ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

แผลในลำคอมักทำให้รู้สึกเหมือนมีก้อนเนื้ออยู่ในลำคอและเจ็บเวลากลืน แต่ถึงมันจะทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัว แต่นันก็รักษาหายได้! แผลในลำคออาจเกิดจากอาการบาดเจ็บ การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือเชื้อไวรัส หรือการรักษาโรคมะเร็ง แพทย์ต้องระบุหาสาเหตุให้ได้เพื่อที่จะได้รักษาคุณได้อย่างถูกต้อง หลังจากตรวจแล้ว แพทย์ก็อาจจะจ่ายยาเพื่อรักษาแผลในลำคอและทำให้เจ็บน้อยลง ซึ่งวิธีการรักษาก็จะขึ้นอยู่กับว่าอะไรที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลในลำคอ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

บรรเทาและรักษาแผลในลำคอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. รับประทานยาแก้ปวดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป. เลือกยาที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ เช่น อะเซตามีโนเฟน รับประทานตามคำแนะนำของผู้ผลิตและแจ้งแพทย์ว่าคุณรับประทานยาแก้ปวด เพื่อไม่ให้ยาตีกันกับยาของแพทย์ [1]
    • ยาแก้ปวดช่วยบรรเทาความเจ็บของแผลในระยะแรกได้
  2. เพื่อบรรเทาความเจ็บและความไม่สบายตัวที่เกิดจากแผลในลำคอ ให้คุณทำน้ำเกลือโดยการผสมเบกกิ้งโซดา 1 ช้อนชา เกลือ 1 ช้อนชา และน้ำอุ่น 4 ถ้วยเข้าด้วยกัน กลั้วส่วนผสมในลำคออย่างน้อย 30 วินาทีแล้วบ้วนออกมา
    • คุณจะกลั้วน้ำเกลือบ่อยแค่ไหนก็ได้ เช่น ถ้าในลำคอมีหลายแผล คุณก็อาจจะกลั้วทุกๆ 1-2 ชั่วโมง
  3. วิธีนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้แผลในลำคอยิ่งระคายเคืองและแย่ลง แทนที่จะรับประทานของกรอบๆ ที่ยิ่งไปครูดกับลำคอ หรืออาหารรสเผ็ดที่ทำให้คอระคายเคือง ให้เปลี่ยนมารับประทานอาหารเหลวที่กลืนง่าย เช่น ซุป มิลค์เชค หรือไข่ต้มยางมะตูม
    • ถ้าแผลทำให้ลำคอไวต่อความร้อนมากขึ้น ให้รับประทานอาหารอุ่นหรือเย็นแทนอาหารร้อนๆ
  4. เครื่องดื่มร้อนๆ จะทำให้แผลระคายเคืองและทำให้ยิ่งเจ็บคอมากกว่าเดิม นอกจากนี้เครื่องดื่มร้อนๆ ยังทำให้แผลหายช้าด้วยเพราะมันจะยิ่งทำให้แผลแย่กว่าเดิม ดังนั้นให้เปลี่ยนไปดื่มเครื่องดื่มอุ่นๆ ที่ช่วยให้เจ็บแผลน้อยลงแทน
    • เช่น ตอนเช้าคุณอาจจะดื่มชาอุ่นๆ แทนกาแฟ
  5. แย่หน่อยที่คาเฟอีน ช็อกโกแลต มินต์ ผลไม้ตระกูลส้ม และเครื่องเทศรสเผ็ดทำให้แผลในลำคอแย่ลง แต่ก็ยังดีที่อาหารเหล่านี้เลี่ยงได้ไม่ยาก แค่งดรับประทานจนกว่าแผลจะหายดี รอจนกว่าแผลในลำคอจะหายแล้วค่อยกลับไปรับประทานใหม่ เพราะมันอาจจะทำให้แผลในลำคอแย่ลงได้
  6. ถ้าแผลในลำคอทำให้มีกลิ่นปากหรือเป็นแผลที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา ให้แปรงฟันนานกว่าเดิมเล็กน้อย อย่าลืมแปรงลิ้นด้วยเพื่อกำจัดแบคทีเรียที่ติดอยู่ระหว่างปุ่มรับรส [2]
    • ถ้าคุณกังวลเรื่องกลิ่นปาก ให้แปรงฟันมากกว่าวันละ 2 ครั้ง
  7. เพื่อป้องกันไม่ให้ลำคออักเสบและระคายเคือง พยายามลดหรืองดสูบบุหรี่และเคี้ยวยาสูบ นอกจากนี้ก็มีการพิสูจน์แล้วว่า แอลกอฮอล์ทำให้ลำคอที่อยู่ในช่วงไวต่อการสัมผัสเกิดการระคายเคือง [3]
    • ถ้าคุณไม่อยากเลิกสูบบุหรี่ ก็ให้งดชั่วคราวจนกว่าแผลในลำคอจะหาย
  8. เนื่องจากว่าแผลในลำคออาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ คุณก็อาจจะมีอาการต่างๆ มากมาย ถ้าคุณมีแผลในลำคอหรืออาการของปัญหาอื่นๆ คุณก็อาจจะรู้สึกเหมือนมีก้อนอยู่ในลำคอ หรือคุณอาจจะรู้สึกเหมือนอยากไอออกมาเพื่อให้โล่งคอ และอาจจะมีอาการต่อไปนี้ร่วมด้วย : [4]
    • มีแผลเปิดหรือแผลตรงเพดานอ่อนหรือเพดานแข็ง
    • เจ็บคอ
    • รู้สึกเจ็บขณะรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ
    • มีไข้และหนาวสั่น
    • ปวดข้อ
    • กลืนยากหรือรับประทานอาหารลำบาก
    • แสบร้อนกลางทรวงอกหรือเจ็บหน้าอก
    • มีกลิ่นปาก
    • คลื่นไส้หรืออาเจียน
  9. ถ้าคุณคิดว่าคุณน่าจะมีแผลในลำคอและไม่ดีขึ้นภายใน 1-2 วัน ให้ไปพบแพทย์ แพทย์จะตรวจร่างกายและลำคอ และอาจจะใช้ไม้ป้ายคอเพื่อตรวจหาแบคทีเรียและตรวจเลือดหรือปัสสาวะ และอาจจะสั่งตรวจด้วยภาพถ่ายเพื่อหาแผลที่อยู่ในลำคอ [5]
    • คุณต้องเข้ารับการตรวจเพราะแผลในลำคออาจเกิดจากปัญหาสุขภาพที่ซ่อนอยู่และต้องได้รับการรักษา
  10. ทบทวนประวัติการรักษาเพื่อให้แพทย์สามารถวินิจฉัยสาเหตุของแผลในลำคอได้อย่างถูกต้อง หากวินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง แพทย์ก็จะสามารถวางแผนการรักษาที่มีประสิทธิภาพได้ แผลในลำคออาจเกิดจาก : [6]
    • โรคกรดไหลย้อน
    • อาการบาดเจ็บ
    • รับประทานสารที่ทำให้เกิดการผุกร่อน
    • อาเจียนมาก
    • การรักษาโรคมะเร็ง เช่น เคมีบำบัด
    • การติดเชื้อแบคทีเรีย
    • การติดเชื้อรา เช่น เชื้อราในปาก
    • การติดเชื้อไวรัส
    • เชื้อไวรัส Herpes simplex virus (HSV)
    • เชื้อไวรัส HIV
    • โรคที่เกิดจากการอักเสบ
    • การไอหรือการใช้เสียงมากเกินไป
  11. แผนการรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดแผล เช่น ถ้าแผลเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แพทย์ก็จะจ่ายยาต้านไวรัส แต่ถ้าแผลเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา แพทย์ก็จะจ่ายยาปฏิชีวนะหรือยาต้านเชื้อราให้ [7]
    • ถ้าแผลในลำคอเกิดจากการรักษาโรคมะเร็ง แพทย์อาจจะแนะนำให้คุณปรับเปลี่ยนอาหาร และพูดคุยกับคุณเรื่องวิธีการดูแลช่องปากที่ถูกต้อง เช่น คุณอาจจะต้องแปรงฟันและลิ้นวันละ 3-4 ครั้ง และเลี่ยงอาหารรสเผ็ด
  12. บ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากที่ช่วยบรรเทาอาการปวด. สอบถามแพทย์การจ่ายน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของยาชาเฉพาะที่ เช่น ลิโดเคน ซึ่งจะทำให้คุณรู้สึกชาที่ลำคอและบรรเทาความเจ็บได้ชั่วคราว น้ำยาบ้วนปากที่แพทย์สั่งบางชนิดสามารถลดการอักเสบที่อาจช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นได้ [8]
    • คุณต้องปฏิบัติตามวิธีใช้ เพราะน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของลิโดเคนบางตัวต้องกลั้วแล้วกลืน
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

สังเกตอาการและรักษาแผลที่หลอดอาหาร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สังเกตอาการเจ็บคอขณะกลืนหรืออาการเจ็บหน้าอก นอกจากอาการแสบร้อนกลางทรวงอกแล้ว สัญญาณของแผลที่หลอดอาหารได้แก่: [9]
    • คลื่นไส้หรืออาเจียน
    • ปวดท้อง
    • น้ำหนักลด
    • อาเจียนเป็นเลือด
  2. เข้ารับการตรวจเพื่อวินิจฉัยแผลที่หลอดอาหาร. ถ้าคุณมีสัญญาณของแผลที่หลอดอาหาร ให้ติดต่อแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจ แพทย์จะตรวจร่างกายและตรวจหลอดอาหารที่อยู่ภายใน คุณต้องตรวจเลือดด้วยเพื่อดูว่าคุณติดเชื้อที่หลอดอาหารหรือเปล่า
    • ในการตรวจดูหลอดอาหารที่อยู่ภายในนั้น แพทย์อาจจะเอ็กซเรย์หรือส่องกล้องเพื่อตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น ระหว่างการส่องกล้องนั้น แพทย์จะสอดหลอดเรียวๆ ที่มีกล้องติดอยู่ลงไปในหลอดอาหารเพื่อดูว่าแผลอยู่ตรงไหน
  3. รับประทานยาเพื่อรักษากรดหรือการติดเชื้อที่ทำให้เป็นแผล. ถ้าแผลที่หลอดอาหารเกิดจากการติดเชื้อ คุณก็ต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ แต่ถ้าแผลเกิดจากกรดไหลย้อน ก็ต้องปรึกษาแพทย์เรื่องการลดการผลิตกรดในกระเพาะอาหาร แพทย์อาจจะแนะนำ : [10]
    • ยายับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร
    • ยาลดกรด
    • ยาในกลุ่มยับยั้งตัวรับเอช ทู
  4. คุณต้องรับประทานยาอยู่หลายสัปดาห์กว่ายาจะรักษาสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลในลำคอได้ คุณต้องตรวจติดตามกับแพทย์หลังจากนั้น 2-3 สัปดาห์หรือ 2-3 เดือนเพื่อให้แน่ใจว่าแผลหายแล้ว [11]
    • แพทย์อาจจะส่องกล้องเพื่อตรวจทางเดินอาหารส่วนต้นอีกครั้งเพื่อหาตำแหน่งของแผล
  5. เพราะจะทำให้แผลที่หลอดอาหารอักเสบและระคายเคืองระหว่างการรักษา ถ้าคุณไม่อยากเลิกสูบบุหรี่ไปเลยระหว่างที่รักษาแผล คุณก็อาจจะแค่งดสูบชั่วคราวจนกว่าแผลจะหายสนิท [12]
    • การสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์อาจทำให้แผลยิ่งหายช้า
  6. จดบันทึกอาหารเพื่อหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เป็นกรดไหลย้อน. ถ้าแผลที่หลอดอาหารเกิดจากการมีกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป ให้สังเกตอาหารที่ทำให้คุณรู้สึกแสบร้อนกลางทรวงอกหรือคลื่นไส้ พยายามจำกัดการรับประทานอาหารต่อไปนี้ เพื่อไม่ให้เป็นแผลที่หลอดอาหารอีกหรือทำให้แผลเดิมแย่ลง: [13]
    • อาหารรสเผ็ด
    • ของทอด
    • คาเฟอีน
    • มะเขือเทศ หอมหัวใหญ่ และกระเทียม
    • ผลไม้ตระกูลส้ม
    • มินต์
  7. ปรับเปลี่ยนกิจวัตรการรับประทานอาหารเพื่อป้องกันการเกิดกรดไหลย้อน. รับประทานอาหารอย่างสมดุลด้วยการรับประทานธัญพืชเต็มเมล็ด โปรตีนไขมันต่ำ ผัก และผลไม้ขณะรักษาแผลที่หลอดอาหาร ในการป้องกันไม่ให้เกิดกรดไหลย้อนที่ทำให้เป็นแผลที่หลอดอาหารนั้น ให้รับประทานอาหารช้าๆ และอย่านอนราบหลังรับประทานอาหารอย่างน้อย 3 ชั่วโมง [14]
    • คุณอาจจะรู้สึกว่า การรับประทานอาหารมื้อเล็กๆ หลายๆ มื้อตลอดทั้งวันนั้นสบายตัวกว่าการรับประทานมื้อใหญ่ 3 มื้อ
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 11,773 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา