ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การติดเชื้อซัลโมเนลลา (Salmonella) โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากการสัมผัสถูกอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียซัลโมเนลลา ซึ่งมักถูกเรียกว่าอาการอาหารเป็นพิษ ผู้ป่วยจะมีอาการเป็นไข้ ท้องเสีย และปวดท้อง โดยอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นภายใน 2-48 ชั่วโมงและอาจเป็นได้นานถึง 7 วัน โดยส่วนใหญ่อาการที่เกิดจากการติดเชื้อซัลโมเนลลามักหายดีเอง แต่อย่างไรก็ตามก็อาจมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นบ้างในบางครั้ง บทความ wikiHow นี้ได้รวบรวมวิธีการรักษาการติดเชื้อซัลโมเนลลารวมถึงวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำในอนาคตเอาไว้แล้ว

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

วินิจฉัยการติดเชื้อซัลโมเนลลา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การติดเชื้อซัลโมเนลลามีสาเหตุหลักมาจากการทานไข่หรือเนื้อสัตว์ที่ดิบหรือปรุงไม่สุกที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย คุณอาจรู้สึกถึงอาการโดยทันทีหรืออาจใช้เวลาถึง 2 วันจึงเริ่มสังเกตเห็นอาการ โดยอาการที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อซัลโมเนลลามักถูกจัดเป็น gastroenteritis หรือโรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอักเสบ [1] อาการโดยทั่วไปของการติดเชื้อซัลโมเนลลามีดังนี้
    • อาเจียนและท้องเสียเรื้อรัง
    • วิงเวียนศีรษะ
    • หนาวสั่น
    • มีไข้
    • ปวดศีรษะ
    • อุจจาระเป็นเลือด
    • อุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ
    • มีภาวะเหงื่อเย็น
    • มีอาการไข้หวัดธรรมดา
    • น้ำมูกไหล
  2. แม้ว่าการติดเชื้อซัลโมเนลลามักไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านสุขภาพสูงมากนัก แต่สำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยโรคเอดส์ โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว หรือโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง อาจมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น รวมถึงเด็กและผู้สูงอายุก็มีโอกาสเสี่ยงมากขึ้นในการเกิดภาวะแทรกซ้อนเช่นกัน อย่างไรก็ตาม หากอาการยังคงไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้นและผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด หรือไปพบแพทย์โดยทันทีหากคุณหรือผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้
    • ภาวะร่างกายขาดน้ำ ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณปัสสาวะลดลง การผลิตน้ำตาลดลง ปากแห้ง และเบ้าตาลึก หากร่างกายของคุณสูญเสียน้ำ (จากอาการอาเจียนหรือท้องเสีย) มากกว่าปริมาณที่ได้รับเข้าไป ควรไปพบแพทย์โดยทันที
    • อีกหนึ่งสัญญาณที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนักอย่าง ภาวะเลือดมีแบคทีเรีย หรือภาวะที่เชื้อซัลโมเนลลาเข้าสู่กระแสเลือดและเกิดการติดเชื้อที่เนื้อเยื่อในสมอง ไขสันหลัง หัวใจ หรือไขกระดูก ซึ่งร่างกายจะแสดงสัญญาณต่างๆ อย่างเช่นไข้สูง หนาวสั่น หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ และอาการป่วยอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม โดยส่วนใหญ่เชื้อซัลโมเนลลามักถูกตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนภาวะเลือดมีแบคทีเรียจะเกิดขึ้น
  3. แพทย์จะทำการประเมินอาการอาการของคุณ และในกรณีส่วนใหญ่แพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเยอะๆ และพักผ่อนให้เพียงพอจนกว่าอาการจะหายดี เนื่องจากการติดเชื้อซัลโมเนลลามักหายดีเองตามธรรมชาติ หากแพทย์พิจารณาว่าควรตรวจร่างกายของผู้ป่วย แพทย์จะทำการตรวจอุจจาระเพื่อดูว่ามีเชื้อซัลโมเนลลาปนเปื้อนหรือไม่ [2]
    • แพทย์อาจทำการตรวจเลือดเช่นกันเพื่อดูว่ามีภาวะเลือดมีแบคทีเรียเกิดขึ้นหรือไม่
    • แพทย์อาจสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะหากการติดเชื้อซัลโมเนลลากระจายไปสู่ระบบย่อยอาหาร
    • หากภาวะร่างกายขาดน้ำเริ่มรุนแรงกว่าปกติ ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อให้น้ำเกลือผ่านทางเส้นเลือด
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

รักษาให้หายดี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การสูญเสียน้ำจากอาการอาเจียนและท้องเสียนั้นเป็นการเพิ่มโอกาสเสี่ยงทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ คุณจึงควรทดแทนปริมาณน้ำและอิเล็กโทรไลต์ที่สูญเสียไปด้วยการดื่มน้ำเปล่า ชาสมุนไพร น้ำผลไม้ และน้ำซุปต้มกระดูก แม้ว่าในช่วงนี้ร่างกายของคุณจะอ่อนแอจนไม่รู้สึกอยากดื่มน้ำมากนัก แต่จำไว้ว่าการดื่มน้ำก็เป็นวิธีที่จะช่วยกักเก็บพลังงานในร่างกายและบรรเทาอาการต่างๆ ให้ดีขึ้น
    • ลองทานไอศกรีมแท่ง น้ำแข็งไส หรือซอร์เบต์เพื่อเพิ่มทั้งปริมาณน้ำและน้ำตาลให้ร่างกายของคุณ
    • พยายามดื่มน้ำเยอะๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่มีอาการอาเจียนหรือท้องเสียอย่างรุนแรง
    • อาจให้ผู้ป่วยเด็กดื่มเกลือแร่สำหรับชดเชยการสูญเสียน้ำ เช่น Pedialyte หรือน้ำอัดลมที่หายซ่าแล้วเพื่อทดแทนปริมาณน้ำและอิเล็กโทรไลต์ที่สูญเสียไป
  2. พยายามงดการทานอาหารในช่วงฟื้นตัวจากการติดเชื้อซัลโมเนลลา. การรับประทานอาหารใดๆ จะทำให้ระบบย่อยอาหารที่กำลังอ่อนแอในช่วงนี้มีอาการแย่ลงกว่าเดิม คุณจึงควรพยายามงดการทานอาหารจนกระทั่งอาการป่วยบรรเทาดีขึ้นหรือหายดีเป็นปกติ
  3. นำแผ่นประคบร้อนวางไว้บนหน้าท้องเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดตะคริวที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้ การประคบด้วยกระเป๋าน้ำร้อนหรือแช่น้ำอุ่นก็สามารถช่วยได้เช่นเดียวกัน
  4. การรักษาอย่างหักโหมจนเกินไปอาจทำให้ร่างกายใช้เวลาในการฟื้นฟูนานยิ่งขึ้น จำไว้ว่าร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อซัลโมเนลลาได้เองโดยธรรมชาติและฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วหากคุณไม่เครียดกับอาการจนเกินไป และลาหยุดเรียนหรืองานหากคุณยังคงมีอาการท้องเสียหรืออาเจียนเพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายของเชื้อโรค
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ป้องกันการติดเชื้อในอนาคต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อย่าทานหรือดื่มอาหารที่ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่ยังคงดิบอยู่ เนื่องจากการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่ดิบเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการติดเชื้อซัลโมเนลลา และเมื่อออกไปทานอาหารข้างนอก อย่ามัวลังเลที่จะขอให้พ่อครัวนำเนื้อสัตว์ สัตว์ปีก และไข่ที่ไม่สุกกลับไปปรุงซ้ำอีกครั้ง
    • แม้ว่าเชื้อซัลโมเนลลามักพบได้บ่อยในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แต่ในบางครั้งเชื้อชนิดนี้ก็อาจปนเปื้อนในผักสดได้เช่นกัน คุณจึงควรล้างผักให้สะอาดก่อนนำไปประกอบอาหาร
    • อย่าลืมล้างมือและบริเวณที่ใช้สำหรับเตรียมอาหารให้สะอาดหลังสัมผัสถูกเนื้อสัตว์ สัตว์ปีก และไข่ที่ดิบ
  2. ล้างมือให้สะอาดหลังสัมผัสกับสัตว์และอุจจาระของพวกมัน. การสัมผัสกับสัตว์เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการติดเชื้อซัลโมเนลลา โดยเชื้อซัลโมเนลลาสามารถพบได้ตามร่างกายของสัตว์เลื้อยคลานและนก รวมถึงปนเปื้อนอยู่ในอุจจาระของแมวและสุนัข ดังนั้น คุณจึงควรล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสบู่ทุกครั้งหลังจากที่คุณสัมผัสกับสัตว์หรืออุจจาระของพวกมัน
  3. อย่าปล่อยให้เด็กสัมผัสกับสัตว์เลื้อยคลานหรือลูกนก. สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ประเภทนกต่างๆ อย่างลูกไก่ จิ้งจก และเต่า จะมีเชื้อซัลโมเนลลาอาศัยอยู่บนผิวหน้าของพวกมัน การให้เด็กสัมผัสกับสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ประเภทนกจึงอาจทำให้เกิดการติดเชื้อซัลโมเนลลาได้ และเนื่องจากการติดเชื้อในเด็กจะมีอาการที่รุนแรงกว่าผู้ใหญ่จากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของเด็กยังทำงานได้ไม่ดีเท่าไรนัก การห้ามไม่ให้เด็กเข้าใกล้สัตว์ที่อาจมีเชื้อซัลโมเนลลาจึงเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด [3]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ควรสวมใส่ถุงมือในระหว่างการสัมผัสสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและ/หรือที่อยู่อาศัยของพวกมัน หรือล้างมือให้สะอาดหากไม่สะดวกสวมถุงมือ
  • ป้องกันความเสี่ยงในการติดเชื้อแซลโมเนลลาโดยหลีกเลี่ยงการทานเนื้อสัตว์ สัตว์ปีก หรือไข่ที่ดิบหรือปรุงไม่สุกและล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสถูกเนื้อสัตว์ดิบ
  • ทานไข่ที่ปรุงจนสุกอย่างทั่วถึง เนื่องจากไข่ดิบอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อซัลโมเนลลา
  • ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารรวมถึงก่อนและหลังสัมผัสถูกเนื้อสัตว์ดิบ
  • ล้างมือให้สะอาดหลังเข้าห้องน้ำเพื่อลดความเสี่ยงในการติดและแพร่เชื้อซัลโมเนลลา
โฆษณา

คำเตือน

  • เมื่อคุณติดเชื้อซัลโมเนลลา คุณจะกลายเป็นภาหะนำโรคและสามารถแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นจนกว่าคุณจะหายดีเป็นปกติ
  • อย่าเก็บผักและผลไม้สดไว้ข้างๆ เนื้อสัตว์ดิบ เนื่องจากน้ำจากเนื้อสัตว์อาจไปปนเปื้อนผักและผลไม้และเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อซัลโมเนลลา
  • ระมัดระวังการปนเปื้อนข้ามจากอุปกรณ์ที่สัมผัสถูกเนื้อสัตว์หรือสัตว์ปีกและบริเวณสำหรับประกอบอาหาร
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • น้ำเปล่า
  • แผ่นประคบร้อนไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ประคบร้อน
  • ยาปฏิชีวนะ

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,842 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา