ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ไตจะอยู่บริเวณหน้าท้องช่วงบนใกล้ๆ กับกล้ามเนื้อหลัง [1] ถ้าคุณรู้สึกปวดหลังตรงช่วงระหว่างซี่โครงกับก้น หรือแม้กระทั่งไล่ลงมาด้านข้างจนถึงบริเวณขาหนีบ คุณก็อาจกำลังปวดไตอยู่ก็ได้ [2] หากคุณมีอาการปวดไต ให้ปรึกษาแพทย์ทันทีเพราะมันอาจเป็นสภาพทางการแพทย์ร้ายแรงได้หลายๆ โรค [3] การรักษาอาการปวดไตจะต่างกันไปแล้วแต่สาเหตุ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ที่สามารถให้คำแนะนำในการรักษาอาการปวดไตของคุณได้ดีที่สุด [4]

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

บรรเทาอาการปวดไต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นี่เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเพียงสิ่งเดียวในการบรรเทาอาการปวดไต ช่วงที่แข็งแรงดีคุณควรดื่มน้ำวันละ 2-3 ลิตร แต่คุณอาจจะต้องดื่มมากกว่านั้นเพื่อช่วยพัดนิ่วในไตให้หลุดออกมา [5] น้ำช่วยชะล้างแบคทีเรียและเนื้อเยื่อที่ตายแล้วออกจากไต ปัสสาวะที่คั่งค้างอยู่นานเป็นสื่อกลางชั้นดีที่เสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย การดื่มน้ำมากๆ จะช่วยให้เกิดการไหลของน้ำผ่านไตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยป้องกันการเจริญเติบโตและการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียได้ [6]
    • นอกจากนี้นิ่วในไตขนาดเล็ก (<4มม.) ยังสามารถพัดออกจากร่างกายได้พร้อมกับปัสสาวะหากมีการไหลของน้ำมากพอ
    • จำกัดปริมาณกาแฟ ชา และโคล่าให้ไม่เกิดวันละ 1-2 ถ้วย [7]
  2. บางครั้งการนอนพักก็ช่วยลดอาการปวดได้ [8] ถ้าอาการปวดของคุณเกิดจากนิ่วในไตหรือการบาดเจ็บที่ไต การเคลื่อนไหวหรือการออกกำลังกายมากเกินไปก็อาจทำให้ไตมีเลือดออกได้ [9]
    • การนอนตะแคงอาจยิ่งทำให้อาการปวดรุนแรงขึ้นไปอีก [10]
  3. คุณอาจวางแผ่นประคบร้อนหรือผ้าอุ่นๆ ไว้ตรงบริเวณที่ปวดเพื่อลดอาการปวดชั่วคราว ความร้อนเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและลดการรับรู้ทางประสาท ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ช่วยลดความปวดได้ ความร้อนอาจช่วยได้มากเป็นพิเศษหากอาการปวดของคุณเกิดจากการชักกระตุกของกล้ามเนื้อ [11]
    • อย่าใช้ความร้อนมากเกินไปเพราะอาจทำให้เกิดรอยไหม้ได้ ใช้แผ่นประคบร้อน แช่ตัวในน้ำร้อน หรืออาจจะใช้ผ้าที่จุ่มในน้ำร้อน (แต่ไม่ใช่น้ำเดือด)
  4. มียาแก้ปวดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปบางอย่างที่สามารถต่อสู้กับอาการปวดไตได้ อะเซตามีโนเฟน/พาราเซตามอลเป็นยาที่แนะนำกันทั่วไปว่าให้รับประทานเพื่อลดอาการปวดที่เกิดจากการติดเชื้อหรือนิ่วในไต [12] ทั้งนี้คุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยาแก้ปวดใดๆ ก็ตาม เพราะยาแก้ปวดบางชนิดอาจยิ่งทำให้ปัญหาเรื่องไตแย่ลงหรือมีปฏิกิริยากับสภาพทางการแพทย์อื่นๆ [13]
    • อย่ารับประทานแอสไพรินปริมาณสูง เพราะแอสไพรินเพิ่มความเสี่ยงของการมีเลือดออกและทำให้ภาวะอุดตันของหลอดเลือด เช่น นิ่วในไต แย่ลง
    • ยาแก้อักเสบอาจเป็นอันตรายได้ถ้าไตของคุณทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ อย่ารับประทานไอบูโพรเฟนหรือนาพรอกเซนถ้าไตมีปัญหา นอกจากว่าแพทย์จะเป็นผู้แนะนำให้รับประทาน [14]
  5. ยาปฏิชีวนะควรใช้หากคุณติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไตจะทำให้ปัสสาวะที่คั่งค้างอยู่กลับขึ้นไปที่ไต ซึ่งจะทำให้เกิดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ ถ้าเป็นกรณีนี้แพทย์จะสั่งยาปฏิชีวนะให้คุณ [15]
    • ยาปฏิชีวนะทั่วไปที่ใช้กับการติดเชื้อประเภทนี้ได้แก่ ไตรเมโทพริม ไนโตรฟูแรนโทอิน ไซโปรฟลอกซาซิน และเซฟาเลกซิน หากเป็นการติดเชื้อเพียงเล็กน้อยถึงปานกลาง ผู้ชายควรรับประทานยาเป็นเวลา 10 วันและผู้หญิงควรรับประทานยา 3 วัน
    • รับประทานยาปฏิชีวนะให้หมดตามที่แพทย์สั่งเสมอแม้ว่าคุณจะรู้สึกดีขึ้นแล้วและอาการจะหายไปแล้วก็ตาม
  6. โดยทั่วไปวิตามินซีมีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นเรื่องของการรักษาบาดแผลให้หายและกระบวนการสร้างกระดูก แต่วิตามินซีในปริมาณที่มากเกินไปจะถูกเปลี่ยนเป็นออกซาเลตในไต ซึ่งออกซาเลตนี้จะกลายเป็นนิ่ว เพราะฉะนั้นคุณจึงไม่ควรได้รับวิตามินซีมากเกินไปหากคุณมีแนวโน้มที่จะเป็นนิ่วในไต หรือมีคนในครอบครัวเคยเป็นนิ่วมาก่อน [16]
    • คนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วจากแคลเซียมออกซาเลตควรจำกัดปริมาณการบริโภคอาหารที่มีออกซาเลตสูง เช่น บีต ช็อกโกแลต กาแฟ โคล่า ถั่วเปลือกแข็ง พาร์สลีย์ ถั่วลิสง รูบาร์บ ผักปวยเล้ง สตรอว์เบอร์รี่ ชา และรำข้าวสาลี [17]
  7. น้ำแครนเบอร์รี่เป็นยาจากธรรมชาติที่ช่วยรักษาการติดเชื้อในไตและทางเดินปัสสาวะได้อย่างน่าอัศจรรย์ โดยจะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 8 ชั่วโมงหลังจากรับประทานโดยการเข้าไประงับไม่ให้แบคทีเรียเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวน และยังช่วยละลายนิ่วสตรูไวท์และนิ่วบรูชิตได้ด้วย [18] [19]
    • เลี่ยงน้ำแครนเบอร์รี่ถ้าคุณมีนิ่วออกซาเลต เพราะน้ำแครนเบอร์รี่มีวิตามินซีปริมาณมากและมีออกซาเลตสูง
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

รู้ว่าอาการปวดไตเกิดจากอะไร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พบแพทย์หากคุณคิดว่าอาจมีการติดเชื้อที่ไตหรือเป็นกรวยไตอักเสบ. การติดเชื้อที่ไตเริ่มจากการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะก่อนและขึ้นไปติดเชื้อที่ไต ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อไตถาวรหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที [20] การติดเชื้ออาจเกิดที่ไตข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ ทำให้เกิดอาการปวดลึกๆ ในช่องท้อง หลัง ข้างลำตัว หรือขาหนีบตลอดเวลา ถ้าคุณมีอาการดังต่อไปนี้ ให้รีบพบแพทย์ทันที [21] [22]
    • มีไข้ และอาจมีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย
    • ปัสสาวะบ่อย
    • รู้สึกปวดปัสสาวะมากๆ ไม่หาย
    • แสบร้อนหรือปวดเวลาปัสสาวะ
    • มีหนองหรือเลือดปนมากับปัสสาวะ (อาจเป็นสีแดงหรือสีออกน้ำตาล)
    • ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็นหรือสีขุ่น
    • เข้ารับการรักษา ฉุกเฉิน หากคุณมีอาการดังกล่าวร่วมกับอาการคลื่นไส้และอาเจียน [23]
  2. นิ่วในไตเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของอาการปวดที่ไต ซึ่งอาการปวดจะเกิดขึ้นเมื่อไตพยายามจะขับนิ่วออกมาแต่ขับออกมาไม่ได้ ซึ่งการปวดแบบนี้โดยทั่วไปจะมาเป็นระลอก [24]
    • นิ่วในไตมักแสดงอาการในรูปแบบของอาการปวดร้าวขึ้นมาอย่างกระทันหันที่ช่วงล่างของหลัง ข้างลำตัว ขาหนีบ หรือช่องท้อง [25]
    • นิ่วในไตอาจทำให้เกิดอาการอื่นๆ ได้แก่ เจ็บที่องคชาตหรืออวัยวะเพศ ปัสสาวะขัด หรือรู้สึกปวดปัสสาวะมากบ่อยๆ [26]
  3. ไปที่ห้องฉุกเฉินหากคุณคิดว่าอาจมีเลือดออกที่ไต. เลือดที่ออกอาจเกิดจากการบาดเจ็บ โรค หรือยา ซึ่งอาการผิดปกติที่ทำให้เลือดออกอาจทำให้เกิดการก่อตัวของลิ่มเลือดในไต เมื่อลิ่มเลือดขัดขวางการหล่อเลี้ยงของเลือดที่ไตไม่ว่าจะส่วนใดก็ตาม ก็จะเริ่มมีอาการปวด ซึ่งการปวดนี้ก็จะมาเป็นระลอกเหมือนกันแต่โดยทั่วไปจะรู้สึกปวดที่สีข้าง ซึ่งอยู่ระหว่างท้องส่วนบนกับหลัง [27] อาการอื่นๆ ของการบาดเจ็บที่ไตได้แก่ [28] [29]
    • ปวดช่องท้องหรือท้องบวม
    • มีเลือดปนมาในปัสสาวะ
    • ง่วงซึมหรือง่วงนอน
    • มีไข้
    • ปัสสาวะน้อยลงหรือปัสสาวะขัด
    • อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น
    • คลื่นไส้และอาเจียน
    • เหงื่อออก
    • ผิวเย็นและชื้น
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • รักษาร่างกายไม่ให้ขาดน้ำ คุณต้องพัดเอาแบคทีเรียในไตออกมาด้วยการดื่มน้ำมากๆ
  • ยารักษา “ตามธรรมชาติ” อย่างดอกแดนดิไลออน น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิล โรสฮิปส์ และหน่อไม้ฝรั่งไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาสนับสนุนว่าช่วยรักษานิ่วในไตได้ เพราะฉะนั้นพยายามดื่มน้ำมากๆ และพบแพทย์เพื่อหาทางรักษาด้วยวิธีอื่น [30] [31]
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคุณรู้สึกปวดที่ไต ให้ปรึกษาแพทย์ทันที
โฆษณา
  1. http://www.healthline.com/symptom/flank-pain
  2. http://www.uofmmedicalcenter.org/healthlibrary/Article/116080EN
  3. http://www.medicinenet.com/kidney_pain/page5.htm#how_is_kidney_pain_treated
  4. http://www.nhs.uk/Conditions/Kidney-infection/Pages/Treatment.aspx
  5. https://www.kidney.org/atoz/content/painMeds_Analgesics
  6. http://www.medicinenet.com/kidney_pain/page5.htm# how_is_kidney_pain_treated
  7. http://www.bui.ac.uk/PatientInfo/ureterstent.html
  8. http://www.upmc.com/patients-visitors/education/nutrition/Pages/low-oxalate-diet.aspx
  9. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/kidney-infection/basics/lifestyle-home-remedies/con-20032448
  10. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/kidney-stones
  11. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/kidney-infection/basics/definition/con-20032448
  12. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/kidney-infection/basics/symptoms/con-20032448
  13. http://www.medicinenet.com/kidney_pain_symptoms_and_causes/views.htm
  14. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/kidney-infection/basics/symptoms/con-20032448
  15. http://kidney.niddk.nih.gov/kudiseases/pubs/stonesadults/#symptoms
  16. http://www.medicinenet.com/kidney_stones/page6.htm
  17. http://www.medicinenet.com/kidney_stones/page6.htm
  18. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003113.htm
  19. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001065.htm
  20. http://www.mayoclinic.org/symptoms/kidney-pain/basics/when-to-see-doctor/sym-20050902
  21. ”Natural treatments for kidney stones,” Salem Press Encyclopedia of Health, 2012
  22. https://www.kidney.org/atoz/content/kidneystones

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,699 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา