ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ทุกๆ คนต่างก็มีสิ่งที่อยากจะทำให้สำเร็จในชีวิต การตั้งเป้าหมายและทำจนสำเร็จลงได้นั้นไม่เพียงแต่เป็นการทำภารกิจนั้นจบ แต่ยังได้สร้างความภาคภูมิใจในตนเอง ความสุข และความรู้สึกว่าได้ใช้ชีวิตมีคุณภาพ [1] มันจะมีทางเป็นไปได้มากกว่าถ้าเป้าหมายของคุณนั้นยืนอยู่บนความเป็นจริง เป้าหมายตามความเป็นจริงยังช่วยเป็นแรงขับเคลื่อนได้ดีกว่าการตั้งเป้าที่สูงเกินไป [2]

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เป้าหมายจากการระดมสมอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บันไดขั้นแรกในการวางเป้าหมายใดๆ ก็ตามคือการตัดสินใจว่าคุณนั้นต้องการอะไร ผู้คนส่วนใหญ่มีสิ่งที่พวกเขาปรารถนาต่างกันไป มันอาจเป็นความสุข สุขภาพที่ดี ความมั่งคั่ง หรือการมีสัมพันธ์กับคนรักที่ดีกว่าเดิม สิ่งแรกที่คุณต้องทำคือแปลงความปรารถนาให้กลายเป็นสิ่งที่คุณสามารถทำมันสำเร็จได้จริงๆ
    • จุดเริ่มต้นที่ดีคือการนิยามความต้องการ ถ้าคุณปรารถนาความสุข คิดก่อนว่าความสุขหมายถึงอะไรสำหรับคุณ ชีวิตที่มีความสุขในสายตาคุณเป็นเช่นใด คุณต้องทำอะไรบ้างถึงจะรู้สึกมีความสุข [3]
    • ในขั้นตอนนี้ถ้าเป้าหมายยังดูกว้างๆ ก็ไม่เป็นไรหรอก เช่น คุณอาจตัดสินใจว่าความสุขนั้นหมายถึงการมีอาชีพการงานตามที่มุ่งหวัง เป้าหมายทั่วไปของคุณก็อาจเป็นการหางานที่คุณพบว่าสนองตามความพึงพอใจของตนเอง
    • คุณอาจมีเป้าหมายหลายอย่างในขั้นตอนนี้ บางเป้าก็เป็นเป้าระยะยาว บางอันก็เป็นเป้าระยะสั้น การบันทึกทุกอย่างเก็บไว้ก่อนเป็นความคิดที่ดี
  2. ก่อนจะทำการตัดสินใจว่าเป้าหมายนั้นมีทางเป็นจริงได้หรือไม่ คุณจะต้องระบุมันให้แคบลง มันต้องอาศัยความเข้าใจกระจ่างชัดว่าคุณสามารถทำอะไรได้จริงๆ เพื่อจะทำมันให้สำเร็จ เป้าหมายที่ระบุเจาะจงลงไปนั้นทั้งเป็นแรงกระตุ้นและสามารถทำให้สำเร็จได้มากกว่าเป้าหมายลอยๆ [4]
    • หน้าที่ของคุณในขั้นตอนนี้คือนำความคิดทั่วๆ ไปที่คุณบันทึกไว้มาตีวงให้แคบลงเท่าที่จะทำได้
    • เช่น ลองคิดว่าถ้าเป้าหมายคุณคือการได้งานใหม่ที่น่าพึงพอใจกว่าเก่า ในขั้นตอนนี้คุณจำต้องตัดสินใจได้แล้วว่างานประเภทไหนถึงจะตอบสนองความพึงพอใจของตนเองได้มากที่สุด คุณอาจตัดสินใจว่าตัวเองอยากเป็นนักดนตรีอาชีพ นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่คุณสามารถตีวงให้แคบลงและเจาะลงได้มากกว่านั้น คุณอยากเล่นดนตรีแนวไหน เครื่องดนตรีชนิดใดที่อยากจะเล่น อยากจะเป็นศิลปินเดี่ยวหรือเล่นเป็นวงหรือเป็นวงออร์เคสตร้า
  3. การตัดสินว่าเป้าหมายนั้นมีความท้าทายแค่ไหนต้องใช้การค้นคว้าข้อมูลมาประกอบ ถ้าคุณไม่ได้คุ้นเคยกับกระบวนการเท่าไหร่ ยิ่งคุณมีความรู้ในกระบวนการก็จะยิ่งดีขึ้น [5] ในขณะทำการค้นคว้า ลองตอบคำถามเหล่านี้:
    • ทักษะใดที่คุณจำเป็นต้องเรียนรู้เพิ่ม
    • คุณจำต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตอย่างไรบ้าง
    • ค่าใช้จ่ายเป็นเท่าไหร่
    • ต้องใช้เวลานานแค่ไหน
  4. การตัดสินใจว่าเป้าหมายนั้นยืนบนพื้นของความเป็นจริงหรือไม่ คุณจะต้องรู้อย่างแจ่มชัดว่าต้องทำอย่างไรถึงจะสำเร็จได้ตามเป้า ในขั้นตอนนี้ คุณจำต้องแยกเป้าหมายออกเป็นส่วนๆ หรือออกเป็นขั้นตอน [6]
    • การแตกเป้าหมายออกเป็นเป้าหมายย่อยจะช่วยให้คุณวางแผนดำเนินการได้ง่ายขึ้นและเป็นความคิดที่ดีถ้าจะจดบันทึกขั้นตอนต่างๆ ก่อนลงมือทำ
    • เช่น ลองนึกภาพว่าเป้าหมายของคุณคือการเป็นนักเล่นเชลโล่มืออาชีพในวงออร์เคสตร้า โดยทั่วไปเป้าหมายนี้สามารถแตกย่อยออกมาได้เป็นหลายขั้นตอน คุณจำต้องซื้อเชลโล่ก่อนถ้าเกิดยังไม่มี คุณจะต้องเล่นได้เก่งพอตัว นั่นหมายถึงการต้องเข้าเรียน คุณอาจต้องถึงขั้นหาทางเข้าเรียนในคณะดุริยางคศิลป์หรือโรงเรียนดนตรี ในขณะเดียวกัน คุณยังต้องเรียนทฤษฎีทางดนตรี จากนั้นจึงค่อยพยายามหาทางได้งานในวงออร์เคสตร้า ซึ่งนั่นหมายถึงต้องไปทดสอบอย่างน้อยก็หนึ่งครั้ง (และจริงๆ คงต้องหลายครั้งแหละ) ซึ่งขึ้นอยู่กับเมืองที่คุณอาศัยอยู่ มันอาจจำเป็นที่คุณต้องย้ายที่อยู่ไปยังเมืองที่มีวงออร์เคสตร้าประจำเมือง
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ทำเป้าหมายให้เป็นไปตามความจริง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พอคุณเริ่มเห็นภาพว่าต้องทำอย่างไรบ้างถึงจะสำเร็จตามเป้าหมาย คุณก็ได้เวลามาพิจารณาดูว่าคุณสามารถทุ่มเทอุทิศเวลากับมันมากพอที่จะทำตามนั้นได้หรือไม่ คุณจะต้องพิจารณาทั้งเวลาและความพยายามที่จำเป็นต่อการทำเป้าหมายให้สำเร็จ [7]
    • โดยเฉพาะถ้าเป้าหมายของคุณนั้นยากหรือมีความซับซ้อน คุณจะต้องลุยกับมันเต็มตัว มันคงยากจะสำเร็จได้ถ้าคุณไม่รู้สึกว่ามันสลักสำคัญสักเท่าไหร่
    • ถ้าไม่แน่ใจว่าจะทุ่มเทกับมันได้สุดตัวจนทำตามเป้าหมายได้สำเร็จ มันก็คงเป็นแผนที่ไม่ยืนบนพื้นฐานความเป็นจริงแล้วละ นั่นหมายถึงคุณควรทบทวนเป้าหมายอีกครั้งหรือไม่ก็สร้างเป้าหมายใหม่ที่สามารถทุ่มเทให้มันได้
    • ยังยึดอยู่กับตัวอย่างของการเป็นนักเล่นเชลโล่มืออาชีพ คุณอาจตัดสินใจว่าการที่ถึงขั้นต้องย้ายถิ่นที่อยู่เป็นอะไรที่คุณคงทำไม่ไหว ถ้าเมืองที่อยู่ปัจจุบันไม่มีวงออร์เคสตร้าอยู่เลย ก็จำต้องทบทวนเป้าหมายทางอาชีพเสียใหม่แล้วละ
    • ถ้าคุณมีเป้าหมายหลายๆ อย่าง มันก็เป็นความคิดที่ไม่เลวถ้าจะลองจัดอันดับเป้าหมายตามลำดับความสำคัญที่คุณรู้สึกกับมัน การพยายามจะทำเป้าหมายให้สำเร็จทีเดียวหลายๆ เป้านั้นอาจทำให้ยากถึงขั้นทำไม่สำเร็จเลยสักเป้าก็ได้ ให้มุ่งไปที่เป้าซึ่งคุณคิดทุ่มเทให้มากที่สุดดีกว่า
  2. คุณน่าจะเคยได้ยินคนเขาพูดกันว่าถ้าลองเราทุ่มสุดใจ เราจะทำอะไรก็สำเร็จได้ ในบางกรณีมันก็เป็นเรื่องจริงอยู่ แต่มันก็มีกรณีที่ข้อจำกัดส่วนตัวของคุณอาจทำให้เป้าหมายไม่อาจจะเป็นจริงได้ ดังนั้นคุณจึงควรพิจารณาดูว่าเป้าหมายที่วางไว้นั้นมันดูมีเหตุมีผลสำหรับตัวเองหรือยัง [8]
    • ข้อจำกัดนั้นมีได้หลากหลายรูปแบบ เช่น มันอาจเป็นเรื่องปัจจัยทางการเงิน มันอาจเป็นเรื่องสมรรถภาพทางร่างกาย บางอย่างอาจพยายามเอาชนะมันได้ แต่บางอย่างนั้นมันก็ถือเป็นความท้าทายที่สูงเกินเอื้อม ในกรณีเช่นนี้ คุณอาจอยากจะคิดแก้ไขหรือทบทวนเป้าหมายใหม่จะดีกว่า
    • ยังคงยึดอยู่กับตัวอย่างของเป้าหมายอยากเป็นนักเชลโล่มืออาชีพ ถ้าคุณเคยประสบอุบัติเหตุจนมือนั้นใช้การเต็มสมรรถนะไม่ได้ นั่นก็ทำให้เป้าหมายนั้นสำเร็จได้ยาก คุณอาจต้องพยายามเอาชนะมันผ่านทางการทำกายภาพบำบัดอย่างหนักและฝึกเป็นอีกหลายปี แน่นอนว่าเป้าหมายนั้นยากยิ่งขึ้นและอาจเรียกว่าแทบเป็นไปไม่ได้ คุณควรตระหนักในสิ่งนี้ในระหว่างประเมินว่าเป้าหมายที่วางไว้ดูมีทางเป็นไปได้หรือไม่
    • บันทึกข้อจำกัดของตัวคุณ มันจะช่วยคุณเห็นภาพรวมของความท้าทายต่างๆ ที่ตัวเองต้องเผชิญ
  3. นอกจากข้อจำกัดของตัวคุณเองแล้ว เป้าหมายส่วนใหญ่จะมีปัจจัยเรื่องอุปสรรคภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง พวกมันเป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นโดยอยู่นอกเหนือจากการควบคุมของคุณ ทำให้เป้าหมายสำเร็จได้ยากขึ้น คุณควรนำอุปสรรคเหล่านี้มาขบคิดด้วย
    • เช่น ลองคิดดูว่าคณะดุริยางคศิลป์ที่คุณต้องการเข้าเรียนเชลโล่ เขารับนักศึกษายากแค่ไหน คุณมีโอกาสเท่าไหร่ แล้วถ้าคุณเกิดสอบไม่ติดล่ะ ยังมีทางเลือกอื่นอีกหรือเปล่า
    • คุณไม่อาจคาดเดาทุกๆ อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่ลองระดมความคิดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ บันทึกมันลงไป นี่จะช่วยคุณพัฒนาความรู้สึกว่าเป้าหมายที่วางไว้อยู่บนความเป็นจริงแค่ไหน
    • มันยังจะช่วยอีกในภายหลังหากคุณตัดสินใจจะทำตามเป้าหมาย การได้ลองคาดเดาอุปสรรคไว้ล่วงหน้าจะช่วยให้คุณมีความคิดรับมือกับมันได้เวลาที่มันโผล่ขึ้นมา [9]
  4. หลังจากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว คุณอาจตัดสินใจว่าเป้าหมายนี้พอมีทางเป็นไปได้ ถ้าเช่นนั้นก็ได้เวลาลงมือทำให้มันกลายเป็นจริง ถ้าไม่ใช่ คุณก็ต้องแก้ไขเป้าหมายเสียใหม่
    • ถ้าคุณตัดสินว่าเป้าหมายนั้นยากจะเป็นจริง คุณมีทางเลือกสองอย่าง คุณสามารถลองปรับแก้เป้าหมายให้มันดูสามารถทำสำเร็จได้ง่ายขึ้น หรือคุณปล่อยมันไปแล้วไปสร้างเป้าหมายใหม่
    • เช่น จินตนาการว่าคุณตัดสินใจว่าการเป็นนักเชลโล่มืออาชีพคงไม่ใช่เป้าหมายที่จะมีทางทำสำเร็จ ถ้าเป้าหมายใหญ่ในภาพรวมของคุณคือการได้ทำงานที่มีความสุข ก็ถึงเวลาที่จะต้องย้อนกลับไปจุดเริ่มต้น ลองคิดถึงอาชีพอื่นๆ ที่อาจทำให้คุณมีความสุขได้เช่นเดียวกัน
    • จำไว้ว่านั่นไม่ได้หมายความว่าคุณต้องเลิกเล่นเชลโล่ไปเลย ถ้าคุณรักดนตรีกับเชลโล่ คุณสามารถแก้ไขเป้าหมาย ตั้งเป้าว่าจะเรียนเชลโล่และเล่นมันเป็นแค่งานอดิเรกก็ได้ เป้าหมายนี้อาจท้าทายน้อยกว่าและอาจยืนบนพื้นความเป็นจริงสำหรับคุณและสถานการณ์ของตัวคุณในปัจจุบันมากกว่า
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ทำเป้าหมายให้สำเร็จ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พอคุณวางเป้าหมายที่ทำให้เป็นจริงได้สำเร็จลงแล้ว ขั้นตอนแรกก็คือการสร้างแผนที่ละเอียดสำหรับทำมันให้สำเร็จ
    • ในจุดนี้อาจจะค่อนข้างง่าย คุณได้เขียนขั้นตอนและอุปสรรคที่อาจเจอะเจอมาเรียบร้อยแล้ว ส่วนหลักๆ ของแผนการล้วนแล้วแต่มีการแจกแจงเตรียมพร้อมไว้แล้ว
    • คุณอาจต้องระบุรายละเอียดลงไปในขั้นตอนหน่อย เช่น ถ้าจะสมัครเข้าโรงเรียนดนตรี คุณต้องรวมรายละเอียดของกระบวนการสมัครเข้าไปในแผนด้วย คุณอาจต้องใช้จดหมายแนะนำ อาจต้องเขียนเรียงความ กรอกแบบฟอร์มใบสมัคร และ/หรือการเล่นคัดเลือก การทำทุกอย่างตามนี้จนสำเร็จควรจะอยู่ในแผนของคุณ
    • ขั้นตอนนั้นควรจะมีการนิยามลงรายละเอียดเฉพาะจนเวลาที่คุณทำแต่ละขั้นสำเร็จก็สามารถขีดฆ่ามันทิ้งได้ [10]
    • และมันก็เป็นความคิดที่ดีถ้าจะมีแผนฉุกเฉินสำหรับอุปสรรคนานาที่คุณต้องเผชิญ [11] หากโรงเรียนดนตรีที่แรกไม่รับคุณ คุณจะลองสมัครที่อื่นไหม หรือจะรอแล้วสมัครที่นี่อีกครั้งหลังปรับใบสมัครให้ดูเข้าท่าขึ้น
    • จงมีเป้าหมายและเป้าหมายย่อยที่สามารถวัดค่าได้และมีกำหนดระยะเวลา เช่น: "ฉันจะเก็บเงิน 20% จากเงินเดือนปตลอดอีก 12 เดือนข้างหน้าเพื่อจะซื้อเชลโล่เป็นของตัวเองภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2016"
  2. หลายๆ คนพบว่าการมีกำหนดระยะเวลาโดยเฉพาะในแผนจะช่วยทำให้แผนการดูมีทางจะสำเร็จได้มากขึ้น มันช่วยให้คุณสามารถติดตามความก้าวหน้าได้อย่างมีความรับผิดชอบขึ้น [12]
    • เช่น คุณอาจตั้งเป้าที่จะเก็บเงินเพื่อซื้อเชลโล่ภายในหกเดือน คุณอาจเริ่มลงเรียนในเดือนถัดไป คุณอาจตั้งเป้าจะเล่นเทคนิคพื้นฐานได้คล่องภายในสิ้นปี เป็นต้น
  3. พอวางแผนได้ละเอียดครบถ้วน เลือกวันที่จะเริ่มต้นแล้วลงมือทำเลย! หนทางเดียวที่จะทำตามเป้าหมายสำเร็จคือให้เวลาและทุ่มเทความตั้งใจให้ได้ตามที่จำเป็น [13]
    • เลือกวันอย่างน้อยสองสามวันข้างหน้าเพื่อช่วยคุณสร้างความมุ่งมั่นกับแรงกระตุ้นเมื่อวันนั้นใกล้มาถึงเรื่อยๆ [14]
  4. พอเริ่มลงมือทำแล้ว ให้ติดตามความก้าวหน้าของตัวเอง จะใช้สมุดบันทึก แอป หรือปฏิทินทั่วๆ ไปก็ได้
    • การติดตามความก้าวหน้าช่วยให้คุณมีความรับผิดชอบกับเส้นตายที่วางเอาไว้ [15]
    • มันยังช่วยคุณมองเห็นความก้าวหน้าที่ได้ทำลงไปในขณะที่คุณทำตามกระบวนการในแผน มันจะช่วยคุณรักษาแรงกระตุ้นเพื่อก้าวต่อไปเรื่อยๆ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หลังจากที่คุณเริ่มทำตามเป้าหมาย คุณอาจพบว่ามันท้าทายมากกว่าที่คาดเดาไว้ ถ้าเป็นเช่นนี้ จะกลับมาทบทวนกระบวนการใหม่ก็ไม่เป็นไรหรอก คุณอาจต้องกลับมาทบทวนแนวทางใหม่อีกหลายหน
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. McGregor, I., & Little, B. R. (1998). Personal projects, happiness, and meaning: on doing well and being yourself. Journal of personality and social psychology, 74(2), 494.
  2. Brunstein, J. C. (1993). Personal goals and subjective well-being: A longitudinal study. Journal of Personality and Social Psychology, 65, 1061–1070.
  3. Fischhoff, B., Slovic, P., & Lichtenstein, S. (1988). Knowing what you want: Measuring labile values. Decision Making: Descriptive, Normative and Prescriptive Interactions, Cambridge University Press, Cambridge, 398-421. (Chapter 18)
  4. Austin, J. T., & Vancouver, J. B. (1996). Goal constructs in psychology: Structure, process, and content. Psychological Bulletin, 120, 338 –375.
  5. http://www.lifecoach-directory.org.uk/blog/2014/06/30/rediscover-your-motivation-and-set-achievable-goals-with-life-coach-directory/
  6. http://us.reachout.com/facts/factsheet/putting-your-goals-into-action
  7. Koestner, R., Lekes, N., Powers, T. A., & Chicoine, E. (2002). Attaining personal goals: Self-concordance plus implementation intentions equals success. Journal of Personality and Social Psychology, 83, 231–244.
  8. Brunstein, J. C. (1993). Personal goals and subjective well-being: A longitudinal study. Journal of Personality and Social Psychology, 65, 1061–1070.
  9. http://theinvestingmindset.com/goal-setting-how-to-to-achieve-your-goals-in-7-steps

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,742 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา