ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การเรียนรู้ที่จะรักชีวิตเป็นอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดที่คุณสามารถทำได้เพื่อให้คุณมีสุขภาพดีและมีความสุขกับชีวิตมากยิ่งขึ้น การรักชีวิตไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่มีช่วงเวลาแย่ๆ หรือช่วงเวลาที่น่าหงุดหงิด แต่การเรียนรู้ที่จะรักชีวิตจะทำให้คุณสามารถจัดการกับช่วงเวลาแย่ๆ เหล่านั้นได้ง่ายขึ้น เราไปดูขั้นตอนที่ 1 เพื่อเริ่มเรียนรู้ที่จะรักชีวิตกันเลยดีกว่า!

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

รักชีวิต ณ ขณะปัจจุบัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่คุณทำได้ คือการหยุดพยายามควบคุมผลที่จะตามมาในทุกสถานการณ์ คุณต้องตระหนักให้ได้ว่าสิ่งเดียวที่คุณสามารถควบคุมได้คือปฏิกิริยาตอบสนองของคุณต่อสถานการณ์ต่างๆ เพราะความจริงแล้ว คุณแทบจะไม่ (หากเคยทำได้) สามารถควบคุมสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้เลย ความต้องการเป็นผู้ควบคุมนั้นแท้จริงแล้วมีต้นตอมาจากความกลัว และถ้าคุณกำลังทำสิ่งต่างๆ เนื่องจากความกลัว แสดงว่าคุณไม่ได้รักชีวิตของตัวเอง [1]
    • เมื่อไรที่คุณรู้สึกว่าฉันต้องควบคุมผลที่จะตามมาของสถานการณ์นั้นๆ ให้ได้ ลองถามตัวเองดูซิว่าคุณกำลังกลัวอะไรอยู่รึเปล่า เช่น ถ้าแฟนสาวของคุณลืมไวน์สำหรับงานใหญ่ในช่วงเย็น และคุณคิดว่ามันจะทำให้งานในเย็นวันนั้นพังไม่เป็นท่า ลองตั้งคำถามกับสมมติฐานของคุณเองดูว่ามันจะถึงขนาดทำให้งานพังจริงๆ รึเปล่า เพราะบางทีงานอาจจะพังเพราะทัศนคติของคุณเองต่างหาก ไม่ใช่เพราะขาดไวน์
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเริ่มคบหากับใครสักคน (หรือกำลังดูๆ กันอยู่) การที่คุณวางแผนล่วงหน้าว่าคุณอยากให้ความสัมพันธ์นั้นเป็นไปในทิศทางใดถือว่าไม่ใช่เรื่องผิด ตราบใดที่คุณยังคงเผื่อใจไว้ว่ามันอาจไม่ได้เป็นไปตามที่คุณวางแผนไว้
    • อีกหนึ่งตัวอย่างคือ ถ้าคุณมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ (ไม่ว่าจะด้วยโรคอะไร) แทนที่จะเก็บความโกรธกล่าวโทษโชคชะตาไม่หยุดหย่อน ให้จำไว้ว่าคุณไม่สามารถควบคุมปัญหาสุขภาพได้ (แม้คุณจะทำสิ่งต่างๆ ให้ปัญหามันดีขึ้นหรือแย่ลงได้) สิ่งเดียวที่คุณควบคุมได้คือการตอบสนองต่อสถานการณ์นั้นๆ
  2. นี่ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องบิดตัวเป็นเลขแปดได้ มันหมายความว่าคุณจะต้องเปิดใจรับสิ่งต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งสัมพันธ์กับการปลดปล่อยความต้องการควบคุมผลที่จะตามมา เพราะถ้าคุณไม่ยืดหยุ่นกับการใช้ชีวิตแล้วล่ะก็ คุณจะต้องพบกับสิ่งที่จะทำให้คุณแตกละเอียดไม่มีชิ้นดีอย่างไม่ต้องสงสัย [2]
    • ตั้งคำถามกับความคิดและคำพูดของคุณเอง เพ่งความสนใจไปที่สิ่งที่คุณกำลังคิดและพูด (โดยเฉพาะถ้ามันเกี่ยวข้องกับสาเหตุที่ทำให้คุณ ไม่สามารถ ทำบางสิ่งบางอย่างได้) คุณจะเริ่มสังเกตเห็นส่วนที่ตึงมากเกินไปในความคิดและการกระทำของคุณ และคุณจะสามารถหาวิธีจัดการให้พื้นที่ตรงนั้นผ่อนคลายลงได้
    • เปลี่ยนกิจวัตรที่ทำเป็นประจำของคุณ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ เพียงแค่ได้ทำสิ่งเล็กๆ ต่างไปจากเดิมในแต่ละวันก็สามารถทำให้คุณเป็นคนกระตือรือร้นขึ้นได้ แม้จะเป็นแค่เรื่องง่ายๆ อย่างการเปลี่ยนเส้นทางไปทำงานในแต่ละวัน หรือการหยุดแวะที่ร้านกาแฟอื่นบ้างเป็นครั้งคราว
  3. เราทุกคนล้วนมีปัญหา ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ การทำเมินเฉยหรือหนีปัญหารังแต่จะทำให้ปัญหานั้นใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และสุดท้ายมันก็จะกลืนกินชีวิตของเราในที่สุด คุณไม่จำเป็นต้องหันหน้าเผชิญกับทุกปัญหาพร้อมๆ กัน อย่างไรก็ตาม การจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นตรงหน้าแทนที่จะมัวรีรอ จะช่วยให้คุณรักชีวิตของตัวเองได้ในระยะยาว เพราะปัญหาต่างๆ จะไม่พอกพูน
    • โฟกัสไปที่การหาทางออกให้กับปัญหา มากกว่าที่จะโฟกัสที่ตัวปัญหา เช่น ถ้าคุณกำลังมีปัญหากับรูมเมท แทนที่จะสนใจแต่ตัวปัญหาจนมันพอกพูนสะสม ให้โฟกัสไปที่ว่าคุณกับเพื่อนจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้สถานการณ์ที่เป็นอยู่ดีขึ้นได้
    • ถามตัวเองดูซิว่าปัญหานั้นมันใช่ปัญหาจริงๆ รึเปล่า เพราะบางครั้ง ตัวคุณอาจทำให้สิ่งๆ หนึ่งกลายเป็นปัญหา ทั้งที่ตัวคุณเองก็ยังไม่ทราบสาเหตุ เช่น ถ้าการโทรศัพท์ทำให้คุณรู้สึกกระวนกระวาย ให้ลองถามตัวเองดูว่าเหตุใดคุณจึงรู้สึกเช่นนั้น การบังคับตัวเองให้หาเหตุผลให้กับสิ่งที่ดูไร้เหตุผลสามารถผ่อนคลายความกังวลเกี่ยวกับสิ่งที่คุณคิดว่าเป็นปัญหาได้
  4. บางครั้ง สิ่งที่คุณจำเป็นต้องทำมากที่สุดเพื่อเติมพลังให้กับตัวเองและเรียนรู้ที่จะรักชีวิตคือการพักจากทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งหมายถึงการใช้เวลาเล็กๆ ทำตามใจตัวเอง หรือแค่ให้ตัวเองได้พักอย่างที่ร่างกายของคุณโหยหา
    • อาบน้ำอุ่นและฟังหนังสือเสียงหรือเพลงเพราะๆ เพื่อให้จิตใจไม่จมอยู่กับบางสิ่งที่อาจทำให้คุณเป็นกังวล
    • ปล่อยตัวปล่อยใจไม่ต้องทำอะไรนอกจากนั่งฝันกลางวันสักพัก คุณอาจจะนั่งรถเมล์ไปทำงานหรือไปโรงเรียนทุกวัน ถ้าเป็นอย่างนั้น ลองใช้เวลานี้ปล่อยใจให้ลอยไปและคว้าช่วงเวลาแห่งจินตนาการนี้ไว้ สิ่งนี้ถือว่าสำคัญทั้งต่อสุขภาพและประสิทธิภาพในการทำงานโดยรวมของคุณ
    • หาอะไรสนุกๆ ทำ จะเป็นกิจกรรมใดก็ได้ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ (ตั้งแต่การอ่านหนังสือที่คุณรัก ไปจนถึงการออกเดินทางเพื่อพักผ่อน) ตราบเท่าที่มันทำให้คุณได้หยุดพักจากทุกสิ่ง
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การบำบัดร่างกายเพื่อแก้ไขในระยะยาว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เรามักพูดเสมอว่าการหัวเราะคือตัวยาที่ดีที่สุด น่าแปลกที่การหัวเราะสามารถปรับสุขภาพและอารมณ์ของคุณให้ดีขึ้นได้อย่างเหลือเชื่อ อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต เพิ่มการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลายและหลับสบาย และยังช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย [3]
    • เมื่อไรที่รู้สึกเครียด ลองเปิดรายการตลกที่คุณชอบหรือพักเล่น Youtube สักพัก เพราะการหัวเราะช่วยลดระดับความเครียดได้
    • นัดเจอเพื่อนเพื่อพูดคุยถึงถึงช่วงเวลาตลกๆ สุดโปรดในอดีต การได้หัวเราะร่วมกับคนอื่นจะทำให้คุณรู้สึกว่าตัวเองมีคนเคียงข้าง และยังช่วยให้คุณมีทัศนคติเชิงบวกต่อสิ่งต่างๆ มากขึ้น
  2. สุขภาพของคุณมีอิทธิพลอย่างมากต่ออารมณ์และทัศนคติที่คุณมีต่อสิ่งต่างๆ การพยายามรักชีวิตในขณะที่คุณเป็นไข้หรือเป็นหวัดคงจะทำได้ยากจริงไหม ดังนั้น การทำทุกวิถีทางเพื่อดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงจึงช่วยปรับทัศนคติที่คุณมีต่อชีวิตได้
    • การออกกำลังกายทำให้ร่างกายหลั่งสารเคมีที่ทำให้คุณอารมณ์ดี ช่วยต่อสู้กับอาการซึมเศร้า และยังช่วยในเรื่องการนอนหลับอีกด้วย แม้แต่การออกกำลังกายเพียงเล็กๆ น้อยๆ ในทุกๆ วันก็ยังมีประโยชน์ เพราะฉะนั้นอย่าลืมหาเวลาไปเดิน วิ่ง เล่นโยคะ หรือแค่เปิดเพลงเต้นก็ยังได้! [4]
    • ดื่มน้ำเยอะๆ น้ำถือเป็นสิ่งจำเป็นต่อการมีสุขภาพดี เพราะเมื่อร่างกายขาดน้ำ ประสิทธิภาพการทำงานของมันก็จะลดลงและทำให้คุณรู้สึกย่ำแย่ เพราะฉะนั้นพยายามดื่มน้ำให้ได้วันละ 8 แก้ว (8 ออนซ์/แก้ว) ต่อวัน (พยายามหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือคาเฟอีนสูง เพราะสารจำพวกนี้จะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ) ให้ดีที่สุดคือต้องดื่มน้ำให้ได้ปริมาณครึ่งหนึ่งของน้ำหนักตัวในหน่วยเป็นออนซ์ (เช่น หากคุณมีน้ำหนัก 150 ปอนด์ ให้พยายามดื่มน้ำอย่างน้อย 75 ออนซ์)
    • รับประทานอาหารอย่างสมดุล หลีกเลี่ยงน้ำตาลและอาหารแปรรูปให้มากที่สุด (คุณสามารถทานตามใจปากได้บ้างเป็นครั้งคราว!) พยายามรับประทานผักผลไม้ โปรตีน หรือคาร์โบไฮเดรตชนิดดี (เช่น ข้าวกล้อง ควินัว โฮลเกรน ข้าวโอ๊ต) ให้มากๆ
    • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับอย่างเพียงพอจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และยังช่วยในเรื่องอาการซึมเศร้าและความเจ็บป่วยอีกด้วย การนอนวันละ 8-9 ชั่วโมงถือเป็นจำนวนที่ดีที่สุด แต่ถ้าทำไม่ได้จริงๆ ให้หาเวลางีบระหว่างวันบ้างเป็นครั้งคราว
  3. หากต้องการเรียนรู้ที่จะรักชีวิต คุณต้องเต็มใจที่จะลองสิ่งใหม่ๆ และท้าทายตัวเองด้วยการทำในสิ่งที่คุณกลัว เพราะสิ่งหนึ่งที่สำคัญต่อการเรียนรู้ที่จะรักชีวิตและใช้ชีวิตอย่างมีความสุขคือการไม่ปล่อยให้ตัวเองถูกความกลัวครอบงำ เพราะมันจะทำให้คุณทุกข์ทรมานและไร้ซึ่งความสุข
    • เริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ โดยเฉพาะถ้าคุณเป็นคนกลัวการลองสิ่งใหม่แบบสุดๆ อาจจะลองถักนิตติ้งหรือทำอาหารในมุมส่วนตัวภายในบ้านของคุณเอง คุณสามารถเรียนรู้เรื่องราวมากมายจากวิดีโอสอนเรื่องราวเหล่านี้ใน Youtube ซึ่งจะทำให้คุณได้เรียนรู้ทักษะต่างๆ ที่เป็นประโยชน์
    • ยิ่งได้ลองทำสิ่งใหม่และผลักตัวเองออกมาจากพื้นที่ปลอดภัยมากเท่าไร คุณก็จะทำสิ่งเหล่านี้ได้ง่ายขึ้นเรื่อยๆ เพราะการจัดการกับความกลัวการลองสิ่งใหม่ต้องอาศัยการฝึกฝน
    • อย่าโทษตัวเองถ้าสุดท้ายแล้วคุณทำมันไม่สำเร็จ (เช่น การกระโดดร่มหรือการเดินทางไปที่ไกลๆ ด้วยตัวเอง) ทุกคนล้วนมีสิ่งที่ทำไม่ได้และไม่มีวันจะทำได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิด! แค่หันไปลองทำอย่างอื่นแทน
  4. การร้องเพลง โดยเฉพาะถ้าได้ร้องร่วมกับคนอื่นๆ จะทำให้ร่างกายของเราปล่อยสาร (เอ็นโดฟินหรือออกซิโทซิน) ที่ทำให้เรารู้สึกดีและมีความสุขรวมถึงช่วยลดความเครียด การร้องเพลงเป็นกลุ่มจะทำให้คุณรู้สึกถึงสายสัมพันธ์ระหว่างคุณกับคนอื่นๆ และการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ซึ่งเป็นตัวช่วยเสริมที่ช่วยให้คุณรู้สึกปลอดภัย อีกทั้งยังช่วยลดอาการซึมเศร้าและความเหงาได้อีกด้วย [5]
    • ลองหาดูว่าในเมืองหรือจังหวัดของคุณมีกลุ่มร้องเพลงที่คุณสามารถเข้าร่วมได้บ้างรึเปล่า ถ้าไม่มี ก็ตั้งขึ้นเองซะเลย หรือคุณอาจจะแค่ร้องเพลงเล่นๆ กับเพื่อนๆ โดยสามารถร้องเพลงอะไรก็ได้ที่อยากร้อง!
    • การร้องเพลงคนเดียวก็มีประโยชน์เช่นเดียวกัน เพราะมันช่วยในเรื่องการควบคุมลมหายใจเหมือนตอนคุณเล่นโยคะนั่นแหละ แถมยังเป็นอีกหนึ่งวิธีการผ่อนคลายดีๆ อีกด้วย
    • คุณอาจกำลังคิดว่า “แต่ฉันร้องเพลงไม่เป็น” บอกเลยว่าคุณไม่จำเป็นต้องเสียงดีเหมือนพี่ดา เอ็นโดรฟินก็มีความสุขกับการร้องเพลงได้ ถ้าคุณไม่อยากร้องเพลงต่อหน้าคนอื่นเพราะคิดว่าตัวเองร้องเพลงไม่เพราะ ก็ปิดประตูห้องนอนหลบมุมร้องเพลงคนเดียวไปเลย
  5. สิ่งนี้หมายถึงการใช้เวลา พลังงาน และ/หรือเงินของคุณเพื่อช่วยเหลือคนอื่นๆ ขณะที่คุณฝึกที่จะให้เพื่อสังคม คุณจะพบว่าตัวเองสัมผัสได้ถึงมุมมองใหม่ๆ และจุดประสงค์ที่คุณมีชีวิตอยู่ นอกจากนี้ การให้เพื่อสังคมยังช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวล อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้คุณได้สานสัมพันธ์กับคนอื่นๆ [6]
    • มองหาโรงครัวแจกอาหารใกล้ๆ บ้าน หรือสถานสงเคราะห์เพื่อทำงานอาสา ตั้งเป้ากับตัวเองว่าจะต้องทำงานอาสาให้ได้อย่างน้อยเดือนละครั้ง (หรือสัปดาห์ละครั้งเลยก็ได้) สถานสงเคราะห์ในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ (มูลนิธิเพื่อสตรีที่ถูกทำร้ายร่างกาย สถานสงเคราะห์เพื่อครอบครัว หรือแม้แต่สถานสงเคราะห์สัตว์)
    • การทำเรื่องง่ายๆ อย่างการช่วยสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนก็ถือเป็นการให้เพื่อสังคมเช่นเดียวกัน คุณอาจช่วยพาใครสักคนไปหาหมอตามนัดหรือช่วยย้ายของเข้าหอพักใหม่ หรือจะทำกับข้าวให้ครอบครัวทาน (ถ้ามันไม่ใช่สิ่งที่คุณทำเป็นประจำอยู่แล้ว) หรือช่วยคุณพ่อคุณแม่ล้างรถก็ยังได้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การบำบัดจิตใจเพื่อแก้ไขในระยะยาว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การมีสติคือการอยู่กับช่วงขณะปัจจุบัน แทนที่จะปล่อยใจลอยไปหาอนาคตข้างหน้าหรือจมอยู่กับอดีตข้างหลัง เพราะสองสิ่งนี้ทำให้คุณรักชีวิตและใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ยาก [7]
    • ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างใจจดใจจ่อ อาจจะเป็นเรื่องง่ายๆ อย่างการทานมื้อเย็นหรือนั่งทำการบ้าน แล้วลองสังเกตสิ่งต่างๆ เช่น รสชาติของสิ่งที่คุณกำลังทานและเนื้อสัมผัสของสิ่งนั้นๆ ว่ามันกรอบ ร้อน หรือเค็มหรือเปล่า ขอเพียงอย่าไปตัดสินว่ามันดีหรือไม่ดี เช่น มันร้อนเกินไปหรือรสชาติห่วย เพราะมันจะทำให้คุณโฟกัสแต่ข้อเสียแทนที่จะวางความคิดเป็นกลาง
    • ใช้เวลา 20 นาทีในแต่ละวันฝึกการหายใจอย่างมีสติ โดยนับเวลาเมื่อหายใจเข้า (เช่น นับ 1 ถึง 4) แล้วหายใจออกพร้อมนับมากขึ้นอีก 2 (เช่น นับ 1 ถึง 6) และตั้งจิตจดจ่อไปที่การยุบพองของท้องพร้อมกับหายใจเข้าลึกๆ เมื่อไรที่จิตใจเริ่มวอกแวก ให้ดึงสติกลับมาที่การนับอีกครั้ง
    • หาเวลาพักสัก 5 นาที หากคุณพอมีเวลาสั้นๆ ระหว่างคาบเรียนหรือชั่วโมงทำงาน แทนที่จะพุ่งตรงไปเช็คมือถือหรืออีเมล ลองใช้ช่วงเวลานั้นมองออกไปนอกหน้าต่างและสังเกตดูว่าข้างนอกเป็นอย่างไร สภาพอากาศเป็นยังไง ท้องฟ้าวันนี้สีอะไร และเหมือนเช่นเคย พยายามอย่าไปตัดสินสิ่งต่างๆ ที่คุณเห็นว่าดีหรือไม่ดี
  2. ความรู้สึกขอบคุณและการฝึกที่จะรู้สึกขอบคุณ คือการที่คุณเห็นคุณค่าของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต ไม่มองข้ามคุณค่าของสิ่งที่ได้รับ และให้คุณค่ากับประสบการณ์ต่างๆ ของคุณ การฝึกที่จะรู้สึกขอบคุณต่อสิ่งต่างๆ จะช่วยให้คุณรู้สึกดีกับชีวิตและตัวคุณเองมากขึ้น และยังทำให้คุณมีความสุขเพิ่มขึ้นอีกด้วย [8]
    • ทำบันทึกขอบคุณ โดยจดบันทึกสิ่งต่างๆ ที่คุณรู้สึกขอบคุณ (เช่น การมีหลังคาไว้กันแดดกันฝนและการมีข้าวให้กิน หรือการมีสุขภาพดี) จดบันทึกเกี่ยวกับบุคคลที่คุณรู้สึกขอบคุณและความเอื้ออารีที่คุณได้สัมผัส
    • ฝึกสังเกตสิ่งเล็กๆ เพราะความจริงสิ่งเล็กๆ นี่แหละที่เป็นตัวการทำให้ชีวิตของคุณง่ายขึ้นหรือยากขึ้นอีกเป็นกอง เพราะฉะนั้นให้ลองสนใจสิ่งเล็กๆ อย่างเช่นความอุ่นของเสื้อคลุมในวันที่อากาศหนาวเหน็บ หรือการได้ทานคัพเค้กรสอร่อย หรืออาจจะเป็นเรื่องราวดีๆ ที่คนอื่นนำมาบอก
    • แลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่คุณรู้สึกขอบคุณ พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่คุณรู้สึกขอบคุณกับคนในครอบครัว เพื่อน หรือนักบำบัดที่คุณไว้ใจ ซึ่งจะช่วยให้คุณจดจำเรื่องราวดีๆ ในวันของคุณ และยังทำให้คุณสนใจเรื่องแย่ๆ ในชีวิตน้อยลงอีกด้วย
  3. คุณสามารถตั้งเป้าหมายให้ใหญ่และไปให้ถึง อย่างไรก็ตาม อย่าลืมตั้งเป้าหมายเล็กๆ ที่สามารถบรรลุได้เร็วสักหน่อย เพราะมันจะช่วยให้คุณได้สัมผัสกับความรู้สึกของความสำเร็จ ซึ่งช่วยย้ำเตือนให้เห็นว่าคุณสามารถทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จได้!
    • ตั้งเป้าหมายว่าจะทำความสะอาดห้องหรือบ้านเดือนละครั้ง คุณอาจจะเปิดเพลงบรรเลงและร้องเพลงไปด้วยในระหว่างทำงานบ้าน เมื่อทำเสร็จ คุณจะรู้สึกได้ถึงความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่และความเป็นระเบียบเรียบร้อย
    • อย่าซ้ำเติมตัวเองถ้าคุณทำไม่สำเร็จ หรือไม่สามารถทำให้สำเร็จภายในช่วงเวลาที่ต้องการ แต่ให้ลองถามตัวเองดูว่าคุณได้เรียนรู้อะไรจากประสบการณ์นี้บ้าง และคุณจะปรับเปลี่ยนอะไรได้บ้างในความพยายามครั้งต่อไป การมองสิ่งนี้เป็นประสบการณ์ให้คุณได้เรียนรู้มากกว่าจะเป็นความล้มเหลวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำสิ่งต่างๆ และยังทำให้คุณมีความสุขมากขึ้นอีกด้วย
  4. ความคิดเชิงลบนั้นไม่ดีทั้งต่อจิตใจและร่างกายของคุณ อีกทั้งยังส่งผลต่อการมองสิ่งต่างๆ ของคุณ การมีความคิดแง่ลบพลัดหลงมาบ้างเป็นครั้งคราวถือเป็นเรื่องปกติ แต่การจมอยู่กับความคิดนั้นมันไม่ดีต่อสุขภาพอย่างแน่นอน คุณต้องพยายามโฟกัสไปที่ด้านบวกของสิ่งต่างๆ มากกว่าด้านลบหากต้องการรักชีวิตของคุณเอง [9]
    • อย่าปล่อยให้ความคิดเชิงลบค้างคาอยู่ในใจ เมื่อไรที่มันปรากฏขึ้นมา ให้ยอมรับถึงการมีอยู่ของมันแล้วปล่อยมันไป ตัวอย่างเช่น ถ้าความคิดที่ว่า “ฉันมันน่าเกลียด” โผล่เข้ามาในหัว ให้คุณบอกตัวเองว่า “ฉันคิดว่าตัวเองน่าเกลียด ความคิดนี้มันให้อะไรกับฉันรึเปล่า?” จากนั้นจึงปล่อยความคิดนั้นไป
    • อย่าไปจดจ่อกับอดีตหรืออนาคตมากเกินไป การจมอยู่กับสิ่งผิดพลาดที่เกิดขึ้นเมื่อชั่วขณะก่อนหน้านี้ทำให้คุณไม่สามารถมีความสุขกับวินาทีนี้ได้อย่างเต็มที่ และก็เช่นเดียวกัน การมัวแต่พะวงกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตหรือการคิดถึงแต่เรื่องในอนาคตจะทำให้คุณไม่มีชีวิตอยู่กับปัจจุบัน เมื่อไรที่ตระหนักว่าความคิดของคุณโลดแล่นไปในอดีตหรืออนาคต ให้ดึงความสนใจกลับมายังสิ่งต่างๆ ในปัจจุบัน อาจจะเป็นต้นไม้ ลมหายใจของคุณเอง หรือเม็ดฝนที่ตกกระทบหน้าต่าง
    • และจำไว้ว่าไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น มันจะผ่านไปในที่สุด คุณจะไม่ติดแหง็กที่ไฟแดงไปทั้งชาติ เหมือนที่คุณไม่มีทางโชคดีไปตลอด การเตือนตัวเองว่าสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะไม่คงอยู่ไปตลอดจะช่วยให้คุณปล่อยวางสิ่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่าลืมดูแลตัวเอง การใส่ใจแต่คนอื่นและตอบตกลงทุกครั้งเมื่อคนอื่นขอความช่วยหลือไม่ได้ทำให้คุณมีความสุข การช่วยเหลือผู้อื่นเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ต้องไม่ลืมดูแลตัวเองด้วย
  • หากคุณเกิดไขว้เขวว่าจะทำมันดีรึเปล่า ให้ลองคิดว่าสิ่งเลวร้ายที่สุดที่อาจเกิดขึ้นคืออะไร แต่ก็อย่าไปทำอะไรที่ผิดกฎหมายหรือสิ่งที่จะสร้างปัญหาใหญ่ให้กับคุณเข้าล่ะ
  • ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ให้รู้ไว้ว่ายังมีคนอื่นที่กำลังเผชิญเรื่องราวแย่ๆ มากกว่าคุณอยู่เสมอ
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าให้คนอื่นทำให้คุณรู้สึกหมดกำลังใจ ถ้าคนอื่นรู้สึกว่าเขาจำเป็นต้องพูดเรื่องแย่ๆ ให้คุณฟัง ให้จำไว้ว่ามันเป็นปัญหาของเขา ไม่ใช่ของคุณ
  • คนๆ เดียวที่จะดูแลคุณได้ในทุกขณะคือตัวคุณเอง
  • คุณอาจจะมีวันแย่ๆ หรือวันเศร้าๆ ที่ไม่ว่าจะทำอย่างไรก็ลืมเรื่องร้ายๆ ไม่ได้สักที ซึ่งมันถือเป็นเรื่องที่โอเค! เพราะทุกคนล้วนมีวันเวลาแบบนี้ด้วยกันทั้งนั้น ขอเพียงแค่คุณดูแลตัวเองและปล่อยให้เรื่องราวร้ายๆ ผ่านพ้นไป
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,948 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา