ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อนั้นเกิดขึ้นได้บ่อยๆ โดยเฉพาะคนที่ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเป็นประจำ เพราะเผลอเคลื่อนไหวเร็วไปหรือบริหารมากไปจนกล้ามเนื้อฉีกหรือเอ็นยึดแพลงได้ ถ้าคุณหรือลูกเล่นกีฬาชนิดไหนก็ตามเป็นประจำ คงต้องเคยบาดเจ็บและปฐมพยาบาลกันมาบ้างแล้ว ปกติถ้าเป็นอาการบาดเจ็บเล็กน้อย ก็ดูแลปฐมพยาบาลตัวเองเบื้องต้นที่บ้านได้เลย แล้วค่อยซื้อยามากิน แต่ถ้าอาการหนักก็ควรไปหาหมอเพื่อความปลอดภัย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

รักษาอาการบาดเจ็บเล็กน้อยที่กล้ามเนื้อ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไม่ว่าจะเป็นอาการบาดเจ็บระดับแรกหรือระดับที่สอง ปกติก็ดูแลตัวเองได้ ไม่ต้องไปหาหมอ โดยดูแลตัวเองด้วยวิธี RICE ("R-Rest" พักส่วนที่บาดเจ็บ, "I-Ice" ประคบเย็น, "C-Compress" ใช้ผ้ารัดประคอง และ "E-Elevate" ยกส่วนที่บาดเจ็บสูงไว้) เริ่มจาก "R" ย่อมาจาก "rest" คือ "พัก" ส่วนที่บาดเจ็บ
    • ให้หยุดออกกำลังกายจนกว่าจะขยับกล้ามเนื้อส่วนนั้นแล้วไม่เจ็บ ห้ามเล่นกีฬาชนิดไหนจนกว่าจะรู้สึกว่าร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์เต็มร้อย แต่ไม่นานเกิน 2 อาทิตย์ ถ้าครบแล้วยังมีอาการเจ็บปวดชัดเจน ให้ไปตรวจร่างกายกับหมอจะดีกว่า
    • ตอนนี้ควรจะยังเดินไปมาและ/หรือขยับแขนได้อยู่ ถ้าทำไม่ได้ แสดงว่ากล้ามเนื้อฉีกรุนแรงกว่าที่คิด ควรไปหาหมอจะดีกว่า
  2. ประคบเย็นด้วยเจลแพ็ค ถุงอาหารแช่แข็ง (เช่น ถั่ว) หรือน้ำแข็งก้อน/น้ำแข็งบดในถุงซิปล็อค ไม่ว่าใช้อะไรให้ห่อผ้าขนหนูหรือผ้าอะไรที่บางๆ หน่อยไว้ก่อน แล้วประคบบริเวณที่มีอาการ 15 - 20 นาที ทุก 2 ชั่วโมง ในช่วง 2 วันแรกหลังบาดเจ็บ
    • น้ำแข็งจะช่วยลดเลือดคั่ง (hematoma) อาการบวม อักเสบ และปวด/ระคายเคือง
  3. ให้ใช้ผ้าพันแผลหรือผ้ายืดพันรัดประคองบริเวณที่บาดเจ็บ เพื่อปกป้องบริเวณนั้นในช่วง 48 - 72 ชั่วโมงแรก ต้องพันให้กระชับแต่ไม่คับแน่น
    • เวลาจะพันกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บ ให้เริ่มพันจากจุดที่ไกลหัวใจที่สุด แล้วพันเข้าหาตัว เช่น ถ้าบาดเจ็บบริเวณ bicep (ต้นแขนด้านหน้า) ให้เริ่มพันผ้าจากแถวข้อศอก แล้วไล่ขึ้นมาจนถึงรักแร้ ถ้าบาดเจ็บที่น่องส่วนล่าง ให้เริ่มพันตั้งแต่ข้อเท้าไล่ขึ้นมาจนถึงเข่า
    • พันให้กระชับ แต่ต้องยังสอดนิ้วมือ 2 นิ้วเข้าไประหว่างผ้ากับผิวหนังได้ ถ้ามีอาการบอกว่าเลือดไหลเวียนได้ไม่ค่อยดี ให้รีบแกะผ้าที่พันไว้ออก อาการที่ว่าก็เช่น ชา ซ่า หรือซีด
    • นอกจากนี้การรัดประคองยังช่วยป้องกันไม่ให้บาดเจ็บซ้ำที่เดิมด้วย
  4. ถ้าบาดเจ็บบริเวณแขนขา ให้ยกสูงเหนือระดับหัวใจ เพื่อลดอาการบวม โดยหนุนส่วนนั้นไว้บนหมอนตอนนอนหงายผ่อนคลาย ปล่อยตัวตามสบาย
    • ถ้าส่วนที่บาดเจ็บยกสูงเหนือระดับหัวใจไม่ได้ อย่างน้อยให้ขนานไปกับพื้น
    • ถ้ายังปวดตุบๆ ตลอดหรืออาการหนัก ให้พยายามยกแขน/ขาสูงกว่าเดิม
  5. ในช่วง 72 ชั่วโมงแรกหลังกล้ามเนื้อฉีก สำคัญมากว่าต้องหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจทำคุณบาดเจ็บกว่าเดิม ตัวย่อของกิจกรรมที่ควรงดเว้นไปก่อน รวมๆ กันเป็นคำว่า HARM (อันตราย) ได้แก่ [1]
    • Heat (ความร้อน) อย่าใช้แผ่นประคบร้อน/ผ้าห่มไฟฟ้า หรือแช่น้ำร้อน
    • Alcohol (แอลกอฮอล์) อย่าดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้ยิ่งเลือดออกและบวม รวมถึงทำให้อาการบาดเจ็บหายช้าขึ้น
    • Running (วิ่ง) ห้ามวิ่งหรือทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงหนักๆ เพราะจะทำให้อาการหนักกว่าเดิม
    • Massage (นวด) ห้ามไปนวดหรือนวดบริเวณที่บาดเจ็บเอง เพราะจะทำให้ยิ่งตกเลือดและบวม
  6. กินอาหารให้เหมาะสม กล้ามเนื้อที่ฉีกจะได้หายเร็วๆ. กินอาหารที่อุดมวิตามินเอ วิตามินซี กรดไขมันโอเมก้า-3 ซิงค์ (สังกะสี) สารต้านอนุมูลอิสระ และโปรตีน เพื่อเร่งการฟื้นฟูซ่อมแซม อาหารที่แนะนำก็เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว มันเทศ บลูเบอร์รี่ ไก่ วอลนัท และอื่นๆ [2]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

กินยาแก้ปวด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Non-steroidal anti-infammatory drugs หรือ NSAIDs ช่วยบรรเทาอาการปวดแก้อักเสบ เพราะงั้นกล้ามเนื้อบาดเจ็บเมื่อไหร่ให้ลองหาซื้อยากลุ่ม NSAID มากิน เช่น ibuprofen หรือ naproxen ถ้าเป็น ibuprofen หรือแอสไพริน ต้องกินตามปริมาณที่เภสัชกรแนะนำ 3 - 7 วันหลังมีอาการ ห้ามกินยา NSAIDs ติดต่อกันนานกว่านั้น เพราะมีผลข้างเคียงระยะยาว เช่น ระคายกระเพาะ [3]
    • ยากลุ่ม NSAID แก้ปวดได้ แต่ก็อาจจะไปยับยั้งระยะของปฏิกิริยาทางเคมีบางอย่างที่จำเป็นต่อการฟื้นตัวระยะยาวได้ [4]
    • ให้กินยา ibuprofen หรือ naproxen พร้อมอาหาร และดื่มน้ำตาม 1 แก้ว เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในกระเพาะอาหาร เช่น แผลในกระเพาะ ถ้าเป็นโรคหอบหืดต้องระวัง เพราะยาต้านอักเสบจะทำให้หอบหืดกำเริบบ่อยขึ้น [5]
  2. คุณหมอสั่งครีมยา NSAID ไว้ทาผิวหนังบริเวณที่กล้ามเนื้อฉีกได้ เป็นครีมยาทาเฉพาะที่ ใช้บรรเทาอาการปวดบวมที่กล้ามเนื้อ [6]
    • ให้ทาครีมยานี้เฉพาะบริเวณที่มีอาการ และใช้ยาตามหมอสั่งอย่างเคร่งครัด
    • ต้องล้างมือให้สะอาดทันทีหลังทาครีมบริเวณที่มีอาการเรียบร้อย
  3. ถ้าบาดเจ็บหนัก ก็แน่นอนว่าต้องเจ็บปวดเป็นพิเศษ แบบนี้คุณหมอจะสั่งยาแก้ปวดที่แรงกว่าแบบที่คุณหาซื้อได้ตามร้านขายยาให้ เช่น codeine [7]
    • แต่ยาพวกนี้ถ้าใช้นานๆ จะติดได้ แถมแรงกว่ายาที่หาซื้อได้เองตามร้านขายยาเยอะ เพราะงั้นต้องทำตามที่คุณหมอสั่งอย่างเคร่งครัด ห้ามกินยาเกินขนาดหรือนานเกินไป
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

หาหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ส่วนใหญ่ถ้ากล้ามเนื้อฉีกไม่มาก แค่ดูแลตัวเองที่บ้านก็หายได้เอง แต่จริงๆ แล้วก็บอกอาการหนักเบาได้ยาก ถ้าไม่ไปตรวจร่างกายกับคุณหมอ เอาเป็นว่าถ้าคุณบาดเจ็บ มีอาการเจ็บปวด ขยับหรือใช้งานแขนขาที่บาดเจ็บได้ลำบาก หรือมีอาการบวมช้ำรุนแรง ก็ไปหาหมอเพื่อตรวจร่างกายจะปลอดภัยที่สุด
  2. ถ้ากล้ามเนื้อฉีกรุนแรงก็ต้องทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย เพราะจะช่วยให้แน่ใจได้ว่ากล้ามเนื้อจะฟื้นตัวอย่างถูกต้องเหมาะสม กลับมาใช้งานได้ตามปกติแบบครบถ้วนสมบูรณ์ [10]
    • ช่วงที่ทำกายภาพบำบัด คุณจะได้เรียนรู้และลองบริหารตามที่นักกายภาพบำบัดแนะนำ ซึ่งเป็นท่าเฉพาะที่ช่วยสร้างเสริมกล้ามเนื้ออย่างปลอดภัย ทำให้ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวได้เต็มองศา
  3. บางโรคก็เกี่ยวข้องกับอาการกล้ามเนื้อฉีก แต่รุนแรงน่าเป็นห่วงกว่า ถ้าสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นโรคต่อไปนี้ ให้รีบไปหาหมอทันที
    • ภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง (Compartment syndrome) ถ้าเจ็บปวดรุนแรง ร่วมกับอาการชาๆ ซ่าๆ แขน/ขาซีด รู้สึกตึงๆ ให้รีบไปหาหมอทันที [11] เพราะภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูงเป็นโรคทาง orthopedic (กระดูก ข้อ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ) ที่ต้องรักษาเร่งด่วน หรือก็คือผ่าตัดรักษาภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังเกิดอาการ ไม่งั้นอาจถึงขั้นต้องตัดขาหรือแขนได้เลย ถ้าคุณมีอาการตามที่ว่า ย้ำว่าต้องไปโรงพยาบาลทันที เลือดที่ไหลจากการฉีกขาดจะทำให้เกิดแรงดันในหลอดเลือดและเส้นประสาท ยิ่งแรงดันเยอะ เลือดก็ยิ่งไหลเวียนไม่สะดวก
    • เอ็นร้อยหวายฉีกขาด (Achilles tendon rupture) เอ็นร้อยหวายนั้นอยู่ที่ด้านหลังของข้อเท้าและน่อง [12] จะเกิดฉีกขาดได้ถ้าออกกำลังกายหนักๆ โดยเฉพาะในผู้ชายอายุ 30 ปีขึ้นไป ถ้าเจ็บตามด้านหลังของเท้า โดยเฉพาะตอนยืดเหยียดข้อเท้า แสดงว่าเอ็นร้อยหวายฉีกขาด เป็นอาการที่ต้องพักส่วนนั้นไปเลย ห้ามขยับ และเข้าเฝือกในท่า flexion (งอข้อศอก)
  4. ถ้ากล้ามเนื้อฉีกขาดไปเลย ก็จะขยับแขน/ขาที่เป็นไม่ได้เลย แบบนี้ต้องไปโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาโดยด่วน [13]
    • แนวทางการรักษากับระยะเวลาในการฟื้นตัวจนหายดี จะต่างกันตามความรุนแรงของอาการ และตำแหน่งกล้ามเนื้อที่ฉีก เช่น ถ้ากล้ามเนื้อต้นแขนด้านหน้า (bicep) ฉีกขาดไปเลย ก็ต้องผ่าตัด และพักฟื้นประมาณ 4 - 6 เดือน แต่ถ้ากล้ามเนื้อฉีกไม่มาก ก็จะหายภายใน 3 - 6 อาทิตย์ [14]
    • อันนี้แล้วแต่ลักษณะการฉีก บางทีก็ต้องพบศัลยแพทย์กระดูกหรือคุณเหมาะเฉพาะทางด้านอื่นๆ
  5. ปรึกษาคุณหมอเรื่องผ่าตัดรักษากล้ามเนื้อฉีกหรือฉีกขาด. บางเคสก็จำเป็นต้องผ่าตัด เพื่อรักษากล้ามเนื้อที่ฉีกขาด หรือเอ็นยึดฉีก [15] คุณหมอจะแนะนำให้ผ่าตัดตามลักษณะและความรุนแรงของอาการ
    • ปกติกล้ามเนื้อฉีกทั่วไปไม่ต้องผ่าตัดรักษา คุณหมอจะแนะนำให้ผ่าตัดเฉพาะนักกีฬาอาชีพเท่านั้น เพราะถ้าปล่อยให้หายเอง จะกระทบต่อการเคลื่อนไหวและการเล่นกีฬาได้
  6. คุณหมอมักนัดตรวจติดตามผลซ้ำหลังรักษาครั้งแรก เพื่อให้แน่ใจว่าอาการบาดเจ็บฟื้นตัวดี ก็ต้องไปตามนัด อย่าละเลย [16]
    • แจ้งคุณหมอโดยด่วน ถ้าอาการไม่ดีขึ้น หรืออาการหนักกว่าเดิม
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าเล่นกีฬาเป็นประจำหรือเป็นนักกีฬาอาชีพ มีอาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อเมื่อไหร่ต้องรีบหาหมอทันที ถึงจะแค่เล็กน้อยก็ตาม เพราะคุณหมอจะแนะนำวิธีรักษาตัวให้หายเร็วๆ กลับไปเล่นหรือแข่งกีฬาได้เร็วขึ้น
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้ามีอาการหรือสงสัยว่าตัวเองจะมีภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง (compartment syndrome) ให้รีบไปหาหมอทันที เพราะถ้าปล่อยไว้อาจถึงขั้นเสียขาหรือแขนเลย
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,442 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา