ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การรู้กรุ๊ปเลือดของตัวเองถือเป็นเรื่องสำคัญมาก โดยเฉพาะคนที่ต้องถ่ายเลือดบ่อยๆ หรืออยากจะมีลูก ระบบหมู่เลือด ABO (ABO blood system) ได้แบ่งกรุ๊ปเลือดของคนเราด้วยตัวอักษร A, B, AB และ O รวมถึงมี Rhesus หรือ Rh factor ด้วย ซึ่งอย่างหลังนี่แหละที่จะแบ่งออกเป็นบวก (positive) หรือลบ (negative) โดยกรุ๊ปเลือดกับ Rh factor ของคุณจะได้รับถ่ายทอดมาจากพ่อแม่นี่เอง [1] จะรู้ Rh factor ของตัวเองได้ คุณต้องรู้ Rh factor ของพ่อแม่ซะก่อน รวมถึงจะไปตรวจหากรุ๊ปเลือดตัวเองกับคุณหมอก็ได้ถ้าไม่รู้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

หา Rh Factor จากข้อมูลที่มี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Rh factor อยู่บนเซลล์เม็ดเลือดแดงของคุณ เป็นโปรตีนที่คุณได้รับ (หรืออาจไม่ได้รับ) ถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ของคุณ เลือดของคุณจะเป็น Rh บวก (Rh positive) ก็ต่อเมื่อมีโปรตีนตัวนี้เท่านั้น ถ้าไม่มี ก็แปลว่าเลือดคุณเป็น Rh ลบ (Rh negative) [2]
  2. เวลาคุณต้องตรวจเลือดต่างๆ นานา ก็เป็นไปได้มากว่าคุณหมอจะทำการตรวจหา Rh factor ของคุณด้วย ลองสอบถามคุณหมอดู ว่าในประวัติการรักษาของคุณมีกรุ๊ปเลือดบอกไว้ไหม ถ้าคุณเป็นผู้ป่วยที่ต้องมีการถ่ายเลือดบ่อยๆ แน่นอนว่าต้องมีเขียนไว้ รวมถึงคนที่ไปบริจาคเลือดเช่นกัน
    • ถ้าคุณมี Rh บวก ตอนเปลี่ยนถ่ายเลือด คุณจะรับเลือด Rh+ หรือ Rh- ก็ได้ แต่ถ้าคุณมี Rh ลบ คุณจะรับได้เฉพาะเลือดที่เป็น Rh- ด้วยกันเท่านั้น [4] (เว้นแต่เหตุฉุกเฉินอันตรายถึงชีวิตจริงๆ คุณก็คงต้องรับเลือดที่เป็น Rh+ เฉพาะหน้าไปก่อน)
  3. ลองถามพ่อแม่คุณดู ว่ามี Rh factor แบบไหน คุณจะรู้ Rh factor ของตัวเองได้จากการวิเคราะห์ Rh factor ของพ่อแม่นี่แหละ [5] ถ้าทั้งพ่อทั้งแม่เป็น Rh- ก็เป็นไปได้มากว่าคุณต้องเป็น Rh- เหมือนกัน (แต่มีข้อยกเว้นที่คุณจะได้อ่านต่อไป) แต่ถ้าแม่เป็นลบ แล้วพ่อเป็นบวก (หรือสลับกัน) คุณก็มีสิทธิ์เป็นได้ทั้งลบและบวก ในสถานการณ์แบบนี้ คุณต้องใช้หลักฐานยืนยันจากการทดสอบในห้องแล็บโดยคุณหมอหรือศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติอีกที รู้ไว้ใช่ว่า ถึงทั้งพ่อและแม่จะเป็น Rh+ แต่คุณก็ยังมีสิทธิ์จะเป็น Rh- อยู่เหมือนกัน [6]
    • คนที่กรุ๊ปเลือดเป็นบวกอาจได้รับถ่ายทอดยีนส์ Rh+ มา 2 ตัว (Rh+/Rh+) หรือบวกลบอย่างละตัวก็ได้ (Rh+/Rh-) เพราะงั้นก็มีเหมือนกัน ที่พ่อแม่มีกรุ๊ปเลือดบวกทั้งคู่ แต่ลูกดันออกมามีกรุ๊ปเลือดลบซะอย่างงั้น [7]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ทดสอบหากรุ๊ปเลือด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าพ่อกับแม่คุณมี Rh factor แตกต่างกัน (หรือทั้งพ่อทั้งแม่เป็นบวก แต่คุณอยากเช็คให้ชัวร์ว่าคุณก็เป็นบวกเหมือนกัน) คุณสามารถขอให้คุณหมอช่วยทดสอบหากรุ๊ปเลือดให้คุณได้ ด้วยขั้นตอนง่ายๆ รวดเร็ว ไม่ต้องนอนค้างโรงพยาบาล และแทบจะไม่เจ็บตัวเลย
  2. พยาบาลหรือคุณหมอจะทำความสะอาดบริเวณข้อพับตรงข้อศอกหรือข้อมือด้วยแผ่นฆ่าเชื้อ (antiseptic towelette) แล้วหาจุดที่มองเห็นเส้นเลือดได้ชัดเจน พอพันสายห้ามเลือด (tourniquet) รอบต้นแขนคุณเพื่อกักเลือดไว้แล้ว คุณหมอก็จะทำการเจาะเลือดคุณด้วยเข็มฉีดยา โดยเข็มจะเสียบไว้กับกระบอกฉีด (syringe) เพื่อสูบเลือดคุณเข้าไป พอได้เลือดในปริมาณที่ต้องการแล้ว พยาบาลก็จะดึงเข็มออกแล้วกดตรงจุดที่เจาะเลือดด้วยไม้พันสำลีแบบฆ่าเชื้อ สุดท้ายก็ปิดพลาสเตอร์ [8] หลังจากนั้นพยาบาลจะติดป้ายระบุตัวอย่างเลือดของคุณ แล้วส่งไปตรวจที่ห้องแล็บต่อไป
  3. เจ้าหน้าที่ประจำห้องแล็บหรือ "หมอแล็บ" จะตรวจตัวอย่างเลือดของคุณหา Rh factor โดยผสมตัวอย่างเลือดของคุณกับ anti-Rh serum ถ้าเซลล์ของคุณจับตัวแข็งขึ้นมา แสดงว่าคุณมี Rh+ ตรงกันข้าม ถ้าเซลล์เม็ดเลือดของคุณไม่จับตัวกัน แสดงว่าคุณมี Rh- [12]
    • นอกจากนี้ทางแล็บก็จะตรวจหากรุ๊ปเลือด ABO ของคุณไปในเวลาเดียวกันเลย
  4. รู้ผลแล้วให้บันทึกเก็บไว้ให้ดี และอย่าลืมใส่รวมไว้กับข้อมูลติดต่อเวลาฉุกเฉินด้วย ถ้าคุณเกิดเหตุให้ต้องเปลี่ยนถ่ายเลือดหรืออวัยวะขึ้นมาข้อมูลนี้จะจำเป็นมาก นอกจากนี้ถ้าคุณตั้งใจจะมีลูก การรู้ Rh factor ของตัวเองก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ
  5. ถ้าคุณเป็นผู้หญิงแล้วมี Rh- คุณต้องให้คู่สมรสของคุณไปตรวจหา Rh factor เพราะถ้าคุณเป็น Rh- แล้วเขาเป็น Rh+ ก็อาจมีปัญหาเรื่อง Rh เข้ากันไม่ได้ แปลว่าถ้าลูกคุณเกิดมี Rh+ ตามพ่อ แอนติบอดีของคุณอาจทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงของลูกได้ จะทำให้เกิดภาวะโลหิตจางขั้นรุนแรง อันตรายถึงตายได้เลย [13]
    • ในช่วงที่ตั้งครรภ์ ถ้าคุณเป็น Rh- คุณต้องคอยตรวจเลือดว่าร่างกายพยายามสร้างแอนติบอดีต่อต้านเลือด Rh+ หรือเปล่า ครั้งแรกจะตรวจตอนไตรมาสที่ 1 หรือช่วง 3 เดือนแรก ส่วนครั้งที่ 2 จะตรวจเมื่ออายุครรภ์คุณเข้า 28 สัปดาห์ ถ้าถึงตอนนั้นไม่มีการสร้างแอนติบอดี ก็จะมีการฉีด Rh immune globulin เข้าไป เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายของคุณสร้างแอนติบอดีที่จะทำอันตรายลูกในท้องของคุณ [14]
    • แต่ถ้าร่างกายของคุณมีการสร้างแอนติบอดีต่อต้านเลือด Rh+ คุณจะไม่สามารถฉีด immune globulin ได้ คุณหมอจะเฝ้าระวังพัฒนาการของลูกในท้องแทน และก่อนหรือหลังคลอด อาจต้องมีการถ่ายเลือดให้เด็ก [15]
    • พอลูกของคุณคลอดออกมาได้โดยสวัสดิภาพแล้ว คุณหมอจะตรวจหา Rh factor ถ้าลูกของคุณมี Rh factor เดียวกับคุณ ก็ไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติม แต่ถ้าคุณเป็น Rh- แล้วลูกเป็น Rh+ คุณจะต้องฉีด immune globulin อีกครั้ง [16]
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 57,655 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา