยดี [3]
    • ถ้าไข่ลอย แสดงว่าไม่ใช่ไข่สด แต่ไม่ได้แปลว่าไข่เน่าหรือกินไม่ได้ แนะนำให้ทดสอบขั้นต่อไป คือตอกไข่ แล้วเช็ค (ทั้งหน้าตาและกลิ่น) ว่าเน่าแล้วหรือยัง [4]
  2. ยิ่งไข่เก่า ทั้งความชื้นและคาร์บอนไดออกไซด์ก็ยิ่งทะลุผ่านเปลือกไข่ออกไป ทำให้ทั้งไข่แดงและไข่ขาวเริ่มแห้งและหดตัว ถุงอากาศในไข่ขยายใหญ่ขึ้น [5] ยิ่งถุงอากาศนี้ใหญ่ ไข่ก็ยิ่งขยับไปมาในเปลือกได้ จนเกิดเสียงเฉาะแฉะเหมือนเวลาเขย่าน้ำ
    • ไข่สด เวลาเขย่าแล้วจะไม่ค่อยมีเสียง หรือไม่มีเลย [6]
    • การที่เขย่าแล้วไข่มีเสียงเหมือนน้ำกระฉอก แค่แปลว่าไข่เก่า ไม่ได้แปลว่าไข่เน่าหรือกินไม่ได้
  3. ตอกไข่ใส่จานหรือชามใบใหญ่ แล้วเช็คคุณภาพไข่แดงและไข่ขาว. ยิ่งไข่เก่า ก็ยิ่งไม่ยึดเกาะกันดีเหมือนไข่สด ให้ลองตอกไข่ แล้วสังเกตดูว่าไข่ไหลกระจายไปทั่วจานหรือเปล่า หรือว่าอยู่กับที่เป็นก้อนๆ ถ้าไข่ไหลกระจายไปทั่ว หรือไข่ขาวค่อนข้างเหลวเป็นน้ำ แสดงว่าไข่ไม่สดแล้ว [7]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

หาไข่เน่า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. กลิ่นนี่แหละเป็นตัวบ่งชี้ได้ดีมากว่าไข่เน่าหรือยัง ถ้าไข่เน่าแล้วจะมีกลิ่นเหม็นฉุนตั้งแต่ตอนตอกไข่เลย กลิ่นเหมือนกำมะถัน หรือ "กลิ่นตด" จะเตะจมูกทันทีที่เปลือกไข่แตกออกเลย (หรือดีไม่ดีจะส่งกลิ่นตั้งแต่ยังไม่ทันตอกไข่) แบบนี้ก็ชัดว่าทิ้งไปได้เลย [11]
  2. สีของไข่แดงจะเปลี่ยนไปตามอาหารที่แม่ไก่กิน เพราะงั้นสีไข่แดงจะเป็นเหลืองหรือส้ม ก็ไม่มีผลต่อความสด ให้สังเกตสีไข่ขาวหรือ albumen แทน ถ้าเป็นสีชมพู เขียว หรือสีรุ้งเหมือนคราบน้ำมัน แสดงว่าไข่ปนเปื้อนแบคทีเรีย Pseudomonas กินไม่ได้แน่นอน [13] ถ้ามีจุดดำหรือจุดเขียวในไข่ แสดงว่ามีเชื้อรา เอาทิ้งไปได้เลย [14]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

เช็ควันและเวลาหมดอายุ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. sell-by date คือวันสุดท้ายที่จำหน่ายได้ บางทีก็เป็น "not to be sold after" (ห้ามจำหน่ายหลังวันที่...) หรือ "EXP" ปกติวันที่ที่เห็น คือ 30 วันหลังไข่ถูกบรรจุในหีบห่อ [17] ถ้าแช่ตู้เย็นไว้ และไข่ไม่แตก ก็กินต่อไปจากวัน sell-by date ได้อย่างน้อย 1 เดือน
    • ต้องดูดีๆ ว่า sell-by date เป็นเดือน/วัน หรือวัน/เดือน ตามประเทศที่คุณอยู่
    • "sell-by" คือวันสุดท้ายที่ไข่จะวางขายในชั้นตามร้านได้ หลังจากวันนั้น ไข่ที่ยังไม่ถูกจำหน่ายต้องเอาลงจากชั้น [18] แต่ไม่ได้แปลว่าไข่เน่าเสียแต่อย่างใด ยังกินต่อได้หลังวันที่นั้นอีกสักพัก
  2. best-by date คือวันสุดท้ายที่ไข่สดเต็มที่ บางทีก็เป็น "use by" (ใช้ภายใน...), "use before" (ใช้ก่อน...) หรือ "best before" (สภาพสมบูรณ์ก่อน...) วันที่ best-by ที่เห็น คือภายใน 45 วันหลังไข่ถูกบรรจุหีบห่อ [19] แนะนำให้ใช้ไข่ภายใน 2 อาทิตย์หลังวันที่ best-by
    • "best-by" คือระยะเวลาที่ไข่สดเต็มที่ ทั้งผิวสัมผัส รสชาติ ความข้น และการยึดเกาะของไข่แดงกับไข่ขาว [20] แต่ผ่านวันที่นี้ไป ไม่ได้แปลว่าไข่จะเน่าเสียแต่อย่างใด
  3. เช็คโค้ดตัวเลข 3 หลัก ว่าไข่ถูกบรรจุเมื่อไหร่. อันนี้ต้องพิจารณาเป็นประเทศๆ ไป อย่างของอเมริกา ตามกฎหมายก็ไม่ได้บังคับให้ระบุ sell-by หรือ best-by date ของไข่ (บางรัฐต้องมี แต่บางรัฐก็ห้ามมี) แต่ไม่ว่าจะกรณีไหน ไข่ทั้งหมดจะมีวันที่บรรจุบอกไว้ ปกติจะเป็นโค้ดตัวเลข 3 หลัก ตามปฏิทินจูเลียน (Julian date calendar) เช่น ไข่ที่บรรจุวันที่ 1 มกราคม จะใช้โค้ด 001 ไข่ที่บรรจุวันที่ 15 ตุลาคม จะใช้โค้ด 288 และ 31 ธันวาคม คือ 365 เป็นต้น [21]
    • เช็ค Julian date นี้ได้ที่ล่างแพ็คไข่ จะมี plant code (ตัว P ตามด้วยหมายเลข) ใช้บอกว่าไข่ถูกแพ็คที่ไหน ส่วนข้างๆ จะเป็นโค้ดจูเลียน [22]
    • ถ้าเป็นสหภาพยุโรป (European Union) จะบังคับให้ระบุวันที่แพ็คไข่ ถึงจะขายแยก ไม่ได้ขายในแพ็คที่ระบุวันที่ ผู้บริโภคก็สามารถเช็คข้อมูลตรงนี้ได้ [23]
  4. ไข่ที่เอาออกจากตู้เย็นมาทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง 2 ชั่วโมงขึ้นไป ให้ทิ้งได้เลย. หลังเอาไข่แช่ตู้เย็นแล้ว สำคัญว่าต้องรักษาอุณหภูมินั้นไว้ เพราะไข่เย็นๆ พอมาอยู่ในที่ร้อนๆ จะมีเหงื่อ (หยดน้ำเกาะ) ทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตนอกไข่ได้ เพราะเปลือกไข่มีรูพรุน เลยทำให้บางทีแบคทีเรียที่เปลือกไข่ ทะลุผ่านเข้าไปปนเปื้อนภายในได้
    • วิธีป้องกันอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ให้เก็บไข่ในส่วนที่เย็นสุดของตู้เย็น ไม่ใช่ ที่ประตูตู้เย็น เพราะอุณหภูมิจะวูบวาบทุกครั้งที่คุณเปิด-ปิดตู้เย็น ทำให้หยดน้ำเกาะที่เปลือกไข่ได้
    • ถ้าตอนซื้อไข่มายังไม่ได้ทำความสะอาด และอยู่ในอุณหภูมิห้อง ก็ไม่ต้องเอาไข่แช่ตู้เย็น เพราะอย่างหลายประเทศ เช่น ประเทศในแถบยุโรป ก็นิยมเก็บไข่ในอุณหภูมิห้องเช่นกัน [24] ไม่ต้องกลัวไข่เน่า เพราะตอนแม่ไก่ออกไข่ ไข่จะมี "bloom" หรือสารเคลือบผิวไข่ ที่คอยป้องกันแบคทีเรียตามธรรมชาติ แต่ถ้าล้างไข่เมื่อไหร่ ต้องแช่ตู้เย็นลูกเดียว ปกติประเทศแถบยุโรป จะฉีดวัคซีนป้องกันไวรัส Salmonella ให้แม่ไก่ก่อนออกไข่อยู่แล้ว [25]
  5. อ่านรายละเอียดที่บรรจุภัณฑ์ ว่าเก็บไข่ไว้ได้นานเท่าไหร่ แต่ละประเทศก็ต่างกันไป. ถ้าได้ไข่สดมาแล้วสงสัยว่าจะเน่าเสียเมื่อไหร่ ลองศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมดู เพราะแต่ละประเทศจะมีกฎหมายและแนวทางปฏิบัติต่างกันไป เรื่องความสดของไข่ไก่ แต่ส่วนใหญ่ไข่จะยังสดอยู่ได้ประมาณ 2 เดือนขึ้นไป
    • ถ้าไม่แน่ใจว่าไข่ที่มีจะสดไปนานแค่ไหน หรือคิดว่าไข่อาจจะเก่ากว่า 2 เดือน ให้สังเกตหน้าตาและกลิ่น ทั้งไข่เก่าและไข่เน่า จะได้รู้ว่าควรใช้ต่อหรือทิ้งไป
    โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคนที่จะกินไข่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง (เด็กเล็กหรือคนชรา) แนะนำให้ใช้ไข่สดที่สุดเท่าที่หาได้ ถึงปกติไข่ที่เลยวันหมดอายุ (ที่ระบุ) แล้วจะยังกินได้ต่อไปอีกหลายอาทิตย์ แต่ถ้าเป็นคนที่ภูมิคุ้มกันต่ำ ก็ควรจะระวังไว้ก่อน เลือกเฉพาะไข่ที่แน่ใจว่าสดจริงๆ จะปลอดภัยกว่า
โฆษณา
  1. http://www.fsis.usda.gov/wps/portal/fsis/topics/food-safety-education/get-answers/food-safety-fact-sheets/egg-products-preparation/shell-eggs-from-farm-to-table/CT_Index
  2. http://cooking.stackexchange.com/questions/47036/egg-safety-when-to-eat-and-when-to-not-eat
  3. http://www.fsis.usda.gov/wps/portal/fsis/topics/food-safety-education/get-answers/food-safety-fact-sheets/egg-products-preparation/shell-eggs-from-farm-to-table/CT_Index#32
  4. http://www.fsis.usda.gov/wps/portal/fsis/topics/food-safety-education/get-answers/food-safety-fact-sheets/egg-products-preparation/shell-eggs-from-farm-to-table/CT_Index
  5. http://www.fsis.usda.gov/wps/portal/fsis/topics/food-safety-education/get-answers/food-safety-fact-sheets/egg-products-preparation/shell-eggs-from-farm-to-table/CT_Index
  6. http://www.fsis.usda.gov/wps/portal/fsis/topics/food-safety-education/get-answers/food-safety-fact-sheets/egg-products-preparation/shell-eggs-from-farm-to-table/CT_Index
  7. http://www.fsis.usda.gov/wps/portal/fsis/topics/food-safety-education/get-answers/food-safety-fact-sheets/egg-products-preparation/shell-eggs-from-farm-to-table/CT_Index
  8. http://www.fsis.usda.gov/wps/portal/fsis/topics/food-safety-education/get-answers/food-safety-fact-sheets/egg-products-preparation/shell-eggs-from-farm-to-table/CT_Index
  9. http://www.efsa.europa.eu/en/press/news/140731
  10. http://www.fsis.usda.gov/wps/portal/fsis/topics/food-safety-education/get-answers/food-safety-fact-sheets/egg-products-preparation/shell-eggs-from-farm-to-table/CT_Index
  11. http://www.efsa.europa.eu/en/press/news/140731
  12. http://blogs.usda.gov/2013/12/23/a-carton-of-eggs-a-true-bakers-dozen/
  13. http://blogs.usda.gov/2013/12/23/a-carton-of-eggs-a-true-bakers-dozen/
  14. http://eur-lex.europa.eu/legal-content/en/ALL/?uri=CELEX:32008R0589
  15. http://www.businessinsider.com/should-you-refrigerate-eggs-2014-7
  16. http://www.nytimes.com/2010/08/25/business/25vaccine.html?_r=0

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 70,463 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา