ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เนื้องอกมดลูกเป็นเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งที่ก่อตัวขึ้นในมดลูกของคุณ [1] ซึ่งพบได้บ่อยมาก ผู้หญิง 70% จะมีเนื้องอกมดลูกในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต [2] ตามปกติแล้วเนื้องอกมดลูกจะไม่แสดงอาการ แต่ก็อาจทำให้รู้สึกปวดและมีเลือดออกมากได้ คุณสามารถทำให้เนื้องอกมดลูกฝ่อด้วยวิธีธรรมชาติได้ อย่างไรก็ตามหากคุณมีอาการปวดอย่างรุนแรงหรือเรื้อรัง มีเลือดออกมาก หรือปัสสาวะไม่สุด คุณควรไปพบแพทย์จะดีที่สุด

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ใช้วิธีธรรมชาติ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แพทย์ส่วนใหญ่แนะนำให้ "เฝ้าดูอย่างระมัดระวัง" หากเนื้องอกมดลูกขนาดเล็กไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรง เช่น มีเลือดออกผิดปกติ เป็นหมัน หรือปวดประจำเดือน เมื่อเวลาผ่านไปเนื้องอกก็จะเริ่มฝ่อเองโดยไม่ต้องใช้การรักษาทางการแพทย์ [3]
    • เนื้องอกมดลูกมักจะเริ่มขึ้นในวัยเจริญพันธุ์ ใหญ่ขึ้นเมื่อตั้งครรภ์ และฝ่อหลังช่วงหมดประจำเดือน เพราะฉะนั้นการรอดูสัก 2-3 ปีอาจจะดีกว่าการรับประทานยาโดยไม่จำเป็นหรือเข้ารับการรักษาทางการแพทย์ที่เกินจำเป็น
    • เนื้องอกมดลูกไม่ใช่มะเร็ง เพราะฉะนั้นคุณไม่จำเป็นต้องไปกังวลหากมันไม่ได้แสดงอาการ
    • ใช้วิธี "สังเกตและคอยดู" ก็ต่อเมื่อคุณรู้ว่ามันเป็นเนื้องอกมดลูกเท่านั้น แต่ถ้าเป็นเนื้องอกที่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร ไปพบแพทย์จะดีที่สุด
  2. ชาเขียวและสารสกัดจากชาเขียว (Epigallocatechin Gallate หรือ EGCG) อาจช่วยลดความรุนแรงของอาการที่เกิดจากเนื้องอกมดลูกได้ มันอาจจะทำให้เนื้องอกมดลูกฝ่อลงหรือป้องกันไม่ให้มีเนื้องอกเกิดขึ้นใหม่ จิบชาเขียววันละ 1 ถ้วยทุกวันหรือรับประทานอาหารเสริมจากชาเขียว วิธีนี้อาจช่วยบรรเทาอาการได้ [4]
    • ปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานอาหารเสริมใดๆ
    • โดยทั่วไปชาเขียวไม่มีผลข้างเคียงที่ร้ายแรง แต่ถ้าคุณไวต่อคาเฟอีน คุณก็อาจจะจำกัดปริมาณชาเขียวที่คุณดื่ม ชาเขียวมีคาเฟอีน ซึ่งอาจทำให้รู้สึกหงุดหงิด วิตกกังวล และคลื่นไส้ได้ [5]
  3. ยาสมุนไพรจีนอาจช่วยให้เนื้องอกมดลูกฝ่อและบรรเทาอาการที่เกิดจากเนื้องอกมดลูกได้ อย่างไรก็ตามสมุนไพรบางชนิดก็อาจจะมีปฏิกิริยาต่อยาหรือโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆ เพราะฉะนั้นคุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยาสมุนไพรใดๆ จะดีที่สุด [6]
    • จำไว้ว่าองค์การอาหารและยาไม่ได้ทำหน้าที่ควบคุมยาสมุนไพรจีน นอกจากนี้การกำหนดปริมาณยาก็อาจจะทำได้ยากและมีหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกันไป
    • เช่น ยาสมุนไพร กุ้ยจือฝูหลิงหวาน อาจช่วยลดขนาดของเนื้องอกมดลูกได้ [7]
    • เช่นเดียวกัน สารสกัดจากเถาพระเจ้าฟ้าร้องหรือ 雷公藤 ก็อาจจะช่วยทำให้เนื้องอกมดลูกฝ่อได้เทียบเท่าหรือดีกว่ายาไมเฟพริสโตน [8]
    • สูตรยากุ้ยจือฝูหลิงหวาน 桂枝茯苓丸 (กิ่งอบเชยจีน เห็ดโพเรีย เมล็ดพีช ไป่เสา และเปลือกรากโบตั๋น) และยาไมเฟพริสโตนรวมกันก็สามารถลดขนาดของเนื้องอกมดลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน [9] กุ้ยจือฝูหลิงหวานกับยาไมเฟพริสโตนรวมกันมีประสิทธิภาพกว่าการใช้แค่ยาตัวใดตัวหนึ่ง [10]
  4. กายภาพบำบัดอาจช่วยทำให้เนื้องอกมดลูกฝ่อได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรเทาอาการที่เกิดจากเนื้องอกมดลูกได้ในผู้หญิงบางคน ปรึกษาแพทย์เพื่อดูว่าการทำกายภาพบำบัดเหมาะกับกรณีของคุณหรือไม่ แพทย์อาจจะสามารถแนะนำนักกายภาพบำบัดที่รู้วิธีการรักษาภาวะของคุณ [11]
    • รู้ว่านักกายภาพบำบัดอาจจะจัดการกับอาการปวดและอาการต่างๆ ได้ แต่ไม่สามารถจัดการปัญหาเนื้องอกมดลูกที่ซ่อนอยู่ได้โดยตรง
  5. เข้ารับการฝังเข็มหากคุณอยากรักษาด้วยแพทย์ทางเลือก. การฝังเข็มอาจมีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการที่เกิดจากเนื้องอกมดลูกให้ดีขึ้นในผู้หญิงบางคน และเนื่องจากว่าโดยทั่วไปแล้วการฝังเข็มมีผลข้างเคียงน้อย ก็อาจจะคุ้มค่ากับการลองถ้าหากรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล [12]
    • คุณต้องเลือกแพทย์ฝังเข็มที่ได้รับการรับรอง ขอให้แพทย์เป็นคนแนะนำให้ และแจ้งให้แพทย์เจ้าของไข้ทราบว่าคุณใช้วิธีการรักษาเสริมใดบ้าง
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

รู้จักเนื้องอกมดลูกและปัจจัยเสี่ยง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เนื้องอกมดลูกเป็นเนื้องอกผิวสัมผัสเหมือนยางลบที่ก่อตัวขึ้นตรงผนังมดลูก มักเกิดขึ้นในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งอายุ 35 ปีขึ้นไป ในกรณีส่วนใหญ่เนื้องอกที่ไม่ใช่เนื้อร้ายเหล่านี้จะยังคงเป็นก้อนเล็กๆ และแทบจะไม่กลายเป็นมะเร็งเลย อย่างไรก็ตามเนื้องอกมดลูกก็ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้หญิงบางคนเป็นอย่างมาก [13]
    • โดยทั่วไปเนื้องอกมดลูกจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม เนื้องอกที่โพรงมดลูกเติบโตในโพรงมดลูก เนื้องอกในกล้ามเนื้อเติบโตในผนังมดลูก และเนื้องอกที่ผิวด้านนอกมดลูกเติบโตตรงด้านนอกของมดลูก [14]
  2. ผู้หญิงหลายคนอาจจะมีเนื้องอกมดลูกโดยที่ไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ เพราะเนื้องอกมดลูกในผู้หญิงหลายคนไม่ได้แสดงอาการ ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว หรือนำไปสู่ปัญหาสุขภาพ แต่ในผู้หญิงบางคนเนื้องอกมดลูกก็อาจจะสร้างความเจ็บปวดหรือแม้กระทั่งทำให้อาการต่างๆ แย่ลง ถ้าคุณมีอาการใดอาการหนึ่งต่อไปนี้ ให้ไปพบแพทย์: [15]
    • มีเลือดประจำเดือนออกมามากและ/หรือเป็นระยะเวลานาน เนื้องอกมดลูกจะทำให้ผนังมดลูกหนากว่าปกติในช่วงรอบเดือน ทำให้มีเลือดประจำเดือนออกมามากกว่าปกติ ในบางกรณีอาจจะมีเลือดออกอย่างรุนแรงจนทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง [16]
    • ลักษณะของการมีรอบเดือนเปลี่ยนไปอย่างมาก (เช่น อาการปวดที่เพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง มีเลือดประจำเดือนออกมามากกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด)
    • ปวดท้องน้อย หรือรู้สึก “หน่วงๆ” หรือ “จุกๆ” บริเวณอุ้งเชิงกราน เนื้องอกมดลูกมีขนาดตั้งแต่เล็กมากๆ (เล็กกว่าเมล็ดพืช) ไปจนถึงใหญ่มากๆ (เท่าผลเกรปฟรุต) เนื้องอกมดลูกขนาดใหญ่อาจทำให้ท้องของคุณพองออกมาเหมือนคนท้องเลยก็ได้
    • รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
    • ปัสสาวะบ่อยและ/หรือปัสสาวะลำบาก
    • ท้องผูก เนื้องอกมดลูกอาจจะขยายตัวและทำให้มดลูกไปเบียดกระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ ทำให้เกิดอาการท้องผูก
    • ปวดหลัง
    • เป็นหมัน กรณีนี้เกิดขึ้นน้อยมาก แต่ในบางกรณีเนื้องอกมดลูกก็อาจจะไปลดอัตราการฝังตัว ทำให้เกิดภาวะเป็นหมันได้ [17]
  3. แม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะยังไม่รู้แน่ชัดว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเนื้องอกมดลูก แต่ดูเหมือนว่าจะมีปัจจัยบางอย่างที่มีส่วนเกี่ยวข้อง การรู้ว่าเนื้องอกมดลูกเกิดจากอะไรอาจช่วยให้คุณรู้ว่า วิธีการรักษาแบบไหนที่เหมาะกับคุณ [18]
    • เป็นไปได้ว่าความผิดปกติในหลอดเลือดมดลูกอาจทำให้เกิดเนื้องอกมดลูก
    • ยีนส์ที่ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อมดลูกเจริญเติบโตในอัตราเร่งอาจเป็นสาเหตุของเนื้องอกมดลูก
    • เนื้องอกมักจะสัมพันธ์กับวงจรการเจริญพันธุ์ของผู้หญิง คือไม่ค่อยเกิดขึ้นในช่วงก่อนมีประจำเดือนครั้งแรก และมักจะเพิ่มขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่า ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโพรเจสเทอโรนอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดเนื้องอกมดลูก
  4. โชคไม่ดีที่วิธีการรักษาแบบธรรมชาตินั้นแทบจะไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มารองรับเลย [19] แม้ว่าจะมีหลายกรณีที่งานวิจัยดูท่าจะไปได้ดี แต่งานวิจัยเองก็มักจะมีข้อจำกัดหรือความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดพลาดทางคลินิก ยังไม่มีงานวิจัยที่ศึกษาวิธีรักษาแบบใดแบบหนึ่งมากพอ ไม่ว่าจะเป็นคำแนะนำด้านอาหาร การรักษาโรคด้วยโฮมิโอพาธีย์ การออกกำลังกาย และอื่นๆ
    • หมายความว่าถ้าคุณอยู่ในสถานการณ์ที่เนื้องอกมดลูกทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัวหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ คุณก็ควรปรึกษาแพทย์เรื่องวิธีการรักษาแบบมาตรฐาน แต่ถ้าเนื้องอกมดลูกไม่ได้ทำให้คุณรู้สึกปวดหรือส่งผลกระทบใหญ่ๆ ในชีวิตของคุณ การรักษาด้วยวิธีธรรมชาติที่หลายคนบอกต่อกันมาเพื่อบรรเทาอาการก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย
    • เพื่อความปลอดภัย ให้ปรึกษาแพทย์เรื่องวิธีการรักษาที่คุณอยากจะลองเพื่อให้แน่ใจว่า จะไม่เกิดผลที่เป็นอันตรายตามมา
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

รู้ว่าเมื่อไหร่ต้องไปพบแพทย์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. 1
    เข้ารับการรักษาทันทีหากมีเลือดออกทางช่องคลอดจำนวนมากหรือปวดท้องอย่างรุนแรง. แม้ว่าคุณจะไม่ได้เป็นอะไร แต่อาการเหล่านี้ก็อาจร้ายแรงถึงขั้นที่ต้องเข้ารับการรักษาแบบฉุกเฉิน ไปพบแพทย์ในวันนัดวันเดียวกันหรือไปที่ศูนย์ดูแลผู้ป่วยเร่งด่วนก็ได้ แพทย์จะประเมินเพื่อระบุสาเหตุของอาการ เพื่อให้คุณได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที [20]
    • ทั้งหมดนี้อาจเป็นสัญญาณว่ามีบางอย่างผิดปกติ เพราะฉะนั้นอย่าลังเลที่จะขอความช่วยเหลือ
  2. 2
    ไปพบแพทย์หากคุณมีอาการปวดเรื้อรัง ปัสสาวะไม่สุด หรือมีเลือดประจำเดือนออกมามาก. เป็นเรื่องปกติที่คุณจะรู้สึกปวดท้องบ้างและมีเลือดออกมามากเล็กน้อยในช่วงมีประจำเดือน แต่อาการปวดที่ไม่หายไปสักทีและมีเลือดออกมามากนั้นเป็นสิ่งที่ต้องกังวล เช่นเดียวกันคือคุณควรจะปัสสาวะได้สุด ถ้าคุณมีอาการเหล่านี้ คุณต้องไปพบแพทย์เพื่อหาว่า อะไรเป็นสาเหตุและทำอย่างไรอาการของคุณจึงจะดีขึ้น [21]
    • แพทย์อาจจะตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) อัลตราซาวน์ เอ็มอาร์ไอ หรือถ่ายภาพทางรังสีเพื่อทำการวินิจฉัย
    • อาการเหล่านี้อาจเกิดจากเนื้องอกมดลูกที่มีขนาดใหญ่มาก แต่ก็อาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นได้เช่นกัน แพทย์สามารถหาคำตอบได้ว่าเกิดอะไรขึ้น
  3. สอบถามแพทย์ว่ายาสามารถบรรเทาอาการปวดที่เกิดจากเนื้องอกมดลูกได้หรือไม่. ยาที่ใช้รักษาเนื้องอกมดลูกส่วนใหญ่ออกแบบมาเพื่อเปลี่ยนแปลงระดับของฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งจะทำงานโดยการปรับฮอร์โมนที่ทำให้เนื้องอกเจริญเติบโต ช่วยให้เนื้องอกฝ่อเมื่อเวลาผ่านไปสักระยะ แพทย์อาจจะจ่ายยาตัวใดตัวหนึ่งต่อไปนี้ให้คุณ : [22]
    • โกนาโดโทรปิน รีลีสซิงฮอร์โมน (Gn-RH) อะโกนิสต์ (ลูพรอน ซินนาเรล และอื่นๆ) จะไปหยุดการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและโพรเจสเทอโรน ซึ่งจะทำให้ประจำเดือนไม่มาชั่วคราว วิธีนี้จะทำให้เนื้องอกมีเวลาฝ่อ
    • ยากลุ่มทรานีซามิก (ไลสเตดา) เป็นยาที่ไม่ใช่ฮอร์โมนที่ช่วยให้ประจำเดือนน้อยลงหากคุณรับประทานในวันที่มีเลือดประจำเดือนออกมามาก
    • เลโทรโซลคือยาที่ลดระดับเอสโตรเจน และอาจช่วยให้เนื้องอกมดลูกฝ่อ [23]
    • ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เช่น ไอบูโพรเฟน (แอดวิล มอทริน) และนาพรอกเซน (อะลีฟ) สามารถบรรเทาอาการปวดที่เกิดจากเนื้องอกมดลูกได้ แต่ไม่ได้ช่วยให้เนื้องอกมดลูกหดตัว
  4. ปรึกษาแพทย์เรื่องการใช้การคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนเพื่อลดปริมาณเลือดที่ออกทางช่องคลอด. การคุมกำเนิดแบบฮอร์โมน เช่น ยาคุมกำเนิดหรือห่วงคุมกำเนิด (IUD) จะไปจัดการกับระดับฮอร์โมนและทำให้ประจำเดือนมาน้อยลง แต่มันไม่ได้ช่วยให้เนื้องอกมดลูกฝ่อลงได้จริงๆ แพทย์จะอธิบายความเสี่ยงและประโยชน์ของการใช้การคุมกำเนิดแบบฮอร์โมน เพื่อให้คุณตัดสินใจได้ว่ามันเหมาะกับคุณไหม [24]
    • ยาคุมกำเนิดก็สะดวกดี แต่คุณต้องรับประทานยาเวลาเดียวกันทุกวัน
    • IUD จะฝังอยู่ที่ด้านในของมดลูกและอยู่ได้เป็นเวลานาน เช่น หลายปี แต่คุณก็สามารถเอาออกเมื่อไหร่ก็ได้
    • ประกันสุขภาพของคุณอาจจะครอบคลุมยาคุมกำเนิดหรือ IUD เพราะฉะนั้นเช็กผลประโยชน์คุ้มครองก่อน
  5. สอบถามเรื่องการใช้พลังงานจากคลื่นความถี่สูงโดยใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแม่เหล็กเป็นตัวนำ (FUS) เพื่อทำลายก้อนเนื้องอก. วิธีนี้เป็นวิธีการที่ไม่เจ็บตัวและไม่ต้องกรีดลงไปบนผิวหนัง โดยแพทย์จะใช้คลื่นเสียงหาตำแหน่ง ส่งผ่านความร้อน และทำลายเนื้องอกมดลูกขณะที่คุณอยู่ในเครื่องสแกนเอ็มอาร์ไอ วิธีนี้ทำให้เนื้องอกมดลูกฝ่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ [25]
    • วิธีนี้เป็นการรักษาด้วยเทคโนโลยีแบบใหม่ เพราะฉะนั้นก็อาจจะไม่ใช่ทุกโรงพยาบาลที่มีการรักษาแบบนี้
    • แม้ว่าวิธีการรักษาแบบนี้จะไม่เจ็บ แต่คุณก็อาจจะรู้สึกไม่สบายตัวจากการนอนนิ่งๆ บนโต๊ะ
  6. พิจารณาวิธีการรักษาแบบที่มีการสอดใส่เครื่องมือเข้าไปในร่างกายเล็กน้อย เพื่อให้เนื้องอกมดลูกที่ทำให้เกิดอาการปวดฝ่อ. แพทย์อาจจะสามารถใช้วิธีการรักษาแบบไม่ต้องผ่าตัดเพื่อทำให้เนื้องอกมดลูกฝ่อหรือแตกตัวได้ ถ้าแพทย์แนะนำวิธีการรักษาอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ เขาจะทำให้คุณรู้สึกสบายตัวมากที่สุดขณะทำการรักษา แพทย์อาจจะแนะนำวิธีการรักษาดังต่อไปนี้: [26]
    • เนื้องอกมดลูกสามารถรักษาหรือทำลายได้ด้วยการอุดหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงมดลูก ซึ่งเป็นการฉีดอนุภาคเล็กๆ ที่เข้าไปหยุดการไหลเวียนเลือดในเนื้องอก วิธีนี้จะทำให้เนื้องอกมดลูกฝ่อและตายไปในที่สุด
    • ระหว่างสอดเข็มเข้าไปทำลายเส้นเลือด แพทย์จะใช้กระแสไฟฟ้าหรือเลเซอร์ทำลายเนื้องอก
    • แพทย์อาจจะใช้วิธีผ่าตัดเนื้องอกมดลูกผ่านกล้องหรือด้วยหุ่นยนต์เพื่อเอาเนื้องอกมดลูกออกผ่านทางรูเล็กๆ หรือรอยกรีดที่หน้าท้อง
  7. เข้ารับการผ่าตัดหากเนื้องอกมดลูกขัดขวางการดำเนินชีวิต. การผ่าตัดอาจเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการรักษาเนื้องอกมดลูก ซึ่งเป็นกรณีที่พบได้น้อย เพราะโดยทั่วไปแล้วจะใช้วิธีนี้ก็ต่อเมื่อเป็นกรณีที่รุนแรงและไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่นเท่านั้น ถ้าแพทย์คิดว่าทางเลือกนี้เป็นทางเลือกที่เหมาะกับคุณ เขาก็จะช่วยอธิบายให้คุณเข้าใจถึงความเสี่ยงและประโยชน์ของมัน [27]
    • ในระหว่างการตัดเนื้องอกมดลูกผ่านการเปิดหน้าท้อง แพทย์จะเอาเนื้องอกมดลูกออกมาแต่พยายามรักษาระบบสืบพันธุ์ทั้งหมดเอาไว้
    • ถ้าคุณต้องผ่าตัดมดลูก แพทย์จะนำระบบสืบพันธุ์ออกมาพร้อมกับเนื้องอกมดลูก วิธีนี้จะทำให้คุณไม่มีประจำเดือนและป้องกันไม่ให้เกิดเนื้องอกมดลูกอีกในอนาคต แต่ก็จะทำให้คุณเป็นหมัน
    โฆษณา

คำเตือน

  • แหล่งข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือบางแหล่งจะบอกว่า คุณสามารถทำให้เนื้องอกมดลูก “หาย” หรือรักษาได้ด้วยการรับประทานอาหาร ซึ่งยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มารองรับ การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ไม่รับประทานเนื้อแดงมากเกินไป และรับประทานผักและอาหารที่มีวิตามินดีสูงอาจช่วยให้คุณจัดการกับเนื้องอกมดลูกได้ แต่ก็ไม่มีหลักฐานว่าใยอาหาร อาหาร “พิเศษ” หรือโฮมิโอพาธีย์นั้นช่วยรักษาเนื้องอกมดลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ [28]
โฆษณา
  1. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23633329
  2. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/25445104
  3. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/25445104
  4. http://www.womenshealth.gov/publications/our-publications/fact-sheet/uterine-fibroids.html?from=AtoZ#k
  5. http://www.womenshealth.gov/publications/our-publications/fact-sheet/uterine-fibroids.html?from=AtoZ#k
  6. http://my.clevelandclinic.org/health/diseases_conditions/hic_Uterine_Fibroids
  7. http://www.womenshealth.gov/publications/our-publications/fact-sheet/uterine-fibroids.html?from=AtoZ#e
  8. http://obgyn.ucla.edu/body.cfm?id=326
  9. https://www.nichd.nih.gov/health/topics/uterine/conditioninfo/causes
  10. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/uterine-fibroids/basics/alternative-medicine/con-20037901
  11. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/uterine-fibroids/symptoms-causes/syc-20354288
  12. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/uterine-fibroids/symptoms-causes/syc-20354288
  13. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/uterine-fibroids/diagnosis-treatment/drc-20354294
  14. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24151065
  15. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24151065
  16. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/uterine-fibroids/basics/treatment/con-20037901
  17. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/uterine-fibroids/basics/treatment/con-20037901
  18. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/uterine-fibroids/basics/treatment/con-20037901
  19. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/25826470

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 15,946 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา