ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อยากปล่อยให้กระต่ายตัวใหม่กระโดดเล่นไปรอบบ้าน แต่กังวลที่จะต้องเห็นของเสียของมันกระจายไปทั่วอยู่ใช่ไหม? ไม่ต้องกังวลไป โดยธรรมชาติกระต่ายเป็นสัตว์รักสะอาดอยู่แล้ว และการฝึกให้มันใช้กระบะทรายนั้นไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิดเลย แค่รวบรวมวัสดุ วางกระบะเอาไว้ แล้วฝึกให้กระต่ายใช้มัน พวกกระต่ายส่วนใหญ่ฝึกได้ง่ายๆ เลยล่ะ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

รวบรวมวัสดุ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. กระบะ/ถาด/กล่องใส่ทรายสำหรับกระต่ายนั้นจะมีส่วนเพิงข้างหลังสูงขึ้นมา (เพื่อป้องกันไม่ให้มูลกระจายไปทั่วตอนที่พวกมันขุดทราย) และข้างหน้าจะลาดต่ำ (เพื่อให้กระต่ายกระโดดเข้าไปได้ง่ายๆ) [1] คุณอาจต้องการที่จะซื้อกระบะหรือถาดทรายหลายอัน เพื่อที่จะได้วางไว้หลายๆ ที่รอบบ้าน และง่ายต่อการเปลี่ยนอันเมื่อต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคกระบะทรายเหล่านั้น
    • ไม่จำเป็นต้องใช้กระบะทรายสำหรับกระต่ายโดยเฉพาะก็ได้ กระบะทรายแมวที่ด้านหน้าต่ำกว่าก็ใช้ได้เช่นกัน หรือว่าจะเป็นกล่องลังตื้นๆ ก็ได้ (แต่ต้องคอยเปลี่ยนบ่อยๆ เพราะกระต่ายอาจแทะลังเอาได้)
  2. ใช้ปูเป็นพื้นรองในกระบะ เพื่อความสะดวกยิ่งขึ้นในการทำความสะอาดกระบะนั่นเอง [2]
    • ้หนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะใช้หมึกที่ทำจากถั่วเหลือง ซึ่งไม่เป็นพิษต่อกระต่าย แต่ก็ให้ตรวจสอบก่อนใช้เป็นประจำ หมึกหนังสือพิมพ์อาจติดกับขนของกระต่ายจนกลายเป็นสีดำหรือเทาได้
  3. ให้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยต่อกระต่าย อย่างวัสดุที่ทำจากกระดาษ หรือชิ้นไม้ต้นแอซป์ดิบ (Aspen) ห้ามใช้ไม้ต้นสนหรือซีดาร์ เพราะมันมีน้ำมัน และส่งผลระคายเคืองต่อปอดของกระต่ายได้ [3]
    • ห้ามใช้ทรายแมวที่เป็นแบบโคลน หรือแบบที่จับตัวกันเป็นก้อน เพราะถ้ากระต่ายเผลอกินมันเข้าไป ทรายเหล่านั้นอาจไปอุดตันลำไส้เอาได้
  4. กรงควรใหญ่สามถึงหกเท่าต่อความยาวของตัวกระต่าย ขั้นแรกในการฝึกกระต่ายคือการจำกัดพื้นที่ให้กระต่าย โดยกรงที่มีอาหาร น้ำ มีที่ซ่อนอยู่ฝั่งหนึ่ง และมีกระบะทรายอยู่อีกฝั่งหนึ่ง พื้นที่ที่จำกัดนี้จะกระตุ้นให้กระต่ายไม่ทำให้บริเวณบ้านของตัวเองเปื้อน และเข้าห้องน้ำในกระบะแทนเอง [4]
  5. ใช้ฟางดึงดูดให้กระต่ายใช้กระบะทราย [5] กระต่ายนั้นมักจะชอบเคี้ยวขนมขณะที่กำลังขับถ่าย ฉะนั้นมันจะช่วยให้กระต่ายได้ใช้เวลากับการถ่าย
  6. คุณจะต้องตักวัสดุที่เต็มไปด้วยฉี่กระต่ายเป็นประจำทุกวัน และต้องฆ่าเชื้อทั้งกระบะอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง [6] โดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อสำหรับสัตว์เล็กโดยเฉพาะที่วางขายทั่วไปในการฆ่าเชื้อ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

จัดกระบะทรายและกรง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เก็บมูลกระต่ายจำนวนหนึ่งแล้วใส่ลงไปในกระบะ
  2. ปูพื้นกระบะด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์พับ โดยคลุมหนังสือพิมพ์ไว้ประมาณ 1 นิ้ว เนื่องด้วยกระต่ายไม่มีนิสัยที่จะฝังวัสดุรองในกระบะ การที่มีกลิ่นของกระต่ายติดในกล่อง จะทำให้มันรู้ว่าตรงนี้คือพื้นที่สำหรับห้องน้ำของมันนั่นเอง [7]
  3. วางกระบะที่มุมกรงด้านใน แล้วกระจายฟางสดๆ ลงไปในในกระบะ หรือวางตะแกรงใส่ทรายเอาไว้ที่มุมกรงที่เดียวกับที่มีกระบะวางอยู่ กระต่ายชอบกินไปด้วยขับถ่ายไปด้วย ฉะนั้นฟางอร่อยๆ ก็จะดึงดูดความสนใจและช่วยเสริมให้มันเข้าห้องน้ำที่ตรงนั้น [8]
  4. วางที่นอนไว้อีกด้านหนึ่งของกรง และจัดอาหาร น้ำ และที่หลบซ่อนให้มันด้วย [9] มันจะช่วยให้กระต่ายได้มีที่หลบซ่อนและรู้สึกปลอดภัย
  5. วางกระบะไว้ในที่ที่กระต่ายออกไปเล่นข้างนอก ยิ่งมีกระบะมากเท่าไร กระต่ายก็มีสิทธิ์ที่จะเลือกใช้มากเท่านั้น
    • ก่อนที่จะพากระต่ายเข้าห้องน้ำครั้งแรก ให้สังเกตและดูว่ามันชอบไปทำธุระที่ไหน ปกติแล้วจะเป็นมุมข้างหลังที่ใดสักแห่ง เมื่อคุณรู้แล้วว่ากระต่ายชอบตรงไหน ค่อยวางกระบะไว้ตรงนั้น
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

การฝึกกระต่าย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เริ่มต้นฝึกให้เร็วที่สุดเมื่อพามันมาถึงบ้าน. กระต่ายโตเต็มวัยจะเรียนรู้ได้เร็วกว่ากระต่ายเด็ก (อายุต่ำกว่า 4 เดือนลงไป) อย่างไรก็ตาม มันไม่เร็วเกินไปที่จะสอนการใช้ห้องน้ำให้กับมันหรอก ให้หากระบะทรายมาเมื่อพากระต่ายเข้ามาในบ้านแล้ว และสอนวิธีการใช้ให้กับมัน ต้องมีความอดทน และมันจะได้เรียนรู้ในที่สุด [10]
    • เริ่มต้นจาก เมื่อกระต่ายถ่ายออกมานอกกระบะ ให้ตักมูลของมันแล้วไปใส่ในกระบะ เพื่อเป็นแนวทางบอกว่าจะต้องไปที่ไหน
  2. กระต่ายที่โตเต็มวัยและยังไม่ได้ทำหมันจะแสดงอาณาเขตของมัน โดยใช้กลิ่นเป็นตัวบ่งบอกพื้นที่ ซึ่งมันจะไปเกี่ยวข้องกับฉี่และมูลที่ทับถมกันเต็มบ้าน เพื่อใช้แทนกลิ่นในการแสดงอาณาเขต การทำหมันกระต่ายจะทำให้ฝึกมันเข้าห้องน้ำได้ง่ายขึ้น เพราะความต้องการในการแสดงอาณาเขตของมันจะลดลงไปมากทีเดียว [11]
  3. ก่อนอื่น มันช่วยจำกัดให้กระต่ายอยู่ในกรงกับกระบะได้ เพราะกระต่ายจะเรียนรู้ว่าไม่ควรขับถ่ายในที่ที่มันเอาไว้กินและนอน ซึ่งใช้เวลาแค่ไม่กี่วันในการสอนนี้ เมื่อกระต่ายเข้าใจการใช้ห้องน้ำแล้ว คุณค่อยปล่อยมันออกมาเล่นข้างนอกได้
  4. เมื่อคุณให้กระต่ายได้ออกมายืดเส้นยืดสายนอกกรงแล้ว ถ้ามันนั่งยองๆ เหมือนมีท่าทีจะขับถ่าย ให้ค่อยๆ อุ้มมันไปวางในกระบะที่อยู่ในกรง สัญญาณที่กระต่ายกำลังจะขับถ่ายคือหางมันจะชี้ขึ้นมาเล็กน้อย คุณต้องตื่นตัวอยู่ตลอด แต่มันถือว่าช่วยได้ดีเลยนะ ถ้าคุณจัดการได้ทันท่วงที [12]
    • ในช่วงแรกๆ ของการฝึก อย่าปล่อยมันออกนอกกรงนานเกินสิบนาทีต่อครั้ง และอย่าปล่อยให้มันคลาดสายตา (คุณต้องจับมันให้ได้ก่อนที่มันจะถ่าย) เมื่อมันใช้กระบะบ่อยขึ้นเป็นปกติแล้ว ค่อยลดการสังเกตลงและให้อิสระกับมันมากขึ้นได้
  5. แสดงความยินดีกับกระต่าย เมื่อมันใช้กระบะทราย และอย่าตะโกนออกไปด้วยความโกรธถ้าหากว่ามันไม่ใช้กระบะ กระต่ายไม่รู้เรื่องด้วยหรอกนะ การค่อยๆ ประนีประนอมนั้นจะสอนได้ดีกว่า
    • ให้รางวัลเล็กๆ น้อยๆ อย่างแอปเปิลหรือแครอทสักคำทันทีหลังจากที่มันใช้กระบะเสร็จ มันจะช่วยสนับสนุนระหว่างการใช้ห้องน้ำและกล่องกระบะในด้านบวกได้
  6. เมื่อกระต่ายของคุณรู้จักใช้กระบะจนไว้ใจได้แล้ว คุณสามารถเปลี่ยนจำนวนหรือตำแหน่งของกระบะได้ตามที่ต้องการ
    • ยกตัวอย่าง ถ้าหากว่ากระต่ายของคุณใช้กระบะแค่สองอัน และไม่สนใจอันอื่นเลย ก็สามารถเก็บกระบะอันอื่นไปได้ หากว่ากระต่ายไม่สนใจกระบะ แต่กลับไปฉี่ตรงมุมที่ห่างออกไปอีก 3 ฟุต ก็ให้ย้ายกระบะไปตรงมุมนั้นแทน
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

การทำความสะอาดกระบะและจัดการกับเหตุบังเอิญ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้ตักวัสดุที่รองกระบะที่มีฉี่กระต่ายออกสักครั้งต่อวัน แต่การทิ้งมูลของมันเอาไว้สักวันถือเป็นเรื่องที่โอเค จะได้มีกลิ่นเป็นเครื่องหมายให้กระต่ายกลับไปใช้กระบะตรงนั้น [13]
  2. ขณะที่กำลังทำความสะอาดกระบะอยู่นั้น ให้มองหามูลที่ดูมีขนาดใหญ่และมีความชื้น ซึ่งเกิดจากการย่อยที่ยังไม่สมบูรณ์ ปล่อยทิ้งเอาไว้เพื่อที่กระต่ายจะได้กินเข้าไปใหม่ และจะได้รับสารอาหารที่จำเป็น ถ้าหากกระต่ายไม่ได้กินมันเข้าไป อาจมีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร และท้องเสียเอาได้ อีกทั้งยังอาจเป็นโรคขาดสารอาหารในระยะยาวได้ [14]
  3. ให้ทำความสะอาดกระบะโดยการตักทุกอย่างออกแล้วล้างให้สะอาดหมดจดสักอาทิตย์ละครั้ง ด้วยการใส่พวกสิ่งที่อยู่ในกระบะทั้งหมดลงในถุงพลาสติก มัดปากถุงให้แน่น แล้วนำไปทิ้งถังขยะ จากนั้นทำความสะอาดกระบะด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ล้างให้สะอาด แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง จากนั้นปูกระบะใหม่ด้วยหนังสือพิมพ์และวัสดุรอง [15]
    • คลินิกรักษาสัตว์ หรือร้านขายของเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงก็มีน้ำยาฆ่าเชื้อวางขายโดยปลอดภัยสำหรับสัตว์เลี้ยงทุกชนิด
  4. ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น แล้วทำความสะอาดบริเวณนั้นให้ดี เพื่อที่กระต่ายจะได้ไม่เข้าใจผิดแล้วถ่ายผิดที่อีก ให้ใช้สารละลายในการทำความสะอาดกับผ้าสะอาดหรือฟองน้ำ จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาด [16]
    • อย่าตะโกนว่าหรือทำโทษกระต่ายของคุณ มันไม่เรียนรู้จากการทำโทษ นอกจากนั้นยังจะทำให้รู้สึกกลัวว่ามนุษย์จะลงโทษมัน
    • เมื่อจะทำความสะอาด ให้ทดสอบความคงทนต่อการขัดถูของสีพรมก่อน
  5. โดยใช้สารละลายเบกกิ้งโซดากับพรม จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาด ถ้าหากว่าพื้นผิวเป็นแบบเรียบ อย่างกระเบื้องหรือเสื่อน้ำมัน/พรมน้ำมัน ให้ใช้แอลกอฮอล์ล้างแผลเช็ดออก [17]
    • ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของน้ำยาฟอกขาว เพราะมันมีส่วนผสมของแอมโมเนียและยูรีน ซึ่งจะทำให้กลิ่นยูรีนแรงขึ้นกว่าเดิมได้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • พยายามซื้อกระบะที่มีสีสันสดใส เพราะกระต่ายชอบสีสันที่สดใส
  • ดูให้แน่ใจว่าขอบของกระบะนั้นง่ายต่อการปีนเข้าออกของกระต่าย
  • พูดกับกระต่ายอย่างใจเย็น อ่อนโยน
  • ถ้าหากว่ากระต่ายของคุณไปฉี่บริเวณมุมหนึ่ง ที่ไม่ใช่ในกระบะ ให้ย้ายกระบะไปยังบริเวณที่กระต่ายของคุณเคยถ่ายเอาไว้
  • ถ้ากระต่ายลืมการใช้กระบะที่ถูกต้อง ให้จำกัดพื้นที่ให้มัน วิธีนี้จะช่วยแก้ไขปัญหาได้ โดยมักจะใช้กรงแบบคอกนั้นในการจำกัดบริเวณเอาไว้จนกว่านิสัยการใช้กระบะจะกลับมา
  • กระต่ายบางตัวก็อาจชอบกระบะหรือกล่องที่ต่างชนิดกันออกไป ถ้ากระต่ายเคยใช้กระบะที่บ้านเก่าของมันอย่างไร ให้ลองหากระบะที่ดูคล้ายกันมาให้มันใช้อย่างนั้น
  • ใส่หญ้าปลอมลงไปในกระบะสักชิ้น แล้วปล่อยไว้ให้กระต่ายมองเห็น โดยกระต่ายจะใช้กระบะนั้นในไม่อีกกี่วันถัดมา หรือจะทาน้ำส้มสายชูลงบนพื้นเพื่อไม่ให้กระต่ายถ่ายผิดที่ก็ได้
  • อย่าปล่อยให้กระต่ายวิ่งเล่นตามใจชอบ จนกว่าจะฝึกให้มันใช้ห้องน้ำแล้ว เมื่อคุณจะพามันออกไปข้างนอก ให้นำกระบะไปด้วย
  • ให้แน่ใจว่าคุณมีกรงที่ดีพอแล้ว
  • ต้องมีความอดทน เพราะกระต่ายไม่สามารถเรียนรู้ได้ในทันที
โฆษณา

คำเตือน

  • หลักเลี่ยงการใช้วัสดุรองที่เป็นไม้เนื้ออ่อน ฝักข้าวโพด ดินโคลน และวัสดุที่จะจับตัวกันเป็นก้อน โดยไม้เนื้ออ่อนที่มีกลิ่นหอมมักทำมาจากไม้สนหรือไม้ซีดาร์ที่จะปล่อยแก๊สซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหายกับตับและการหายใจของกระต่ายได้ ไม้พวกนี้เป็นตัวการที่ทำให้เป็นโรคหอบหืดและโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจได้ และจะไปลดความภูมิคุ้มกันโรคของกระต่ายของคุณอีกด้วย
    • การสูดดมฝุ่นจากวัสดุที่จับตัวเป็นดินโคลนจะส่งผลระคายเคืองต่อจมูกและตาของกระต่ายเอาได้ และยังทำให้เกิดกลุ่มก้อนในปอดของกระต่าย ซึ่งทำให้มันเสี่ยงต่อการมีปัญหาในระบบหายใจได้ ถ้ากระต่ายเผลอกินวัสดุที่จับตัวเป็นก้อนหรือฝักข้าวโพดเข้าไป มันจะไปอุดตันอยู่ในระบบย่อยอาหารของกระต่าย ซึ่งทำให้หยุดการทำงาน และอาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต
    • แม้คุณจะไม่เห็นว่ากระต่ายกินวัสดุเข้าไป ก็ใช่ว่าจะปลอดภัยสักหน่อย กระต่ายนั้นถือเป็นนักแต่งขนผู้มีความประณีต และมันอาจกินวัสดุที่ติดอยู่กับขนมันเข้าไปก็ย่อมได้ [18]


โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Why Does My Rabbit..? Anne McBride. Publisher:Souvenir Press
  2. Why Does My Rabbit..? Anne McBride. Publisher:Souvenir Press
  3. Why Does My Rabbit..? Anne McBride. Publisher:Souvenir Press
  4. Why Does My Rabbit..? Anne McBride. Publisher:Souvenir Press
  5. Why Does My Rabbit..? Anne McBride. Publisher:Souvenir Press
  6. Why Does My Rabbit..? Anne McBride. Publisher:Souvenir Press
  7. Why Does My Rabbit..? Anne McBride. Publisher:Souvenir Press
  8. Why Does My Rabbit..? Anne McBride. Publisher:Souvenir Press
  9. Why Does My Rabbit..? Anne McBride. Publisher:Souvenir Press
  1. The Handbook of Rodent and Rabbit Medicine. Laber-Laird, Swindle, & Flecknell. Publisher: Pergamon
  2. BSAVA Manual of Rabbit Medicine. Meredith and Lord. Publisher: BSAVA publications.
  3. Why Does My Rabbit..? Anne McBride. Publisher:Souvenir Press
  4. BSAVA Manual of Rabbit Medicine. Meredith and Lord. Publisher: BSAVA publications.
  5. The Handbook of Rodent and Rabbit Medicine. Laber-Laird, Swindle, & Flecknell. Publisher: Pergamon
  6. BSAVA Manual of Rabbit Medicine. Meredith and Lord. Publisher: BSAVA publications.
  7. BSAVA Manual of Rabbit Medicine. Meredith and Lord. Publisher: BSAVA publications.
  8. BSAVA Manual of Rabbit Medicine. Meredith and Lord. Publisher: BSAVA publications.
  9. http://www.rabbit.org/journal/1/liver-disease.html
  10. http://www.rabbit.org/
  11. http://rabbitadvocates.org/careinfo/packet/litterbox.html

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 28,230 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา