ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

Boils ก็คือฝี (abscesses) หรืออาการผิวหนังติดเชื้อ ที่เกิดลึกลงไปในต่อมไขมัน (oil glands) หรือรูขุมขน (hair follicles) เวลาเป็นฝีขึ้นมาแต่ละทีนอกจากเจ็บปวดแล้วยังไม่น่าดู แต่ก็ยังดีที่มีวิธีป้องกัน! ฝีจะเริ่มปรากฏตัวบนผิวหนังของคุณเป็นจุดแดงๆ สุดท้ายก็กลายเป็นก้อนแข็ง เต็มไปด้วยหนอง [1] ฝีเกิดจากแบคทีเรียที่ผ่านเข้าไปในผิวหนังทางรอยแผลหรือรูขุมขน คนที่เสี่ยงเป็นฝีได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ก็คือคนที่เป็นเบาหวาน ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นโรคผิวหนังบางชนิดอยู่แล้ว แต่บางทีฝีก็เกิดเพราะไม่ดูแลสุขอนามัยของตัวเอง หรือขาดสารอาหารด้วย [2] สิวซีสต์ (Cystic acne) ก็เป็นอาการที่เกี่ยวข้องกัน มักพบในวัยรุ่น พอเป็นแล้วก็ลุกลามไปเป็นฝีบนใบหน้า ต้นคอ และแผ่นหลังได้ หลายวิธีที่ใช้ป้องกันฝี ก็ใช้บรรเทาอาการของสิวซีสต์ได้เช่นกัน [3]

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 6:

รักษาสุขอนามัยส่วนตัว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาบน้ำฝักบัวหรือในอ่างเป็นประจำ เพื่อรักษาความสะอาดของผิวและผม. โดยเฉพาะหน้าร้อนหรือวันที่อากาศร้อนๆ ยิ่งต้องอาบน้ำอย่าได้ขาด เพราะฝีขึ้นง่ายมาก ให้อาบน้ำวันละครั้ง และมากกว่านั้นถ้าเหงื่อออกเป็นพิเศษ จะได้ป้องกันไม่ให้แบคทีเรียบนผิวหนังอย่าง Staphylococcus aureus (staph) เล็ดลอดเข้าไปในรูขุมขนหรือใต้ผิวหนังจนเกิดเป็นฝีในที่สุด [4]
    • รักษาความสะอาดบริเวณที่เสี่ยงเกิดฝีเป็นพิเศษ เช่น ใบหน้า ต้นคอ รักแร้ ไหล่ และก้น [5]
  2. ให้ใช้สบู่ฆ่าเชื้อแบบอ่อนๆ ทุกวัน เพื่อกำจัดแบคทีเรียบนผิวหนัง. เลือกสบู่ก้อน สบู่เหลว หรือโฟมล้างหน้าที่มีคำว่า "antibacterial" ที่ฉลาก ซึ่งก็มีให้เลือกมากมายหลายยี่ห้อ ทั้งในซูเปอร์และร้านขายยาทั่วไป [6]
    • ถ้าใช้สบู่ฆ่าเชื้อแบคทีเรียแล้วรู้สึกว่าผิวแห้ง ให้เลือกที่อ่อนโยนกว่า เช่น Cetaphil
    • สบู่ฆ่าเชื้อแบคทีเรียส่วนใหญ่จะมี triclosan เป็นส่วนผสมหลัก ถ้าอยากได้สูตรธรรมชาติ ให้เลือกที่ผสมทีทรีออยล์ เพราะเป็นสารต้านแบคทีเรียตามธรรมชาติ [7]
    • แต่บางเคสก็ต้องใช้สบู่ฆ่าเชื้อแบคทีเรียแรงๆ แบบที่คุณหมอสั่งให้ถึงจะเอาอยู่ ถ้าคุณมีปัญหาเรื่องฝีหรือผิวหนังติดเชื้อเรื้อรัง ก็ลองปรึกษาคุณหมอเรื่องนี้ดู
    • หรือใช้ผลิตภัณฑ์อาบน้ำเน้นแก้ปัญหาสิว ที่ผสม benzoyl peroxide ก็ได้
  3. เพื่อป้องกันรูขุมขนอุดตันอันเป็นสาเหตุของฝี ระวังอย่าขัดแรงเกินไป เพราะผิวจะเสียได้
  4. แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดีในที่อุ่นและชื้น เพราะงั้นต้องเช็ดตัวให้แห้งสนิท อาจจะทาแป้งเด็กหรือแป้งเด็กอัดแข็ง เช่น Gold Bond ให้ส่วนที่อับชื้นง่ายแห้งสนิทตลอดวัน
  5. ส่วนใหญ่คุณหมอจะแนะนำให้อาบน้ำคลอรีน (bleach bath) ถ้าคุณเป็นโรคผิวหนังต่างๆ เช่น ผื่นผิวหนังอักเสบ (eczema) แต่ก็น่าจะช่วยฆ่าแบคทีเรียบนผิวหนังที่เป็นสาเหตุของฝีได้ด้วย [8] ให้ผสมน้ำยาซักผ้าขาวที่ใช้ในบ้าน ½ ถ้วยตวง ในน้ำอุ่นเต็มอ่างอาบน้ำ แล้วแช่ตัว 10 - 15 นาที [9]
    • ห้ามแช่ bleach bath บ่อยเกิน 3 ครั้งต่ออาทิตย์ [10]
    • ห้ามเอาหัวดำลงไปในน้ำ หรืออย่าให้น้ำเข้าจมูก ปาก และตา
    • ถึงปกติเด็กจะแช่ bleach bath ได้ แต่ควรปรึกษาคุณหมอหรือหมอเด็กก่อนเพื่อความปลอดภัย [11]
  6. เสื้อผ้าที่ใส่แล้วเหงื่อท่วมก็อย่าเอามาใส่ซ้ำอีก พยายามใส่เสื้อผ้าหลวมๆ ที่ไม่คับหรือเสียดสีจนระคายผิว ถ้าเสื้อผ้าคับหรือรัดรูป ผิวจะหายใจไม่ได้ ไม่ระบายอากาศมากพอ ทำให้ระคายผิว ยิ่งเสี่ยงเกิดฝี [12]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 6:

โกนขนป้องกันฝี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แบคทีเรีย staph อันเป็นสาเหตุของฝีสามารถติดต่อกันได้ถ้าใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น มีดโกน ถึงจะเป็นสมาชิกในบ้าน ก็ควรมีมีดโกนประจำตัวคนละอันไปเลย
  2. การโกนหนวดเป็นสาเหตุหลักของขนคุด ที่สุดท้ายแล้วอาจติดเชื้อจนกลายเป็นฝีได้ [13] ใช้เจลหรือครีมโกนหนวดบนผิวหน้าที่เปียก จะช่วยให้โกนได้ลื่นไหลยิ่งขึ้น ไม่สะดุดหรือครูดจนขนคุด งอกกลับเข้าไปในผิวหนัง [14]
  3. ระหว่างโกนต้องล้างเรื่อยๆ และใช้มีดโกนแบบใช้แล้วทิ้ง เปลี่ยนบ่อยๆ จะได้คมกริบอยู่เสมอ [15] พอมีดโกนคม เวลาโกนก็ไม่ต้องออกแรงเยอะ โกนได้ลื่นไหล ไม่เสี่ยงบาดผิวหรือทำขนคุด
  4. อันนี้เป็นความเชื่อกันมานาน ว่าเวลาโกนขนให้โกนย้อนทิศทางกับที่ขนงอก แต่จริงๆ แล้วโกนแบบนั้นทำให้ขนคุด เสี่ยงเป็นฝี แนะนำให้ลองโกนลง คือโกนไป ทางเดียว กับที่ขนงอกดู [16]
    • ถ้าใครขนหยิกหน่อยอาจจะดูยากว่าขนงอกไปทางไหน แนะนำให้โกน "ลง" จะง่ายที่สุด หรือเอามือลูบผิวดูก่อนว่าฝั่งไหนขนเรียบ ฝั่งไหนทวนขนจนยุ่งเหยิง
  5. เขาวิจัยกันมาแล้วว่าพบการติดเชื้อ MRSA (methicillin-resistant Staphylococcus aureus หรือเชื้อ staph ดื้อยา) รุนแรงในหมู่ผู้หญิงที่โกนขนในที่ลับ [17] “Cosmetic body shaving” หรือการโกนขนเพื่อความสวยงามในผู้ชาย ก็ทำให้เกิดการติดเชื้อ MRSA ได้เช่นกัน [18] สรุปแล้วอย่าไปโกนขนบริเวณที่บอบบางจะดีกว่า
    • พอโกนขนในร่มผ้าแล้วจะเกิดแผลเล็กๆ ที่ผิวเต็มไปหมด ถึงไม่สังเกตเห็นแต่เชื้อแบคทีเรีย staph ก็สามารถผ่านเข้าไปได้ จนเกิดการติดเชื้อเป็นฝี นอกจากนี้ยังเป็นบริเวณที่เหงื่อออกง่ายกว่าส่วนอื่นของร่างกาย เลยเป็นฝีได้ง่ายกว่าด้วย
  6. ถ้าสังเกตเห็นว่าตรงไหนอักเสบติดเชื้อหรือเป็นฝี ก็ห้ามโกนขนบริเวณนั้นเด็ดขาด เพราะเสี่ยงแพร่เชื้อแบคทีเรียไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย [19] [20]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 6:

ป้องกันการติดเชื้อจากผู้อื่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แบคทีเรีย staphylococcus aureus' ที่เป็นสาเหตุของฝีนั้นติดต่อกันง่ายมาก ถ้าไปสัมผัสหนองหรือผิวหนังที่ติดเชื้อโดยตรง ก็เสี่ยงได้รับเชื้อ staph ถ้าคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือมีคนใกล้ชิดที่เป็นฝี/ติดเชื้อ ยิ่งต้องระวังตัวอย่าให้รับเชื้อมาได้ [21]
  2. อย่าใช้เครื่องนอน ผ้าเช็ดตัว ผ้าขนหนู หรือเสื้อผ้าร่วมกับคนที่เป็นฝีหรือติดเชื้อ staph. ทุกคนในบ้านต้องมีผ้าเช็ดตัวและผ้าขนหนูแยกกันของใครของมันไปเลย ที่สำคัญคือซักบ่อยๆ และอย่าปะปนกัน
    • หนองที่ไหลจากฝีนี่แหละตัวแพร่เชื้อเลย แถมแบคทีเรียจะติดอยู่ตามพื้นผิวต่างๆ สักพัก ไม่ตายในทันที
    • ห้ามใช้สบู่ก้อนร่วมกัน ไม่ว่าคุณจะเป็นฝี หรือคนอื่นเป็นฝีก็ตาม
    • อย่าใช้มีดโกนกับอุปกรณ์กีฬาร่วมกัน เพราะทั้งเชื้อ staph และ MRSA “ธรรมดา” สามารถติดกันได้ถ้าใช้ของใช้ส่วนตัวหรืออุปกรณ์กีฬาร่วมกัน
  3. ซักและฆ่าเชื้อเครื่องนอนและผ้าเช็ดตัวให้หมดจดบ่อยๆ เพื่อกำจัดแบคทีเรียต้นเหตุของฝี. เวลาซักให้ใช้น้ำร้อนที่สุดเท่าที่เนื้อผ้าชนิดนั้นรับได้ ถ้าเป็นผ้าขาวให้ใช้น้ำยาฟอกขาวด้วย
    • ให้สวมถุงมือเวลาซักทำความสะอาดของใช้ของคนที่เป็นฝีเพื่อกันไว้ก่อน
    • ถ้าชอบฝีขึ้นที่หน้า ให้เปลี่ยนปลอกหมอนทุกวัน จะได้ไม่แพร่เชื้อไปที่อื่น
  4. รักษาความสะอาดของแผล รวมถึงพันแผลและเปลี่ยนผ้าพันแผลบ่อยๆ. หนองที่ไหลจากฝีนั้นทำให้ติดเชื้อง่ายมาก ถ้าไปสัมผัสอาจลุกลามเป็นฝีมากกว่าเดิม ถ้าคนอื่นมาสัมผัสก็ติดเชื้อได้
    • อย่าเจาะฝี แต่ถ้าจำเป็นจริงๆ ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณหมอจะดีกว่า ถ้าทำเองจะเสี่ยงเป็นแผลหรือติดเชื้อหนักกว่าเดิม [22]
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 6:

ทำแผลให้ถูกวิธี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ต้องขจัดสิ่งสกปรกและแบคทีเรียจากแผลให้หมด โดยเปิดน้ำเย็นให้ไหลผ่านแผล หรือใช้น้ำเกลือ "สำหรับล้างแผล" หาซื้อได้ตามร้านขายยาและออนไลน์ [23]
  2. ขจัดสิ่งสกปรกและแบคทีเรียจากแผลด้วยสบู่และผ้าสะอาดนุ่มๆ ที่เปียกหมาด.
    • ถ้าล้างแผลแล้วยังเหลือเศษสิ่งสกปรกตกค้าง ให้ใช้แหนบที่ฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์แล้วคีบออก
    • ถ้าแผลกว้างหรือลึกเกินจะล้างแผลได้ด้วยตัวเอง หรือกำจัดเศษสิ่งสกปรกจากแผลออกไม่หมด ให้ไปโรงพยาบาลทันทีจะดีกว่า
  3. ใส่ยาฆ่าเชื้อหรือขี้ผึ้งยาปฏิชีวนะที่แผลตามคำแนะนำที่ฉลาก.
    • วัตถุดิบตามธรรมชาติที่มีสรรพคุณช่วยฆ่าเชื้อก็เช่น น้ำผึ้ง รวมถึงน้ำมันลาเวนเดอร์ ยูคาลิปตัส และทีทรีออยล์ ใช้ทาที่แผลโดยตรงได้เลย วันละ 1 - 2 ครั้ง ช่วยฆ่าแบคทีเรียได้
  4. แผลจะหายเร็วกว่าถ้าพันแผลไว้ แถมยังช่วยป้องกันสิ่งสกปรกและเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ ไม่ให้เข้าแผลเพิ่มเติมจนอาการหนักขึ้น [24]
  5. ล้างมือให้สะอาดทั้งก่อนและหลังทำแผล และทิ้งผ้าพันแผลเก่าและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ทำแผลให้เป็นที่เป็นทาง. วิธีล้างมือให้สะอาดหมดจดจริงๆ คือเอามือรองน้ำก๊อกให้เปียกชุ่มก่อน จากนั้นฟอกสบู่ให้ขึ้นฟอง ถูมือกันแรงๆ อย่างน้อย 20 วินาที ถูให้ทั่วทุกซอกทุกมุม รวมถึงหลังมือ ซอกนิ้ว และซอกเล็บ แล้วล้างน้ำให้สะอาด สุดท้ายใช้ไดร์เป่าหรือเอาผ้าเช็ดมือให้แห้งสนิท [25]
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 6:

ดูแลสุขภาพประจำวัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การขาดสารอาหารนี่แหละสาเหตุหลักที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอจนติดเชื้อได้ง่าย [26] ไม่ใช่แค่กินอาหารเพียงพอ อิ่มท้อง แต่ต้องเป็นอาหารที่มีประโยชน์ อุดมวิตามินและแร่ธาตุด้วย
  2. ดื่มน้ำเยอะๆ แล้วรูขุมขนจะสะอาด ไม่อุดตัน ป้องกันการเกิดฝีได้ วิธีที่ใช้คำนวณหาปริมาณน้ำที่ควรดื่มต่อวันได้ดี ก็คือคิดซะว่าต้องดื่มน้ำ 1/2 - 1 ออนซ์ต่อน้ำหนักตัวคุณ 0.5 กก. เพราะงั้นถ้าคุณหนัก 68 กก. ก็ต้องดื่มน้ำให้ได้ 75 - 150 ออนซ์ (2 - 4.5 ลิตร) ต่อวัน [28]
    • ถ้าอากาศร้อนเป็นพิเศษ หรือคุณออกกำลังกาย ใช้แรงเยอะเป็นพิเศษ ก็ต้องดื่มน้ำในปริมาณมากสุดของปริมาณที่แนะนำ
  3. ขมิ้นมีสรรพคุณต้านการอักเสบและต้านแบคทีเรียตามธรรมชาติ ช่วยบรรเทาอาการและป้องกันการเกิดฝีได้ ถ้าใช้โลชั่นหรือครีมที่มีขมิ้น ก็จะช่วยให้แผล เช่น ฝี หายเร็วขึ้น [29] ถึงงานวิจัยจะไม่มีหลักฐานแสดงว่าขมิ้นส่งผลต่อฝีโดยตรง แต่ก็มีสารต้านอนุมูลอิสระ เลยน่าจะช่วยป้องกันอาการอื่นๆ เช่น หัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมองได้ เพราะงั้นจะเอาไปใช้ทำอาหารมากแค่ไหนก็ตามสะดวก [30]
  4. แค่ออกกำลังกายปานกลาง เขาก็วิจัยกันมาแล้วว่าช่วยกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น เพราะงั้นให้ออกกำลังกายอย่างน้อย 20 - 30 นาทีต่อวัน ผิวจะได้สวย แข็งแรง ไม่เสี่ยงติดเชื้อ [31]
    • ถ้าเพิ่งจะมาเริ่มออกกำลังกาย ก็ค่อยเป็นค่อยไป อาจจะเดินสัก 20 นาที หรือเดิน 10 นาที 2 ครั้งต่อวัน เท่านี้ก็พอให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้นแล้ว
    • ออกกำลังกายไม่ซ้ำซากน่าเบื่อเสมอไป ลองหากิจกรรมสนุกๆ ชวนให้ลุกมาออกกำลังกาย เช่น การเต้น หรือไปเดินเล่นในสวนสาธารณะแถวบ้านกับลูกๆ ก็ยังได้
  5. ใครที่เครียดจัดมักเป็นฝีและโรคต่างๆ ได้ง่ายกว่าคนอื่น เพราะงั้นต้องหาเวลามาผ่อนคลายให้ได้ทุกวัน และพยายามหาทางลดความเครียดในชีวิต จริงๆ แล้วการออกกำลังกายนี่แหละที่ช่วยคลายเครียดได้ดี แถมหลายคนยังได้ประโยชน์อื่นๆ เพิ่มเติมจากโยคะ การนั่งสมาธิ และไทเก๊กด้วย [32]
  6. บางเคสก็เป็นฝีเพราะผิวหนังสัมผัสสารเคมีระคายผิว จะที่บ้านหรือที่ทำงานก็แล้วแต่ สารเคมีที่มักก่อให้เกิดโรคผิวหนังก็เช่น น้ำมันดิน และน้ำมันหล่อเย็น [34] ถ้าต้องใช้งานสารเคมีพวกนี้ ต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันเสมอ และรีบล้างทำความสะอาดผิวส่วนที่สัมผัสสารเคมีให้หมดจด
    โฆษณา
วิธีการ 6
วิธีการ 6 ของ 6:

ตรวจรักษากับคุณหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้ารู้ตัวว่าเป็นฝีบ่อยๆ หรือเป็นนานไม่ยอมหายทั้งที่ดูแลตัวเองแล้ว ก็ควรไปหาหมอ เพื่อตรวจหาโรคอื่นๆ ที่อาจเป็นสาเหตุทำคุณเป็นฝีต่อไป เช่น เบาหวานที่ไม่ได้รับการวินิจฉัย (undiagnosed diabetes) ภาวะโลหิตจาง (anemia) และการติดเชื้อ คุณหมอจะสั่งยาหรือแนะนำวิธีดูแลตัวเองอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาทา และธาตุเหล็กเสริม [35]
    • ถ้ากลับมาเป็นฝีอีกก็ควรไปหาหมอ เช่น เป็นฝีนาน 2 อาทิตย์ เป็นฝีที่หน้า หรือที่สันหลัง ปวดฝีมาก หรือมีไข้ร่วมด้วย [36]
  2. บางคนที่ต้องทนทรมานเพราะเป็นฝีหรือสิวซีสต์บ่อยๆ ก็อาจจะต้องกินยาปฏิชีวนะสักชุด เพื่อถอนรากถอนโคนเชื้อในร่างกายอันเป็นสาเหตุของฝี [37]
    • ส่วนใหญ่คุณหมอมักจะสั่งยาปฏิชีวนะ tetracycline, doxycycline หรือ erythromycin เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อกำจัดฝีและสิว
  3. บางคนก็โชคร้าย เป็นพาหะของเชื้อ staph ที่พบได้ในจมูกของเรา ถ้าคุณหมอสันนิษฐานว่าคุณน่าจะเป็นพาหะ ก็จะให้ครีมยาปฏิชีวนะหรือยาพ่นจมูกมาใช้ทุกวันติดกันหลายๆ วัน เพื่อขุดรากถอนโคนเชื้อ staph ในจมูก ป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อไปตามผิวหนังส่วนต่างๆ ของตัวเอง หรือทำให้คนอื่นติดเชื้อผ่านการจาม หายใจรด และอื่นๆ [38]
  4. ปรึกษาคุณหมอเรื่องครีมและสบู่ยาฆ่าเชื้อและ. ถ้าสบู่ฆ่าเชื้อตามปกติเอาไม่อยู่ หรือระคายผิว คุณหมอจะสั่งยาแรงขึ้น หรืออ่อนลงให้แทน ถ้าเป็นครีมหรือขี้ผึ้งยาปฏิชีวนะ ก็ใช้ทาบริเวณที่ฝีจะขึ้นหรือแผลเปิดได้เลย
  5. MRSA (methicillin-resistant Staphylococcus aureus ) ก็คือเชื้อ staph ที่เกิดดื้อยาปฏิชีวนะขึ้นมา ทำให้รักษาได้ยากมาก ปกติมักติดกันจากในโรงพยาบาลและสถานพยาบาลอื่นๆ เช่น บ้านพักคนชรา แต่บางทีก็แพร่เชื้อจากการสัมผัสแตะต้องตัวกัน เช่น ระหว่างการเล่นกีฬา [39]
    • ฝีที่เกิดจากเชื้อ MRSA สัญญาณที่สังเกตได้ชัดเจนก็คือมีฝีหนอง (abscesses) [40] ฝีฝักบัว (carbuncles จะเป็นก้อน มีหนองและของเหลวข้างใน) [41] และโรคพุพอง (impetigo คือฝีหนา ขอบแห้ง คัน) [42] ถ้าสันนิษฐานว่าตัวเองติดเชื้อ MRSA ให้รีบไปหาหมอเพื่อตรวจให้แน่ใจจะดีที่สุด
    โฆษณา
  1. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/eczema/expert-answers/eczema-bleach-bath/faq-20058413
  2. http://pediatrics.aappublications.org/content/123/5/e808.abstract
  3. http://www.prevention.com/health-conditions/boils-and-carbuncles
  4. http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/guide/ingrown-hair-causes-symptoms-treatment
  5. http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/guide/ingrown-hair-causes-symptoms-treatment?page=2
  6. http://kidshealth.org/teen/your_body/skin_stuff/shaving.html
  7. http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/guide/ingrown-hair-causes-symptoms-treatment?page=2
  8. http://link.springer.com/article/10.1007/s11908-009-0067-6#page-1
  9. http://cid.oxfordjournals.org/content/39/10/1446.short
  10. http://www.medicinenet.com/script/main/mobileart.asp?articlekey=293&page=6
  11. http://www.prevention.com/health-conditions/boils-and-carbuncles
  12. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/staphylococcalinfections.html
  13. http://www.medicinenet.com/script/main/mobileart.asp?articlekey=293&page=6
  14. http://www.webmd.com/first-aid/how-to-clean-a-skin-wound
  15. http://www.palomarhealth.org/wound-care-centers/faqs
  16. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/hand-washing/art-20046253
  17. http://cid.oxfordjournals.org/content/46/10/1582.full
  18. http://www.dermnetnz.org/bacterial/boils.html
  19. http://www.webmd.com/diet/water-for-weight-loss-diet?page=2
  20. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/25200875
  21. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/turmeric
  22. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/007165.htm
  23. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/stress-symptoms/art-20050987?pg=2
  24. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/stress-relief/art-20044456
  25. http://www.dermnetnz.org/acne/folliculitis.html
  26. http://www.emedicinehealth.com/boils/page3_em.htm#boils_treatment
  27. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001474.htm
  28. http://www.netdoctor.co.uk/ate/infections/203245.html
  29. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/meds/a688004.html
  30. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/mrsa/basics/definition/con-20024479
  31. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/abscess.html
  32. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000825.htm
  33. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/impetigo.html

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,072 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา