ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ยาเม็ดคุมกำเนิดออกฤทธิ์โดยใช้ฮอร์โมนในการสกัดยับยั้งการตั้งครรภ์ โดยขึ้นอยู่กับยาแต่ละชนิดด้วย หากใช้ยาคุมชนิดฮอร์โมนผสม (Combination) จะส่งผลให้เกิดภาวะรังไข่หยุดการผลิต และทำให้เมือกปากมดลูกเกิดจับตัวหนา จนสเปิร์มไม่สามารถว่ายผ่านเข้าไปวางไข่ได้ แถมยังทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางลง ซึ่งส่งผลให้สเปิร์มไม่สามารถปฏิสนธิกับไข่ได้ [1] ส่วนยามินิพิล (Minipill) เป็นยาคุมชนิดฮอร์โมนเดี่ยว ซึ่งสามารถส่งผลให้เกิดภาวะที่กล่าวมาเช่นกัน (แต่ไม่ได้หยุดการทำงานของรังไข่) และถึงแม้ว่ายาตัวอื่นๆ มักจะถูกเรียกเหมารวมว่า “ยาเม็ด” กันจนติดปาก แต่ที่จริงแล้วยาเม็ดแต่ละแบบ ก็ให้ผลต่างกันไป ซึ่งหากคุณไม่มีประสบการณ์การใช้ยาคุมกำเนิดมาก่อน ขอให้ศึกษาและใช้อย่างถูกวิธี เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยสามารถเริ่มอ่านจากบทความนี้ได้เลย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

วิธีเลือกยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การคุมกำเนิดแม้จะมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน หากแต่ด้วยราคาที่ย่อมเยา จึงทำให้ยาเม็ดเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากกว่าวิธีอื่น [2] อย่างไรก็ตาม การจะดูว่าคุณเหมาะสมกับการคุมกำเนิดวิธีใดมากที่สุด ขึ้นอยุ่กับปัจจัยด้านสุขภาพของคุณเองด้วย ดังนั้น อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจ หากยังไม่ได้ปรึกษาแพทย์
    • ในส่วนของยาเม็ดทั่วๆ ไป มีอยู่ 2 ประเภท คือ ยาคุมผสม ซึ่งประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสติน ผสมกัน ส่วนอีกประเภทคือ มินิพิลส์ หรือยาคุมเดี่ยว จะมีโปรเจสตินเพียงอย่างเดียว [3]
    • ยาคุมผสม ยังแตกย่อยได้อีกเป็น 2 ประเภท คือแบบ Monophasic ซึ่งมีส่วนผสมของเอสโตเจนและโปรเจสตินเท่าๆ กัน ส่วนอีกแบบ คือ Multiphasic ซึ่งมีส่วนผสมของฮอร์โมนทั้งสองตัวต่างกันไปตามสูตร
    • ยาคุมแบบฮอร์โมนผสม อาจทำออกมาเป็นสูตรส่วนผสมน้อย (Low-dose) โดยมีตัวยา Ethinyl Estradiol ไม่เกิน 50 ไมโครกรัม ยาเม็ดประเภทนี้จึงเหมาะกับผู้หญิงที่ไวต่อปฏิกิริยาของเอสโตรเจน แต่ก็มีรายงานว่าผู้ใช้ยาประเภทนี้ ยังเกิดอาการเลือดออกทางช่องทางคลอดได้อยู่ดี
  2. ยาคุมแบบผสม อาจจะเป็นที่นิยมกันมากในหมู่สตรี แต่ไม่ได้หมายความว่า มันจะเหมาะสมกับคุณมากที่สุด ซึ่งหากคุณมีเงื่อนไขทางร่างกายดังต่อไปนี้ แพทย์ก็มักจะไม่แนะนำยาดังกล่าวให้: [4]
    • กำลังอยู่ในช่วงให้นมบุตร
    • อายุมากกว่า 35 ปี และติดบุหรี่
    • มีความดันโลหิตสูง
    • เคยมีภาวะหลอดเลือดขาและปอดอุดตัน
    • เคยตรวจพบมะเร็งปากมดลูก
    • เคยมีอาการของโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง
    • มีอาการของโรคเบาหวาน
    • เคยมีอาการเกี่ยวกับตับและไต
    • เคยมีเลือดออกในช่องคลอดหรือทางเดินปัสสาวะ
    • เคยมีอาการเลือดเป็นลิ่มหรือแข็งตัว
    • มีอาการของโรคแพ้ภูมิตัวเอง
    • คุณมีอาการของไมเกรน แบบเห็นแสงจ้าร่วมด้วย
    • คุณอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดใหญ่ ที่ต้องพักฟื้นนานๆ
    • คุณกำลังรับประทานยาสกัดจากต้นเซนท์จอห์นสเวิร์ท (St. John’s wort) และยาต้านลมชัก รวมถึงยาต้านวัณโรค
    • แพทย์ยังอาจไม่แนะนำยาคุมเดี่ยวให้คุณด้วย หากคุณเข้าเป็นมะเร็งทรวงอก มีเลือดออกในช่องคลอดหรือทางเดินปัสสาวะ และกำลังรับประทานยาต้านลมชัก หรือยาต้านวัณโรค อยู่ในปัจจุบัน
  3. ยาคุมแบบฮอร์โมนผสม เป็นที่นิยมในหมู่สตรีเพราะมีประโยชน์หลายแง่ หากแต่ย่อมมีผลข้างเคียงที่ต้องคำนึงถึงเช่น ดังนั้น คุณควรศึกษาและชั่งน้ำหนักดูว่า ยาประเภทไหนจึงเหมาะแก่คุณ โดยประโยชน์ของยาคุมผสมก็อย่างเช่น : [5] [6]
    • ได้ผลประมาณ 99% หากใช้อย่างถูกวิธี
    • ลดอาการปวดเกร็งจากการมีประจำเดือน
    • อาจช่วยป้องกันโรคเชิงกรานอักเสบด้วย
    • ลดโอกาสเป็นมะเร็งเยื่อบุมดลูก และมะเร็งรังไข่
    • ช่วยลดความถี่และความรุนแรงของการมีประจำเดือน
    • สิวลดลง
    • มีส่วนช่วยเสริมสร้างมวลกระดูกให้หนาแน่น
    • ช่วยลดการผลิตฮอร์โมนแอนโดรเจนในร่างกาย อันเกิดจากภาวะรังไข่ทำงานผิดปกติ
    • ป้องกันการเกิดภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก
    • ลดความเสี่ยงของภาวะพร่องธาตุเหล็ก อันเกิดจากประจำเดือนไหลออกมากเกินไป
    • ป้องกันการเกิดก้อนซีสท์ บริเวณทรวงอกและรังไข่
  4. มีปัจจัยเสี่ยงมากมายจากใช้ยาประเภทนี้ ซึ่งบางอย่างอาจรุนแรงมาก ดังนั้น คุณควรปรึกษาแพทย์ให้แน่ใจก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณกำลังใช้ยาบางประเภท หรือติดบุหรี่ [8] ความเสี่ยงของการใช้ยาคุมแบบฮอร์โมนผสม ได้แก่: [9]
    • ไม่ช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมถึงโรคเอดส์ด้วย (คุณต้องใช้ถุงยางอนามัย)
    • เพิ่มโอกาสในการเกิดหัวใจวายและหลอดเลือดสมองแตก
    • ทำให้เกิดลิ่มเลือดได้ง่าย
    • ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้
    • เพิ่มโอกาสเกิดนิ่วในถุงน้ำดี เนื้องอกที่ตับ และภาวะดีซ่าน
    • มีอาการเจ็บเต้านม
    • มีอาการคลื่นไส้และอาเจียน
    • น้ำหนักเพิ่ม
    • ปวดศีรษะ
    • มีอาการซึมเศร้า
    • เลือดออกผิดปกติ
  5. ยาคุมแบบฮอร์โมนเดี่ยว หรือมีแต่โปรเจสตินนั้น มีข้อดีน้อยกว่ายาคุมผสม แต่ก็มีข้อเสียน้อยกว่าด้วยเช่นกัน และคุณก็ควรปรึกษาแพทย์เช่นเคย ก่อนที่จะตัดสินใจว่า ยาคุมแบบไหนเหมาะกับคุณมากกว่า: [10] [11]
    • บางครั้งคุณสามารถทานยาคุมประเภทนี้ได้ ถึงแม้จะมีอาการทางสุขภาพ เช่น ภาวะเลือดเป็นลิ่ม ความดันโลหิตสูง ไมเกรน หรือมีภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจก็ตาม
    • สามารถทานได้ แม้ในช่วงให้นมบุตร
    • ลดอาการปวดเกร็งช่วงมีประจำเดือน
    • ลดความรุนแรงของประจำเดือน
    • ช่วยป้องกันโรคเชิงกรานอักเสบ
  6. ถึงแม้จะมีผลเสียน้อยกว่า แต่การทานยาคุมเดี่ยว ก็อาจก่อให้เกิดภาวะที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ยาก ดังนั้น คุณควรพูดคุยกับแพทย์ว่า ข้อดีของมันคุ้มค่ากว่าข้อเสียดังต่อไปนี้หรือไม่: [12] [13]
    • ไม่ช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมถึงโรคเอดส์ด้วย (คุณต้องใช้ถุงยางอนามัยเหมือนเคย)
    • มีประสิทธิภาพน้อยกว่ายาคุมผสม Potentially less effective than combination pills
    • อาจต้องใช้ยาคุมอื่นๆ ร่วมด้วย หากคุณลืมทานยาตัวนี้ภายใน 3 ชั่วโมง ตามเวลาปกติที่ทานในแต่ละวัน
    • เลือกออกทางช่องคลอด ในช่วงหมดประจำเดือน (โอกาสเกิดขึ้นมากกว่ายาคุมผสม)
    • มีอาการเจ็บเต้านม
    • มีอาการคลื่นไส้และอาเจียน
    • เพิ่มโอกาสเกิดก้อนซีสท์ บริเวณทรวงอกและรังไข่
    • มีโอกาสเกิดภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูกเล็กน้อย หากเทียบกับยาคุมผสม
    • สิวอาจเพิ่มขึ้น
    • น้ำหนักเพิ่ม
    • มีอาการซึมเศร้า
    • เส้นผมและขนดกผิดปกติ
    • ปวดศีรษะ
  7. หากสุขภาพคุณแข็งแรงพอที่จะใช้ยาคุมกำเนิด และเลือกใช้ยาคุมแบบผสม ทีนี้ก็ลองมาดูว่า คุณชอบการที่มีประจำเดือนถี่น้อยลงหรือเปล่า [14]
  8. ตระหนักว่า ยาบางชนิดส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยาคุม. แพทย์ของคุณจะช่วยวิเคราะห์อีกครั้งว่า ยาที่คุณกำลังใช้อยู่ จะส่งผลต่อยาเม็ดคุมกำเนิดหรือไม่ แต่โดยทั่วไปแล้ว ยาต่อไปนี้ถือว่ามีผล: [17] [18]
    • ยาแก้อักเสบบางประเภท เช่น เพนนิซิลลิน และเตตระไซคลีน
    • ยาแก้ลมชักบางชนิด
    • ยาต้านโรคเอดส์บางชนิด
    • ยาต้านวัณโรค
    • ผลิตภัณฑ์ยาสกัดจากต้นเซนท์จอห์นสเวิร์ท (St. John’s wort)
  9. การบอกแก่แพทย์ไปตามความเป็นจริงว่า คุณเคยใช้หรือกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง จะช่วยให้แพทย์หาทางแก้ไขในกรณีที่ยาดังกล่าว อาจมีผลต่อประสิทธิภาพของยาเม็ดคุมกำเนิด และปฏิกิริยาบางอย่างซึ่งก่อให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรงด้วย: [19]
    • ยาควบคุมฮอร์โมนไทรอยด์
    • ยาเบ็นโซไดอะซีพีนส์ (Benzodiazepines) หรือไดอะซีแพม (Diazepam)
    • ยาเพร็ดนิโซน (Prednisone)
    • ยาต้านอาการซึมเศร้า กลุ่มไตรไซคลิค
    • ยายับยั้งเบต้า (Beta-blockers)
    • ยาสลายลิ่มเลือด เช่น Warfarin
    • อินซูลีน
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

จัดระเบียบตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ยาบางอย่างมีวิธีการใช้อย่างรัดกุม เช่น บางตัวต้องกินตามเวลานั้นนี้ ส่วนบางตัวอาจกินเฉพาะช่วงเวลา พยายามอ่านและฟังคำแนะนำอย่างเคร่งครัด รวมถึงปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้ [20]
    • หากคุณไม่ได้ทานยาเม็ดคุมกำเนิดตามข้อกำหนด มันอาจส่งผลให้ขาดประสิทธิภาพ และคุณก็จะมีโอกาสตั้งครรภ์ได้
  2. การสูบบุหรี่ในช่วงที่ใช้ยาคุมกำเนิด ผู้หญิงที่ติดบุหรี่ และอายุเกิน 35 ขึ้นไปแล้ว ควรหลีกเลี่ยงยาคุมแบบฮอร์โมนผสม เพราะอาจเกิดอาการหลอดเลือดอุดตัน ซึ่งอันตรายถึงชีวิต [21]
    • คุณควรจะงดบุหรี่ให้เด็ดขาดเลย เพราะแม้จะแค่สูบนานๆ ครั้ง ก็อาจฆ่าคุณได้ แต่หากคุณไม่ได้สูบอยู่แล้ว ก็อย่าไปลอง
  3. เมื่อได้ยามาจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญแล้ว อย่าลืมเริ่มทานเม็ดแรกตามคำแนะนำ ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละชนิด แต่โดยทั่วไปแล้ว มักมีข้อกำหนดดังนี้ : [22] [23]
    • ยาคุมแบบฮอร์โมนผสม ควรเริ่มกินเม็ดแรก ในวันแรกที่ประจำเดือนของรอบนั้นมา
    • หากจะให้จำง่ายๆ คุณก็สามารถเริ่มกินยาคุมแบบฮอร์โมนผสม ในวันอาทิตย์หลังจากประเดือนมาวันแรก
    • หากคุณเพิ่งคลอดลูกตามธรรมชาติมา ต้องรอให้ครบสามสัปดาห์ก่อน ถึงจะกินยาคุมแบบฮอร์โมนผสมได้
    • หากเป็นกรณีที่คุณมีความเสี่ยงต่อภาวะเลือดเป็นลิ่ม หรือกำลังพักฟื้นอยู่ ก็ให้เว้นช่วงเพิ่มเป็น 6 เดือน
    • หากคุณเพิ่งทำหมันหรือทำแท้งมา ก็ไม่มีปัญหา คุณสามารถเริ่มทานยาคุมแบบฮอร์โมนผสมได้ทันที
    • คุณสามารถเริ่มทานยาคุมแบบฮอร์โมนผสมแผงใหม่ โดยตรงกับวันเดียวกันตอนที่เริ่มทานแผงเดิม
    • ส่วนยาคุมแบบฮอร์โมนเดี่ยว สามารถทานเมื่อไรก็ได้ แต่หากคุณจะมีเพศสัมพันธ์ภายใน 48 ชั่วโมงหลังทานยาล่ะก็ ควรจะป้องกันทางอื่นเอาไว้ด้วย
    • คุณควรทานยาคุมแบบฮอร์โมนเดี่ยวตามเวลาเดิมทุกวัน โดยอาจเลือกจำง่ายๆ เช่น ก่อนนอนทุกวัน เป็นต้น
    • คุณสามารถทานยาคุมแบบฮอร์โมนเดี่ยวหลังทำแท้ง หรือทำหมัน ได้ทันทีเช่นกัน
  4. บางครั้งต่อให้ทานยาเม็ดคุมกำเนิดแล้ว ก็ยังอาจตั้งครรภ์ได้ ซึ่งหากคุณเริ่มทานเม็ดแรกในวันแรกที่ประจำเดือนมา มันจะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ดีกว่า [24] หากคุณเริ่มทานยาเม็ดแรกในวันถัดๆ ไป มันจะไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าไร [25]
    • หากคุณเริ่มทานเม็ดแรกในวันอาทิตย์ถัดไป ควรใช้การป้องกันการตั้งครรภ์วิธีอื่นร่วมด้วย [26] [27]
    • หากคุณเริ่มทานยาเม็ดแรกช้ากว่านั้นอีก มันอาจจะใช้เวลาเป็นเดือน กว่าที่ยาจะเริ่มทำหน้าที่ของมัน
    • หากคุณไม่เริ่มทานยาภายใน 5 วันหลังจากรอบเดือนมาวันแรก คุณควรใช้วิธีอื่นร่วมในการคุมกำเนิดด้วย เป็นเวลาหนึ่งเดือนหรือจนกว่าจะเริ่มยาแผงใหม่ [28]
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ข้อควรใช้ยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จะเช้าสายบ่ายเย็นก็ได้ แต่ขอให้ตรงเวลาครบ 24 ชั่วโมงนั่นเอง ซึ่งผู้หญิงหลายๆ คน ที่อยากจำเวลาได้ง่ายๆ ก็จะเลือกทานก่อนเข้านอน ในกรณีที่นอนเป็นเวลาเดิมทุกคืน หากใครทานไม่ตรงเวลา ผลก็คืออาจทำให้เลือดหยดในช่องคลอด และการป้องกันก็จะไม่เต็มที่ด้วย
    • หากทานยาคุมแบบฮอร์โมนเดี่ยว ไม่ควรทานแตกต่างจากเวลาเดิมเกิน 3 ชั่วโมง นับจากเวลาปกติที่คุณทานประจำ หากคุณไม่ทานภายในช่วงเวลาดังกล่าว คุณควรใช้ถุงยางอนามัยหรือวิธีคุมกำเนิดแบบอื่นป้องกันไว้ด้วย เพื่อกันเหนียวเอาไว้ ตัวอย่างเช่น หากคุณทานยาเวลา 2 ทุ่มเป็นประจำ แต่วันนี้คุณเพิ่งมานึกได้ตอนเที่ยงคืน ก็ขอให้ทานยาเข้าไปเหมือนเดิม แต่ต้องคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นไว้ด้วย เ น การใช้ถุงยางอนามัย เป็นต้น [29]
    • คุณอาจใช้โทรศัพท์เพื่อตั้งเวลาเตือน เมื่อถึงเวลาทานยาแล้ว กรณีที่คุณขี้ลืม
    • แอพพลิเคชันของสมาร์ทโฟนบางตัว ก็นำมาช่วยในการเตือนได้ เช่น แอพพลิเคชัน myPill และ Lady Pill Reminder
    • ทานยาครึ่งชั่วโมงหลังรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้ [30]
  2. เพราะยาคุมแบบฮอร์โมนผสม อาจมีอัตราส่วนผสมมากน้อยต่างกันไปในแต่ละเม็ด ดังนั้น หากคุณทานยาประเภทอื่นนอกเหนือจาก Monophasic อาจมีข้อกำหนดเพิ่มเติม ในกรณีที่คุณลืมทานยาในบางวัน [31]
    • ยาคุมแบบ Monophasic เช่น ยี่ห้อ Ortho-cyclen, Seasonale และ Yaz จะมีอัตราส่วนของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสตินเท่ากันทุกเม็ด ดังนั้น คุณสามารถทานยาต่อไปได้ตามปกติ ในกรณีที่ลืมและเพิ่งนึกขึ้นได้ภายหลัง ส่วนวันถัดไปก็ทานตามเวลาเดิมเหมือนเคย
    • ยาคุมแบบ Biphasic เช่น ยี่ห้อ Kariva และ Mircette Ortho-Novum 10/11จะมีอัตราส่วนเปลี่ยนไปในช่วงหนึ่งของแผง
    • ยาคุมแบบ Triphasic เช่น ยี่ห้อ Ortho Tri-Cyclen, Enpresse และ Cyclessa จะเปลี่ยนอัตราส่วนของเอสโตรเจนและโปรเจสติน ทุกๆ รอบ 7 วัน
    • ยาคุมแบบ Quadriphasic เช่น ยี่ห้อ Natazia จะมีอัตราส่วนเอสโตรเจนและโปรเจสติน เปลี่ยนไปประมาณ 4 ครั้งในแต่ละแผง
  3. อย่าลืมว่า ยาคุมแบบฮอร์โมนผสม ยังแบ่งย่อยออกเป็นประเภทสูตรดั้งเดิม และแบบต่อเนื่อง (หรือสูตรขยายรอบเดือน) ดังนั้น อ่านคำแนะนำให้ตรงตามชนิดแยกย่อยของมัน ดังนี้ [32]
    • ยาคุมแบบต่อเนื่อง 21 วัน คุณต้องทานวันละเม็ด เวลาเดิมทุกวัน และเว้นออกไป 7 วัน จากนั้น จึงเริ่มแผงใหม่
    • ยาคุมแบบต่อเนื่อง 28 วัน คุณต้องทานวันละเม็ด เวลาเดิมทุกวัน ครบแล้วจึงเริ่มแผงใหม่ทันที ซึ่งยาประเภทนี้บางเม็ด อาจไม่มีส่วนผสมฮอร์โมน ในขณะที่บางเม็ดอาจมีแค่เอสโตรเจนอย่างเดียว และในระหว่างเดือน คุณอาจมีอาการเลือดออกในช่องคลอดประมาณ 4-7 วัน
    • ส่วนยาคุมแบบต่อเนื่อง 3 เดือน คุณก็แค่ทานไปเรื่อยๆ ตามเวลาเดิมทุกวัน จนครอบ 84 วัน และใน 7 วันสุดท้าย ก็ทานเหมือนเดิม เพียงแต่ตัวยาจะไม่มีฮอร์โมนผสมแล้ว หรือมีเพียงเอสโตรเจนเท่านั้น และเช่นกันในระหว่างสามเดือนนี้ คุณอาจมีอาการเลือดออกในช่องคลอดประมาณ 7 วัน
    • ส่วนยาคุมแบบต่อเนื่อง 1 ปี คุณก็ทานไปเรื่อยๆ ตามเวลาเดิมทุกวันจนครบปี ซึ่งระหว่างปี อาจมีประจำเดือนมาบ้าง หรืออาจไม่มีเลยก็ได้
  4. คุณอาจมีอาการเดียวกับคนแพ้ท้องในช่วงแรกๆ เช่น เวียนหัว คัดหน้าอก เจ็บหัวนม ช่องคลอดมีเลือดออกกะปริบกะปรอย รวมถึงมีอาการคลื่นไส้ด้วย [33] อย่างที่บอกไปแล้วว่า ยาคุมบางประเภทอาจทำให้ประจำเดือนหายไปเลยก็ได้ ดังนั้น คุณควรถามแพทย์หรืออ่านให้แน่ใจก่อน จะได้ไม่ตกใจในภายหลัง
  5. หากคุณทานยาคุมประเภทที่ระงับการมีประจำเดือน คุณควรเฝ้าระวังอาการเลือดออกในช่องคลอด ไม่ว่าจะเป็นแบบกะปริบกะปรอย หรือแบบไหลเยอะ (ที่เกิดขึ้นในช่วงรอยต่อระหว่างรอบเดือน) ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ ซึ่งต่อให้คุณทานยาคุมแบบที่ประจำเดือนยังมาปกติ ก็อาจมีอาการเลือดออกในช่องคลอดลักษณะดังกล่าวได้เหมือนกัน เพราะในระยะแรกๆ ร่างกายคุณยังสับสนและกำลังปรับตัวอยู่ แต่พอเวลาผ่านไปสัก 6 เดือนแล้ว อาการจะเริ่มหายไปเอง [35]
    • อาการเลือดออกในช่องคลอด ทั้งแบบกะปริบกะปรอย และแบบไหลเยอะ มักเกิดจากยาคุมแบบฮอร์โมนผสม สูตรอัตราส่วนน้อย ง่ายกว่าประเภทอื่นๆ
    • อีกสาเหตุหนึ่งของอาการเลือดออกในช่องคลอด คือ การทานยาขาดช่วง หรือไม่ตรงเวลาเดิม
  6. นัดหมอหรือหาซื้อไว้ล่วงหน้า อย่าปล่อยให้สถานการณ์ฉุกละหุก โดยควรเตรียมไว้ติดตัว 2 แผงตลอดเวลา [36]
  7. คุณอาจลองทานยาคุมตัวอื่นๆ ได้ หากแบบที่กำลังทานอยู่ไม่เหมาะกับคุณ. อย่ากลัวที่จะเปลี่ยนยี่ห้อ หรือลองเทคนิคการคุมกำเนิดแบบอื่นๆ คุณควรไปปรึกษาแพทย์ หากพบว่าตนเองได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ยา หรือถูกเล่นงานด้วยอาการในกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน ทั้งนี้ ยังมีวิธีคุมกำเนิดอีกมาก ที่มีผลข้างเคียงน้อยกว่าการทานยาเม็ด [37]
  8. หากคุณมีอาการตัวเหลือง ปวดหัว ปวดตา ปวดเกร็งท้องและหน้าอก รวมถึงบริเวณขา โดยเฉพาะหากคุณสูบบุหรี่ในช่วงดังกล่าวด้วยแล้ว ให้รีบหยุดยาทันที เพราะอาจกำลังเกิดปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดอุดตัน
  9. หากมีอาการต่อไปนี้ คุณควรเริ่มเตรียมตัวเพื่อไปพบแพทย์: [41] [42]
    • ปวดศีรษะรุนแรง ต่อเนื่อง
    • การมองเห็นผิดปกติ
    • เห็นแสงแว้บหรือจ้า (Aura)
    • มีอาการชา
    • เจ็บหน้าอกรุนแรง
    • หายใจติดขัด
    • ไอเป็นเลือด
    • หน้ามืด เวียนศีรษะ
    • ปวดบริเวณต้นขาและน่อง
    • มีอาการตัวเหลือง หรือดีซ่าน
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

วิธีแก้ เมื่อลืมทานยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากเวลากระชั้นชิดกับเม็ดถัดไปแล้ว ก็ทานเม็ดถัดไปตามเวลาเดิม ไม่ต้องเลื่อน [43] ยาคุมประเภท Multiphasic อาจมีข้อกำหนดต่างออกไปเล็กน้อย
    • หากเป็นยาประเภทอื่นๆ ถ้าคุณลืมทานวันนี้ และไปนึกได้อีกทีวันพรุ่งนี้ แถมยังถึงเวลาทานยาเม็ดใหม่แล้วพอดี ก็ให้ทานเม็ดก่อนหน้าด้วย คู่กันไปเลย [44]
    • หากไปนึกได้อีกทีวันมะรืน ก็แบ่งออกเป็นทาน 2 เม็ดในวันดังกล่าว และวันถัดไปก็ทานอีก 2 เม็ด [45]
    • ไม่ว่าคุณจะลืมทานยากี่เม็ดหรือกี่วัน หากจะมีเพศสัมพันธ์ ขอให้ป้องกันด้วยถุงยางอนามัยด้วย จนกว่าจะเริ่มยาแผงใหม่
    • ยิ่งหากคุณลืมทานยาตั้งแต่สัปดาห์แรกที่เริ่มแผงใหม่ล่ะก็ ยิ่งต้องคุมกำเนิดด้วยวิธีฉุกเฉินอื่นๆ ควบคู่กันไป จนกว่าจะเริ่มแผงใหม่
    • หากเป็นยาคุมแบบฮอร์โมนผสม ในช่วงที่เม็ดยามีเอสโตรเจนอย่างเดียว คุณยิ่งต้องทานให้ตรงเวลาเดิมทุกวัน ไม่ควรเกินหนึ่งชั่วโมง [46]
  2. หากคุณลืมทานยา และลืมเวลาล่าสุดที่ทาน ก็สามารถติดต่อหรือปรึกษาแพทย์ เพื่อจะได้แก้ไขอย่างถูกวิธี [47]
    • วิธีชดเชยยาเม็ดที่ลืมทาน แตกต่างกันไปตามแต่ละชนิด การปรึกษาแพทย์จะทำให้คุณได้รับคำแนะนำที่แน่นอนที่สุด
  3. หากคุณกำลังป่วย ควรพิจารณาใช้ทางเลือกอื่นๆ ในการคุมกำเนิดด้วย. หากคุณป่วยโดยมีอาการท้องเสียและอาเจียนร่วมด้วยแล้ว ยาคมที่คุณทานเข้าไป อาจไม่ได้อยู่ในระบบดูดซึมอาหารนานพอที่จะออกฤทธิ์
    • หากคุณอาเจียนหรือถ่ายท้อง ภายใน 4 ชั่วโมงหลังทานยาคุม มันอาจจะยังไม่ออกฤทธิ์ ดังนั้น ให้ป้องกันด้วยวิธีคุมกำเนิดแบบอื่นด้วย เหมือนเช่นกรณีที่คุณลืมทานยานั่นเอง [48]
    • หากคุณมีปัญหาเรื่องการกิน และทานยาถ่ายหรืออาเจียนบ่อย ให้ป้องกันการตังครรภ์ด้วยวิธีอื่น [49] ปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญอีกครั้ง

เคล็ดลับ

  • หากคุณไปรักษาอาการป่วยอื่นๆ แม้แต่การไปหาทันตแพทย์ อย่าลืมบอกพวกเขาว่าคุณกำลังใช้ยาคุมกำนิด
  • การทานยาเม็ดคุมกำเนิด มีความเสี่ยงต่อสุขภาพน้อยกว่าการปล่อยให้ตัวเองตั้งครรภ์เสียอีก [50]

คำเตือน

  • หากลืมทานยา ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำวิธีแก้อย่างถูกวิธี
  1. http://www.plannedparenthood.org/learn/birth-control/birth-control-pill
  2. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/birth-control/in-depth/best-birth-control-pill/art-20044807?pg=2
  3. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/birth-control/in-depth/best-birth-control-pill/art-20044807?pg=2
  4. http://www.plannedparenthood.org/learn/birth-control/birth-control-pill
  5. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/birth-control/in-depth/birth-control-pill/art-20045136
  6. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/birth-control/basics/birth-control-pills/hlv-20049454
  7. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/birth-control/basics/birth-control-pills/hlv-20049454
  8. http://www.acog.org/~/media/For%20Patients/faq021.pdf
  9. http://www.medicinenet.com/oral_contraceptives/page3.htm
  10. http://www.medicinenet.com/oral_contraceptives/page3.htm
  11. http://www.hhs.gov/opa/pdfs/birth-control-pill-fact-sheet.pdf
  12. http://www.webmd.com/women/guide/comparing-birth-control-pill-types-combination-mini-pills-more?page=2
  13. http://www.plannedparenthood.org/health-topics/birth-control/birth-control-pill-4228.htm
  14. http://www.acog.org/~/media/For%20Patients/faq021.pdf
  15. http://www.upmc.com/patients-visitors/education/contraception/Pages/birth-control-pill-instructions-combined-oral-contraceptives.aspx
  16. http://www.healthywomen.org/content/ask-expert/1788/effectiveness-birth-control-pills
  17. http://www.upmc.com/patients-visitors/education/contraception/Pages/birth-control-pill-instructions-combined-oral-contraceptives.aspx
  18. http://www.acog.org/~/media/For%20Patients/faq021.pdf
  19. http://www.healthywomen.org/content/ask-expert/1788/effectiveness-birth-control-pills
  20. http://www.plannedparenthood.org/learn/birth-control/birth-control-pill
  21. http://youngwomenshealth.org/birth-control-pills-all-guides/
  22. http://www.webmd.com/women/guide/comparing-birth-control-pill-types-combination-mini-pills-more?page=3
  23. http://www.acog.org/~/media/For%20Patients/faq021.pdf
  24. http://www.webmd.com/sex/birth-control/birth-control-pills?page=3
  25. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/birth-control/in-depth/birth-control-pill/art-20045136
  26. http://www.plannedparenthood.org/learn/birth-control/birth-control-pill
  27. http://www.upmc.com/patients-visitors/education/contraception/Pages/birth-control-pill-instructions-combined-oral-contraceptives.aspx
  28. http://www.sheknows.com/health-and-wellness/articles/949067/pass-on-the-pill-alternatives-to-birth-control-pills
  29. http://www.acog.org/Womens-Health/Birth-Control-Contraception
  30. http://www.hhs.gov/opa/reproductive-health/contraception/vaginal-ring/
  31. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/birth-control/basics/seo/hlv-20049454
  32. http://www.upmc.com/patients-visitors/education/contraception/Pages/birth-control-pill-instructions-combined-oral-contraceptives.aspx
  33. http://www.plannedparenthood.org/learn/birth-control/birth-control-pill
  34. http://www.plannedparenthood.org/learn/birth-control/birth-control-pill
  35. http://www.webmd.com/sex/birth-control/forgot-to-take-your-birth-control-pills
  36. http://www.webmd.com/sex/birth-control/forgot-to-take-your-birth-control-pills
  37. http://www.plannedparenthood.org/health-topics/birth-control/if-forget-take-pill-19269.htm
  38. http://www.acog.org/~/media/For%20Patients/faq021.pdf
  39. http://www.serc.mb.ca/sexual-health/birth-control/birth-control-pill
  40. http://goaskalice.columbia.edu/do-i-have-bulimia-and-will-it-interfere-my-birth-control-pills
  41. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/birth-control/basics/birth-control-pills/hlv-20049454

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,082 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม