ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณมีปัญหาการยอมรับตัวเองเมื่อทำผิดพลาดหรือไม่? คุณรู้สึกว่าเป็นเรื่องยากที่จะเรียนรู้จากความผิดพลาดจนคุณกลับไปทำผิดพลาดซ้ำๆ กับนิสัยเดิมๆ หรือไม่? อาจเป็นเรื่องท้าทายที่จะยอมรับความผิดพลาดที่เราได้ทำไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเราถูกเลี้ยงมาโดยคิดว่าสมบูรณ์แบบที่คำว่า “เยี่ยมยอด” กับคำว่า “ห้ามพลาด” ทับซ้อนกันอยู่ การทำผิดพลาดอาจแตกต่างจากความล้มเหลว ความล้มเหลวคือการไม่ประสบความสำเร็จจากการพยายาม แต่ความผิดพลาดอาจเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ แต่โชคยังดีที่ยังคงมีวิธีการที่จะทำให้คุณยอมรับความผิดพลาดได้มากขึ้น และยังมีเทคนิคที่จะทำให้คุณเรียนรู้จากความผิดพลาดได้มากที่สุด

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ยอมรับความผิดพลาด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีเหตุผลมากมายที่คุณควรให้ตัวเองได้ทำพลาดบ้าง การทำพลาดเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของมนุษย์ ความผิดพลาดเป็นแหล่งคำแนะนำที่ดีเยี่ยมและยังทำให้ชีวิตของคุณดีขึ้นอีกด้วย มันจะสอนสิ่งใหม่ๆ ให้กับคุณและทำให้คุณมองโลกได้กว้างขึ้น [1]
    • เช่น คุณอาจต้องการที่จะเรียนทำอาหาร เริ่มจากการที่คุณบอกตัวเองว่า “เรายังมือใหม่อยู่ยังไงก็ต้องทำพลาด แต่ก็ไม่เห็นเป็นอะไรเลย พลาดบ้างจะได้เก่ง”
    • บางครั้งความกลัวที่จะทำพลาด อุดมคตินิยม จะทำให้คุณไม่สามารถลองอะไรใหม่ๆ หรือแข่งขันอะไรได้เพราะว่าคุณกลัวว่าจะทำได้ไม่ดีจนไม่กล้าทำ อย่าปล่อยให้สิ่งนี้เกิดขึ้นกับคุณ
  2. บางครั้งความผิดพลาดไม่ได้เกิดจากความพยายามในการทำของเรา แต่เกิดจากเราพยายามไม่เพียงพอ เราไม่สามารถพยายามอย่างเต็มที่กับทุกอย่างในทุกวันได้ สิ่งที่เราทำทุกๆ วัน เช่น การขับรถไปทำงานหรือทำอาหารเช้าสามารถกลายเป็นนิสัยจนเราไม่ได้ใส่ใจมันเท่าไรนัก ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นเรื่องที่ดีเพราะจะทำให้เราสามารถเก็บพลังงานไปใช้กับงานอย่างอื่นที่ต้องการความเอาใจใส่มากกว่านี้ อย่างไรก็ตามบางครั้งพลังของนิสัยเหล่านี้สามารถนำไปสู่ความผิดพลาดได้ ต้องรู้ว่านี่เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ที่มีพลังงานอยู่อย่างจำกัด
    • เช่น บางทีคุณอาจขับรถไปทางเดิมเพื่อไปทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ ในวันหยุดคุณควรจะขับรถพาลูกๆ ไปหัดเล่นฟุตบอล แต่คุณเพิ่งรู้ตัวว่าคุณได้เปิดโหมด “ขับขี่อัตโนมัติ” และขับไปทางไปที่ทำงานเรียบร้อยแล้ว ความผิดพลาดโดยธรรมชาตินี้คือผลมาจากความเคยชิน การโทษตัวเองกับความผิดพลาดเช่นนี้เป็นเรื่องไร้ประโยชน์ คุณควรแค่รับรู้มันแล้วเดินหน้าต่อ
    • จากการศึกษาพบว่าคุณอาจสามารถทดแทนความผิดพลาดจากความไม่รู้ตัวจากความเคยชิน ถึงแม้ว่าคุณจะไม่รู้ตัวก็ตาม การศึกษากับนักพิมพ์ดีดแสดงให้เห็นว่าพวกเขาจะพิมพ์ช้าลงเมื่อพิมพ์ผิด ถึงแม้วว่าคุณจะรู้ตัวก็ตามว่ากำลังทำเช่นนั้นอยู่ [2] .
    • จากการศึกษายังพบว่า 47% ของเวลาที่คนสติหลุด หรือปล่อยให้จิตใจของพวกเขาเตร็ดเตร่ออกจากงานที่ทำอยู่ จะเป็นช่วงเวลาที่ความผิดพลาดเกิดขึ้น หากคุณพบว่าคุณมักจะทำผิดพลาดเนื่องจากเหม่อลอย ลองพยายามฝึกจิตให้อยู่ในสถานการณ์ปัจจุบัน [3]
  3. แยกแยะระหว่างความผิดพลาดจากการกระทำและความผิดพลาดจากการไม่ได้ทำ. ความผิดพลาดไม่ได้เป็นผลจากความพยายามของคุณเสมอไป บางครั้งคุณอาจทำผิดพลาดโดยไม่ได้ตั้งใจก็ได้ ดั่งเช่นกฎหมายกำหนดไว้ว่าทำผิดจากการทำ (คือการทำบางอย่างที่ไม่สมควรทำ) และทำผิดจากการไม่ทำ (การไม่ทำบางอย่างที่ควรทำ) บ่อยครั้งที่ความผิดจากการกระทำมักถูกมองว่ารุนแรงกว่า [4] ความผิดพลาดจากการละเลยในหน้าที่มักจะดูธรรมดาเมื่อเทียบกับการทำผิดหน้าที่ [5]
    • อย่างไรก็ตาม ความผิดพลาดจากการละเลยหน้าที่อาจมีผลต่อชีวิตของคุณได้ เช่น หากบริษัทของคุณไม่ทันเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด อาจทำให้เกิดปัญหาด้านการเงินในชีวิตของคุณก็ได้ในอนาคต [6]
    • เป็นเรื่องสำคัญที่คุณต้องรู้จักความผิดพลาดทั้งสองอย่าง เพราะว่าคุณสามารถเรียนรู้จากมันได้ บางคนพยายามที่จะหลีกเลี่ยงความผิดพลาดจากการกระทำด้วยการทำให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อที่จะไม่ต้องรับผิดชอบอะไร แต่นี่ไม่ได้ทำให้คุณพ้นจากความผิดพลาดในการไม่ทำสิ่งที่ควรทำ และยังไม่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตและความเจริญก้าวหน้าอีกด้วย [7]
  4. แยกแยะระหว่างความผิดพลาดกับการตัดสินใจที่ไม่ดี. เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องรู้ความแตกต่างระหว่างความผิดพลาดและการตัดสินใจที่ไม่ดี ความผิดพลาดคือเรื่องผิดคาดเล็กน้อย เช่น อ่านแผนที่ผิดและออกผิดประตู การตัดสินใจที่ไม่ดีจะรุนแรงกว่านั้น เช่น เลือกไปทางที่วิวสวยตอนไปประชุมแล้วทำให้คนอื่นลำบากเพราะว่าไปสาย ความผิดพลาดสามารถเข้าใจได้ และอาจแก้ไขได้ง่ายกว่า คุณควรยอมรับว่าการตัดสินใจที่ไม่ดีก็เหมือนความผิดพลาดแต่คุณต้องให้ความใส่ใจมันมากกว่า [8]
  5. เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องหลีกเลี่ยงความยุ่งยากจากความผิดพลาดของคุณ ลองพยายามทำให้การโทษตัวเองและการชมตัวเองเมื่อทำอะไรได้ดีสมดุลกัน [9] อาจหมายถึงการฉลองให้กับอะไรที่ทำได้ดีอยู่แล้วหรือฉลองให้กับอะไรที่คุณมีพัฒนาการที่ดีขึ้น การพัฒนาของคุณจะไม่มีผลเลยหากคุณไม่ชื่นชมมัน
    • คุณอาจเป็นมือใหม่เรื่องทำอาหาร แต่บางทีอาจมีเซนส์บางอย่างก็ได้ บางทีคุณอาจบอกได้ทันทีว่าเครื่องเทศตัวไหนที่ขาดไปจากแค่การชิม ชื่นชมตัวเองกับจุดแข็งเช่นนี้
  6. มีกลไกในสมองที่ช่วยพวกเราป้องกันเมื่อเราทำอะไรผิดพลาด สมองจะสั่งงานเราเมื่อเราทำพลาด สิ่งนี้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากในการเรียนรู้ การทำผิดพลาดสามารถช่วยให้เราตั้งสมาธิในสิ่งที่เรากำลังทำได้มากขึ้นและพยายามทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด [10]
    • การวิจัยยังแสดงให้เห็นอีกว่าผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ อาจไม่สามารถแก้ไขข้อผิดพลาดได้เพราะว่าพวกเขามั่นใจในการตัดสินของพวกเขามากเกินไป การเปิดใจมองความผิดพลาดให้เป็นโอกาสก็เป็นประโยชน์เสมอ ถึงแม้ว่าคุณจะเก่งในด้านๆ นั้นๆ แล้วก็ตาม [11]
  7. การวิจัยพบว่าอาจต้องใช้เวลาสิบปีในการลองผิดลองถูกกับทักษะต่างๆ ก่อนที่จะเก่งในเรื่องนั้นอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นเรื่องจริงของทุกๆ คนตั้งแต่นักดนตรีโมซาร์ทจนถึงนักบาสเก็ตบอลโกเบ ไบรอัน [12] อย่าหักโหมมากนักในตอนแรกหากคุณไม่สำเร็จเพราะว่าเป็นเรื่องปกติ มันจะต้องใช้ความพยายามในระยะเวลาที่ยาวนานเพื่อทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ให้สำเร็จ
  8. ส่วนหนึ่งของปัญหาที่ไม่ยอมให้ตัวเองทำพลาดคือการคิดว่าคุณต้องตัดสินใจได้อย่างสมบูรณ์แบบทุกครั้ง แทนที่จะมาตั้งเป้าอะไรที่เป็นไปไม่ได้ ควรพยายามที่จะคิดว่าการตัดสินใจคือการทดลองอย่างหนึ่งแทน การทดลองที่อาจจะได้ผลดีหรือไม่ดี แต่คุณก็ยังสามารถทำให้ดีที่สุดเพื่อทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี แต่แน่นอนว่าจะช่วยลดความกดดันลงไปได้ [13]
    • เช่น กับเรื่องทำอาหาร ควรทำตามสูตรอาหารด้วยจิตใจที่คิดว่ามันคือการทดลอง อย่าไปคาดหวังว่าจะได้อาหารรสเด็ด ควรมองมันเป็นโอกาสที่จะทดลองและเรียนรู้เกี่ยวกับการทำอาหาร วิธีนี้จะทำให้คุณหลีกเลี่ยงการตัดสินตัวเองเรื่องทำพลาด ที่คุณจะต้องทำมันอย่างแน่นอน
  9. สมองจะมีเซลล์ประสาทที่ช่วยพวกเราจัดการ ป้องกันความผิดพลาด และเรียนรู้จากสิ่งที่พวกเราทำผิด [14] สมองยังมีปัญหาด้านการยอมรับว่ามันได้ทำสิ่งผิดพลาดไป อย่างไรก็ตามสมองจะตีกรอบประสบการณ์ให้เหลือแต่เรื่องดีๆ เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการยอมรับว่าได้ทำผิดพลาดไป หากคุณมีปัญหาเรื่องการรู้และยอมรับความผิดพลาด นี่คือเหตุผล [15] การเข้าใจว่าสมองจัดการกับความผิดพลาดอย่างไรสามารถช่วยให้คุณตระหนักถึงประสบการณ์ของคุณได้
    • สมองของคุณมีกระตอบสนองที่สำคัญอยู่สองแบบต่อความผิดพลาด: โหมดแก้ปัญหา (“มันเกิดขึ้นได้อย่างไร? จะทำอย่างไรไม่ให้มันเกิดขึ้นอีก?”) ไม่น่าแปลกใจเลยที่โหมดแก้ปัญหาจะช่วยคุณเรียนรู้จากความผิดพลาดและแก้ไขความผิดพลาดนั้นในอนาคต มันมักจะเกิดขึ้นกับคนที่คิดว่าความฉลาดเป็นสิ่งที่ยืดหยุ่นได้ และทุกคนสามารถพัฒนาได้ และอีกโหมดคือโหมดปิดตัวมักพบจากคนที่คิดว่าความฉลาดเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดมาแล้ว นั่นหมายความว่าคุณถูกกำหนดมาแล้วว่าคุณต้องเก่งหรือแย่ในสิ่งไหน ความคิดเช่นนี้จะทำให้คุณไม่สามารถเรียนรู้และเติบโต [16]
  10. เราอยู่ในสังคมที่กลัวการทำผิดพลาด [17] เราโตมาโดยถูกสอนให้ทำพลาดให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ [18] คนที่จะประสบความสำเร็จคือคนที่รักษากฏข้อนี้อย่างจริงจัง ต้องตั้งใจเรียนในมหาวิทยาลัยให้ได้เกรดดีๆ ได้เกียรตินิยม แทบไม่มีที่ว่างเหลือให้กับความผิดพลาดเลย ดังนั้นหากคุณกำลังมีปัญหาเรื่องยอมรับความผิดพลาดในตอนแรก อย่าคิดมากเพราะว่ามันไม่ใช่ความผิดของคุณทั้งหมด คุณอาจถูกสอนมาให้จริงจังกับตัวเองมากจนเกินไป
    • เตือนตัวเองว่าความเชื่อที่ว่าต้องไม่ทำผิดพลาดนั้นเป็นเรื่องที่ผิด ความผิดพลาดคือทางเดียวที่เราจะเรียนรู้ หากคุณไม่ทำผิดพลาด (มาก) อาจเป็นเพราะคุณรู้ทุกอย่างอย่างทะลุปรุโปร่ง หากคุณต้องการเรียนรู้และเติบโต คุณต้องผ่านการทำผิดพลาดก่อน
    • เตือนตัวเองว่าอุดมคตินิยมกำลังทำให้คุณและผู้อื่นติดอยู่ในมาตรฐานที่ไม่สมจริง การทำผิดพลาดไม่ได้ทำให้คุณเป็นคนล้มเหลวหรือทำให้ความพยายามเสียเปล่า ลดมาตรฐานของคุณลงและเหลือพื้นที่ให้ความผิดพลาดบ้าง มันจะเป็นวิธีที่เป็นประโยชน์และได้ผลกว่าเพื่อความก้าวหน้า [19]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

เรียนรู้จากความผิดพลาด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ความผิดพลาดสามารถช่วยให้คุณได้เรียนรู้ก็ต่อเมื่อคุณมั่นใจว่าได้แก้ไขมันแล้ว [20] เช่น หากคุณใช้ส่วนผสมที่ผิดในการทำอาหาร ต้องมั่นใจว่าได้ถามแม่ของคุณหรือคนที่มีความรู้เรื่องนี้เพื่อแก้ไขส่วนผสมนั้น เพื่อที่คุณจะได้จำแบบที่ถูกไปใช้
  2. อาจเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์หากเขียนว่าเมื่อไร ที่ใด หรืออย่างไร ที่คุณได้ทำพลาดในชีวิต วิธีนี้จะสร้างความระมัดระวังในรูปแบบของคุณ ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากที่จะมองเห็นในสถานการณ์ที่ยากลำบาก พกสมุดเล็กๆ ติดตัวไว้และเขียนว่าคุณได้ทำอะไรผิดพลาดไปบ้าง ทบทวนเรื่องราวเหล่านั้นเมื่อคุณมีเวลาว่าง และลองดูว่ามีทางเลือกอะไรบ้างที่คุณสามารถทำให้แตกต่างได้ในตอนนั้น [21]
    • เช่น หากคุณกำลังพยายามหาสูตรอาหารใหม่และทุกอย่างไม่ได้ไม่ดีนัก ลองบันทึกว่าอะไรที่คุณทำพลาดไป คิดเรื่องนั้นตอนเย็นหลังจากนั้นดูว่าคุณสามารถหาทางที่จะเตรียมพร้อมให้อาหารออกมาแตกต่างจากเดิมได้ไหม
    • คุณควรบันทึกความสำเร็จของคุณด้วย หากคุณติดตามความสำเร็จของคุณและฉลองให้กับสิ่งที่คุณทำได้ดี คุณจะมีกำลังใจมากขึ้นที่จะเรียนรู้ถึงแม้ว่าจะทำผิดพลาดมาก็ตาม ความคิดในแง่ลบไม่ได้ส่งผลดีอะไรต่อคุณเลย
  3. การตั้งเป้าหมายว่าต้องทำได้ดีเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผลโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณเพิ่งเริ่มทำสิ่งนั้นๆ หากคุณตั้งเป้าหมายว่าต้องทำได้ดีคุณกำลังเอาตัวเองไปแขวนไว้และบอกกับตัวเองว่าต้องสำเร็จเพื่อจะเป็นคนที่ดี ในทางกลับกันเป้าหมายดีขึ้น คือการพัฒนาตัวเอง ด้วยเป้าหมายนี้ คุณไม่จำเป็นต้องประสบความสำเร็จอย่างสูงสุดเพื่อที่จะรู้สึกดีกับตัวเอง คุณกำลังมุ่งไปที่การพัฒนาไม่ใช่ความสมบูรณ์แบบ [22]
    • เช่น มุ่งเป้าหมายไปที่ “ดีขึ้น” ในการเรียนรู้เครื่องเทศว่ามีผลต่ออาหารอย่างไร แทนที่จะตั้งเป้าหมายว่าต้องเป็นกุ๊กผู้เชี่ยวชาญในทันที
  4. เวลาไม่ใช่องค์ประกอบเดียวในการเรียนรู้จากความผิดพลาด คุณจะได้ประโยชน์จากการมีจุดประสงค์ที่แน่ชัดด้วย นี่คือเหตุผลว่าทำไมการหาข้อผิดพลาดและสาเหตุจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ การตระหนักรู้ว่าคุณทำอะไรผิดไปและทำไมถึงทำผิด จะช่วยให้คุณสร้างแผนการเพื่อฝึกฝนและเพิ่มความสามารถของคุณเอง [23]
    • เช่น หากคุณกำลังฝึกทักษะการต้มพาสต้า ทำซ้ำไปเรื่อยๆ จนกระทั่งคุณได้เวลาที่เหมาะสม อาจใช้เวลาสักพักหนึ่งเพื่อที่จะได้พาสต้าที่นุ่มอย่างที่ต้องการ แต่ยิ่งคุณฝึกฝนมากเท่าไร คุณก็จะยิ่งใกล้มากขึ้นเท่านั้น
  5. ไม่จำเป็นต้องอายที่จะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่คุณยังทำไม่ได้ ปล่อยอีโก้ของคุณออกไปและเรียนรู้จากคนที่มีประสบการณ์มากกว่าคือวิธีที่จะพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณกำลังเจอกับทางตันและไม่รู้ว่าจะเดินต่ออย่างไร [24]
    • เช่น ถามกุ๊กที่ร้านอาหารโปรดของคุณหรือสมาชิกในครอบครัวที่มีประสบการณ์การทำอาหารมากๆ หากคุณมีปัญหากับการทำอาหารเบื้องต้น
  6. การวิจัยระบุว่าคนที่เชื่อว่าตัวเองสามารถเรียนรู้จากความผิดพลาดได้คือคนที่จะสามารถเรียนรู้ได้จริงๆ การรู้ว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ที่จะเรียนรู้จากความผิดพลาดคือก้าวที่ดีเพื่อทำในสิ่งนั้นๆ [25]
    • หลังจากความผิดพลาด เช่น ทำอาหารไหม้ บอกตัวเองว่า “ฉันเรียนรู้จากมันได้ เราใช้ประสบการณ์ครั้งนี้ได้ และตอนนี้รู้แล้วว่าต้องใช้อุณหภูมิที่ต่ำกว่านี้”
  7. เราถูกสอนมาว่าอย่าแก้ตัวกับข้อผิดพลาด แต่การรู้ว่าสาเหตุของความผิดพลาดคืออะไรก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง [26] หากอาหารที่คุณกำลังทำไม่ได้ออกมาตามคาด ก็ไม่เป็นไรที่จะหาสาเหตุว่าทำไม อาจเพราะคุณไม่ได้ทำตามสูตรหรือหยิบน้ำตาลสลับกับเกลือ นั่นคือเหตุผล ไม่ใช่ข้อแก้ตัว การหาเหตุผลจากข้อผิดพลาดของคุณสามารถช่วยคุณให้เก่งขึ้นได้ เพราะว่ามันจะแสดงให้คุณเห็นว่าคุณทำอะไรพลาดไป ดั่งตัวอย่าง
    • ไปงานสายเพราะว่าตื่นเช้าไม่พอ
    • เขียนโครงงานผิดพลาดเพราะว่าไม่ได้ถามให้ชัดเจน
    • สอบตกเพราะว่าไม่ได้ใส่ใจการเรียน หรือไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเรียนมากนัก
  8. บางครั้งสิ่งที่ต้องการมากที่สุดในการเรียนรู้จากความผิดพลาดก็มีเพียงอย่างเดียว มันไม่จำเป็นต้องเป็นเช่นนี้เสมอไป อย่างไรก็ตาม ในหลายๆ ครั้ง เพื่อที่เราจะเรียนรู้จากความผิดพลาดเราจะต้องพลาดหลายครั้ง อาจเป็นเรื่องยากที่จะยอมรับในตอนแรก ดังนั้นให้เวลาตัวเองในการทำผิดพลาดบ้างก่อนที่จะเริ่มหงุดหงิด [27]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ให้อภัยตัวเองหากคุณทำผิดพลาดซ้ำๆ ไม่เป็นไรหรอกที่จะมีอย่างใดอย่างหนึ่งทำให้คุณประสบกับปัญหา
โฆษณา

คำเตือน

  • หลีกเลี่ยงที่จะคิดว่าคุณไม่ทำพลาดหรอก ถึงแม้ว่าคุณจะเก่งในเรื่องนั้นๆ ก็ตาม วิธีนี้จะทำให้คุณพลาดยากขึ้น


โฆษณา
  1. http://www.sciencedaily.com/releases/2007/07/070702084247.htm
  2. https://www.psychologytoday.com/blog/the-science-willpower/201112/how-mistakes-can-make-you-smarter
  3. https://blog.bufferapp.com/lessons-on-success-and-deliberate-practice-from-mozart-picasso-and-kobe-bryant
  4. https://blog.bufferapp.com/why-highly-successful-people-crave-failure-and-mistakes
  5. http://www.scientificamerican.com/article/minding-mistakes/
  6. http://www.npr.org/templates/story/story.php?storyId=12125926
  7. https://www.psychologytoday.com/blog/the-science-willpower/201112/how-mistakes-can-make-you-smarter
  8. http://psychcentral.com/blog/archives/2013/12/26/rethinking-mistakes-learning-from-your-missteps/
  9. http://www.acasa.upenn.edu/A_MAJOR_MISTAKE.pdf
  10. http://www.anxietybc.com/sites/default/files/Perfectionism.pdf
  11. http://www.cjr.org/behind_the_news/learning_from_our_mistakes.php
  12. https://blog.bufferapp.com/why-highly-successful-people-crave-failure-and-mistakes
  13. http://www.anxietybc.com/sites/default/files/Perfectionism.pdf
  14. https://blog.bufferapp.com/lessons-on-success-and-deliberate-practice-from-mozart-picasso-and-kobe-bryant
  15. https://www.psychologytoday.com/blog/the-science-success/201102/why-letting-yourself-make-mistakes-means-making-fewer-them
  16. https://www.psychologicalscience.org/index.php/news/releases/how-the-brain-reacts-to-mistakes.html
  17. http://psychcentral.com/blog/archives/2013/12/26/rethinking-mistakes-learning-from-your-missteps/
  18. http://www.cjr.org/behind_the_news/learning_from_our_mistakes.php

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 32,136 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา