ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

"เข่า" ของคนเราประกอบด้วยกระดูก 3 ท่อนด้วยกัน คือกระดูกต้นขา (femur), กระดูกแข้ง (tibia) แล้วก็กระดูกสะบ้า (patella) หรือสะบ้าหัวเข่า (knee cap) โดยมีโครงสร้างนุ่มๆ คั่นกลางเรียกว่ากระดูกอ่อน (cartilage) ทำหน้าที่เป็นหมอนรอง [1] ถ้าเกิดเป็นโรคอย่าง osteoarthritis หรือข้อเสื่อมขึ้นมา กระดูกอ่อนที่คอยปกป้องจะเสื่อมลง ทำให้กระดูกแต่ละท่อนบดเบียดเสียดสีกันเอง จนเกิดเสียงดังกรอบแกรบที่เรียกว่า crepitus หรืออาการเข่าลั่น ซึ่งจะมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย บทความนี้จะแนะนำคุณเองว่าต้องทำยังไงถึงจะป้องกันและดูแลอาการเข่าลั่นได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

รักษาอาการเข่าลั่นเพราะข้อเสื่อม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. [2] ปกติเวลายืดเส้นหรือบิดขี้เกียจ เข่าคุณก็ลั่น มีเสียง "ตามปกติ" ซึ่งจะไม่เจ็บปวดอะไร แต่ถ้าเป็นอาการเข่าลั่นจากโรคข้ออักเสบ คุณจะเจ็บน่าดู ข้างล่างนี่คือหลายวิธีที่ใช้สังเกตว่าคุณเป็นโรคข้อเสื่อมหรือเปล่า [3]
    • เข่าปวด บวม แดง หรือขาแข็งเวลาเดินหรือเปล่า โดยเข่าลั่นจากข้ออักเสบมักเกิดที่เข่าด้านใน
    • จับให้รู้สึกเวลาเข่าลั่น โดยเอามือข้างหนึ่งวางบนเข่า แล้วลองยืดขางอขาดู คุณจะรู้สึกได้ว่ามีอะไรกรอบแกรบแบบทึบๆ [4]
  2. ถ้าเข่าลั่นแล้วเจ็บด้วย หรือท่าทางจะอักเสบ ให้ใช้ถุงน้ำแข็ง (ห่อด้วยผ้า) มาประคบเย็นตรงจุดนั้น จะช่วยลดบวมตรงจุดที่อักเสบได้ รวมถึงคลายปวดด้วย
    • อนุโลมให้กินยายาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ หรือ NSAIDs (non-steroidal anti-inflammatory drugs) ที่มีขายตามร้านขายยาได้แต่ในปริมาณน้อยๆ เช่น Advil (Ibuprofen) หรือ Naproxen (Aleve) เพราะช่วยบรรเทาปวดทันใจ แต่ห้ามกินติดต่อกันนานๆ เด็ดขาด เพราะอันตรายต่อไตกับระบบทางเดินอาหาร
    • ข้อดีของยา NSAIDs (ที่เป็นยาแก้อักเสบ) คือไม่ใช่แค่บรรเทาปวดแต่ยังลดการอักเสบด้วย
    • คุณอาจกินยา NSAID ร่วมกับยาแก้ปวดตามร้านขายยาทั่วไป เช่น Tylenol (Acetaminophen) ถึงจะไม่ลดการอักเสบ แต่ช่วยแก้ปวดได้แน่นอน แถม 2 ตัวยานี้ (NSAID กับ Tylenol) ถ้ากินคู่กันจะเห็นผลแบบทันใจ ช่วยให้คุณทำกิจวัตรประจำวันได้แบบลืมปวดไปเลย
  3. ยา NSAIDs ที่คุณหมอนิยมจ่ายให้ก็เช่น Indocin, Daypro, Relafen และอื่นๆ [5] ยาแก้อักเสบที่คุณหมอจ่ายให้จะแรงกว่าตามร้านขายยา เลยทำให้แก้อักเสบลดปวดจากอาการเข่าลั่นได้เห็นผลกว่ามาก แต่เพราะออกฤทธิ์แรงกว่าถึงต้องให้คุณหมอเป็นคนจ่ายให้เท่านั้น หรือก็คือคุณต้องไปตรวจอาการเข่าลั่นกับคุณหมอซะก่อน
    • ยา NSAIDs ที่คุณหมอจ่ายให้อาจมีผลข้างเคียงบางประการ แต่ที่พบบ่อยคือปวดท้องระคายเคืองกระเพาะ ถ้าหนักหน่อย (หรือในกรณีที่กินเกินขนาด) อาจเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (stomach ulcers) หรือไตเสียหายได้ [6] เพราะฉะนั้นต้องกินยาตามที่คุณหมอสั่งเท่านั้น ห้ามเพิ่มปริมาณเองเด็ดขาด
  4. Cortisone เป็นฮอร์โมนสเตียรอยด์ที่ร่างกายผลิตตามธรรมชาติเวลาเครียด (หมายเหตุ: คนละสเตียรอยด์กับที่นักกีฬาหรือนักเพาะกายชอบ (แอบ) ใช้) โดยจะไปกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยลดอาการอักเสบได้ดีมาก เวลาที่คุณเข่าลั่นแล้วปวดร่วมด้วย คุณหมออาจพิจารณาฉีด cortisone เข้าที่ข้อเข่าคุณโดยตรง เพื่อแก้อักเสบลดปวด
    • มีการวิจัยแล้วว่าการฉีด cortisone ช่วยรักษาอาการเข่าลั่นที่ "กำเริบ" เป็นระยะ แต่ถ้าฉีดซ้ำเข้าข้อบ่อยๆ ก็อาจทำให้กระดูกอ่อนเสื่อมได้ จนปวดเพราะเข่าลั่นกว่าเดิม เพราะเหตุนี้การฉีด cortisone จึงไม่ค่อยเหมาะจะใช้รักษาในระยะยาว [7]
    • ไม่แนะนำให้ฉีด cortisone มากกว่า 3 เดือนครั้ง แต่ถ้าทิ้งระยะห่างเหมาะสมแล้วก็สามารถฉีดได้นานเท่าที่ยังรักษาได้ผล ซึ่งบางเคสอาจกินเวลาหลายปี
  5. ปกติในข้อเข่าของเราจะมี "น้ำไขข้อ (synovial fluid)" ไว้หล่อลื่น ประคองข้อให้เคลื่อนไหวได้อย่างที่ควรจะเป็น แต่คนที่เป็นโรคข้อเสื่อมบางคน จะมีน้ำไขข้อที่ "เจือจาง" หรือก็คือไม่เหนียวข้นเหมือนเดิม ทำให้กระดูกเสียดสีกันมากเกินไปและขยับข้อไม่ได้ตามปกติ เคสแบบนี้คุณหมอจะแนะนำให้ทำ "viscosupplementation" หรือก็คือการฉีดสารใหม่เข้าไปในข้อเข่าเพื่อหล่อลื่นและเสริมสร้างความแข็งแรงให้ข้อเข่า
    • ปกติวิธีนี้จะแบ่งออกเป็นการฉีดยา 3 - 5 ครั้ง ภายในหลายอาทิตย์
    • โดยครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยวิธี "viscosupplementation" นั้นมีอาการดีขึ้น [8]
  6. ถ้าข้อเข่าคุณอักเสบ คุณหมออาจรักษาโดยให้ใส่อุปกรณ์พิเศษสำหรับพยุงข้อเข่าโดยเฉพาะ อุปกรณ์นี้ช่วยแบ่งเบาน้ำหนักกดทับที่เข่าด้านใน อันเป็นจุดที่มักเกิดอาการเข่าลั่น [9] Knee braces หรืออุปกรณ์พยุงข้อเข่านั้นยังช่วยรองรับและพยุงข้อเข่าของคุณไว้ ทำให้งอเข่าได้ไม่เจ็บ และป้องกันไม่ให้บาดเจ็บหรือระคายเคืองกว่าเดิม
    • ปกติอุปกรณ์แบบนี้ก็มีขายตามร้านขายยาทั่วไปในราคาที่ถูกกว่า แต่ถ้าเป็นอุปกรณ์ที่ได้จากคุณหมอโดยตรงจะมีการวัดขนาดให้พอดีกับข้อเข่าของคุณโดยเฉพาะ ถึงจะราคาแพงหน่อยแต่คุณภาพสมราคาแน่นอน ถ้าคุณสนใจก็สอบถามรายละเอียดกับคุณหมอได้เลย
  7. ถ้าคุณมีอาการเข่าลั่นแบบรุนแรงเพราะข้ออักเสบ ก็อาจต้องพิจารณาผ่าตัด ถ้าอาการปวดเข่าส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของคุณอย่างร้ายแรง แถมรักษาด้วยวิธีอื่นๆ แล้วก็ไม่ดีขึ้น ให้คุณลองปรึกษาคุณหมอเรื่องเข้ารับการผ่าตัดดู
    • การผ่าตัดเข่ามีหลายประเภทด้วยกัน แล้วแต่คุณหมอจะเห็นสมควร แต่ที่นิยมกันก็มีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Total knee replacement), ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบบางส่วน (partial knee replacement), ผ่าตัดซ่อมแซมกระดูกอ่อน (cartilage repair), การผ่าตัดแบบส่องกล้อง (knee arthroscopy) และการผ่าตัดดัดเข่า (knee osteotomy) [10]
    • แต่ก็ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการผ่าตัดที่ได้ผลกับคนอื่น บางทีอาจไม่ได้ผลกับคุณ โรคข้ออักเสบน่ะรักษาง่ายซะที่ไหน ให้คุณลองปรึกษาพิจารณาทุกวิธีที่เป็นไปได้กับคุณหมอก่อนแล้วค่อยตัดสินใจ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ดูแลป้องกันไม่ให้อาการเข่าลั่นทรุด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณปวดเข่าได้เพราะหลายสาเหตุ เช่น ข้อเสื่อม (เหมือนศัพท์วิศวกรรมที่เรียกว่า "wear and tear" คือข้อเข่า "สึกหรอ" เพราะใช้งานมานาน ซึ่งเป็นสาเหตุยอดนิยม), ข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือ rheumatoid arthritis (จากปัญหาภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง), ข้ออักเสบติดเชื้อ (infectious arthritis), อาการบาดเจ็บเดิมที่ข้อเข่า หรือสะบ้าเสื่อม (patellar dysfunction) เป็นต้น [11] สำคัญมากว่าคุณต้องรีบหาหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยให้ถูกต้อง เพราะต้องรู้ซะก่อนว่าเข่าคุณผิดปกติยังไง ถึงจะวางแผนรักษาได้ถูกต้องเหมาะสมที่สุด
    • เช่นเดียวกัน สมมุติว่าคุณหมอวินิจฉัยว่าคุณเป็นโรคข้อเสื่อม แต่ปรากฏว่ารักษาแล้วไม่ดีขึ้น ให้คุณรีบปรึกษาคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุเพิ่มเติมทันที [12]
  2. ถ้าน้ำหนักคุณเพิ่มขึ้นมา 1 กิโลกรัม ก็เท่ากับมีแรงกดเพิ่มเข้ามาที่ข้อเข่าอีก 6 กิโลกรัม เพราะฉะนั้นคนอ้วนจะมีสิทธิ์เป็นโรคข้ออักเสบมากกว่าคนที่น้ำหนักตัวตรงตามเกณฑ์ [13] ถ้าไม่อยากปวดเข่าตอนแก่ (หรืออยากบรรเทาอาการที่เป็นอยู่) ให้พยายามคุมน้ำหนัก หลักๆ ก็คือควบคุมอาหาร (ถ้าเจ็บเข่าอยู่แล้วอาจต้องจำกัดเรื่องการออกกำลังกาย)
    • คนที่เป็นโรคข้ออักเสบนั้นไม่ควรกินอาหารทอดๆ หรืออาหารแปรรูป รวมถึงน้ำตาล คาร์โบไฮเดรตขัดสี เกลือ อาหารที่มีสารกันบูด แล้วก็น้ำมันข้าวโพด เพราะเหล่านี้จะทำให้ข้ออักเสบกว่าเดิม ไม่ก็ไปทำให้คุณอ้วนขึ้น
  3. กล้ามเนื้อรอบๆ ข้อทำหน้าที่เป็นกันชนซับแรงกระแทก ช่วยรองรับและพยุงข้อเวลาคุณใช้งานหนักๆ (อย่างตอนเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย) รวมถึงตอนคุณทำกิจวัตรประจำวันอื่นๆ ยิ่งกล้ามเนื้อแข็งแรงเท่าไหร่ ก็ยิ่งช่วยดูดซับแรงกดได้มากขึ้นเท่านั้น คุณป้องกันไม่ให้เกิดอาการเข่าลั่น (หรือบรรเทาถ้าเป็นอยู่) ได้โดยค่อยๆ สร้างเสริมกล้ามเนื้อรอบข้อด้วยการยกเวท
    • การออกกำลังกายที่เหมาะมากสำหรับอาการเข่าลั่นหรือ crepitus ก็คือการบริหารต้นขาด้านใน (thigh contraction) เพราะทำให้กล้ามเนื้อรอบข้อเข่าแข็งแรงขึ้น ให้คุณม้วนผ้าขนหนูเป็นแท่งแล้วสอดใต้เข่า จากนั้นให้เกร็งกล้ามเนื้อต้นขาด้านในค้างไว้ 5 วินาที เสร็จแล้วคลายออก ทำซ้ำ 10 ครั้ง
    • การออกกำลังกายแบบไอโซเมตริก (Isometric exercises) อย่างการเหยียดขาตรงแล้วยกขึ้น (เข่าตึง) ฝึกเกร็งกล้ามเนื้อหน้าขา หรือหันหลังพิงผนังแล้วย่อตัว ช่วยให้ข้อแข็งแรงโดยไม่ต้องเคลื่อนไหวมากจนกระทบกระเทือน (ไม่งั้นอาจเจ็บหรืออักเสบกว่าเดิมได้)
    • cardio แบบเบาๆ อย่างปั่นจักรยาน หรือว่ายน้ำ (แนะนำให้ออกอย่างน้อย 3 ครั้งต่ออาทิตย์) เพื่อสร้างเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ต้นขาด้านในและน่อง คาร์ดิโอช่วยลดน้ำหนักแถมยังลดปวดจากอาการเข่าลั่นด้วย
  4. [14] ทั้งการประคบร้อนประคบเย็นช่วยลดปวดจากอาการเข่าลั่นได้ ให้คุณลองประคบทั้งร้อนและเย็น และสังเกตดูว่าอันไหนได้ผลกว่ากัน
  5. คนที่เป็นโรคข้ออักเสบบางคนก็กินอาหารเสริม อย่าง glucosamine sulfate กับ chondroitin sulfate เพื่อรักษาและป้องกันอาการเข่าลั่นเหมือนกัน [15] แต่ขนาดในอเมริกา อาหารเสริมเหล่านี้ก็ ไม่ถูกรับรอง โดย FDA หรืออย. ของอเมริกา แถมยังไม่มีงานวิจัยมารองรับว่าได้ผลจริงหรือเปล่า นอกจากนี้ยังไม่ค่อยมีข้อมูลเรื่องผลข้างเคียงหากใช้เป็นเวลานานๆ ด้วย เรียกได้ว่ายังอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัยทางการแพทย์อยู่ ว่าอาหารเสริมพวกนี้ใช้แทนยาได้จริงไหม เพราะฉะนั้นให้คุณลองปรึกษาคุณหมอดูก่อน หรือสอบถามคน (ที่น่าเชื่อถือ) ที่เคยใช้อาหารเสริมพวกนี้ แล้วค่อยเริ่มใช้
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 23,118 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา