ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

หากคุณได้แผลไม่ว่าขนาดใหญ่หรือเล็ก คุณอาจลงเอยด้วยแผลเป็น มันเป็นผลตามธรรมชาติในกระบวนการสมานแผล โดยคอลลาเจนในชั้นผิวหนังที่ลึกลงไปของคุณจะเปิดออกและขึ้นไปบนผิวชั้นนอกเพื่อที่จะ "ปิด" แผล และในกระบวนการนี้จะสร้างแผลเป็นขึ้น ไม่มีการรักษาเองที่บ้านใดๆ ที่วิเศษจนป้องกันไม่ให้เกิดแผลเป็นได้ แต่มีบางสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อส่งผลต่อวิธีการที่เนื้อเยื่อแผลเป็นจะมีการพัฒนาและเจริญเติบโตเต็มที่ในระหว่างกระบวนการสมานแผลตามธรรมชาติ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

การดูแลแผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ขั้นตอนแรกในการช่วยให้แผลเริ่มขั้นตอนการสมานตัวตามธรรมชาติก็คือการทำความสะอาดบริเวณแผล ให้แน่ใจว่าไม่มีวัตถุที่ไม่พึงประสงค์ฝังติดอยู่ข้างในบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บซึ่งอาจจะนำไปสู่การติดเชื้อได้ [1]
    • ใช้สบู่และน้ำ ค่อยๆ ล้างทำความสะอาดบริเวณแผลด้วยสบู่อ่อนๆ และน้ำอุ่น ใช้วัตถุที่สะอาดและแห้งกดแผลเพื่อห้ามเลือด
    • หลีกเลี่ยงการใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในการทำความสะอาดบริเวณแผล เนื่องจากในขณะที่ร่างกายของคุณเริ่มผลิตเซลล์ผิวใหม่ทันที แต่เปอร์ออกไซด์จะทำลายเซลล์ใหม่เหล่านั้นและเพิ่มโอกาสในการเริ่มสร้างแผลเป็นในช่วงต้นของการรักษา
  2. ตัดสินใจว่าคุณต้องการการรักษาพยาบาลหรือไม่. ตัวอย่างของบาดแผลที่อาจจะต้องการการรักษาพยาบาลนั้นรวมไปถึงบาดแผลที่เกิดจากวัตถุเจาะทะลุผิวจนลึก บาดแผลที่ยังคงมีเลือดออกต่อเนื่องไม่หยุด แผลลึก แผลเกี่ยวข้องกับกระดูกหัก แผลที่มองเห็นเส้นเอ็นกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นยึดกระดูก หรือกระดูก แผลที่อยู่บนใบหน้า แผลที่เกี่ยวข้องกับรอยกัดของสัตว์ แผลที่มีชั้นของผิวหนังที่ฉีกขาดหรือขอบไม่เรียบ หรือแผลที่ทำให้แผลที่มีอยู่แล้วเปิดอีก
    • ทั้งนี้อาจจะจำเป็นต้องมีการเย็บแผลซึ่งจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแผล ที่จริงแล้วการเย็บแผลอาจจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดแผลเป็น เมื่อคุณตัดสินใจได้ว่าการรักษาพยาบาลและ/หรือการเย็บแผลนั้นไม่จำเป็นแล้วล่ะก็ ให้ลงมือดูแลแผลที่บ้าน
    • ถ้าคุณมีแผลบนใบหน้า คุณอาจจะต้องการให้ศัลยแพทย์ตกแต่งทำการเย็บแผล เนื่องจากจะมีความสามารถเฉพาะทางในการใช้เทคนิคที่จะช่วยทำให้เกิดแผลเป็นน้อยที่สุด
  3. ปิโตรเลียมเจลจะรักษาให้บริเวณที่ได้รับบาดเจ็บนั้นชุ่มชื้น ส่งเสริมการสมานตัว และป้องกันไม่ให้เกิดการสร้างสะเก็ดแผล ปิโตรเลียมเจลไม่ได้เข้าไปรบกวนการสมานแผลตามรักษาธรรมชาติ ในความเป็นจริงแล้วมันสามารถเร่งกระบวนการให้เร็วขึ้น [2]
    • ถ้าแผลเป็นก่อตัวแล้ว การใช้ปิโตรเลียมเจลนั้นสามารถลดขนาดของแผลเป็นให้เล็กลงเมื่อเนื้อเยื่อสมานตัว
    • สะเก็ดแผลเป็นวิธีตามธรรมชาติของร่างกายในการสร้างสิ่งปกคลุมไว้ป้องกันขึ้นเหนือแผลสด แต่อย่างไรก็ตาม ภายใต้สะเก็ดแผลนั้นก็คือบริเวณที่แผลเป็นจะเริ่มก่อตัวขึ้น
    • ขณะที่ร่างกายของคุณเยียวยาตัวเอง คอลลาเจนจะถูกนำไปยังผิวหนังชั้นนอกเพื่อเชื่อมต่อเนื้อเยื่อที่ไม่สมบูรณ์และได้รับความเสียหาย
    • หลังจากนั้นสิ่งปกคลุมชั่วคราวที่มีเปลือกกรอบเรียกว่าสะเก็ดแผลจะก่อตัวอยู่เหนือคอลลาเจน ในขณะที่คอลลาเจนทำงานเพื่อซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ไม่สมบูรณ์นั้น ก็ยังเริ่มมีการสร้างแผลเป็นใต้สะเก็ดแผลด้วย
  4. มีหลักฐานบางอย่างแสดงให้เห็นว่าแผ่นไฮโดรเจลหรือซิลิโคนเจลสามารถลดการเกิดแผลเป็นได้ สิ่งแต่งแผลเหล่านี้จะให้ความชุ่มชื้นกับเนื้อเยื่อที่ได้รับบาดเจ็บในระหว่างกระบวนการสมานตัวและช่วยลดการสร้างแผลเป็น [3]
    • แผ่นไฮโดรเจลและซิลิโคนเจลทำงานโดยสนับสนุนการแลกเปลี่ยนของเหลวตามธรรมชาติระหว่างเนื้อเยื่อที่มีสุขภาพดีกับบาดแผล พวกมันเป็นอุปกรณ์แต่งแผลที่ใช้แรงกดที่รักษาให้เนื้อเยื่อชุ่มชื้น ด้วยวิธีนั้นจะช่วยในการป้องกันแผลเป็น
    • ทำตามวิธีใช้บนบรรจุภัณฑ์ถ้าคุณเลือกที่จะใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่ง พวกมันมีขายโดยไม่ต้องมีใบสั่งยา ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์มีคำแนะนำในการใช้งานที่เฉพาะเจาะจงกับผลิตภัณฑ์ของพวกเขา
    • มีผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกันในราคาที่ถูกกว่าอยู่ ขอให้แพทย์หรือเภสัชกรแนะนำแผ่นรักษาแผลเป็นที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปให้
    • ใช้อุปกรณ์แต่งแผลที่มีความชุ่มชื้น/ แรงกดต่อเนื่องเป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือนานกว่านั้นเพื่อลดการสร้างและขนาดของแผลเป็น
    • ไม่จำเป็นต้องใช้ปิโตรเลียมเจลถ้าคุณเลือกที่จะใช้แผ่นปิดแผลไฮโดรเจล ซิลิโคนเจล หรือตัวเลือกอื่นๆ ที่ราคาไม่แพงตราบใดที่พวกมันให้ความชุ่มชื้นต่อแผลเพียงพอ
    • เช็คบาดแผลของคุณเป็นประจำทุกวันเพื่อตรวจดูว่าแผลของคุณดีขึ้นมากน้อยแค่ไหน พิจารณาเปลี่ยนวัสดุปิดแผลถ้าเนื้อเยื่อไม่ชุ่มชื้นและเนื้อเยื่อสะเก็ดแผลกำลังก่อตัว
  5. ใช้ผ้าพันแผลที่เหมาะสมกับขนาดของบริเวณที่เป็นแผล ให้การป้องกันกับแผล รักษาบริเวณแผลให้ปิด และปิดแผลให้สนิท การสัมผัสกับอากาศนั้นถึงจะไม่ได้รบกวนการสมานตัวแต่ก็ไม่ได้ช่วยป้องกันการเกิดแผลเป็นด้วยเช่นกัน ในความเป็นจริงแล้วคุณอาจจะมีแนวโน้มที่จะเกิดแผลเป็นถ้าคุณไม่ปิดแผลและไม่มีการป้องกัน [4]
    • การสัมผัสกับอากาศกระตุ้นให้บาดแผลแห้งและนำไปสู่การสร้างสะเก็ดแผล สะเก็ดแผลทำหน้าที่เป็นตัวกั้นที่มีส่วนช่วยการสร้างแผลเป็น
    • ถ้าคุณมีผิวที่ไวต่อกาว ให้ใช้แผ่นปิดแผลที่ไม่มีกาวและใช้กระดาษหรือเทปทางการแพทย์เพื่อแปะยึดตรงขอบ
    • ใช้แผ่นปิดแผลผีเสื้อถ้าจำเป็น ผ้าพันแผลประเภทนี้จะดึงบริเวณที่ผิวแยกออกจากกันให้เข้าหากัน ให้แน่ใจว่าใช้แผ่นปิดที่ยาวพอเผื่อไว้ให้ปิโตรเลียมเจลโดยไม่ลดความสามารถในการยึดติดกับผิวโดยรอบ
    • ถึงแม้จะมีแผ่นปิดผีเสื้อ แต่คุณยังต้องปิดบริเวณแผลด้วยผ้าก๊อซหรือแผ่นปิดแผลขนาดใหญ่พอที่จะปิดบริเวณทั้งหมดเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหรือได้รับบาดเจ็บโดยอุบัติเหตุต่อไป
  6. ทำความบริเวณแผลทุกวัน ตรวจหาสัญญาณของการติดเชื้อ รักษาให้แผลชุ่มชื้นไว้โดยการทาปิโตรเลียมเจลซ้ำอีกครั้ง และปิดมันกลับคืน [5]
    • ถ้าการปิดแบบผีเสื้อมีความมั่นคงและไม่มีสัญญาณของการติดเชื้อภายใต้แล้วล่ะก็ คุณอาจจะปล่อยไว้อย่างนั้นได้
    • ตรวจสอบแผลต่อไปทุกวันว่าแผลดีขึ้นหรือมีสัญญาณที่เป็นไปได้ของการติดเชื้อหรือไม่ ในขณะที่คุณทำความสะอาดแผลให้เปลี่ยนผ้าพันแผลและทาปิโตรเลียมเจลซ้ำอีก
    • เมื่อคุณเห็นว่าผิวใหม่มีการเติบโตเข้าด้วยกันในลักษณะที่มีสุขภาพดี ซึ่งอาจจะใช้เวลาเจ็ดถึงสิบวัน คุณสามารถขยายเวลาระหว่างการเปลี่ยนผ้าปิดแผลของคุณต่อไปอีกหลายวันโดยที่คุณยังรักษาให้บริเวณแผลชุ่มชื้น หยุดรักษาเมื่อบริเวณนั้นหายสนิทแล้ว
  7. เปลี่ยนผ้าปิดแผลประจำทุกวัน ทำความสะอาดบริเวณที่เปลี่ยนผ้าปิดแผลแต่ละที่โดยใช้สบู่อ่อนๆ และน้ำและวัสดุที่สะอาด และตรวจหาการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะบ่งบอกถึงการติดเชื้อ แม้ว่าแผลจะได้รับการดูแลอย่างดีที่สุดแต่ก็อาจจะมีการติดเชื้อได้ [6]
    • ไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ถ้าคุณสังเกตเห็นสัญญาณของการติดเชื้อ เขาหรือเธออาจแนะนำให้คุณใช้ผลิตภัณฑ์ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่หรืออาจสั่งยาปฏิชีวนะที่ใช้กินเพื่อใช้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง
    • สัญญาณของการติดเชื้อในแผล ได้แก่ อาการแดงหรืออาการบวมในบริเวณนั้น แตะแล้วรู้สึกอุ่น รอยแดงโผล่ออกมาจากผิวรอบๆ บาดแผล มีหนองหรือของเหลวสะสมอยู่ใต้ผิวหนังใกล้แผล หรือไหลออกจากแผล กลิ่นมาจากแผล อาการเต้นตุบหรืออาการกดเจ็บผิดปกติในบริเวณนั้น และการมีอาการหนาวสั่นหรือเป็นไข้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ป้องกันการสร้างแผลเป็น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทันทีที่กระบวนการสมานแผลดำเนินไป การนวดบริเวณนั้นจะช่วยสลายการก่อตัวของคอลลาเจนที่นำไปสู่เนื้อเยื่อแผลเป็น ต้องระวังไม่ให้แผลที่กำลังพยายามสมานตัวนั้นเปิดอีก [7]
    • การนวดบริเวณนั้นจะทำลายการสร้างพันธะคอลลาเจนและป้องกันการสร้างบริเวณคอลลาเจนแข็งๆ ที่ติดกับผิวที่เจริญเติบโตใหม่ การกระทำนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้แผลเป็นก่อตัวหรือลดขนาดของพวกมันให้เล็กลง
    • นวดบริเวณนั้นวันละหลายๆ ครั้ง โดยนวดวนเป็นวงกลม 15 ถึง 30 วินาทีในแต่ละครั้ง
    • ใช้โลชั่นหรือครีมที่แนะนำสำหรับการป้องกันแผลเป็นเพื่อช่วยในการนวด สามารถใช้หลายผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งยา
    • ผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่นิยมนั้นมีความเข้มข้นของส่วนผสมที่แตกต่างกันรวมทั้งสารสกัดจากผิวหอมหัวใหญ่ด้วยและได้แสดงถึงประสิทธิภาพบางอย่าง ผลิตภัณฑ์อื่นๆ มีส่วนผสมต่างๆ รวมกันที่จะช่วยในการรักษาความชุ่มชื้นในผิวเพื่อลดการเกิดแผลเป็น
  2. กดเบาๆ และเสมอต้นเสมอปลายบนแผลจะช่วยป้องกันหรือลดการเกิดแผลเป็น ให้มุ่งความสนใจที่แรงกดไปตามบริเวณที่มีแนวโน้มอย่างมากที่จะแผลเป็น [8]
    • ผ้าพันแผลที่ช่วยใช้แรงกดนั้นมีอยู่ นอกเหนือจากไฮโดรเจลและแผ่นซิลิโคนดังที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้แล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มแรงกดคงที่ไปยังบริเวณแผลรวมทั้งยังให้การป้องกันด้วย
    • ถามแพทย์เกี่ยวกับวิธีการสร้างผ้ายืดพันแผลชนิดเพิ่มแรงกดที่เหมาะสมกับคุณได้อย่างปลอดภัย ตัวเลือกนั้นรวมถึงการใช้วัสดุแต่งแผลปกติเพื่อให้ผ้าพันแผลมาตรฐานนั้นหนาขึ้นจนสามารถแปะลงไปโดยตรงบนจุดอาจจะเกิดแผลเป็น
    • สำหรับบริเวณที่เกิดแผลเป็นที่มีขนาดใหญ่กว่าหรือสังเกตได้ชัดเจนกว่า มีผ้ายืดพันแผลชนิดเพิ่มแรงกดที่สามารถใช้ได้ในช่วงกลางวันและนาน 4-6 เดือน นี่เป็นการเสี่ยงที่มีราคาแพงและจะต้องมีการประเมินและข้อเสนอแนะโดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญในการดูแลแผล
    • งานศึกษาวิจัยในสัตว์ชิ้นหนึ่งซึ่งใช้การรักษาด้วยการบีบกดแผล ส่งผลให้บริเวณที่เกิดแผลเป็นทรงตัวและดีขึ้นมาก ลดความหนาของชั้นผิวหนังที่แผลเป็นอยู่ และเพิ่มการไหลเวียนเลือดในบริเวณที่ได้รับการรักษา [9]
  3. เมื่อบริเวณแผลสมานตัวแล้วและไม่มีความเสี่ยงในการดึงแผลให้เปิด ให้ใช้เทปพันในรูปแบบเฉพาะเพื่อยกกระชับผิว เพิ่มการไหลเวียนไปยังบริเวณใต้แผลให้ดีขึ้น และป้องกันไม่ให้เกิดเป็นรอยแผลเป็น [10]
    • ชื่อแบรนด์ของเทปประเภทนี้ที่เป็นที่คุ้นเคยมากที่สุดนั้นยังเป็นชื่อของขั้นตอนการผลิตเทปอีกด้วย คือ คิเนซิโอเทป (Kinesio Taping)
    • รอสองถึงสี่สัปดาห์หลังจากอาการบาดเจ็บเริ่มแรกเพื่อให้แน่ใจว่าแผลหายดีแล้ว
    • รูปแบบการพันเทปที่แตกต่างกันนั้นแนะนำว่าให้ขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ความลึก และความยาวของแผล พูดคุยกับแพทย์ นักกายภาพบำบัด หรือผู้ฝึกสอนกีฬา เพื่อที่จะเข้าใจรูปแบบที่เหมาะสมที่สุดที่จะใช้สำหรับแผลของคุณ
    • หนึ่งในรูปแบบการพันเทปที่พบได้บ่อยเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแผลเป็นนั้นคือใช้ยางยืดชั้นเดียวหรือติดเป็นแถบไปตามความยาวของแผล ยืดเทปไปประมาณ 25 ถึง 50% ของความยืดหยุ่นของมัน คลึงเทปให้เข้าที่ทั่วบริเวณแผล
    • ค่อยๆ เพิ่มความตึงของการใช้เทปหลังช่วงเวลาหนึ่ง ทำให้ผิวสามารถทนต่อสิ่งนี้โดยไม่รั้งหรือฉีกขาด
    • คิโนซิโอเทปจะป้องกันไม่ให้เกิดแผลเป็นได้อย่างดีที่สุดโดยใช้รูปแบบที่ยกกระชับผิว ช่วยในการไหลเวียน และสลายการสร้างคอลลาเจน ให้คุยกับแพทย์ นักกายภาพบำบัดโรค หรือผู้ฝึกสอนกีฬาเพื่อที่จะเข้าใจรูปแบบที่ดีที่สุดสำหรับแผลของคุณ
  4. แรงตึงและการเคลื่อนไหวจะทำให้แผลเป็นขยายกว้างขึ้น ดังนั้นพยายามหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ดึงผิวรอบแผลให้มากที่สุด
    • ขยับเบาๆ ถ้าแผลอยู่บริเวณข้อต่อ อย่างเช่นข้อศอกหรือหัวเข่า คุณต้องการขยับได้เหมือนเดิมแต่ก็ต้องระวังไม่ทำให้แผลเปิดอีก
    • ออกกำลังกายตามปกติหรือทำกิจวัตรประจำวันใดๆ ต่อไปนั้นจะไม่ทำให้แผลได้รับผลแย่ลงจากกิจกรรมเหล่านั้น การออกกำลังกายจะช่วยส่งเสริมการไหลเวียนทั่วทั้งร่างกายของคุณซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาอาการบาดเจ็บของคุณ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การเสริมกระบวนการสมานแผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้ครีมกันแดดเพื่อปกป้องผิวใหม่จากการโดนแดดทันทีที่แผลของคุณสมานตัวและคุณไม่จำเป็นต้องปิดผ้าปิดแผลที่บริเวณแผลอย่างต่อเนื่องอีกต่อไป [11]
    • รังสีอัลตร้าไวโอเลตจากดวงอาทิตย์สามารถชะลอกระบวนการสมานแผลได้ ให้แน่ใจว่าแผลของคุณหายดีก่อนคุณเอาวัสดุแต่งแผลที่กั้นระหว่างแผลกับรังสีจากดวงอาทิตย์ออก
    • ดวงอาทิตย์ยังกระตุ้นให้เกิดเม็ดสีในผิวหนังของคุณอีกด้วย ซึ่งนี่สามารถทำให้ผิวที่เติบโตใหม่ไวต่อการเปลี่ยนสีเป็นสีแดงหรือสีน้ำตาล ซึ่งถ้าเกิดการเปลี่ยนสีจะทำให้แผลเป็นเห็นได้ชัดมากขึ้น
    • ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ป้องกันแสงได้ทุกช่วงคลื่น และมีค่า SPF อย่างน้อย 30
  2. การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพอย่างต่อเนื่องจะให้สารอาหารสำคัญที่ส่งเสริมการสมานตัวของเนื้อเยื่อที่เสียหาย ส่วนประกอบสำคัญในอาหารที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมการสมานตัวของเนื้อเยื่อนั้น ได้แก่ วิตามินซี โปรตีน และสังกะสี [12]
    • เพิ่มปริมาณอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซีในอาหารประจำวันของคุณ มีหลักฐานที่จะสนับสนุนข้อเสนอแนะในการเพิ่มปริมาณวิตามินซีเพื่อป้องกันการเกิดแผลเป็นของเนื้อเยื่อหลังจากการบาดเจ็บที่เพิ่งเกิดขึ้น แม้ว่าจะมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารวิตามินซีอยู่ แต่จะรับเฉพาะจากอาหารอย่างเดียวก็เพียงพอได้เช่นกัน [13]
    • เช็คกับแพทย์เกี่ยวกับปริมาณที่ควรได้รับ คนส่วนใหญ่อาจจะเพิ่มอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซีให้มากขึ้นเพื่อให้ได้รับในปริมาณที่เพียงพอที่จะช่วยส่งเสริมกระบวนการรักษา ในบางกรณี ปริมาณที่สูงกว่าปริมาณเฉลี่ยอาจจะเหมาะสม แต่ต้องหลังจากปรึกษากับแพทย์ของคุณแล้วเท่านั้น
    • วิตามินซีจะถูกร่างกายของคุณใช้จนหมดอย่างรวดเร็ว ดังนั้นให้รวมอาหารที่มีวิตามินซีเข้าไปในแต่ละมื้อและอาจจะแม้แต่อาหารว่างด้วย
    • ผักที่อุดมไปด้วยวิตามินซี ได้แก่ พริกหยวก บร็อคโคลี มันฝรั่ง มะเขือเทศ และกะหล่ำปลี ผลไม้ที่มีระดับวิตามินซีสูง ได้แก่ ส้ม สตรอเบอร์รี่ เกรปฟรุต แคนตาลูป และส้มจีน
    • เมื่อไม่นานมานี้มีงานวิจัยชี้ว่าการบริโภควิตามินซีในอาหารหรืออาจจะเป็นในรูปแบบอาหารเสริมมากขึ้น พร้อมๆ กับการใช้ครีมทาเฉพาะที่จากวิตามินซีอาจจะช่วยป้องกันการเกิดแผลเป็น ผลิตภัณฑ์วิตามินซีที่ใช้ทาเฉพาะที่ที่มีขายอยู่นั้นมีความเข้มข้นตั้งแต่ 5% ถึง 10%
    • เพิ่มปริมาณสังกะสีในอาหารของคุณโดยการรับประทานอาหารอย่างเช่น เนื้อวัว ตับ และอาหารทะเล เช่น ปู นอกจากนี้ยังพบสังกะสีในเมล็ดทานตะวัน อัลมอนด์ เนยถั่วลิสง และผลิตภัณฑ์จากนม อย่างนมและไข่
    • โปรตีนเป็นสิ่งสำคัญในการให้สารอาหารที่ร่างกายต้องการเพื่อสมานผิวที่ถูกทำลาย แหล่งของโปรตีนที่ดีนั้นประกอบไปด้วย ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น ไข่ นม และชีส รวมทั้งปลา หอย ปลาทูน่า ไก่ ไก่งวง และเนื้อแดงด้วย
  3. เคอร์คูมินเป็นเครื่องเทศที่พัฒนามาจากขิง เป็นสารประกอบหลักที่พบในขมิ้นชันและมักจะถูกนำมาใช้ปรุงอาหารแบบอินเดีย [14]
    • งานวิจัยในสัตว์งานหนึ่งพบสหสัมพันธ์เชิงบวกในการควบคุมการอักเสบซึ่งทำให้สมานแผลได้ดีขึ้น ผู้เขียนสรุปว่าอาจจะมีความสัมพันธ์ทางบวกในการส่งเสริมกระบวนการสมานตัวของเนื้อเยื่อที่เสียหายและป้องกันการเกิดแผลเป็น
    • มีหลักฐานจำกัดที่จะสนับสนุนการใช้เคอร์คูมินนอกเหนือจากงานศึกษาในสัตว์งานนี้
  4. งานวิจัยเกี่ยวกับการใช้น้ำผึ้งเพื่อส่งเสริมการสมานแผลนั้นเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่อย่างไรก็ตามมีหลักฐานเพียงพอที่จะสนับสนุนการใช้น้ำผึ้งซึ่งมีคุณสมบัติในด้านการแพทย์เพื่อเร่งกระบวนการสมานแผลบางชนิด การเกิดแผลเป็นมีแนวโน้มที่จะลดลงเมื่อแผลสมานตัวเองเร็วขึ้น [15]
    • น้ำผึ้งซึ่งมีคุณสมบัติในด้านการแพทย์ที่ใช้ในการรักษาแผลที่ได้รับการแนะนำมากที่สุด คือ น้ำผึ้งมานูก้า น้ำผึ้งมานูก้าได้รับการอนุมัติโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ในปี 2007 ให้เป็นตัวเลือกแนะนำสำหรับการรักษาแผล
    • น้ำผึ้งนี้หายาก เนื่องจากปกติแล้วจะทำแต่เฉพาะในบางแห่งของโลกที่มีต้นมานูก้าเติบโตตามธรรมชาติ
    • น้ำผึ้งมานูก้าได้รับความต้องการสูงทำให้มีแนวโน้มว่าผลิตภัณฑ์บางอย่างอาจจะเป็นของปลอม ดังนั้นให้ใช้ความระมัดระวังถ้าหากคุณเลือกที่จะซื้อน้ำผึ้งชนิดนี้
    • ทำผ้าปิดแผลโดยทาน้ำผึ้งมานูก้าเล็กน้อยบนวัสดุแต่งแผล เช่น แผ่นปราศจากเชื้อ วางผ้าปิดแผลลงบนแผลและแปะขอบด้วยเทปกาวทำแผลที่เหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้ไหลออก [16]
    • ทำความสะอาดแผลและเปลี่ยนผ้าปิดแผลวันละหลายครั้ง ตรวจหาสัญญาณของการติดเชื้ออยู่เสมอ
  5. งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์นั้นยังจำกัด บรรดาผู้ผลิตยังคงอ้างประโยชน์ในสรรพคุณการรักษาแผลของว่านหางจระเข้ และการแพทย์จีนแผนโบราณและวัฒนธรรมอื่นๆ ยังคงใช้ว่านหางจระเข้ทั้งโดยการทาเฉพาะที่และการรับประทาน [17]
    • การทบทวนงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ล่าสุดไม่ได้ให้หลักฐานเพียงพอที่จะสนับสนุนประโยชน์ในการรักษาบาดแผล อย่างไรก็ตามผู้เขียนงานวิจัยแนะนำกลุ่มเปรียบเทียบส่วนมากให้ศึกษาและรายงานเกี่ยวกับคุณสมบัติการรักษาของว่านหางจระเข้อย่างเหมาะสม
    • ผลิตภัณฑ์เจลที่ผลิตจากว่านหางจระเข้สำหรับการใช้งานเฉพาะที่ มักจะรวมวิตามินเอ บี ซี และอีเข้ากับเอนไซม์ กรดอะมิโน น้ำตาล และแร่ธาตุต่างๆ
    • ไม่แนะนำให้รับประทานว่านหางจระเข้ เนื่องจากยังขาดหลักฐานที่จะสนับสนุนประสิทธิภาพและความเป็นพิษที่เกี่ยวข้องกับการรับประทานว่านหางจระเข้
  6. ถึงแม้ว่าเราจะเคยได้ยินมานานหลายปีเกี่ยวกับความสามารถในการรักษาและประสิทธิภาพในการป้องกันแผลเป็น โดยการทาวิตามินอีเฉพาะที่ลงบนแผลที่เกิดใหม่ งานวิจัยล่าสุดได้พิสูจน์แล้วว่าวิตามินอีนั้น ไม่ได้ ช่วยป้องกันเนื้อเยื่อไม่ให้ก่อตัวเป็นแผลเป็น [18] [19]
    • บางงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการใช้วิตามินอีเฉพาะที่นั้น จริงๆ แล้วอาจจะทำให้เสียกระบวนการสมานตัวตามธรรมชาติ
    • อีกงานวิจัยหนึ่งได้ค้นพบว่าวิตามินอีเฉพาะที่นั้นสามารถส่งผลให้เกิดอาการแพ้ใหม่ถึง 30% ในจำนวนคนที่ใช้วิตามินอีในลักษณะนี้
  7. ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ครีมหรือขี้ผึ้งยาปฏิชีวนะตามร้านขายยาทั่วไป เว้นแต่ว่าจะมีสัญญาณของการติดเชื้อหรือแพทย์สั่ง [20]
    • หลายคนจะเกิดอาการดื้อยาปฏิชีวนะเนื่องจากใช้สารเหล่านี้โดยไม่จำเป็น ซ้ำๆ หรือเป็นเวลานาน
    • ซึ่งนี่รวมถึงการใช้ผลิตภัณฑ์ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ที่มีขายตามร้านขายยาทั่วไปด้วย
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,595 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา