ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

โรคปวดก้นกบ (Coccydynia) หรืออาการเจ็บปวดในบริเวณกระดูกก้นกบ (Coccyx) อาจเกิดขึ้นจากความผิดปกติทางโครงสร้างหรือจากการหกล้ม แต่ประมาณหนึ่งในสามของผู้ป่วยมักจะไม่ทราบสาเหตุของความเจ็บปวด อาการปวดก้นกบมักจะเกิดขึ้นเวลานั่งติดต่อกันเป็นเวลานาน ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดเฉียบพลันขณะเปลี่ยนจากท่านั่งเป็นท่ายืน นอกจากนั้นแล้ว อาการปวดยังอาจเกิดขึ้นได้ขณะมีเพศสัมพันธ์หรือระหว่างการขับถ่ายอีกด้วย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

การขอรับความช่วยเหลือทางการแพทย์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หมอประจำตัวของคุณจะทราบว่าควรสังเกตสิ่งใดเมื่อวินิจฉัยอาการปวดก้นกบ แพทย์อาจทำการเอกซเรย์หรือสั่งตรวจซีทีสแกนหรือเอ็มอาร์ไอ การทดสอบที่เห็นผลชัดเจนมากที่สุด 2 วิธี ในการวินิจฉัยอาการปวดก้นกบ ได้แก่ การฉีดยาชาเฉพาะที่ในบริเวณกระดูกก้นกบเพื่อดูว่าช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดลงชั่วคราวได้หรือไม่ และการเปรียบเทียบผลเอกซเรย์ที่ถ่ายภาพขณะอยู่ในท่านั่งและท่ายืนเพื่อดูว่ามีการเคลื่อนของกระดูกก้นกบหรือไม่ในขณะที่คุณนั่ง
    • แพทย์ประจำตัวของคุณอาจตรวจหาถุงน้ำบริเวณร่องก้น (Pilonidal cysts) ซึ่งเป็นถุงน้ำที่เกิดขึ้นเฉพาะในบริเวณกระดูกก้นกบและมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อของรูขุมขนที่เกิดขนคุด [1] การรักษาถุงน้ำชนิดนี้อย่างได้ผลอาจช่วยลดอาการปวดลงได้หรือกำจัดอาการปวดได้อย่างหายขาด
  2. ทำความรู้จักกับอาการที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บที่กระดูกก้นกบ. คุณจะจำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย แต่การทราบถึงอาการของโรคนี้อาจช่วยให้คุณตัดสินได้ว่ากระดูกก้นกบของคุณนั้นเป็นตัวการที่ทำให้เกิดปัญหานี้หรือไม่ การระบุอาการได้ยังอาจช่วยให้แพทย์มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์อีกด้วย อาการของการบาดเจ็บที่กระดูกก้นกบมีดังนี้: [2]
    • การปวดบริเวณกระดูกก้นกบโดยที่ ไม่มี การเจ็บปวดในบริเวณหลังส่วนล่าง
    • การปวดเวลาลุกขึ้นยืนจากท่านั่ง
    • การปวดอุจจาระบ่อยๆ หรือการเจ็บปวดขณะถ่ายอุจจาระ
    • การรู้สึกหายปวดเมื่อนั่งเอนตัวโดยลงน้ำหนักที่ขาหรือลงน้ำหนักที่แก้มก้นข้างเดียว
  3. พิจารณาถึงสาเหตุที่อาจทำให้คุณมีอาการปวดก้นกบ. หากคุณเคยบาดเจ็บที่กระดูกก้นกบ ให้บอกประวัติกับแพทย์ของคุณขณะที่มีการนัดตรวจ การแจ้งให้แพทย์ทราบถึงประวัติการบาดเจ็บของคุณนั้นอาจช่วยให้แพทย์สามารถกำหนดแนวทางการรักษาที่ถูกต้องสำหรับสถานการณ์ของคุณได้
  4. สอบถามแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยาตามใบสั่งแพทย์. ยารักษาโรคบางชนิดอาจช่วยบรรเทาอาการปวดในบริเวณกระดูกก้นกบของคุณได้ ตัวอย่างเช่น ยาต้านอาการชักและยาต้านอาการซึมเศร้า ซึ่งพบว่าสามารถใช้บรรเทาอาการปวดก้นกบได้อย่างมีประสิทธิภาพ [5] ให้ลองสอบถามแพทย์ประจำตัวของคุณว่าสามารถใช้ยาในกลุ่มนี้ได้ไหม
    • ควรทราบไว้ว่าแพทย์มักไม่จ่ายยาที่มีฤทธิ์เป็นสารเสพติดยกเว้นจะมีการแตกหักที่กระดูกก้นกบ หากคุณมีกระดูกก้นกบแตกหัก แพทย์อาจสั่งยาแก้ปวดชนิดที่จ่ายตามใบสั่งแพทย์เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด นอกจากนี้ แพทย์จะสั่งตรวจเอกซเรย์เพื่อวินิจฉัยว่าคุณมีการแตกหักที่กระดูกก้นกบหรือไม่ [6]
  5. คนไข้ส่วนใหญ่ที่เข้ารับการผ่าตัดเพื่อลดอาการปวดบริเวณก้นกบล้วนเคยผ่านวิธีการรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัดมาแล้วทั้งนั้นและพบว่าแทบไม่ได้ผล ควรลองรักษาด้วยวิธีที่ไม่ต้องผ่าตัดก่อนที่คุณจะหันไปหาการผ่าตัดที่เจ็บปวดและบางครั้งก็ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย
    • หากมีอาการปวดรุนแรง ปวดทุกวันเป็นเวลาตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป และ/หรืออาการปวดเข้ามาขัดขวางวิถีชีวิตของคุณ ควรขอการแนะนำเพื่อเข้าพบแพทย์รักษาโรคกระดูกที่เชี่ยวชาญในการผ่าตัดนำกระดูกก้นกบออก [7]
    โฆษณา


วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

การใช้วิธีการรักษาที่ทำได้ในบ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การประคบน้ำแข็งในบริเวณกระดูกก้นกบอาจช่วยบรรเทาอาการปวดและลดการอักเสบลงได้ [8] ใน 48 ชั่วโมงแรกหลังจากเกิดการบาดเจ็บที่ก้นกบ คุณสามารถใช้น้ำแข็งประคบได้ชั่วโมงละหนึ่งครั้งในช่วงเวลาที่คุณไม่ได้นอนหลับ ใช้ผ้าขนหนูพันก้อนน้ำแข็งแล้วประคบตรงกระดูกก้นกบครั้งละ 20 นาที หลังจากผ่านไป 48 ชั่วโมงแล้ว คุณอาจประคบน้ำแข็งเพื่อคลายความปวดด้วยวิธีเดียวกันได้วันละ 3 ครั้ง
  2. ใช้ยาแก้ปวดที่ซื้อได้เองโดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์. ใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDS) เพื่อลดอาการปวดและอาการบวม ยาจำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ (OTC) เหล่านี้ เช่น ไอบูโพรเฟนหรือพาราเซตามอล สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทุกแห่ง [9]
    • กินไอบูโพรเฟน 600 มก. ทุกๆ 8 ชั่วโมง หรือกินพาราเซตามอล 500 มก. ทุกๆ 4 ชั่วโมง ทั้งนี้ ห้ามใช้ยาพาราเซตามอลเกิน 3500 มก. ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง
  3. การใช้ท่าทางที่ไม่ถูกต้องอาจมีส่วนทำให้คุณเกิดอาการปวดบริเวณก้นกบ พยายามนั่งตัวตรง ใช้กล้ามเนื้อลำตัวส่วนกลาง ลำคอตั้งตรง และแอ่นหลังเล็กน้อย หากคุณรู้สึกเจ็บแปลบเวลาลุกขึ้นยืนจากท่านั่ง ให้เอนตัวไปข้างหน้าและแอ่นหลังของคุณก่อนลุกขึ้นยืน [10]
  4. หมอนรองนั่งแบบพิเศษที่ตัดส่วนเว้าออกใต้บริเวณกระดูกก้นกบนั้นได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดก้นกบ หมอนรองนั่งชนิดนี้อาจช่วยลดอาการปวดที่เกิดขึ้นขณะนั่งลงได้บางส่วน [11] นอกจากนี้ คุณยังสามารถทำหมอนอิงด้วยตนเองได้จากแผ่นโฟมยาง เพียงแค่ตัดรูตรงกลางออกให้มีรูปร่างเหมือนกับรองนั่งโถสุขภัณฑ์
    • ผู้ป่วยส่วนใหญ่พบว่าหมอนรองนั่งที่มีรูปร่างเหมือนโดนัทไม่ได้มีประโยชน์นัก เนื่องจากหมอนชนิดนี้ออกแบบมาเพื่อลดแรงกดทับบริเวณอวัยวะเพศมากกว่าบริเวณกระดูกก้นกบ ให้พูดคุยกับแพทย์เกี่ยวกับการใช้หมอนรูปลิ่ม
  5. การศึกษาชี้ว่า การประคบร้อนในบริเวณกระดูกก้นกบอาจช่วยลดอาการปวดลงได้ [12] โดยให้ใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบได้สูงสุดวันละ 4 ครั้ง ครั้งละ 20 นาที
    • ลองใช้การประคบร้อนหรือการแช่ในน้ำอุ่นหากคุณไม่มีกระเป๋าน้ำร้อน
  6. หากปรากฏว่าคุณมีกระดูกก้นกบแตกหัก จะไม่มีเฝือกสำหรับใช้ใส่บริเวณกระดูกก้นกบ คุณจะต้องพักผ่อนและหลีกเลี่ยงกิจกรรมใดๆ ที่ต้องออกแรงมากเป็นเวลาประมาณ 8 ถึง 12 สัปดาห์ [13] หากคุณมีอาชีพที่ต้องใช้แรงงาน คุณอาจต้องเตรียมตัวขอลางานในระหว่างที่ร่างกายของคุณรักษาตัวเอง
  7. บางคนจะรู้สึกเจ็บขณะขับถ่ายเนื่องจากการมีอาการปวดก้นกบ พยายาม เลี่ยงอาการท้องผูก โดยการกินอาหารที่มีกากใยและน้ำเยอะๆ หากจำเป็น ให้ใช้ยาที่ช่วยให้อุจจาระอ่อนนุ่มลงระหว่างที่กระดูกก้นกบกำลังสมานตัว [14]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อาการปวดก้นกบอาจเป็นตัวบ่งชี้ถึงปัญหาที่ข้อต่อกระดูกสันหลังกับเชิงกราน อาจเป็นไปได้ว่ากระดูกส่วนเอวและกระดูกก้นกบเกิดการเคลื่อน ซึ่งจะแสดงอาการปวดในบริเวณก้นกบหรือที่ด้านใดด้านหนึ่งของกระดูกก้นกบ
โฆษณา

คำเตือน

  • อาการปวดก้นกบอาจเกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ และสร้างความไม่สะดวกสบายให้กับผู้ป่วยเป็นระยะเวลานาน แพทย์รายงานว่าผู้ป่วยจำนวนมากมีอาการปวดในระดับหนึ่งเป็นเวลาหลายเดือนหลังจากได้รับบาดเจ็บที่กระดูกก้นกบ
  • ติดต่อแพทย์หรือผู้ให้บริการทางการแพทย์ทันทีหากคุณมีอาการปวดรุนแรงจนทนไม่ได้ที่กระดูกก้นกบ หรือหากคุณมีอาการปวดโดยไม่ทราบสาเหตุหรือโดยไม่มีการบาดเจ็บ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 206,176 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา