ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คีลอยด์หรือแผลเป็นนูนคือ การเจริญเติบโตของผิวที่จะเกิดขึ้น เมื่อร่างกายของเราผลิตเนื้อเยื่อแผลเป็นมากเกินไปหลังจากอาการบาดเจ็บ [1] โดยมันไม่อันตราย แต่หลายคนมีความรำคาญในการต้องใช้เครื่องสำอางปกปิด ซึ่งคีลอยด์จะรักษายาก ดังนั้นทางที่ดีที่สุดก็คือ ป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นเป็นอันดับแรก แต่การรักษาทางการแพทย์ก็มีมากมายที่จะช่วยลดหรือแม้กระทั่งเอามันออกไปได้เลย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

มองหาการรักษาทางการแพทย์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โดยการฉีดเป็นชุดทุก 4 – 8 อาทิตย์ ด้วยหมอจะสามารถจัดการกับคีลอยด์ได้ และมักจะลดขนาดลงและทำให้มันเรียบขึ้น แต่บางครั้งก็ทำให้มันสีเข้มขึ้นได้ [2]
    • อินเตอร์เฟอรอนก็เป็นยาฉีดที่ได้ศึกษาแล้วว่าเป็นตัวที่ใช้รักษาคีลอยด์ และอาจใช้เป็นทางเลือกหนึ่งได้ [3]
  2. มันได้ผลมากกับแผลนูน และทำให้มันเล็กลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งในกระบวนการบำบัดนี้ ไนโตรเจนเหลวจะเข้าไปทำให้เซลล์ที่เกินถูกแช่แข็ง แต่การบำบัดนี้จะใช้เวลาแค่ไม่กี่นาที และมักต้องทำที่คลินิกแพทย์เท่านั้น การรักษาอาจต้องแบ่งออกเป็นหลายอาทิตย์จึงจะเอาคีลอยด์ออกจนหมด [4]
  3. ถามแพทย์ผิวหนังเกี่ยวกับการรักษาด้วยเลเซอร์. ซึ่งมันค่อนข้างใหม่และไม่ได้มีการศึกษาเท่ากับตัวเลือกในการรักษาอื่น แต่มันก็ช่วยลดหรือรักษาคีลอยด์ได้ โดยเลเซอร์แต่ละแบบก็ได้ผลกับผิวและแผลนูนที่ต่างกัน ดังนั้นต้องถามแพทย์ว่าเลเซอร์ไหนเหมาะกับตัวเอง [5]
  4. ซึ่งหมอจะไม่ค่อยอยากทำให้ เพราะมันมีโอกาสที่จะมีเนื้อเยื่อแผลเป็นเพิ่มขึ้นได้ แต่ในบางกรณีก็มีประโยชน์หรือจำเป็น
    • ถ้าทำการผ่าตัด ต้องทำตามคำแนะนำเรื่องการดูแลหลังการผ่าตัดอย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันการเกิดคีลอยด์ใหม่
  5. อาจจะฟังดูมากเกินไป แต่การฉายรังสีใช้รักษาคีลอยด์ได้ผลมากว่าศตวรรษแล้ว และมักทำร่วมกับการศัลยกรรมหรือการรักษาอื่นๆ และแม้จะมีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงของมะเร็งที่จะเพิ่มขึ้น แต่ในการวิจัยล่าสุดบอกไว้ว่ารังสีก็เป็นตัวเลือกที่ปลอดภัย หากมีความระมัดระวังอย่างเหมาะสม (การปกป้องเนื้อเยื่อที่มีแนวโน้มจะเกิดมะเร็ง) [6]
    • การรักษาแบบนี้ไม่ต้องนอนพักที่โรงพยาบาลใกล้บ้านภายใต้การดูแลของนักรังสีวิทยาที่ได้รับการอบรมมาแล้ว
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

รักษาคีลอยด์ที่บ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โดยการรักษาจะลดขนาดแผลด้วยการสร้างแรงกดดัน (แผ่นซิลิโคน) และการใช้ยาที่เป็นตัวรักษา อย่า พยายามเอาเนื้อออกหรือลดขนาดแผลตัวเองด้วยการตัด รัดด้วยเชือกหรือยางรัด หรือใช้วิธีอื่นๆ ที่ทำให้เกิดบาดแผล เพราะจะมีเนื้อเยื่อแผลเพิ่มขึ้นข้างๆ และยังทำให้ตัวเองเกิดการติดเชื้อที่มีความเสี่ยงรุนแรงด้วย [7]
  2. ซึ่งมันช่วยรักษาแผลเป็น หยุดแผลคีลอยด์ และอาจช่วยลดแผลที่มีอยู่ได้ โดยใช้น้ำมันหรือครีมวิตามินอีกับแผลวันละสองครั้ง เช้าและกลางคืน เป็นเวลา 2–3 เดือน [8]
    • น้ำมันวิตามินดีหาซื้อได้ที่ร้านขายอาหารเพื่อสุขภาพ และห้างชั้นนำทั่วไป
    • รวมทั้งซื้อแคปซูลวิตามินอีและตัดออก แล้วบีบน้ำมันลงบนแผลเป็น โดยแต่ละแคปซูลก็ใช้ได้กับแผลเล็กๆ
  3. ใช้แผ่นเจลรักษาแผลเป็นที่ยังคงมีอยู่ และหยุดการสร้างใหม่. แผ่นซิลิโคนเจล หรือ “แผ่นรักษาแผลเป็น” เป็นแผ่นที่ใช้ซ้ำได้ ติดได้เลย และใช้กับแผลที่บาดเจ็บเพื่อป้องกันรอยแผลเป็น หรือแผลเป็นที่คงอยู่ และคีลอยด์เพื่อลดขนาดและรูปร่าง ซึ่งแผ่นนี้ควรติดไว้บนแผลที่บาดเจ็บ หรือบนแผลคีลอยด์ที่มี ประมาณ 10 ชั่วโมงต่อวัน เป็นเวลาหลายๆ เดือน [9]
    • แผ่นซิลิโคนเจลขายในหลายชื่อ เช่น “ScarAway” และซื้อได้ที่ร้านขายยาและร้านค้าออนไลน์มากมาย
  4. ซึ่งมันมีผลิตภัณฑ์ใหม่มากมายที่จะรักษาแผลเป็น ซึ่งอาจลดแผลคีลอยด์ได้อย่างชัดเจน ส่วนผสมในยาหลายอย่าง คือ ซิลิโคน โดยให้มองหาฉลากผลิตภัณฑ์ที่เขียนว่า “ครีมรักษาแผลเป็น” หรือ “เจลทาแผลเป็น” และใช้ตามคำแนะนำ [10]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

การป้องกันคีลอยด์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เพราะการจะจัดการกับมันได้ดีที่สุดคือ หลีกเลี่ยงที่จะทำให้มันเกิดขึ้น ซึ่งคนที่มีแผลคีลอยด์แล้ว หรือมีแนวโน้มจะเป็น ก็ต้องระมัดระวังการบาดเจ็บของผิวหนังไว้ล่วงหน้า เพื่อป้องกันการเกิดคีลอยด์
  2. ดูแลการบาดเจ็บของผิวเพื่อป้องกันการติดเชื้อและเป็นแผลเป็น. ใส่ใจกับการบาดเจ็บแม้จะเล็กน้อย และต้องแน่ใจว่าทุกๆ แผลทำความสะอาดอย่างหมดจดแล้ว และทาครีมปฏิชีวนะ แล้วพันแผลเปิดทุกแผล และเปลี่ยนมันบ่อยๆ
    • ใส่เสื้อผ้าหลวมๆ ตรงบริเวณที่บาดเจ็บ เพื่อจะไม่ทำให้ผิวระคายเคืองมากขึ้น
    • แผ่นซิลิโคนที่พูดถึงไปแล้ว ทำงานในการป้องกันการเกิดแผลคีลอยด์ได้ดี
  3. หลีกเลี่ยงแผลบาดเจ็บที่จะเกิดกับผิวถ้ามีแนวโน้มที่จะเกิดคีลอยด์ง่าย. การเจาะหรือแม้กระทั่งการสักจะทำให้เกิดคีลอยด์ได้ในบางคน ซึ่งถ้าเคยมีคีลอยด์แล้ว หรือมีประวัติการมีคีลอยด์ของคนในครอบครัว อาจต้องหลีกเลี่ยงการเจาะ และการสัก หรือปรึกษาแพทย์ผิวหนังก่อนเริ่มทำ
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

ทำความเข้าใจคีลอยด์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คีลอยด์เป็นแผลเป็นที่ดันตัวขึ้นมา ซึ่งเกิดได้ทุกที่บนร่างกายตรงที่ผิวได้รับบาดเจ็บ โดยมันจะเกิดเมื่อร่างกายผลิตคอลลาเจน (เนื้อเยื่อแผลเป็นชนิดหนึ่ง) มากเกินไปบริเวณที่บาดเจ็บ และมันอาจจะใหญ่และสังเกตได้ชัด เช่น รอยผ่าตัดศัลยกรรม หรือรอยไหม้ หรือเล็กแบบรอยแมลงกัด หรือสิว ซึ่งคีลอยด์มักจะเริ่มพัฒนาขึ้นประมาณ 3 เดือนหลังจากการบาดเจ็บตอนแรก และสามารถโตขึ้นต่อได้เป็นอาทิตย์ หรือกระทั่งเป็นเดือนๆ [11]
    • การเจาะหูหรือการสักอาจทำให้บางคนเกิดคีลอยด์ได้
    • คีลอยด์มักจะเกิดบนหน้าอก ไหล่ และหลังส่วนบน
  2. คีลอยด์มักจะนูนขึ้นและลักษณะคล้ายยาง มีผิวที่เรียบและเป็นมัน รูปร่างของมันมักจะเป็นไปตามรูปร่างของบาดแผล แต่เมื่อผ่านไปแล้วมันสามารถโตขึ้นมากกว่าบริเวณแผลเดิม และมันมีสีที่หลากหลายตั้งแต่สีเงินไปจนถึงสีเนื้อ สีแดง หรือน้ำตาลเข้ม
    • โดยทั่วไปแล้วคีลอยด์จะไม่เจ็บ แต่อาจทำให้บางคนคันหรือรู้สึกแสบร้อนได้
    • ถึงแม้มันจะไม่ได้เป็นอันตราย แต่ก็จำเป็นต้องให้หมอดูอาการ เพื่อจะได้มั่นใจว่ามันจะไม่เป็นปัญหาผิวที่ร้ายแรงขึ้น
  3. เพราะบางคนก็มีแนวโน้มที่เกิดมากกว่าคนอื่น ซึ่งหากมีแผลคีลอยด์อยู่ ก็อาจมีเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต ถ้ารู้ว่าตัวเองเสี่ยง ก็ต้องดูแลผิวที่บาดเจ็บเป็นพิเศษ เพื่อยับยั้งการเกิดคีลอยด์ [12]
    • คนที่มีผิวโทนเข้มกว่า จะมีแนวโน้มที่จะมีคีลอยด์ได้มากกว่า
    • คนที่อายุน้อยกว่า 30 ปี จะเสี่ยงมากกว่า โดยเฉพาะวัยรุ่นที่เพิ่งแตกเนื้อหนุ่มสาว
    • หญิงตั้งครรภ์มีแนวโน้มที่จะมีคีลอยด์มาก
    • คนที่มีประวัติการมีคีลอยด์ในครอบครัวมีความเสี่ยงสูง
  4. เพราะมันสำคัญ และจะได้รู้ว่ามันไม่มีอะไรร้ายแรง ซึ่งในบางกรณีก็วินิจฉัยได้ด้วยตาเปล่า แต่บางครั้งก็อาจต้องตัดเนื้อเยื่อไปตรวจว่าเป็นมะเร็งไหม
    • การรักษาที่ได้ผลส่วนใหญ่จะอยู่ในการดูแลของหมอ และการรักษาที่เร็วจะเป็นวิธีประสบความสำเร็จที่สุด
    • การตัดเนื้อเยื่อไปตรวจเป็นวิธีง่ายๆ ซึ่งหมอจะเอาเนื้อเยื่อเล็กๆ ออกไป และส่งไปวิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศน์ที่ห้องทดลอง โดยมักทำในห้องทำงานของหมอตอนที่ไปพบ [13]
    โฆษณา

คำเตือน

  • หากมีผิวเกิดใหม่ หรือแผลเป็นเก่า หรือรอยนูนเปลี่ยนไปให้ไปพบแพทย์เป็นประจำ ซึ่งมันอาจเป็นคีลอยด์ที่ไม่เป็นอันตราย แต่ปลอดภัยไว้ก่อนดีกว่า
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 14,566 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา