ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถึงฟันคนเราจะแข็งแรงแค่ไหน แต่บางเหตุการณ์ก็ทำเอาฟันแตก บิ่น หรือหักได้ ไม่ว่าจะอันไหนก็เจ็บปวดรวดร้าวด้วยกันทั้งนั้น แถมเสี่ยงติดเชื้อและอาการลุกลาม ถ้าคุณคิดว่าฟันแตกซะแล้ว ก็ต้องรีบไปหาหมอฟันโดยด่วน แต่ระหว่างนั้นเรามีขั้นตอนง่ายๆ ในการบรรเทาปวดและรักษาสุขภาพฟันมาฝากกัน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

รู้ได้ยังไงว่าฟันแตก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ฟันถูกกระแทกหรือเคี้ยวอะไรแข็งๆ แล้วปวดแปลบขึ้นมา. ถ้าฟันคุณแตกแบบรุนแรง คุณจะรู้สึกเจ็บหรือปวดมากขึ้นมาทันที รู้สึกเมื่อไหร่ให้คุณรีบสำรวจฟันซี่ที่เจ็บ ว่าแตกหรือบิ่นหายไปหรือเปล่า ถ้าฟันแหว่งไป แสดงว่าคุณฟันแตกซะแล้ว [1]
    • ระวังมีเศษฟันหลงเหลืออยู่ในปาก ระวังบาดปากบาดคอถ้าเผลอกลืนลงไป เพราะงั้นให้พยายามบ้วนสิ่งแปลกปลอมในปากออกมาให้หมด แต่ถ้าเห็นเศษฟันที่แตกก็ให้เก็บไว้ด้วย
  2. ถ้าฟันแตกไม่มาก คุณอาจยังไม่รู้สึกเจ็บหรือปวดขึ้นมาทันทีทันใด แต่จะปวดแบบทึบๆ เดี๋ยวปวดเดี๋ยวหายเป็นพักๆ ส่วนมากจะปวดตอนเคี้ยวอาหารหรือกินอะไรที่ร้อนจัดเย็นจัด ถ้าคุณปวดทำนองนี้ให้รีบไปหาหมอฟันดีกว่า [2]
  3. ถ้าคุณสังหรณ์ใจว่าฟันแตกแน่เลย ก็รีบสำรวจฟันทันทีจะดีที่สุด ให้คุณมองหารอยแตกหรือสังเกตว่าฟันมีส่วนไหนหายไปหรือเปล่า [3]
    • หรือจะลองเอาลิ้นดุนหรือเอามือคลำหาฟันแตกก็ได้ถ้ามองเข้าไปไม่เห็น ค่อยๆ กวาดลิ้นไปตามฟัน ถ้ารู้สึกว่าตรงไหนคมๆ แหลมๆ แสดงว่าคงมีฟันแตก
  4. ถ้าคุณหาฟันแตกไม่เจอ จะสังเกตจากเหงือกก็ได้ แนวเหงือกแถวๆ ฟันที่แตกมักบวมแดงขึ้นมา ถ้าคุณมีอาการที่ว่า แสดงว่าฟันซี่ใดซี่หนึ่งแถวนั้นแตกซะแล้ว [4]
  5. ไม่ว่าคุณจะหาจนเจอว่าฟันแตก แค่รู้สึกปวด หรือยังไงก็หาไม่เจอ ก็ควรไปหาหมอฟันโดยด่วนอยู่ดี ฟันแตกรักษาได้อยู่แล้ว แต่ต้องรีบรักษาให้เร็วที่สุดเพราะเดี๋ยวจะติดเชื้อหรือเป็นอันตรายกว่าเดิม ระหว่างนั้นก็ให้คุณดูแลตัวเองเบื้องต้นตามขั้นตอนข้างล่าง จะได้บรรเทาอาการก่อนพบคุณหมอ [5]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ปฐมพยาบาลก่อนไปหาหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เพราะบางทีคุณหมอก็นำกลับมาต่อคืนให้คุณได้ ถ้าเจอก็เก็บไว้เลยอย่าให้หาย แล้วเอาเศษฟันใส่กล่องหรือตลับเล็กๆ ที่หยอดนมหรือน้ำลายของคุณเลี้ยงไว้ เศษฟันนั้นจะได้ไม่เน่าไปก่อน พอไปหาหมอฟันเมื่อไหร่ก็เอาติดตัวไปด้วยเลย [6]
    • ห้ามพยายามต่อฟันกลับคืนเองเด็ดขาด นอกจากจะไม่ได้ผลเพราะไม่มีเครื่องมือที่จำเป็นแล้ว ยังอาจทำตัวเองเจ็บปวดรุนแรงถ้าเศษฟันไปทิ่มโดนเส้นประสาทที่โผล่มาเข้า
  2. ในช่องปากของคุณเต็มไปด้วยสารพัดแบคทีเรีย เพราะงั้นเวลามีแผลขึ้นมาก็เสี่ยงติดเชื้อได้ง่ายๆ แต่คุณป้องกันได้โดยบ้วนปากด้วยน้ำเกลือหลังรู้ว่าฟันแตก [7]
    • ให้ผสมเกลือ 1 ช้อนชาเข้ากับน้ำอุ่น 1 ถ้วยตวง
    • กลั้วน้ำเกลือไปมาในปากประมาณ 30 - 60 วินาที เน้นหนักตรงจุดที่ฟันแตก
    • ระวังอย่ากลืนน้ำเกลือลงคอ
    • บ้วนซ้ำหลังอาหารทุกมื้อ
  3. ถ้าฟันคุณแตกรุนแรงก็แน่นอนว่าต้องเจ็บปวดแบบสาหัส คุณบรรเทาปวดได้ด้วยยาแก้ปวดที่มีขายตามร้านขายยาทั่วไป กินประทังไปก่อนจนกว่าจะไปหาหมอฟันเพื่อรักษาต่อไป [8]
    • คนนิยมใช้ยา Ibuprofen อย่าง Motrin กับ Advil มากกว่ายา acetaminophen เพราะ ibuprofen ช่วยลดทั้งปวดทั้งบวม แต่ถ้าไม่มี ibuprofen จริงๆ ก็กิน acetaminophen อย่าง Tylenol แทนได้ [9]
  4. บางทีฟันแตกแล้วเกิดขอบคมที่อาจบาดเหงือกหรือลิ้นของคุณได้ เพราะงั้นให้กันไว้ก่อนโดยเอาขี้ผึ้งจัดฟัน หรือ dental wax มาทาทับตรงขอบที่แตก คุณหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปตรงมุมผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากและฟัน [10]
    • หรือจะเคี้ยวแล้วใช้หมากฝรั่งแบบไม่มีน้ำตาลมาติดไว้ก่อนก็ได้
  5. บางทีก็มีเหตุให้คุณไม่สามารถตรงดิ่งไปหาหมอฟันได้ทันทีที่ฟันแตก หรืออาจต้องรออีกหลายวันกว่าจะนัดคุณหมอได้ ระหว่างนั้นแน่นอนว่าคุณก็ยังต้องกินอาหารประทังชีวิตต่อไป ลองทำตามคำแนะนำต่อไปนี้ดูจะได้ลดปวดบวมและป้องกันไม่ให้อันตรายไปกว่าเดิม [11] [12]
    • กินแต่อาหารนิ่มๆ ฟันแตกแล้วบอบบางมาก เสี่ยงทั้งเจ็บปวดและติดเชื้อ ถ้าคุณดื้อกินอาหารแข็งๆ อีก คราวนี้ฟันอาจเสียหายกว่าเดิมจนเจ็บปวดเกินบรรยาย พยายามหาอะไรนิ่มๆ กินแทน อย่างพุดดิ้ง ซุป ข้าวต้ม จนกว่าคุณจะถึงมือหมอ
    • อย่ากินอะไรเย็นจัดหรือร้อนจัด เพราะจะทำให้ปวดฟันซี่ที่แตกได้ อย่าลืมว่าฟันแตกแล้วบอบบางมาก ทางที่ดีกินอาหารอุณหภูมิห้องดีกว่า
    • พยายามเคี้ยวข้างที่ฟันปกติดี เพราะถ้าเคี้ยวโดนฟันแตกอาจเจ็บปวดและเสียหายไปกว่าเดิม ต้องระวังเรื่องนี้ให้มากๆ เลย
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

วิธีการรักษา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าฟันคุณแค่แตกหรือบิ่นนิดๆ คุณหมออาจพิจารณากรอแต่งรูปทรงของฟันให้แทน โดยกรอแล้วขัดรอยแตกให้ขอบเรียบ ไม่คมจนบาดหรือขีดข่วนเหงือกและลิ้น วิธีรักษาแบบนี้เจ็บตัวไม่มากและเสร็จภายในครั้งเดียว [13]
  2. ถ้าฟันแตกแล้วเกิดรูในฟัน คุณหมอก็จะพิจารณาอุดให้เหมือนเวลาคุณฟันผุ โดยใช้วัสดุอุดฟันตามความเหมาะสม ปกติจะเป็น silver amalgam หรือพลาสติก เท่านี้ฟันคุณก็กลับมาดีเหมือนเก่า อุดฟันแล้วช่วยป้องกันไม่ให้อะไรเข้าไปติดในรูฟันและไม่ให้รูนั้นขยายใหญ่ขึ้นด้วย [14] [15]
  3. ถ้ารอยแตกค่อนข้างใหญ่ คุณหมอก็ต้องครอบฟันเพื่อซ่อมแซมแทน ปกติวัสดุครอบฟันจะทำจากโลหะหรือเซรามิก ซึ่งถูกออกแบบมาให้คล้ายกันกับฟันจริงๆ และแข็งแรงพอๆ กัน [16] [17]
  4. ถ้าฟันแตกรุนแรงจนเห็นเส้นประสาทหรือโพรงประสาทฟัน คุณหมอก็ต้องทำการรักษารากฟันเพื่อเก็บฟันซี่นั้นไว้ให้ใช้งานได้ โดยทำความสะอาดและฆ่าเชื้อด้านในของฟันให้หมดจดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และตั้งเป้าไว้ว่าจะไม่ต้องถอนฟัน [18] [19]
    • ถ้าคุณต้องรักษารากฟัน คุณหมออาจครอบฟันร่วมด้วยในภายหลังเพื่อป้องกันให้ดียิ่งขึ้น
  5. ถ้าฟันเสียหายเกินเยียวยา ก็เหลือทางเลือกเดียวคือต้องถอนฟัน นั่นคือกรณีที่ฟันแตกเลยแนวเหงือกลงไป ซึ่งลึกเกินกว่าจะรักษาซ่อมแซมได้ วิธีบรรเทาปวดและป้องกันการติดเชื้อลุกลามได้ดีที่สุดก็คือถอนฟันทิ้งไปเลย [20]
    • ถ้าคุณต้องถอนฟัน ให้ลองสอบถามคุณหมอดูว่าจะสามารถทดแทนฟันซี่เดิมได้ยังไงบ้าง
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

ป้องกันไม่ให้ฟันแตก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลายคนติดนิสัยชอบเคี้ยวอะไรแข็งๆ อย่างก้อนน้ำแข็งหรือปลายปากกา จริงอยู่ว่าฟันคนเราแข็งแรง แต่พฤติกรรมแบบนี้จะทำฟันคุณเสียได้ในระยะยาว ถ้าฝืนเคี้ยวของแข็งๆ ไปเรื่อยๆ ฟันอาจบอบบางอ่อนแอลงจนแตกในที่สุด คุณป้องกันได้โดยพยายามแก้นิสัยที่ว่านี่แหละ [21]
  2. โดยเฉพาะตอนนอนที่คุณอาจเผลอบดกรามและฟันซี่อื่นๆ กรอดๆ โดยไม่รู้ตัว นานๆ ไปเคลือบฟันคุณจะเสื่อมได้ ทำให้เสี่ยงฟันแตกขึ้นมา [22]
    • คนเรามักเผลอกัดหรือขบฟันตอนนอนโดยไม่รู้ตัว ทำให้แก้ได้ยากเหลือเกิน แต่ก็ยังพอมีฟันยาง (เหมือนของนักมวย) ที่ออกแบบมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ คุณจะได้ใช้ตอนนอนป้องกันการกัดฟัน ถ้าคุณมีปัญหานี้ลองปรึกษาหมอฟันของคุณดู คุณหมอจะได้แนะนำอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับคุณที่สุด
  3. ตอนเล่นกีฬานี่แหละที่คนเรามักถูกกระแทกจนฟันหักฟันแตกมากที่สุด ถ้าคุณเล่นกีฬาที่ต้องถึงเนื้อถึงตัวรุนแรงอย่างฟุตบอล หรือกีฬาที่ใช้ไม้ตีหรืออุปกรณ์แข็งๆ อื่นๆ ที่อาจฟาดโดนหน้าคุณได้ เช่น เบสบอล ก็ต้องใส่ฟันยางทุกครั้งเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับฟันของคุณ [23]
    • ลองแวะเข้าไปอ่าน ข้อมูลเพิ่มเติม ของ American Academy of Pediatric Dentistry ดู แล้วจะรู้ว่าฟันยางนั้นมีมากมายหลายแบบด้วยกัน
    • ถ้าคุณเลือกไม่ถูกว่าต้องใช้ฟันยางแบบไหน ปรึกษาหมอฟันประจำตัวจะดีที่สุด
  4. ถ้าคุณปล่อยให้ปากและฟันสกปรก รับรองเลยว่าฟันคุณจะอ่อนแอบอบบางซะจนเสียหายและติดเชื้อได้ง่ายๆ ยังดีที่คุณสามารถดูแลสุขภาพในช่องปากและฟันได้มากมายหลายวิธี แค่คุณหมั่นรักษาความสะอาดและไปตรวจสุขภาพฟันตามนัดอย่างเคร่งครัด คุณก็ห่างไกลฟันผุและฟันแตกแล้ว [24]
    • ลองเข้าไปอ่านบทความวิธีการ แปรงฟัน ของเราดู จะได้รู้ว่าแปรงฟันให้ถูกวิธีนั้นจริงๆ แล้วเขาทำกันยังไง
    • อย่าลืม ใช้ไหมขัดฟัน ทุกครั้งหลังแปรงฟันด้วย เพื่อขจัดคราบพลัคกับเศษอาหารตกค้าง
    • ที่สำคัญคือไปหาหมอฟันตามนัดอย่างเคร่งครัดเพื่อตรวจสุขภาพฟันและขูดหินปูนทุก 6 เดือน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าคุณถูกกระแทกจนฟันหลุดออกมา ให้รีบเอาฟันแช่ในนม แล้วพกติดตัวไปหาหมอฟันหรือแผนกฉุกเฉินโดยด่วน ชั่วโมงแรกถือว่าชี้เป็นชี้ตายเลย ว่าจะสามารถซ่อมแซมต่อฟันคืนให้คุณได้หรือเปล่า
  • ฟันแตกรักษาเองที่บ้านไม่ได้เด็ดขาด ให้หาหมอฟันทุกครั้งที่เสียวฟันปวดฟันตอนกินอาหาร หรือเวลาอุณหภูมิเปลี่ยน ยิ่งถ้าปวดตลอดเท่ากับเป็นสัญญาณอันตราย ว่าฟันที่แตกของคุณอาจเสียหายลึกถึงประสาทฟันรวมถึงเนื้อเยื่อข้างใน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 131,041 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา