ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เมื่อคุณมีอาการปวดศีรษะจากความเครียด คุณอาจจะรู้สึกเหมือนว่ามีสายรัดแน่นรอบศีรษะของคุณ บีบรอบขมับของคุณแน่นขึ้นและแน่นขึ้น คุณอาจจะมีอาการเจ็บปวดที่หนังศีรษะหรือคอด้วย [1] แม้ว่าอาการปวดศีรษะจากความเครียดจะเป็นอาการปวดศีรษะที่พบได้บ่อยที่สุด แต่สาเหตุของมันนั้นยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างดีนัก ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าอาจจะถูกกระตุ้นจากการตอบสนองต่อความเครียด ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล หรืออาการบาดเจ็บ [2] ทั้งนี้อาการควรจะทุเลาลงเมื่อได้รับการรักษาที่ถูกต้อง [3]

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

การใช้ยาและการรักษาด้วยมืออาชีพ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. กินยาแก้ปวดศีรษะที่ซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์. อันได้แก่ ยาอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) หรือชื่อทางการค้า ไทลินอล (Tylenol) ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือชื่อทางการค้า แอดวิล (Advil) และโมตริน (Motrin) ยานาพรอกเซนโซเดียม (Naproxen Sodium) หรือชื่อทางการค้า อะลีฟ (Aleve) และยาแอสไพริน อย่ากินเกินกว่าปริมาณที่แนะนำบนบรรจุภัณฑ์ และให้ใช้ยาในขนาดต่ำที่สุดที่ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะของคุณ [4] [5]
    • จำไว้ว่าการกินยาแก้ปวดศีรษะแบบไม่ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์ (OTC: Over The Counter) ผสมกับคาเฟอีนอาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อตับถ้าใช้ในขนาดสูงหรือเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณดื่มแอลกอฮอล์หรือมีปัญหาเกี่ยวกับตับด้วย
    • ถ้าคุณกินยาแก้ปวดศีรษะที่ไม่ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์มานานกว่า 1 สัปดาห์และยังมีอาการปวดศีรษะจากความเครียดอยู่ให้ปรึกษาแพทย์
    • อย่ากินยาแก้ปวดศีรษะที่ไม่ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์มากกว่าสัปดาห์ละ 2-3 วัน และอย่ากินนานกว่า 1 สัปดาห์หรือ 10 วันโดยไม่ปรึกษาแพทย์ การใช้ยาแก้ปวดมากเกินไปอาจจะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะชนิดรีบาวน์ (Rebound headache) ซึ่งเกิดขึ้นจากการใช้ยาปวดศีรษะในระยะยาว คุณอาจจะรู้สึกว่าต้องพึ่งการใช้ยาและมีอาการปวดศีรษะถ้าคุณหยุดใช้ [6]
  2. สอบถามแพทย์เกี่ยวกับยาที่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์. ถ้ากินยาแก้ปวดศีรษะที่ไม่ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์หรือเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตแล้วแต่อาการปวดศีรษะจากความเครียดไม่หายไป แพทย์อาจจะสั่งยาที่แรงขึ้นให้คุณ ได้แก่ ยานาพรอกเซน (Naproxen) ยาอินโดเมทาซิน (Indomethacin) และยาไพร็อกซิแคม (Piroxicam) [7]
    • ยาตามใบสั่งแพทย์เหล่านี้อาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น อาการเลือดออก ปวดท้อง และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้ แพทย์ของคุณควรจะบอกคุณเกี่ยวกับผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนใดๆ ก็ตามก่อนที่จะสั่งยาเหล่านี้ให้คุณ
    • ถ้าคุณมีอาการปวดศีรษะจากความเครียดเรื้อรังและไมเกรนเรื้อรัง แพทย์อาจจะสั่งยาทริปแทน (Triptan) เพื่อบรรเทาอาการปวด แต่จะไม่ค่อยสั่งยาโอปิแอต (Opiate) และนาร์โคติก (Narcotic) เนื่องจากผลข้างเคียงของพวกมันและความเสี่ยงต่อการเสพติดหรือเกิดภาวะต้องพึ่งพิง [8]
  3. การฝังเข็มคือการปักเข็มเล่มเล็กๆ ในที่จุดเฉพาะเจาะจงบนร่างกาย เข็มจะถูกกระตุ้นด้วยมือหรือกระตุ้นด้วยไฟฟ้า ซึ่งนี่จะเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังบริเวณรอบๆ เข็มและคลายอาการตึงเครียดหรือความเครียดใดๆ ก็ตาม [9] การศึกษาพบว่ามันอาจจะช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะจากความเครียดเรื้อรังได้ [10]
    • การฝังเข็มจะทำให้เจ็บหรือรู้สึกไม่สบายเล็กน้อยและควรจะทำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านฝังเข็มที่ได้รับการรับรองเท่านั้น การฝังเข็มได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยลดอาการปวดศีรษะจากความเครียดได้เมื่อทำอย่างถูกต้อง [11]
    • การฝังเข็มคลายจุด (Dry-needling) คือการรักษาอีกแบบหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเข็ม แต่ไม่ได้ยึดตามหลักการของแพทย์แผนจีนโบราณอย่างการฝังเข็มแบบจีน นี่คือการปักเข็มเข้าไปในจุดกระตุ้นเพื่อกระตุ้นให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลดความตึงเครียดที่อาจจะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ มันสามารถทำได้โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพได้รับการฝึกปฏิบัติ เช่น นักกายภาพบำบัด นักนวด และแพทย์ [12]
  4. งานวิจัยแสดงว่าการบำบัดด้วยการจัดกระดูกสันหลังโดยนักบำบัดโรคด้วยไคโรแพรคติกที่ได้รับอนุญาตนั้นอาจจะช่วยรักษาอาการปวดศีรษะจากความเครียดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นอย่างเรื้อรัง [13] [14]
    • คุณสามารถหารายชื่อ Chiropractic Licensing Boards ในหลายประเทศได้ที่ Federation of Chiropractic Licensing Boards ตาม เว็บไซต์ นี้ ซึ่งมักจะมีการรักษาโดยนักบำบัดโรคด้วยไคโรแพรคติกที่ได้รับการฝึกฝนและได้รับอนุญาต
  5. ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการบำบัดรักษาด้วยการนวด. การบำบัดรักษาด้วยการนวดทางการแพทย์แตกต่างกับการนวดเพื่อการผ่อนคลายเล็กน้อย มีการแสดงว่าการบำบัดรักษาด้วยการนวดที่เน้นไปที่คอและไหล่นั้นมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการปวดศีรษะจากความเครียดและลดไม่ให้เกิดอาการได้ด้วย [15] ขอเอกสารอ้างอิงเกี่ยวกับการนวดทางการแพทย์จากแพทย์
    • บริษัทประกันสุขภาพต่างๆ อาจจะไม่ครอบคลุมถึงการนวด อย่างไรก็ตามถ้าคุณมีเอกสารอ้างอิงจากแพทย์ก็มีโอกาสที่จะเป็นไปได้ คุยกับบริษัทประกันสุขภาพของคุณเพื่อดูว่าจะมีการครอบคลุมตัวเลือกนี้หรือไม่
    • คุณสามารถหานักบำบัดโดยการนวดที่ได้รับอนุญาตและได้รับการรับรองด้วยกับการค้นหารายชื่อจากสมาคมการนวดของอเมริกัน (American Massage Therapy Association) ที่นี่
  6. อาการเมื่อยล้าทางสายตาเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะจากความเครียดที่พบได้บ่อย ถ้าคุณมีอาการปวดศีรษะบ่อยๆ (สัปดาห์ละ 2 ครั้งหรือมากกว่านั้น) ให้นัดเวลาเพื่อตรวจตา สายตาที่มีปัญหาอาจจะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้
    • ถ้าคุณใส่แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ ให้ลองติดต่อจักษุแพทย์เพื่อขอตรวจใหม่ สายตาของคุณสามารถเปลี่ยนได้ และถ้าแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ที่คุณใส่นั้นไม่เหมาะอีกต่อไป ก็อาจจะทำเกิดอาการเมื่อยล้าทางสายตาได้
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

การใช้การรักษาที่บ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ความเครียดเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของอาการปวดศีรษะ และเมื่อคุณปวดศีรษะจากความเครียด คุณก็อาจจะรู้สึกไวต่อแสงหรือเสียง ให้นั่งหรือนอนในห้องที่มีแสงสลัวๆ เพื่อลดผลกระทบนี้ หลับตาและพยายามผ่อนคลายหลัง คอ และไหล่ [16]
    • ปิดแหล่งที่มาของเสียง อย่างเช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ
    • คุณยังอาจจะหลับตาและเอาฝ่ามือปิดตาไว้ กดเบาๆ เป็นเวลา 2 นาที ซึ่งนี่จะช่วยปิดประสาทตาและช่วยให้คุณผ่อนคลายได้
    • คุณอาจจะลองบริหารคอในห้องที่มืดและเงียบได้อีกด้วย วางฝ่ามือไว้บนหน้าผาก ใช้กล้ามเนื้อคอเพื่อกดหน้าผากต้านกับฝ่ามือเบาๆ ให้แน่ใจว่าศีรษะของคุณตั้งตรงขณะที่คุณกดหน้าผากต้านกับฝ่ามือ [17]
  2. การหายใจลึกๆ สามารถช่วยให้คุณผ่อนคลายและลดความเครียดใดๆ ก็ตามในร่างกายได้ รวมทั้งศีรษะด้วย หายใจช้าๆ สม่ำเสมอ และพยายามผ่อนคลาย [18]
    • หลับตาและหายใจลึกๆ หลายๆ ครั้ง
    • หายใจออกช้าๆ ผ่อนคลายบริเวณใดก็ตามในร่างกายของคุณที่รู้สึกตึงเครียด นึกภาพทิวทัศน์ที่สวยงาม เช่น หาดทราย สวนที่มีแดดสดใส หรือถนนในชนบท
    • ก้มคางลงไปหาหน้าอก ค่อยๆ หมุนศีรษะเป็นครึ่งวงกลมจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง
    • หายใจลึกๆ อีกครั้งและหายใจออกช้าๆ นึกภาพทิวทัศน์สวยๆ ต่อไป
    • บริหารท่านี้ซ้ำจนกว่าคุณจะรู้สึกผ่อนคลาย
  3. ความร้อนและความเย็นสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดและความตึงเครียดของกล้ามเนื้อในคอและศีรษะของคุณได้ [19]
    • วางผ้าขนหนูที่ชุบน้ำหมาดๆ และร้อนหรือประคบร้อนบนต้นคอหรือบนหน้าผาก คุณอาจจะอาบน้ำอุ่นเป็นเวลานานๆ ได้อีกด้วย ให้แน่ใจว่าน้ำไหลจากศีรษะลงไปยังต้นคอของคุณ
    • ห่อถุงน้ำแข็งไว้ในผ้าขนหนูแล้ววางไว้ที่ต้นคอหรือบนหน้าผากของคุณ
  4. ทาน้ำมันเปปเปอร์มินต์บนขมับ หน้าผาก และด้านหลังขากรรไกร. เปปเปอร์มินต์สามารถผ่อนคลายและบรรเทาความรู้สึกไม่สบายหรืออาการปวดใดๆ ได้ดี [20]
    • เมื่อคุณหยดน้ำมัน 2-3 หยดแล้วนวด คุณจะรู้สึกเย็นที่บริเวณนั้น หายใจลึกๆ และหาที่เงียบๆ นั่งหรือนอน
    • ถ้าคุณมีผิวที่บอบบาง ให้เจือจางน้ำมันเปปเปอร์มินต์กับน้ำมันมะกอกหรือน้ำ 1-2 หยดก่อนนำไปทา
  5. ดื่มน้ำหรือชาสมุนไพรเพื่อให้ร่างกายมีน้ำเพียงพอ. ทันทีที่คุณรู้สึกตึงเครียดในศีรษะให้ดื่มน้ำหลายๆ แก้ว หรือชงชาสมุนไพรดื่มเพื่อทำให้จิตใจของคุณผ่อนคลายขึ้น การขาดน้ำอาจจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีระได้
    • หลีกเลี่ยงการบริโภคคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์เพราะว่าจะทำให้คุณขาดน้ำมากขึ้น [21]
  6. นวดโดยเน้นตำแหน่งเฉพาะที่ร่างกายส่วนบน ใช้ปลายนิ้วของคุณถูด้านหลังและด้านข้างของศีรษะ จากนั้นนวดบริเวณใต้ตาเบาๆ [22]
    • ถูหนังศีรษะด้วยปลายนิ้วไปมาเบาๆ อย่าขยับไปมากกว่าครึ่งนิ้วหรือมากกว่านั้น
    • คุณยังอาจจะใช้ปลายนิ้วของคุณไล่ไปตามด้านในของนิ้วมือแต่ละนิ้ว และถูนวดฝ่ามือของคุณได้อีกด้วย
  7. นี่เป็นเทคนิคการกดจุดง่ายๆ ที่คุณสามารถทำได้ด้วยตัวเองที่บ้าน [23]
    • วางนิ้วหัวแม่มือไว้ใกล้ฐานของกะโหลกศีรษะ
    • หาตำแหน่งรอยบุ๋มทั้งสองข้างบริเวณที่ศีรษะต่อกับคอ อยู่ด้านนอกกล้ามเนื้อหนาๆ ที่ไล่ลงจากกลางศีรษะของคุณ หรือประมาณ 2 นิ้วจากตรงกลางของศีรษะ
    • ใช้นิ้วหัวแม่มือกดแล้วดันขึ้นจนกว่าคุณจะรู้สึกเล็กน้อยบนศีรษะของคุณ
    • ใช้นิ้วหัวแม่มือกดต่อไปเบาๆ และขยับนิ้วหัวแม่มือวนเป็นวงเล็กๆ ประมาณ 1-2 นาที
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

การปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การออกกำลังกายสามารถช่วยปลดปล่อยความเครียดหรือความตึงเครียดในร่างกายและผลิตสารเอ็นโดรฟินในสมองของคุณซึ่งจะช่วยต่อสู้กับความเจ็บปวดในร่างกายของคุณได้ [24]
    • เดิน ขี่จักรยาน หรือวิ่งเป็นเวลา 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  2. ยืนในท่าภูเขา (Mountain Pose) เพื่อปรับปรุงท่าทางของคุณ. การมีท่าทางที่ดีนั้นสามารถช่วยไม่ให้กล้ามเนื้อเกิดอาการตึงเครียดได้ และยังสามารถปลดปล่อยความเครียดในศีรษะของคุณได้ด้วย การทำท่าโยคะอย่างท่าภูเขาจะช่วยปรับปรุงท่าทางและช่วยให้คุณผ่อนคลายได้ [25] [26]
    • ยืนกางขาให้กว้างเท่าสะโพก
    • ม้วนไหล่ไปข้างหลังและวางมือทั้งสองไว้ข้างลำตัว
    • แขม่วท้อง และกดกระดูกก้นกบไปทางพื้น
    • กดคางไปทางหน้าอก พยายามทำท่านี้ค้างไว้อย่างน้อย 5-10 ลมหายใจ
  3. นี่เป็นท่าโยคะที่ดีอีกท่าหนึ่งในการปรับปรุงท่าทางของคุณและฝึกการหายใจลึก [27] [28]
    • นั่งยืดขาเหยียดตรงออกไปข้างหน้า
    • งอนิ้วเท้าเข้าหาตัว
    • ม้วนไหล่ไปข้างหลังและวางมือไว้บนพื้นข้างลำตัว
    • แขม่วท้อง และกดกระดูกก้นกบลงกับพื้น กดคางไปทางหน้าอก พยายามค้างท่านี้ไว้อย่างน้อย 5-10 ลมหายใจ
    • ถ้าขาตรงไม่สบายสำหรับคุณ ก็สามารถขัดสมาธิได้เช่นกัน
  4. ผงชูรสเป็นเครื่องปรุงรสที่พบได้บ่อยในอาหารจีน บางคนตอบสนองต่อผงชูรสโดยจะเกิดอาการปวดศีรษะ แต่ไม่มีสิ่งเชื่อมโยงทางวิทยาศาสตร์ระหว่างผงชูรสและอาการปวดศีรษะ [29] อาหารอื่นๆ ที่อาจจะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้นั้น รวมไปถึง: [30]
    • ช็อกโกแลต
    • ชีส
    • อาหารที่มีกรดอะมิโนไทรามีน (Tyramine) พบได้ในไวน์แดง เอจด์ชีส (Aged Cheese) ปลารมควัน ตับไก่ มะเดื่อ และถั่วบางชนิด
    • ถั่ว
    • เนยถั่วลิสง
    • ผลไม้บางชนิด เช่น อะโวคาโด กล้วย และผลไม้ตระกูลส้ม
    • หอมหัวใหญ่
    • ผลิตภัณฑ์จากนม
    • เนื้อสัตว์ที่มีไนเตรต เช่น เบคอน ฮอทด็อก ซาลามี่ เนื้อสัตว์ที่ผ่านการหมัก
    • อาหารหมักหรือดอง
  5. ตารางเวลาการนอนหลับที่สม่ำเสมอจะช่วยให้สมองและร่างกายของคุณปราศจากความวิตกกังวลและความเครียดซึ่งเป็น 2 สาเหตุใหญ่ของอาการปวดศีรษะจากความเครียด [31]
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

การป้องกันอาการปวดศีรษะจากความเครียด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นี่สามารถช่วยให้คุณระบุสาเหตุของอาการปวดศีรษะและวิธีที่คุณสามารถปรับสภาพแวดล้อมและนิสัยเพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งนั้นได้ [32]
    • เมื่อคุณเริ่มจะรู้สึกปวดศีรษะให้เขียนวันที่และเวลาที่มันเริ่มเกิดขึ้น จดสิ่งที่คุณกินหรือดื่มในช่วงไม่กี่ชั่วโมงก่อนเกิดอาการปวดศีรษะ เขียนว่าเมื่อคืนก่อนคุณนอนหลับนานแค่ไหน และคุณทำอะไรก่อนเกิดอาการปวดศีรษะ จดบันทึกไว้ว่าคุณปวดศีรษะนานแค่ไหนและวิธีใดที่ได้ผลทำให้อาการนั้นหาย
  2. ฝึกเทคนิคการผ่อนคลายและการจัดการความเครียดทุกวัน. นี่อาจจะเป็นคลาสเรียนโยคะตอนเช้า การทำสมาธิ 15-20 นาที หรือการฝึกหายใจลึกก่อนเข้านอนก็ได้ [33] [34]
    • ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้งเพื่อลดความกังวลและความเครียด
  3. หลีกเลี่ยงคาเฟอีน แอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ นอน 8 ชั่วโมงต่อคืน และดูแลตัวเองโดยหลีกเลี่ยงความเครียดที่บ้านและที่ทำงาน [35]
    • กินอาหารสมดุลที่ไม่มีผงชูรสหรืออาหารที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะอื่นๆ
    • ดื่มน้ำมากๆ ทุกวันและให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  4. คุยกับแพทย์เรื่องยาป้องกันถ้าคุณมีอาการปวดศีรษะจากความเครียดเรื้อรัง. แพทย์จะตรวจคุณเพื่อให้แน่ใจว่าที่จริงอาการปวดศีรษะของคุณไม่ใช่ไมเกรนหรืออะไรที่รุนแรงกว่านั้น ถ้าอาการปวดศีรษะของคุณยังคงดำเนินต่อไปแม้จะกินยาแก้ปวดและได้รับการรักษาอื่นๆ แล้ว แพทย์อาจจะสั่งยาป้องกันให้คุณ ซึ่งได้แก่: [36]
    • ยาต้านอาการซึมเศร้ากลุ่มไตรไซคลิก (Tricyclic Antidepressant) ซึ่งเป็นยากลุ่มที่ใช้กันมากที่สุดเพื่อป้องกันอาการปวดศีรษะจากความครียด ผลข้างเคียงของยาเหล่านี้ ได้แก่ น้ำหนักขึ้น อาการง่วงนอน และปากแห้ง
    • ยาต้านอาการชัก (Anticonvulsant) และยาคลายกล้ามเนื้อ (Muscle Relaxant) เช่น โทพิราเมท (Topiramate) อย่างไรก็ตามยังต้องการงานวิจัยเพิ่มเติมเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของยาต้านอาการชักและยาคลายกล้ามเนื้อต่ออาการปวดศีรษะจากความเครียด
    • จำไว้ว่ายาป้องกันนั้นอาจจะใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือมากกว่านั้นในการสร้างระบบของคุณก่อนที่จะได้ผล ดังนั้นให้อดทนและกินยาตามที่กำหนด แม้ว่าคุณจะไม่เห็นภาวะที่ดีขึ้นทันทีที่คุณเริ่มกินยา
    • แพทย์จะติดตามการรักษาของคุณเพื่อดูว่ายาป้องกันนั้นได้ผลสำหรับคุณแค่ไหน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าคุณทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นประจำทุกวัน ลองหยุดพักจากหน้าจอ 10 นาทีทุกชั่วโมง ลุกขึ้นและเดินไปรอบๆ ออฟฟิศ ดื่มชา หรือคุยกับเพื่อนร่วมงาน นอกจากนี้คุณยังอาจจะหาบริเวณที่มืดและเงียบแล้วนอนสัก 10 นาที เพื่อพักสายตาและป้องกันอาการปวดศีรษะจากความเครียดได้อีกด้วย
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคุณปวดศีรษะบ่อยหรือรุนแรง คุณควรจะไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าอาการปวดศีรษะปลุกให้คุณตื่นขึ้นมาตอนกลางคืนหรือตื่นมาก็ปวดเลย
  • ถ้าอาการปวดศีรษะของคุณเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน รุนแรง และพร้อมด้วยอาการอาเจียน ความสับสน อาการชา หรือการมองเห็นเปลี่ยนไป ให้รีบขอรับการรักษาทางการแพทย์โดยด่วน


โฆษณา
  1. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3099266/
  2. https://nccih.nih.gov/health/acupuncture/introduction#hed3
  3. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24623124
  4. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/tension-headache
  5. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2485120/
  6. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1447303/
  7. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tension-headache/basics/lifestyle-home-remedies/con-20014295
  8. http://www.webmd.com/pain-management/ease-pain-10/slideshow-headache-relief
  9. http://www.nhs.uk/Livewell/headaches/Pages/Relaxandcureyourheadaches.aspx
  10. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tension-headache/basics/lifestyle-home-remedies/con-20014295
  11. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/tension-headache
  12. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000797.htm
  13. http://www.massagetherapy.com/articles/index.php/article_id/674/Self-Massage-for-Head-Pain
  14. http://exploreim.ucla.edu/wellness/acupressure-for-headache-or-neck-and-shoulder-tension/
  15. http://www.nhs.uk/Livewell/headaches/Pages/Relaxandcureyourheadaches.aspx
  16. http://www.nhs.uk/Livewell/headaches/Pages/Relaxandcureyourheadaches.aspx
  17. http://www.yogabasics.com/asana/mountain/
  18. http://www.nhs.uk/Livewell/headaches/Pages/Relaxandcureyourheadaches.aspx
  19. http://www.yogajournal.com/article/practice-section/calm-to-the-core-2/
  20. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/expert-answers/monosodium-glutamate/faq-20058196
  21. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/tension-headache
  22. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/tension-headache
  23. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/tension-headache
  24. http://www.medicinenet.com/tension_headache/page4.htm#can_tension_headaches_be_prevented
  25. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tension-headache/basics/prevention/con-20014295
  26. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tension-headache/basics/prevention/con-20014295
  27. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tension-headache/basics/treatment/con-20014295
  28. http://www.mayoclinic.com/health/tension-headache/DS00304/DSECTION=lifestyle-and-home-remedies
  29. http://www.mayoclinic.com/health/tension-headache/DS00304/DSECTION=treatments-and-drugs
  30. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmedhealth/PMH0001800/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,329 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา