ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ไวรัส herpes simplex viruses (HSV-1 กับ HSV-2) นั้นเป็นไวรัสที่มีส่วนต่อการติดโรคเริม แม้ว่าพวกมันจะก่อให้เกิดแต่เพียงผื่นคันเล็กน้อย และพบได้บ่อยเป็นอย่างยิ่ง (คาดกันว่าผู้ใหญ่ 56% มีเชื้อไวรัส HSV-1, และ 16% มีเชื้อไวรัส HSV-2) แต่ไวรัสเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดความทุกข์มากมาย ทั้งการถูกเมินเฉย ตราเป็นมลทิน และความเชื่อในเรื่องสุขอนามัยทางเพศที่ล้าหลังไปเสียแล้ว [1] ถึงแม้แพทย์จะสามารถรักษาอาการ บรรเทาความเจ็บปวดและลดความเป็นไปได้ที่จะแพร่เชื้อลงได้ แต่มันไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยมันจะมีระยะพักตัวและเกิดขึ้นซ้ำใหม่ได้ทุกเวลาโดยอาจแสดงอาการออกมาหรือไม่ก็ได้ [2] มาหาดูว่าคุณเป็นโรคเริมหรือไม่โดยการตรวจสอบพฤติกรรมเสี่ยง จดจำอาการของโรคและเข้ารับการตรวจสอบ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

จดจำอาการของโรคเริม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไวรัสเริม หรือ Herpes Simplex Virus (HSV) มีอยู่สองชนิดคือ HSV-1 กับ HSV-2 ทั้งคู่สามารถพูดได้ว่าเป็นเชื้อเริมที่อวัยวะเพศได้ เพราะทั้งสองชนิดล้วนสามารถแพร่กระจายตรงอวัยวะเพศ อย่างไรก็ตาม พบว่าเชื้อ HSV-2 จะพบตรงอวัยวะเพศบ่อยกว่ามาก ส่วน HSV-1 จะพบมากบริเวณริมฝีปากกับปาก แต่มันก็สามารถแพร่กระจายผ่านทางการใช้ปากทำกิจกรรมทางเพศไม่ต่างจาก HSV-2 [3] มีวิธีรักษาอาการจากเชื้อทั้งสองชนิดนี้อย่างได้ผลเมื่อปรากฏอาการขึ้น ถึงแม้จะไม่สามารถรักษาจนหายขาดได้
    • การรักษาเป็นส่วนสำคัญของการจัดการกับโรค หากคุณไม่รักษาเริมตรงอวัยวะเพศ คุณอาจแพร่เชื้อนี้แก่ผู้อื่น (รวมไปถึงบุตรถ้าคุณตั้งครรภ์อยู่) เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ ลำไส้อักเสบ และในกรณีรุนแรง อาจถึงกับไขสันหลังอักเสบได้
  2. เฝ้าดูอาการประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากสัมผัสกับเชื้อเริม. มันอาจต้องใช้เวลากว่าที่จะปรากฏอาการแรกให้เห็น มันมักจะแย่กว่าอาการที่จะเกิดต่อมาในภายหลัง คุณอาจไม่รู้ตัวว่าได้สัมผัสเชื้อ ดังนั้นจึงควรใส่ใจในอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง สัญญาณของการติดเชื้อนั้นจะมีอาการเหมือนติดหวัดธรรมดา อาจมีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ความอยากอาหารลดลงและอ่อนเพลีย ไปพบแพทย์หากคุณคิดว่าตนอยู่ในระยะแสดงอาการของโรคเริม [4] [5]
    • สำหรับบางคนอาจเป็นเรื่องยากที่จะตระหนักว่าตนติดเชื้อเริม เพราะใช้เวลานานกว่าอาการจะปรากฏ หรือไม่ก็เกิดจากโรคแพร่กระจายผ่านคนที่ไม่ได้แสดงอาการของโรคเริมให้เห็นเด่นชัด
  3. หลังจากคุณมีเพศสัมพันธ์ ให้ใส่ใจกับอาการแดงหรือคันตรงอวัยวะเพศหรือรอบริมฝีปาก คุณอาจรู้สึกจั๊กจี้หรือร้อนผ่าวตรงบริเวณที่ติดเชื้อด้วย ไม่กี่วันต่อมาจะเห็นผื่นหรือตุ่มน้ำพองใสที่ผิว [6] คุณยังควรตระหนักในปัจจัยภายนอกที่อาจส่งผลต่อการแสดงอาการหลังติดเชื้อ ซึ่งนั่นรวมไปถึง: [7]
    • มีบาดแผล ความเครียด หรือมีประจำเดือน ทั้งหมดนี้สามารถหลั่งคอร์ติซอล อะดรีนาลีน และฮอร์โมนความเครียดอื่นๆ หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายให้ผันผวน ไม่ว่าจะแบบไหนก็ทำให้ร่างกายสู้กับเชื้อได้ด้อยลง ทำให้เชื้อเริมมีโอกาสเห่อให้เห็น
    • แสบร้อนและคันก่อนการเห่อ (รู้จักกันในชื่อ prodrome) ลดการคันและแสบร้อนลงเมื่อเชื้อเริมกำลังจะเห่อนั้นสามารถทำให้เห่อเร็วขึ้นการเกาเมื่อเชื้อเห่อขึ้นมาจะยิ่งทำให้เห่อหนักขึ้นและแพร่กระจายไวรัส
    • แสงแดดและไข่ การให้ผิวสัมผัสแดดและรังสีอัลตราไวโอเล็ตอาจทำให้ผิวระคายเคืองและเซลล์ใต้ผิวตกอยู่ในอันตราย เปิดโอกาสให้เชื้อเริมเห่อขึ้นได้ การมีไข้หรือเป็นหวัดทำให้ระบบภูมิคุ้มกันลดประสิทธิภาพลงจนไม่อาจกดอาการติดเชื้อไว้ได้ ซึ่งนำไปสู่การแสดงอาการเห่อ
  4. คุณอาจสังเกตเห็นตุ่มใสเล็กๆ (ตุ่มน้ำใสในเยื่อผิว) ปรากฏขึ้นประมาณ 6 ถึง 48 ชั่วโมงหลังเกิดอาการอื่นๆ ขึ้น [8] หากตุ่มน้ำนั้นแตกออกและกลายเป็นฝี คุณจะเห็นว่ามันเต็มไปด้วยของเหลวสีน้ำตาลอ่อน มองหาตุ่มน้ำใสนี้ที่ริมฝีปาก ปาก ตา ลิ้น และส่วนอื่นของร่างกาย คุณอาจรู้สึกคันยิบๆ ในจุดที่ต่อไปจะเกิดตุ่มน้ำ อย่างไรก็ดี คุณอาจไม่มีตุ่มน้ำใสหรือเกิดอาการขึ้นเลยก็ได้
    • ในผู้หญิง ตุ่มน้ำใสอาจปรากฏขึ้นตรงบริเวณแคม ช่องคลอด รูทวาร คอมดลูก บั้นท้าย และต้นขา ฝีมักจะบรรเทาลงได้ภายใน 7 ถึง 14 วัน
    • ในผู้ชาย ตุ่มน้ำใสมักปรากฏตรงถุงอัณฑะ อวัยวะเพศ บั้นท้าย และต้นขา
  5. ระหว่างการเห่อ ปัสสาวะแต่ละทีจะรู้สึกปวด หากคุณประสบปัญหานี้ตอนเห่อดังที่มีรายงานจากสุภาพสตรีบางคน ก็ต้องไปพบแพทย์ [9] ผู้หญิงควรสังเกตสารคัดหลั่งจากอวัยวะเพศที่ระบุเจาะจงไม่ได้ด้วย (สารตกขาวหรืออะไรก็ตามที่ไม่เป็นธรรมชาติและผิดปกติจากที่คุณเคยมี) มันอาจใส มีสีขาว หรือขาวขุ่นและอาจมีกลิ่น ถึงแม้ว่าตรงนี้อาจต่างกันไปในผู้หญิงแต่ละคน
    • โปรดตระหนักว่าสารคัดหลั่งจากอวัยวะเพศนั้นไม่ได้เป็นอาการที่จะยืนยันว่าเป็นเริม แต่เป็นไปได้ว่าอาการนี้เมื่อรวมกับอาการอื่นๆ จะช่วยวินิจฉัยโรคเริมได้ [10] [11]
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

เข้ารับการรักษาทางแพทย์และจัดการกับเริม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จำเป็นที่คุณต้องทราบว่าการตรวจสอบหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ตามปกตินั้นไม่ได้ตรวจหาเริมด้วย คุณจึงจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจหาเริมโดยเฉพาะ หากคุณอยู่ในช่วงอาการเห่อ แพทย์อาจให้มีการตรวจหาเชื้อโดยใช้ชุดทดสอบหาตัวอย่างนำไปทดสอบ การทดสอบเบื้องต้นอาจรวมถึงการทดสอบในห้องวิจัยและการใช้ภาพถ่ายก็ได้ [12] หากคุณไม่มีอาการเห่อ คุณก็รับการตรวจเลือดแทน อย่างไรก็ดี การทดสอบจะเห็นผลดีเมื่อทำหลังได้รับเชื้อเริม 3-4 เดือน เนื่องจากมันเป็นการตรวจสอบหาสารภูมิคุ้มกัน (ปฏิกิริยาที่ระบบภูมิต้านทานตอบสนองต่อการติดเชื้อ) [13]
    • ปกติแล้วการทดสอบจะทำผ่านการทดสอบโดยใช้เทคนิคปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรส (Polymerase Chain Reaction - PCR). โดยใช้ไม้ป้ายถูบริเวณผิวที่ผิดปกติ นำมาใส่ในของเหลวและส่งไปตรวจ จากนั้นโดยการใช้เทคนิคเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม ทำให้ชิ้นตัวอย่างถูกขยายมีปริมาณมากหลายเท่าเพื่อจะดูว่าผู้ป่วยเป็นโรคเริมหรือไม่
    • ในบางกรณี แพทย์อาจทำการตรวจสอบสารภูมิคุ้มกันที่ระบุเชื้อเริมโดยเฉพาะ การทดสอบนี้ใช้สารภูมิคุ้มกันในการกำหนดเป้าหมายและระบุได้ว่าเชื้อนั้นเป็นชนิด HSV-1 หรือ HSV-2 ปกติผู้ติดเชื้อราว 50% มักมีผลตรวจเป็นบวกภายใน 3 สัปดาห์หลังติดเชื้อ หากคุณได้รับเชื้อนานกว่า 16 สัปดาห์ การทดสอบแทบจะได้ผลเป็นบวกแน่ๆ
    • แพทย์ยังอาจให้ทำการทดสอบแผลด้วย PCR. โดยใช้ไม้ป้ายที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วมาปาดตรงท้องแผล ด้วยแรงกดที่มากพอจะเก็บตัวอย่างเซลล์ของเยื่อบุผิวโดยไม่ทำให้เลือดออก และเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งในตุ่มใส จากนั้นส่งไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการ
  2. หากผลตรวจโรคเริมของคุณเป็นบวก แพทย์จะสั่งจ่ายยาที่จะช่วยกดเชื้อไวรัสไม่ให้แสดงอาการ ยานี้จะช่วยลดความเสี่ยงที่เชื้อไวรัสเริมจะแพร่กระจายไปยังผู้อื่น ให้เริ่มรับการรักษาทันทีที่เป็นไปได้และทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ยาแอนตี้ไวรัสเริมได้แก่: [14]
    • อะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) นี่เป็นกลุ่มยาสำหรับแผลตรงอวัยวะเพศหรือแผลตรงริมฝีปากที่เกิดจากเชื้อเริม มันยังสามารถใช้รักษาอาการอักเสบในดวงตาที่มาจากโรคเริม อะไซโคลเวียร์นั้นถือว่าค่อนข้างปลอดภัยสำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร และยังใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นเด็ก
    • เพนซิโคลเวียร์ (Penciclovir) นี่เป็นครีมที่ใช้รักษาแผลในช่องปากเป็นส่วนใหญ่
    • วาลาไซโคลเวียร์ (Valacyclovir) นี่เป็นยาที่ใช้รักษาเริมตรงอวัยวะเพศที่เพิ่งเกิดหรือเกิดซ้ำ
    • ฟอสคาร์เน็ต (Foscarnet) ถือเป็นยากลุ่มสองและจะใช้เมื่อเชื้อเริ่มต้านยากลุ่มแรกอย่างอะไซโคลเวียร์ นี่สามารถเกิดขึ้นได้ในคนที่ภูมิคุ้มกันทางร่างกายบกพร่องจากการติดเชื้อเริมกระจายไปทั่วร่างกาย [15]
  3. จัดการโรคเริมโดยการควบคุมสถานการณ์ของตัวคุณเอง. อ่านบทความเรื่องเริมและเรียนรู้เรื่องไวรัสกับการติดเชื้อ ยิ่งคุณเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นในร่างกาย ก็ยิ่งรับมือกับมันได้ง่ายและป้องกันการแพร่กระจายได้ เริมนั้นเป็นโรคที่ได้รับการเก็บข้อมูลอย่างดีและมีการค้นคว้าวิจัยมากมาย และการรักษาให้หายขาดอาจกำลังใกล้เป็นจริงขึ้นมาก็ได้
    • แพทย์ยังอาจให้คำแนะนำและเสนอยารักษาตัวล่าสุดกับคุณก็ได้
  4. ใช้เวลาอธิบายให้คนรักทราบถึงอาการของคุณก่อนจะเริ่มทำสิ่งที่อาจทำให้ติดเชื้อเริม การพูดนี้อาจรวมไปกับการพูดเรื่องอนามัยเรื่องเพศก็ได้ จงระมัดระวังอย่าแพร่เชื้อออกไป ซึ่งมันอาจอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต เช่น เรียนรู้สัญญาณอาการเห่อตั้งแต่เนิ่นๆ และพิจารณาการมีเพศสัมพันธ์โดยหลีกเลี่ยงการสัมผัสจุดที่เกิดอาการโรค ใช้ถุงยางอนามัยในระหว่างที่อาการเห่อขึ้นมา [16]
    • หากคุณสัมผัสกับแผลเริม โดยเฉพาะในเวลาที่คุณเพิ่งถูกตรวจเจอใหม่ๆ ให้ล้างมือด้วยสบู่กับน้ำ ร่างกายของคุณยังไม่มีภูมิคุ้มกันไปอีกสองสามเดือน และคุณอาจเผลอแพร่เชื้อไปยังดวงตากับปากได้ หากคุณกำลังเจ็บคออยู่ อย่าไปจูบใครเข้าเชียว [17]
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ตรวจพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงสูง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พึงตระหนักว่าผู้คนมากมายที่มีเชื้อเริมตรงอวัยวะเพศดำเนินชีวิตโดยไม่มีอาการปรากฏให้เห็นได้เป็นระยะเวลานาน การใช้ปัจจัยความเสี่ยงสูงมาระบุความจำเป็นที่คุณต้องไปตรวจสอบสามารถช่วยป้องกันแต่เนิ่นๆ ได้ ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงที่คุณจะติดเริมได้แก่:
    • ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ระบบภูมิคุ้มกันที่บกพร่องในตัวมันเองไม่ได้ทำให้คุณเป็นเริม แต่มันทำให้ร่างกายของคุณปกป้องตนเองและต่อสู้กับเชื้อโรคหรือการระบาดได้ยากขึ้น อาการเจ็บป่วย อาการเครียด โรคเอดส์ มะเร็ง โรคเบาหวาน และกระทั่งความชราภาพ ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้คุณเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส HSV-1/HSV-2
    • โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก (รู้จักกันในชื่อ atopic dermatitis) โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังนั้นเป็นความผิดปกติทางผิวหนังในลักษณะผื่นคันที่พบเป็นปกติ แต่หากผิวหนังที่อักเสบติดเชื้อเริม มันจะกลายเป็นสภาพผิวที่รุนแรง
    • ความเสี่ยงในที่ทำงาน บางอาชีพที่ต้องเจอกับไวรัสอาจมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเริม เช่น งานทันตกรรมจะเสี่ยงติดเชื้อ HSV-1, ส่งผลให้เกิดติดเชื้อที่มือซึ่งสร้างความเจ็บปวดอย่างมาก [18]
  2. ถุงยางอนามัยช่วยลด แต่ไม่ได้กำจัดความเสี่ยง กิจกรรมทางเพศจะทำให้เสี่ยงต่อการติด HSV-2 กับ HSV-1 สูง แต่แม้กระทั่งการมีเพศสัมพันธ์แบบป้องกันก็ยังอาจแพร่เชื้อเริมได้ โดยเฉพาะในระหว่างอาการเห่อ แต่ต่อให้ไม่ปรากฏอาการก็ยังแพร่เชื้อได้ เริมจะแพร่กระจายไปตามร่องความชื้น (บริเวณเยื่อเมือก) ของผิว ดังนั้น บริเวณช่องปาก ทวารหนัก รูเปิดของอวัยวะเพศทั้งชายและหญิงจึงเสี่ยงจะติดโรคได้สูงกว่า โดยเชื้อจะส่งผ่านเมื่อผิวที่ติดเชื้อของคนหนึ่งไปสัมผัสกับบริเวณเยื่อเมือกของคนที่ไม่ได้ติดเชื้อ
    • ชนิดของการสัมผัสที่สามารถแพร่กระจายเชื้อเริมได้ง่ายได้แก่: การจูบ การร่วมเพศทางปาก การร่วมเพศทางทวารหนัก และการร่วมเพศทางช่องคลอด (หรือการผสมผสานทั้งหมดเหล่านี้เมื่อเซลล์เยื่อเมือกมาสัมผัสกัน)
  3. เนื่องจากเริมสามารถติดต่อทั้งทางปากและทางการสัมผัสอวัยวะเพศ โอกาสของการติดเริมจึงยิ่งเพิ่มขึ้นตามจำนวนคู่นอนที่คุณมี ยิ่งมีหลายคน ก็ยิ่งเสี่ยงติดเชื้อเริมที่อวัยวะเพศสูง [19]
    • อย่างไรก็ดี การติดเริมไม่ได้หมายความว่าใครสักคนจำเป็นต้องมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคน คุณอาจติดโรคจากคนๆ เดียวในครั้งเดียวก็ได้ อีกทั้งหลายคนยังติดเชื้อ HSV-1 ที่ปากตั้งแต่ตอนเรียนอนุบาล หรือจากการจูบญาติในตอนยังเด็กก็เป็นได้
  4. เข้าใจความเสี่ยงที่สูงขึ้นถ้าคุณเป็นผู้หญิง. ผู้หญิงเสี่ยงจะติดเริมเพราะมันติดต่อจากผู้ชายไปสู่ผู้หญิงได้ง่ายกว่าจากผู้หญิงไปสู่ผู้ชาย [20] ตัวอย่างเช่น ผู้หญิงมีอัตราส่วนการติดเชื้อ HSV-2 อยู่ 20.3% เมื่อเทียนกับอัตรา 10.6% ในผู้ชาย [21]

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Warren, T. (2014). The Updated Herpes Handbook. Portland: Portland Press.
  2. Domino, F. (n.d.). The 5-minute clinical consult standard 2015 (23rd ed.).
  3. Agabegi, S. (2013). Step-up to medicine (3rd ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer/Lippincott Williams & Wilkins.
  4. Domino, F. (n.d.). The 5-minute clinical consult standard 2015 (23rd ed.).
  5. Agabegi, S. (2013). Step-up to medicine (3rd ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer/Lippincott Williams & Wilkins.
  6. Domino, F. (n.d.). The 5-minute clinical consult standard 2015 (23rd ed.).
  7. Domino, F. (n.d.). The 5-minute clinical consult standard 2015 (23rd ed.).
  8. Domino, F. (n.d.). The 5-minute clinical consult standard 2015 (23rd ed.).
  9. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000857.htm

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,316 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม