ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การให้นมทารกที่เพิ่งคลอดของคุณสามารถเป็นประสบการณ์สร้างความผูกพันอันยิ่งใหญ่ [1] และไม่ได้บังคับให้คุณต้องมีการเปลี่ยนแปลงอาหารการกินใดๆ นัก คุณยังคงสามารถเอร็ดอร่อยไปกับอาหารหลายๆ ชนิดแบบที่เคยชอบได้ [2] แต่ก็มีบ้างที่คุณควรหลีกเลี่ยงหรือจำกัดปริมาณมันลง โดยการทำให้อาหารที่รับประทานมีประโยชน์ต่อสุขภาพเท่าที่คุณจะทำได้ ก็เสมือนกับคุณช่วยให้ทารกน้อยได้อาหารถูกสุขภาพด้วยเช่นกัน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไม่ว่าปริมาณแอลกอฮอล์น้อยเท่าไหร่ก็ไม่อาจจะยอมรับได้หรือปลอดภัยพอให้ทารกบริโภค การให้นมหลังจากบริโภคแอลกอฮอล์มานั้นจะทำให้แอลกอฮอล์บางส่วนถูกถ่ายโอนไปที่ทารก ซึ่งถือเป็นอันตรายอย่างมาก ให้รอจนร่างกายคุณฟื้นคืนสภาพอย่างสมบูรณ์และกำจัดแอลกอฮอล์จนหมดสิ้นก่อนทำการให้นมบุตร [3] [4]
    • โดยปกติแล้ว คุณจำต้องรอสักสองชั่วโมงต่อการดื่มหนึ่งหน่วยบริโภคก่อนที่จะสามารถให้นมอย่างปลอดภัยอีกครั้ง
    • หนึ่งหน่วยบริโภคหมายถึง เบียร์ 12 ออนซ์, ไวน์ 5 ออนซ์ หรือถ้าเป็นสุราก็ 1.5 ออนซ์
    • คุณไม่สามารถ “ดูดน้ำนมทิ้ง” เพื่อกำจัดแอลกอฮอล์ออกจากน้ำนม มีเพียงเวลาที่จะขจัดแอลกอฮอล์ออกจากร่างกายคุณได้
    • ห้ามดื่มในระหว่างที่คุณดูแลทารก
  2. การรับประทานอาหารบางอย่างแล้วมาให้นมบุตรอาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ในเด็กทารก จงเฝ้าสังเกตดูทารกน้อยว่ามีสัญญาณของปฏิกิริยาภูมิแพ้ใดๆ เกิดขึ้นหลังกินนมไหม ถ้าเห็นการเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ ให้นึกย้อนกลับไปว่าคุณเพิ่งรับประทานอาหารอะไรมาหรือมีอาหารใหม่อะไร และคุณจะต้องหยุดทานอาหารเหล่านี้ [5] [6]
    • อาการทั่วไปของปฏิกิริยาภูมิแพ้พบเห็นได้ในอุจจาระของทารก อุจจาระที่บ่งชี้ว่ามีโอกาสเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้นั้นจะมีลักษณะเป็นเมือก มีสีเขียว และมีคราบเลือดเป็นหย่อมๆ
    • ปฏิกิริยาภูมิแพ้ยังอาจทำให้ทารกน้อยของคุณรู้สึกจุกจิกกวนใจ เกิดผื่น ท้องเสีย ท้องผูก หรือในกรณีร้ายแรงก็อาจเกิดอาการหายใจติดขัดได้
    • หากคุณสังเกตเห็นสัญญาณของปฏิกิริยาภูมิแพ้ใดๆ ให้รีบนำลูกไปพบกุมารแพทย์โดยทันที [7]
    • อาหารทั่วไปที่อาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ได้แก่ ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ข้าวสาลี นมวัว ข้าวโพด หรือไข่
    • ทำสมุดบันทึกอาหารเพื่อให้มีรายชื่อสิ่งที่ได้รับประทานลงไปที่ค่อนข้างแม่นยำ มันจะช่วยให้คุณค้นพบว่าอาหารอะไรที่คุณอาจแพ้
  3. ทารกน้อยของคุณอาจจะแค่ไม่ได้ชอบรสชาติที่อาหารบางชนิดมีรสค้างอยู่ในน้ำนม อาหารและเครื่องดื่มที่โดยธรรมชาติมีกลิ่นกับรสชาติที่รุนแรงสามารถถ่ายเทรสชาติเหล่านั้นไปสู่น้ำนมแม่ได้ ส่งผลให้ทารกไม่อยากจะดูดนมนั้น ให้ทำการบันทึกสิ่งที่คุณรับประทานกับเวลาที่ดูเหมือนว่าลูกมีปฏิกิริยาต่อต้านเพื่อดูว่าลูกไม่ชอบอาหารประเภทใด [8]
    • พยายามเก็บบันทึกอาหารเพื่อจะช่วยเตือนความจำว่าคุณรับประทานอะไร เมื่อไหร่ และอาหารประเภทใดที่น่าจะหยุดรับประทานไปก่อน
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

จำกัดอาหารบางประเภท

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การรับประทานอาหารรสร้อนแรงไม่ส่งผลอันตรายใดๆ ต่อทารกน้อยเวลาที่คุณให้นม อย่างไรก็ตาม รสชาติเผ็ดร้อนแรงของเครื่องเทศบางตัวอาจถ่ายไปยังน้ำนมและทำให้ทารกไม่ชอบเหมือนที่คุณชอบ ถ้าสังเกตเห็นว่าทารกโยเยหรือไม่ยอมดูดนมหลังจากคุณไปทานอะไรเผ็ดๆ มา ก็ให้ตัดเครื่องเทศตัวนั้นออกจากอาหารทั้งหมด [9] [10]
  2. ปลานั้นดีสำหรับนำมารับประทาน ช่วยเสริมกรดไขมันโอเมก้า–3 กับโปรตีน แต่ปลาบางชนิดก็มีสารปนเปื้อนปนอยู่ การทานปลาเหล่านี้จะทำให้สารปนเปื้อนอย่างสารปรอทหลุดเข้าสู่น้ำนมได้ เนื่องจากทารกจะไวต่อสารปนเปื้อนเหล่านี้อย่างสูง คุณควรที่จะหลีกเลี่ยงการทานปลาประเภทนี้ในปริมาณสูง [11]
    • ปลาชนิดหลักๆ ที่สมควรหลีกเลี่ยงได้แก่ ปลาไทล์ ปลาอินทรี และปลาฉนาก
    • ในแต่ละสัปดาห์อย่ารับประทานปลาเกิน 6 ออนซ์
    • สารปนเปื้อนเช่นสารปรอทสามารถส่งผลกระทบต่อระบบประสาทของทารกน้อย
  3. แม้ระดับที่พบในน้ำนมแม่จะไม่ถือกันว่ามีอันตรายต่อทารก กระนั้นพวกมันก็ยังส่งผลกระทบ ทารกที่บริโภคคาเฟอีนผ่านทางน้ำนมแม่อาจนอนหลับยากหรือมีอาการป่วน จำกัดปริมาณคาเฟอีนที่ดื่มในแต่ละวันเพื่อไม่ให้มันแพร่สู่น้ำนม [12]
    • อย่าดื่มกาแฟเกิน 2 ถึง 3 แก้วต่อวัน
  4. ผักบางอย่างสามารถทำให้เกิดอาการท้องเฟ้อ ถ้าคุณทานผักพวกนี้และให้นมบุตรด้วย มันอาจทำให้ทารกพาลท้องเฟ้อได้ด้วยเช่นกัน ให้สังเกตอาการการมีลมในกระเพาะอาหารมากเกินไปและพยายามหลีกเลี่ยงการทานผักต้นเหตุ จับตาดูผักที่ขึ้นชื่อว่าอาจทำให้ท้องเฟ้อดังนี้: [13] [14]
    • บร็อคโคลี่
    • ถั่วลันเตา
    • กะหล่ำปลี
    • กะหล่ำดอก
    • หมากฝรั่ง
    • หัวหอม
    • อาหารธัญพืช
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

เรียนรู้ว่าต้องรับประทานอะไร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การทานผักและผลไม้มากๆ เป็นวิธีที่จะพัฒนาสุขภาพของทั้งตัวคุณเองและคุณภาพของน้ำนม รับประทานผักผลไม้บางประเภทที่ให้ธาตุเหล็ก โปรตีน กับแคลเซียม [15] [16]
    • รับประทานผลไม้ราว 2 ถึง 4 หน่วยบริโภคทุกวัน
    • รับประทานผักราว 3 ถึง 5 หน่วยบริโภคทุกวัน
  2. ให้แน่ใจว่ามีโปรตีนเป็นส่วนสำคัญของอาหารที่ทาน. การได้รับโปรตีนในอาหารอย่างพอเพียงเป็นเรื่องสำคัญหากคุณกำลังให้นมบุตร คุณจำต้องแน่ใจว่าได้รับโปรตีนในปริมาณที่ถูกต้องทุกวันเพื่อทำให้ทารกได้อาหารที่สมดุลและดีต่อสุขภาพ [17]
    • ผลิตภัณฑ์จากนมอย่างเช่น น้ำนม โยเกิร์ต กับชีส อุดมทั้งโปรตีนและแคลเซียม
    • เนื้อไร้มัน เนื้อไก่ หรือปลาเป็นแหล่งอาหารสำคัญของโปรตีน
    • ถั่วตระกูลฝัก ถั่วเล็นทิล เมล็ดผัก และถั่วเป็นเมล็ด เป็นแหล่งโปรตีนสำคัญ
  3. การให้นมบุตรสามารถทำให้ผู้หญิงรู้สึกกระหายหรือขาดน้ำ เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องดื่มน้ำเพียงพอให้ร่างกายคงความชุ่มชื้น ดื่มน้ำจนไม่รู้สึกกระหาย โดยไม่เกิดความรู้สึกว่าเหมือนถูกบังคับให้ดื่มน้ำเกินพอดี [18]
    • โดยเฉลี่ยผู้หญิงควรดื่มน้ำราว 9 แก้ว (2.2 ลิตร) ต่อวัน ผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตรอาจต้องเพิ่มปริมาณให้สูงขึ้น
    • น้ำ น้ำผลไม้ ซุป และนมพร่องมันเนยล้วนเป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพในการสร้างความชุ่มชื้น
    • พยายามดื่มน้ำอย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน
    • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มผสมน้ำตาลอย่างน้ำอัดลมหรือน้ำผลไม้ที่เติมน้ำตาล
  4. คุณจำต้องรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสมระหว่างช่วงเวลาให้นมบุตร นอกเหนือจากการรับประทานอาหารในปริมาณที่พอเหมาะแก่การทำให้คุณยังคงมีสุขภาพดีแล้ว คุณยังต้องการแคลอรี่เพิ่มขึ้นมาพิเศษเพื่อให้มีพลังงานระหว่างการให้นมบุตร [19]
    • ในช่วง 6 เดือนแรกของทารกนั้น คุณจำต้องเพิ่มปริมาณแคลอรี่อีกราว 500 ถึง 600 แคลอรี่ต่อวัน
  5. เป็นที่แนะนำกันโดยทั่วไปว่าคุณต้องเพิ่มอาหารเสริมเข้าไปด้วย มันจะช่วยเพิ่มความมั่นใจว่าคุณได้สารอาหารครบถ้วนในระหว่างการให้นมบุตรและทำให้น้ำนมที่ผลิตได้เป็นน้ำนมที่ดีต่อสุขภาพที่สุด [20]
    • วิตามินบี12 นั้นสำคัญในการพัฒนาสมองของทารก
    • วิตามินดีนั้นจำเป็นต่อการสร้างกระดูกที่แข็งแรงและหลีกเลี่ยงอาการโรคกระดูกอ่อนในทารก
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • รับประทานอาหารที่สมดุลและดีต่อสุขภาพเพื่อให้ได้น้ำนมที่มีคุณภาพดีที่สุดสำหรับลูกของคุณ
  • หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์กับปลาบางชนิดที่อาจมีสารปรอทปนเปื้อน
  • สังเกตดูปฏิกิริยาของทารกเวลาดูดนมและเปลี่ยนชนิดอาหารถ้าคุณสังเกตเห็นอาการโยเย
  • ทำสมุดบันทึกอาหารเพื่อเรียนรู้ว่าต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
  • ปรึกษาแพทย์เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมในเรื่องอาหารกับการให้นมบุตร
โฆษณา

คำเตือน

  • ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ก่อนการให้นมบุตรเพราะแอลกอฮอล์จะถ่ายเทต่อไปยังเด็ก
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,160 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา