ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

กลิ่นปาก หรือภาวะมีกลิ่นปากเกิดขึ้นได้กับทุกคนอยู่เสมอ ภาวะมีกลิ่นปากเกิดจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นปากแห้ง กินอาหารพวกโปรตีน น้ำตาลหรือมีกรดมาก สูบบุหรี่ การเจ็บป่วยและฟันผุก็อาจทำให้เกิดกลิ่นปากได้ เราป้องกันการเกิดกลิ่นปากได้ด้วยการหมั่นดูแลสุขภาพช่องปากให้ดี เปลี่ยนอาหารการกินและรูปแบบการดำเนินชีวิต


ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ดูแลสุขภาพช่องปากให้ดี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การแปรงฟันอย่างถูกวิธีเป็นการป้องกันการเกิดกลิ่นปากที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง แปรงฟันอย่างน้อยสองครั้งต่อวัน ใช้เวลาอย่างน้อยครั้งละสองนาที และแปรงฟันให้ทั่วทั้งปาก โดยเฉพาะรอยต่อระหว่างฟันกับเหงือก [1]
    • ใช้แปรงขนอ่อนและเปลี่ยนแปรงทุกสามถึงสี่เดือน
    • แปรงฟันก่อนกินอาหารเลยหรือหลังกินอาหารหนึ่งชั่วโมง(ไม่อย่างนั้นเคลือบฟันอาจเสียหายหรือสึกได้)
    • แปรงลิ้นด้วย เพราะลิ้นมีแบคทีเรียสะสมมาก ก่อให้เกิดกลิ่นปากได้ แปรงจากโคนมาปลายลิ้น รวมทั้งด้านข้างด้วย ไม่ควรแปรงลิ้นเกินสี่ครั้งและอย่าแปรงลึกเกินไป
  2. การใช้ไหมขัดฟันเป็นส่วนสำคัญอีกอย่างหนึ่งของการมีสุขภาพช่องปากที่ดี การใช้ไหมขัดฟันจะช่วยเอาคราบจุลินทรีย์และแบคทีเรียระหว่างซอกฟันออกมา ซึ่งแม้แต่แปรงดีๆ ก็ยังเข้าไม่ถึง ใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อวัน [2]
    • การใช้ไหมขัดฟันยังช่วยกำจัดเศษอาหารด้วย ถ้ามีเศษอาหารอยู่ตามซอกฟันแล้วเศษอาหารเน่า จะเกิดกลิ่นปาก
    • เมื่อใช้ไหมขัดฟัน ให้เน้นใช้ไหมขัดฟันบริเวณรอยต่อระหว่างเหงือกและฟัน ขัดฟันไปทางเดียวและค่อยเปลี่ยนไปขัดซี่ต่อไป
  3. ใช้ผงฟูแปรงฟันหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์จะช่วยยับยั้งแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดกลิ่นปาก ใช้แปรงธรรมดา โรยผงฟูบนขนแปรงไปเล็กน้อย จากนั้นแปรงฟันตามปกติ [3]
    • ผงฟูยังใช้เป็นน้ำยาบ้วนปากได้ด้วย ละลายผงฟูครึ่งช้อนโต๊ะในน้ำแก้วเล็ก อมน้ำไว้ อย่ากลืน แล้วกลั้วปาก
    • ผงฟูจะยับยั้งกรดที่สะสมหลังฟันและใต้ลิ้น
  4. การไปหาทันตแพทย์จะช่วยรักษาสุขภาพช่องปากได้ดีทีเดียว และเป็นวิธีป้องกันการเกิดกลิ่นปากวิธีแรก ทันตแพทย์หรือทันตนามัยจะทำความสะอาดฟัน เหงือกและช่องปากให้ [4]
    • ทันตแพทย์จะสังเกตเห็นถ้ากลิ่นปากเกิดจากสาเหตุที่ร้ายแรงกว่าการกิน การดื่ม หรือการแปรงฟันไม่ถูกวิธี
    • ถ้ามีปัญหาเรื่องกลิ่นปากมาก ทั้งที่ทำตามหลักดูแลช่องปากอย่างเคร่งครัด (การกินและการแปรงฟันอย่างถูกวิธี) ไปพบทันตแพทย์
  5. เคี้ยวหมากฝรั่งไม่มีน้ำตาลหรืออมลูกอมรสมินต์. หมากฝรั่งไม่มีน้ำตาลหรือลูกอมรสมินต์ช่วยเร่งการหลั่งน้ำลายในปากเหมือนน้ำ ช่วยเอาแบคทีเรียที่ไม่ดีออกไป และยังช่วยป้องกันกลิ่นปากได้ระยะสั้น ๆ [5]
    • เคี้ยวหมากฝรั่งไม่มีน้ำตาลและอมลูกอมรสมินต์ น้ำตาลเป็นอาหารของแบคทีเรียที่ไม่ดี ซึ่งก่อให้เกิดกลิ่นปากเมื่อหมากฝรั่งหรือลูกอมรสมินต์หมดแล้ว
    • หมากฝรั่งไม่มีน้ำตาลน่าเคี้ยวกว่าอมลูกอมรสมินต์ เพราะเราจะได้รู้ประโยชน์ของการเคี้ยวหมากฝรั่งหลังจากเคี้ยวไปเพียงห้านาที
    • หมากฝรั่งมีไซลิทอล สารให้ความหวานที่ไม่มีน้ำตาล ทำจากเปลือกต้นเบิร์ช เป็นสารป้องการเกิดกลิ่นปากได้ดี ช่วยลดอาการฟันผุ และช่วยลดการสูญเสียเคลือบฟันด้วยการทดแทนแร่ธาตุให้ฟัน [6]
  6. น้ำยาบ้วนปากเป็นอีกทางหนึ่งที่แก้การมีกลิ่นปากได้ผลทันที ถึงแม้วิธีนี้แค่ป้องกันการเกิดกลิ่นปากได้ชั่วคราว แต่ก็พอที่จะไม่ให้กลิ่นปากรบกวนคนอื่น [7]
    • แต่น้ำยาบ้วนปากแบบฆ่าเชื่อโรคจะฆ่าแบคทีเรียที่ไม่ดีด้วย จึงมีดีมากกว่าแค่ป้องกันการเกิดกลิ่นปาก ลองมองหาน้ำยาบ้วนปากที่มีคลอร์เฮกซิดีน เซธิลไพริดิเนียมคลอไรด์ คลอรีนไดออกไซด์ ซิงค์คลอไรด์ และไทรโคลซาน สารพวกนี้จะฆ่าแบคทีเรีย
    • หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีคลอร์เฮกซิดีนในระยะยาวเพราะสารนี้อาจทำให้เกิดคราบที่ฟัน (ถึงแม้จะมีวิธีแก้ไขก็ตาม)
    • พยายามอย่าใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์ เพราะอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดมะเร็งช่องปากได้
    • ใช้น้ำยาบ้วนปาก กลั้วปากและกลั้วคอ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

เปลี่ยนอาหารการกินและรูปแบบการดำเนินชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปัญหาหนึ่งที่ทำให้เกิดกลิ่นปากหรือยิ่งทำให้เกิดกลิ่นปากคือปล่อยให้ปากแห้ง น้ำไม่มีกลิ่นและช่วยล้างเศษอาหารที่แบคทีเรียชอบออกไป ช่วยน้ำลายทำความสะอาดช่องปากและขจัดสารในอาหารที่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็น [8]
    • อย่าดื่มกาแฟ โซดา หรือแอลกอฮอล์เพื่อล้างช่องปาก ของพวกนี้ไม่ช่วยป้องการการเกิดกลิ่นปาก แถมยังเป็นสาเหตุทำให้เกิดกลิ่นปาก
    • การขาดน้ำเป็นปัจจัยหนึ่งทำให้เกิดภาวะมีกลิ่นปากบ่อยๆ ดื่มน้ำให้มากเพื่อร่างกายจะไม่ขาดน้ำ และช่วยป้องกันการเกิดกลิ่นปาก
  2. ผักผลไม้สดกรอบไม่เพียงแต่ช่วยทำความสะอาดฟัน แต่ป้องกันภาวะการมีกลิ่นปาก ช่วยการย่อยอาหารและช่วยขับสารพิษในร่างกาย [9]
    • หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ถ้าอยากกินของขบเคี้ยว กินแอปเปิ้ลหรือโปรตีนบางอย่างดีกว่ากินลูกอมลูกกวาด
    • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่เป็นกรด เครื่องดื่มพวกนี้เป็นทั้งสาเหตุการเกิดกลิ่นปากและทำลายสุขภาพฟัน เครื่องดื่มที่เป็นกรดทำลายเคลือบฟันได้ หลีกเลี่ยงการดื่มโซดา ถ้าต้องดื่ม ควรใช้หลอดหรือดื่มให้เร็ว อย่าอมมันไว้ แล้วดื่มน้ำตามเข้าไปเพื่อล้างสิ่งที่ตกค้าง
    • หลีกเลี่ยงกาแฟและแอลกอฮอล์ ทั้งสองอย่างนี้ทำให้ช่องปากเหมาะต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย เป็นสาเหตุของการเกิดกลิ่นปาก ทำให้ปากแห้งด้วย และเป็นสาเหตุให้แบคทีเรียยังอยู่
  3. เหตุผลที่ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือเคี้ยวยาสูบ (นอกจากเป็นมะเร็งแล้ว) นั่นคือ มันทำให้เกิดกลิ่นปาก การสูบบุหรี่ทำให้ลมหายใจยังมีกลิ่นบุหรี่ตกค้างอยู่ บางครั้งจึงมีคำพูดว่า “กลิ่นเหมือนที่เขี่ยบุหรี่” วิธีที่ง่ายที่สุดในการป้องกันการเกิดกลิ่นปากคือเลิกสูบบุหรี่ [10]
    • การสูบหรี่อาจทำให้เป็นโรคเหงือกได้ด้วย ซึ่งร้ายแรงกว่า และทำให้เกิดกลิ่นปาก
    • การสูบบุหรี่ทำให้เกิดคราบที่ฟันและทำให้เหงือกระคายเคือง การเลิกสูบบุหรี่จะช่วยรักษาสุขภาพช่องปาก
  4. วิตามินดีช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในช่องปาก วิตามินดีหากินได้ในอาหารเสริมและเครื่องดื่ม แต่วิธีรับวิตามินดีที่ง่ายที่สุดและได้ผลที่ดีที่สุดคือ การรับแสงแดด [11]
    • กินโยเกิร์ตไม่มีน้ำตาลหนึ่งครั้งต่อวัน โยเกิร์ตมีแบคทีเรียดี(แบคทีเรียโพรไบโอติก)ป้องกันการเกิดกลิ่นปากด้วยการลดสารประกอบซัลไฟด์ที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก
    • กินปลาไขมันสูงที่อุดมไปด้วยวิตามินดีอย่างปลาแซลมอน ปลาทูน่า หรือปลาแมกเคอเรล เห็ดบางอย่างก็มีวิตามินดี
    • วิตามีนดียังได้รับจากอาหารเสริมอีกด้วย ปริมาณวิตามินดีที่แนะนำคือ 600 ไอยู สำหรับคนอายุ 1-70 ปีและ 800 ไอยูสำหรับคนอายุ 70 ปีขึ้นไป [12]
  5. เคี้ยวผักชีฝรั่งช่วยให้ช่องปากและฟันสะอาด ป้องกันการเกิดกลิ่นปาก อบเชยทั้งที่อยู่ในฝักหรืออบเชยบดช่วยให้ลมหายใจสดชื่น เคี้ยวเม็ดยี่หร่าหลังจากกินของเผ็ด หรือบดแล้วนำมาโรยแปรงสีฟัน [13]
    • เคี้ยวใบมินต์ช่วยทำให้ลมหายใจสะอาด เอาใบมินต์แช่น้ำร้อนดื่มเป็นชารสมินต์ก็ได้
    • โรยเกลือที่มะนาวผ่าครึ่งซีก แล้วกินเนื้อมะนาว จะช่วยให้หมดกลิ่นฉุนของหัวหอม กระเทียม และอาหารที่มีกลิ่นแรงอื่น ๆ
  6. ชามีพอลิฟีนอล ช่วยขจัดสารประกอบซัลเฟอร์และลดแบคทีเรียช่องปาก ทำให้ช่องปากชุ่มชื้นอีกด้วย ดื่มชาร้อนไม่หวานหลายครั้งต่อวันได้ผลดีสุด [14]
    • ชาเขียวมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยต้านแบคทีเรียในช่องปาก จิบชาเขียวช่วยขจัดกลิ่นกระเทียมอีกด้วย
    • ทั้งชาดำและชาเขียวต่างชงมาจากใบชา ชาดำเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่ผู้คนบริโภคมากที่สุด รองจากน้ำ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ตรวจการเกิดกลิ่นปากด้วยตนเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไม่ง่ายหรอกถ้าจะให้ใครบอกว่ามีกลิ่นปาก ถ้ามีกลิ่นปากละก็ การทดสอบพวกนี้จะช่วยเอาเกลือซัลเฟอร์ออกมาจากปาก แล้วลองดมดู [15]
    • เลียข้อมือ รอห้านาที แล้วดมข้อมือ ถ้ามีกลิ่นปาก ก็จะได้กลิ่นแบบเดียวกันที่ข้อมือ
    • ใช้ผ้ากอซแตะลิ้นและดม ถ้าผ้ากอซมีกลิ่นเหม็น แสดงว่ามีกลิ่นปาก
  2. ถ้ามีรสชาติไม่ดีในปาก แสดงว่าอาจจะมีกลิ่นปาก บางครั้งหลังกินอาหาร อาจรู้สึกว่ายังมีรสอาหารที่กินเข้าไปแล้วอยู่ อาหารที่มีรสตกค้างในปากเป็นอาหารที่รู้จักกันดีว่ามีกลิ่นแรง อย่างกระเทียม หัวหอม หรืออาหารที่ใส่เครื่องเทศมาก [16]
    • ป้องกันการเกิดกลิ่นปากหลังกินอาหารเป็นหนึ่งในวิธีจัดการกลิ่นปากที่ง่ายที่สุด
    • ถ้าเห็นว่ามีรสชาติไม่ดีในปากซึ่งไม่ใช่รสอาหารที่กินเข้าไป อาจต้องเข้ารับการรักษา เพราะการเกิดกลิ่นปากอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อในลำคออย่างสเตรปโธรท
  3. ถ้ามีปัญหากลิ่นปากมานาน ทันตแพทย์อาจให้เข้าเครื่องตรวจความเข้มข้นของลมหายใจ เครื่องมือพิเศษนี้จะวัดลมหายใจของเรา เหมือนเครื่องวิเคราะห์ลมหายใจที่ตำรวจใช้ตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์หรือสารอื่นๆ [17]
    • เครื่องตรวจความเข้มข้นของลมหายใจไม่ช่วยป้องกันการเกิดกลิ่นปาก แต่ช่วยให้รู้สาเหตุการเกิดกลิ่นปากที่แน่ชัดขึ้น ยิ่งรู้สาเหตุของการเกิดกลิ่นปาก ก็จะจัดการมันได้
    • ภาวะการเกิดกลิ่นปากมักจะเกิดจากสารเคมีสามตัวคือ ไดเมทิลซัลไฟด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ และ เมอร์แคปแทน เมื่อพบตัวไหนก็ตามอยู่ในลมหายใจ ก็จะรู้วิธีรักษาที่ช่วยลดการเกิดกลิ่นปาก
    โฆษณา


คำเตือน

  • กลิ่นปากเป็นสัญญาณแรกของมะเร็งช่องปาก สัญญาณแรกของมะเร็งช่องปากอื่นๆ เช่น มีก้อน เกิดฝ้าขาว แดง หรือดำในปาก เคี้ยว กลืน หรือขยับขากรรไกรลำบาก รู้สึกว่ามีอะไรติดคอ ชาในปาก แก้มบวม หรือเสียงเปลี่ยน ถ้าเห็นสัญญาณเหล่านี้ ไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญดีกว่า
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,464 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา