ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไปหลายครั้งในชีวิต [1] ถึงแม้จะไม่สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงนี้แต่ขณะที่เราโตขึ้น พฤติกรรมบางอย่างเริ่มกลายเป็นนิสัย สิ่งสำคัญที่จะทำให้เรามีบุคลิกภาพที่ดีขึ้นคือเปลี่ยนแปลงตนเองให้มีพฤติกรรมเสริมสร้างลักษณะบุคลิกภาพที่ดีและลดลักษณะบุคลิกภาพที่ไม่ดี เตรียมปากกาและกระดาษไว้เขียนได้เลย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

รู้ลักษณะบุคลิกภาพของตนเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นั่งลงและเขียนว่าบุคลิกภาพที่ดีของตนเองนั้นมีอะไรบ้าง. พยายามเรียงลำดับลักษณะบุคลิกภาพที่เรามีตามความมั่นใจ ตัวอย่างเช่น ลักษณะบุคลิกภาพที่ดีของเราได้แก่ เป็นผู้ฟังที่ดี เข้ากับผู้อื่นง่าย มีการแสดงออกอย่างเหมาะสม รอบคอบ ช่างคิด หรือฉลาด
  2. เขียนว่าลักษณะบุคลิกภาพที่ไม่ดีของตนเองมีอะไรบ้าง. พฤติกรรมที่เรามักจะทำบ่อยๆ หรือนิสัยบางอย่างที่คิดว่าเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตของเรา ตัวอย่างเช่น ขี้อาย ขี้โมโห ช่างพูด ชอบตัดสิน หรือขวัญอ่อน
    • พึงระลึกเสมอว่าการเห็นว่าอะไรดีหรือไม่ดีนั้นเป็นความเห็นส่วนบุคคล บางคนอาจคิดว่าการเข้าสังคมเก่งหรือช่างพูดนั้นเป็นบุคลิกภาพที่ดี การเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพควรอยู่บนความเห็นและความต้องการปรับปรุงตนเองของเรา
    • การเขียนว่าเรามีบุคลิกภาพที่ไม่ดีอะไรบ้างนั้นอาจทำยากในตอนแรก ฉะนั้นให้ใช้เวลาใคร่ครวญดูว่าเรามีบุคลิกภาพเป็นอย่างไรเมื่ออยู่กับผู้อื่นหรือเมื่ออยู่คนเดียว เพราะบุคลิกภาพเหล่านี้อาจเป็นบุคลิกที่เราอยากเปลี่ยนแปลงก็เป็นได้
  3. ขีดฆ่าบุคลิกภาพที่เราไม่อยากเปลี่ยนในตอนนี้. เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพทุกอย่างของเราได้
  4. วาดดาวข้างบุคลิกภาพที่เราต้องการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลง. เราอาจฉลาดอยู่แล้วแต่ก็อยากฉลาดยิ่งขึ้นกว่านี้
  5. จัดลำดับบุคลิกภาพที่ต้องการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดไปน้อยที่สุด. เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างค่อยเป็นค่อยไป เปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพทีละหนึ่งบุคลิกให้สำเร็จด้วยการหมั่นฝึกฝนและปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ [2]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตัวอย่างเช่น สมมติว่าเราอยากลดความขี้อายลง
  2. เขียนว่ามีพฤติกรรมใดบ้างที่แสดงให้เห็นว่าเรามีบุคลิกแบบนั้นเมื่ออยู่กับผู้อื่น. พฤติกรรมที่แสดงให้เห็นว่าเราเป็นคนขี้อายอาจได้แก่ ออกจากงานเลี้ยงเร็ว ไม่เคยเอ่ยตัดบท ไม่เคยออกความเห็น หลีกเลี่ยงผู้คน หรือไม่กล้าอาสาทำกิจกรรมต่างๆ
  3. ตัวอย่างเช่น อาสาทำหน้าที่ใหม่ๆ ในที่ทำงาน หรือตอบรับคำเชิญไปร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำ
  4. นึกถึงคนที่เราเคารพนับถือซึ่งมีบุคลิกแบบที่เราต้องการแล้วเลียนแบบพฤติกรรม. วิธีนี้เหมาะสำหรับการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพแบบเดียวมากกว่าเปลี่ยนบุคลิกภาพทั้งหมด เพราะบุคลิกภาพทำให้เราเป็นคนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่เราสามารถเรียนรู้พฤติกรรมดีๆ มากมายจากผู้คนที่พบในชีวิตประจำวันได้ [3]
  5. เตือนตนเองให้หมั่นทำพฤติกรรมที่นำไปสู่การมีบุคลิกภาพที่ดีขึ้น. ลองบอกตนเองว่า “ฉันจะรับฟังผู้อื่น” จากนั้นก็วางโทรศัพท์มือถือแล้วปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นมากขึ้น
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ปรับปรุงตนเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีทัศนคติที่ดีอยู่เสมอ. ทัศนคติที่ไม่ดีจะลดความมั่นใจและลดความพยายามที่จะ ปรับปรุงตนเอง ให้ดีขึ้น
  2. ลองเข้าร่วมองค์กร เข้าเรียน เข้าชมรม ทีม หรือกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมใหม่ๆ การกลับไปทำพฤติกรรมเดิมๆ อยู่กับผู้คนที่รู้จักและคุ้นเคยอยู่แล้วเป็นเรื่องง่าย แต่การทำความรู้จักและคุ้นเคยกับอะไรใหม่ๆ จะทำให้เราได้เรียนรู้อะไรเพิ่มเติม และอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้ไปทางที่ดีขึ้นได้
  3. บุคลิกภาพไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในชั่วข้ามคืน ฉะนั้นให้เวลาตนเองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อไปสู่การมีบุคลิกภาพที่ดีขึ้นด้วย
  4. ในบางกรณีการทำตัวให้แตกต่างไปจากเราคนเดิมอาจทำให้เราได้เพื่อนใหม่ เป็นคนใหม่ และประสบความสำเร็จ ต้องทำให้ “การแสร้งเป็นคนอื่น” สอดคล้องกับเป้าหมายของเรา เราจะได้ไม่เผลอปรับบุคลิกภาพไปในทางที่ไม่ดี วิธีนี้ได้ผลกับใครหลายคน แต่ถ้าเราไม่รู้จักใครที่มีบุคลิกลักษณะซึ่งเราต้องการ ให้ลองดูภาพยนตร์เพื่อช่วยใน “การแสร้งทำ” จนกว่าเราจะทำได้จริง หลังจากผ่านไปสักพักเราก็จะเขินอายน้อยลงหรือทำได้ดีมากขึ้น
  5. นั่งดูสิ่งที่เขียนเดือนละครั้งและดูสิว่าเราประสบความสำเร็จแค่ไหน.เปลี่ยนไปปรับปรุงบุคลิกภาพอื่นต่อ ถ้าสามารถปรับปรุงบุคลิกภาพแรกสำเร็จแล้ว ตัวอย่างเช่น ถ้าเราเริ่มมีเพื่อนใหม่มากขึ้น เริ่มแสดงความเห็นในที่ทำงานมากขึ้นแล้ว อาจถึงเวลาไปปรับปรุงบุคลิกภาพลักษณะอื่นต่อไป
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 12,501 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา