ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

สำหรับคนไทยแล้ว ข้าวคืออาหารหลักที่ขาดไม่ได้ และแน่นอนว่าทุกบ้านต้องมีหม้อหุงข้าว ซึ่งเป็นอุปกรณ์หลักที่ช่วยให้เราไม่ต้องลำบากหุงข้าวแบบเช็ดน้ำเหมือนในสมัยก่อน แค่ตวงข้าวสารแล้วเติมน้ำลงไปเล็กน้อย ที่เหลือหม้อหุงข้าวก็จัดการให้เราเสร็จสรรพ แต่ถ้าเป็นข้าวกล้องแล้ว สิ่งสำคัญคือสัดส่วนระหว่างข้าวกับน้ำต้องพอดี หัวใจสำคัญคือต้องเพิ่มความชื้นขึ้นมาอีกเล็กน้อยเพื่อให้ข้าวออกมาร่วน นุ่ม และน่าอร่อย

ส่วนประกอบ

  • ข้าวกล้อง 1 ถ้วย (ซาวแล้ว)
  • น้ำ 3 ถ้วย
  • เกลือเล็กน้อย (ตามชอบ)

สำหรับ 1-2 ที่

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ตวงและซาวข้าว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตามปกติแล้วการตวงข้าวออกมาเต็มถ้วยเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุด เช่น ถ้ามีแค่ 2 คนกินข้าวมื้อสบายๆ ก็อาจจะหุงข้าวแค่ 2 - 3 ถ้วย แต่ถ้าเป็นมื้อใหญ่ก็อาจจะต้องใช้ถึง 6 - 8 ถ้วย จำนวนถ้วยที่เป็นเลขคู่จะง่ายกว่าในการคำนวณว่าต้องใช้น้ำเท่าไหร่ถึงจะได้ข้าวที่สุกกำลังดี [1]
    • การใช้ถ้วยตวงแห้งตักข้าวสารออกมาจะช่วยให้คุณไม่ต้องเดาว่าต้องใช้ข้าวปริมาณเท่าไหร่
    • เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด หุงข้าวเท่าที่จะรับประทานเท่านั้น เพราะข้าวที่เหลือถ้ามาอุ่นแล้วไม่ค่อยอร่อย
  2. เอาข้าวเทลงในกระชอนแล้วเอาเปิดน้ำก๊อกให้น้ำไหลผ่าน ร่อนกระชอนเป็นวงกลมผ่านน้ำ วิธีนี้จะช่วยชะแป้งส่วนใหญ่ออกได้ ซึ่งจะป้องกันไม่ให้เมล็ดข้าวเหนียวเมื่อสุกแล้ว ซาวข้าวต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าน้ำจะใส [2]
    • คุณอาจจะสังเกตเห็นว่าน้ำที่ไหลผ่านข้าวเป็นสีน้ำนมเล็กน้อย ซึ่งเป็นเรื่องปกติ
    • ก่อนหุงข้าวพยายามสะเด็ดน้ำส่วนเกินออกให้ได้มากที่สุด
  3. นำข้าวที่เพิ่งซาวใส่ในหม้อหุงข้าวและเกลี่ยให้ทั่ว เวลาที่หุงข้าวเยอะๆ ในคราวเดียว คุณต้องเกลี่ยข้าวให้เท่าๆ กันเพื่อให้ข้าวสุกเท่ากันทั้งหม้อ [3]
    • ในการหุงข้าวแต่ละครั้งอย่าใส่ข้าวเยอะเกินกว่าความจุของหม้อหุงข้าว ถ้าคุณต้องหุงข้าวเยอะเป็นพิเศษ ให้หุงหลายรอบแทน
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

หุงข้าว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. กฎทั่วไปของการหุงข้าวกล้องก็คือให้เพิ่มปริมาณน้ำที่แนะนำไปอีก 50% หมายความว่าถ้าปกติแล้วคุณใส่น้ำ 1 ถ้วยต่อข้าว 1 ถ้วย คุณก็จะต้องเพิ่มน้ำเป็น 1 ถ้วยครึ่งเพราะเนื้อสัมผัสของข้าวต่างกัน และข้าวกล้องก็ใช้เวลาหุงนานกว่าข้าวขาวด้วยเพราะมันแข็งกว่า [4]
    • ข้าวกล้องไม่เหมือนกับข้าวขาวตรงที่มันยังมีชั้นรำข้าวที่อุดมไปด้วยกากใยธรรมชาติ เพราะฉะนั้นมันจึงดูดซึมน้ำได้ยากกว่าข้าวขาวและใช้เวลาหุงนานกว่ากว่าจะได้อุณหภูมิที่เหมาะสม [5]
    • ปริมาณน้ำที่คุณเติมลงไปในข้าวสัมพันธ์กับเวลาที่ใช้ในการหุงข้าวโดยตรง พอน้ำระเหยเป็นไอหมดแล้ว อุณหภูมิในหม้อหุงข้าวจะเพิ่มขึ้นและส่งสัญญาณให้หม้อหุงข้าวตัด [6]
    • แม้ว่ามันอาจจะไม่จำเป็น แต่การแช่ข้าวกล้องในน้ำสัก 20 - 30 นาทีก่อนหุงก็ช่วยให้มันสุกเร็วขึ้นได้ แต่ถ้าคุณแช่ข้าวกล้องในน้ำก่อนหุง ก็ให้ใช้น้ำแค่ 1 ถ้วยต่อข้าว 1 ถ้วยพอ [7]
  2. ดูให้ดีว่าหม้อหุงข้าวเสียบปลั๊กแล้วและพร้อมใช้ จากนั้นกดปุ่ม “cook” แล้วทิ้งไว้ได้เลย พราะหม้อหุงข้าวจะจัดการขั้นตอนต่อไปให้เสร็จสรรพ! [8]
    • หม้อหุงข้าวส่วนใหญ่จะมีแค่ 2 โหมดคือ “cook” และ “warm”
    • ถ้าหม้อหุงข้าวรุ่นที่คุณใช้ค่อนข้างซับซ้อน อย่าลืมตั้งค่าโปรแกรมให้เหมาะสมก่อนหุงข้าว ศึกษาคู่มือผู้ผลิตเพื่อดูว่าควรตั้งค่าแบบไหน [9]
  3. พอข้าวสุกแล้วให้ทิ้งไว้ในหม้อก่อนเพื่อให้ข้าวสุกทั่วกันพอดี การปล่อยข้าวไว้ในหม้อหุงข้าวสักพักโดยไม่เปิดฝาหม้อจะทำให้ข้าวดูดซึมไอน้ำที่เหลือและเริ่มเย็นลงจนถึงอุณหภูมิที่รับประทานได้ เพราะฉะนั้นขณะที่พักข้าวไว้ก็ให้ปิดฝาด้วย [10]
    • ข้าวกล้องที่ไม่สุกดีมักจะกรุบและไม่อร่อย
    • อย่าข้ามขั้นตอนนี้ เวลาที่คุณหิวคุณอาจจะอยากจ้วงตักข้าวทันที แต่รสชาติที่เข้มข้นและเนื้อสัมผัสที่ดีกว่าของข้าวนั้นคุ้มค่าแก่การรอแน่นอน [11]
  4. ใช้ช้อนไม้หรือทัพพียางคลุกข้าวจากด้านนอกเข้ามาตรงกลางและใช้ขอบช้อนหรือทัพพีบี้ข้าวที่ติดกันเป็นก้อน พอถึงตอนนี้คุณก็จะได้ข้าวกล้องที่นุ่มและหุงสุกพอดี พร้อมเสิร์ฟคู่กับผัดผักรวมมิตร อาหารประเภทผัดอื่นๆ หรือปลาทอดสักชิ้น [12]
    • อย่าใช้ช้อนหรือทัพพีโลหะคลุกหรือตักข้าว เพราะอาจทำให้ด้านในหม้อหุงข้าวเป็นรอยถาวร [13]
    • บ้านคนไทยส่วนใหญ่มักจะมีทัพพีตักข้าวติดบ้านกันอยู่แล้วเพราะหุงข้าวเป็นประจำ ปัจจุบันมีทั้งแบบที่เป็นพลาสติกและออกแบบมาสำหรับผสมและตักข้าวโดยเฉพาะ [14]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ทำความสะอาดหม้อหุงข้าว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. วิธีนี้จะช่วยลดอุณหภูมิภายในหม้อและเมื่อถึงเวลาทำความสะอาดก็จะทำความสะอาดง่ายขึ้น ขณะที่ความร้อนค่อยๆ ลดลง มันจะทำให้คราบเหนียวๆ ที่ติดอยู่ในหม้อแห้งกรัง ซึ่งหลังจากนั้นก็ต้องออกแรงขัดนิดหน่อยถึงจะออก [15]
    • อย่าล้างหม้อตอนที่ยังร้อน ให้รอจนกว่าหม้อจะเย็นสนิทแล้วค่อยทำความสะอาด [16]
    • พอคุณรับประทานอาหารเสร็จแล้ว หม้อหุงข้าวก็จะเย็นพอให้คุณไปทำความสะอาดได้พอดี
  2. ใช้ขอบทัพพีตักข้าว (หรือจะใช้แค่นิ้วมือก็ได้) รูดไปตามผนังหม้อและก้นหม้อเพื่อเอาเศษข้าวแห้งกรังออก เอาเศษข้าวไปทิ้งในถังขยะหรือเครื่องกำจัดเศษอาหารโดยตรง พยายามใช้มือขูดเศษข้าวออกให้ได้มากที่สุด จากนั้นที่เหลือก็แค่เอาผ้าเปียกเช็ดให้สะอาด [17]
    • โดยทั่วไปหม้อหุงข้าวมักจะมีการเคลือบผิวเรียบลื่นที่ช่วยให้ทำความสะอาดง่ายอยู่แล้ว
    • เช่นเดียวกับที่บอกไปแล้วว่าอย่าใช้อุปกรณ์คมๆ หรืออุปกรณ์ขัดหยาบๆ เพราะประสิทธิภาพของอุปกรณ์ประเภทนี้ไม่คุ้มกับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
  3. เอาผ้าชุบน้ำอุ่นให้เปียกเพื่อเอาคราบแป้งที่ติดอยู่ออก เศษข้าวเป็นแผ่นๆ หรือเม็ดๆ ที่ติดอยู่ก็จะหลุดออกมา ตากลมไว้จนด้านในของหม้อแห้ง เอาฝามาปิดและเก็บไว้จนกว่าจะถึงเวลาหุงข้าวครั้งถัดไป [18]
    • ถ้าในหม้อหุงข้าวมีคราบใหญ่ๆ ที่ต้องอาศัยแรงขัด ให้ใช้แปรงล้างจานขนนุ่มหรือฟองน้ำด้านที่เป็นสก็อตไบรท์สีเขียวขัดออก [19]
    • เพื่อความปลอดภัย ให้ถอดปลั๊กหม้อหุงข้าวก่อนเอาน้ำมาเช็ดด้านในหรือรอบๆ หม้อหุงข้าว
  4. โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หม้อหุงข้าวธรรมดาทั่วไปราคาอยู่ที่ 300 - 700 บาทแล้วแต่ขนาด แต่ช่วยให้คุณหุงข้าวกล้องได้ง่ายๆ ตั้งแต่ในครั้งแรก
  • มองหาหม้อหุงข้าวรุ่นที่มีโหมดสำหรับหุงข้าวกล้องต่างหาก
  • เพื่อให้ข้าวนุ่มและละมุนขึ้น ให้เติมเกลือทะเล 1 หยิบมือก่อนเปิดสวิตช์
  • ระหว่างรับประทานอาหารให้เอาฝาหม้อปิดไว้เพื่อไม่ให้ข้าวที่ยังไม่ได้รับประทานแห้ง
  • อย่าลืมทำความสะอาดหม้อหุงข้าวให้ทั่วทั้งด้านในและด้านนอกทุกครั้งหลังใช้
โฆษณา

คำเตือน

  • การไม่ซาวข้าวกล้องให้ดีก่อนอาจจะทำให้เนื้อสัมผัสเป็นยางเหนียวๆ และทำให้ข้าวติดกันเป็นก้อนมากเกินไป
  • การรับประทานข้าวที่ทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องหรืออุ่นหลายครั้งอาจทำให้เกิดอาหารเป็นพิษร้ายแรงได้ [20]
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • หม้อหุงข้าว
  • กระชอน
  • ถ้วยตวงแห้ง
  • ช้อนไม้
  • ทัพพียาง
  • ผ้าหรือฟองน้ำหมาดๆ

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 16,774 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา