ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อัตราการเต้นของหัวใจหรือชีพจร คือการวัดการเต้นของหัวใจต่อนาที หรือวัดว่าหัวใจต้องทำงานหนักเท่าไหร่ในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจขณะพักจะบอกถึงอัตราการเต้นของหัวใจต่ำสุด คือเมื่อร่างกายใกล้เข้าสู่ช่วงพักโดยสมบูรณ์ การทราบอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักจะช่วยให้คุณสามารถประเมินสุขภาพโดยรวมได้ และช่วยในการกำหนดชีพจรเป้าหมาย การลดอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวและอาการชักได้อย่างมาก

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ประเมินอัตราการเต้นของหัวใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนที่คุณจะเริ่มทำการลดอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก คุณจำเป็นต้องรู้ก่อนว่าจุดเริ่มต้นของคุณอยู่ตรงไหน วิธีการก็แค่วัดชีพจรและนับจำนวนชีพจร สามารถจับได้ที่หลอดเลือดแดงคาโรติด (บริเวณคอ) หรือที่ข้อมือ
  2. การจับชีพจรตรงหลอดเลือดแดงคาโรติด ทำได้โดยวางนิ้วชี้และนิ้วกลางเบาๆ บริเวณข้างลำคอ ข้างๆ หลอดลม กดเบาๆ จนเจอชีพจร ถ้าจะวัดค่าให้ได้แม่นยำที่สุด ให้นับจำนวนชีพจรใน 60 วินาที [2]
    • อีกวิธีหนึ่งคือนับจำนวนชีพจรใน 10 วินาที แล้วคูณด้วย 6 หรือนับ 15 วินาที แล้วคูณด้วย 4
    • การจับชีพจรตรงข้อมือ ให้หงายมือข้างหนึ่งขึ้น
    • ใช้มืออีกข้างจับโดยแตะปลายนิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง บริเวณใต้ฐานนิ้วหัวแม่มือจนเจอชีพจร
  3. เมื่อคุณรู้อัตราการเต้นของหัวใจขณะพักของตัวเองแล้ว คุณต้องหาว่ามันอยู่จุดไหนของระดับวัดสุขภาพ อัตราการเต้นของหัวใจขณะพักปกติควรอยู่ระหว่าง 60-100 ครั้งต่อนาที [3] แต่ค่าที่เกิน 90 จะถือว่าสูงแล้ว [4]
    • ถ้าอัตราการเต้นของหัวใจคุณต่ำกว่า 60 ครั้งต่อนาที และมีอาการเวียนศีรษะ หายใจลำบาก และสายตาแคบลง ควรไปให้แพทย์ตรวจ
    • อัตราการเต้นของหัวใจขณะพักของนักกีฬาที่ผ่านการฝึกความอดทนมาดี จะอยู่ระหว่าง 40-60 ครั้งต่อนาที [5] พวกเขาจะไม่มีอาการที่เป็นอันตรายอย่างเวียนศีรษะ
    • ลองวัดอีก 2-3 วันเพื่อหาค่าเฉลี่ย
  4. อัตราการเต้นของหัวใจขณะพักที่สูงจะไม่ทำให้เป็นอันตรายในทันที แต่อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพในระยะยาวได้ ในกรณีนี้คุณควรค่อยๆ ลดอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักโดยการออกกำลังกาย [6] แต่ถ้าชีพจรคุณต่ำมาก หรือหัวใจเต้นเร็วเป็นช่วงๆ โดยหาสาเหตุไม่ได้อยู่บ่อยๆ และยิ่งถ้ามีอาการเวียนศีรษะร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์ [7]
    • โดยปกติแล้ว ถ้ามีอัตราการเต้นของหัวใจสูงร่วมกับอาการอื่นๆ คุณควรไปพบแพทย์
    • หาสาเหตุหลักๆ เช่น ปริมาณการดื่มกาแฟ ก่อนจะไปพบแพทย์ [8]
    • แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณกำลังกินยาที่อาจส่งผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ เช่น กลุ่มยาปิดกั้นเบต้า (beta blockers)
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ออกกำลังกายเพื่อลดอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. วิธีที่ดีที่สุดที่จะค่อยๆ ลดอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักอย่างปลอดภัย คือการออกกำลังกายแบบแอโรบิกให้เป็นกิจวัตร ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) แนะนำว่าผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีควรออกกำลังกายแบบแอโรบิกระดับปานกลาง (เดินเร็ว) 150 นาทีต่อสัปดาห์ และฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ 2 วันต่อสัปดาห์ หรือมากกว่านั้น การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อควรได้ใช้กล้ามเนื้อหลักทุกกลุ่ม (ขา สะโพก หลัง หน้าท้อง อก ไหล่ และแขน) [9]
    • เพื่อหัวใจที่แข็งแรงขึ้น ควรตั้งเป้าออกกำลังกายระดับปานกลางถึงหนัก 40 นาที ให้ได้ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์
    • ควรออกกำลังกายแบบยืดเหยียดกล้ามเนื้อ และแบบยืดหยุ่นอย่างการเล่นโยคะด้วย
    • ลองทำควบคู่กับการออกกำลังกายเพื่อฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง [10]
  2. การจะกำหนดเป้าหมายของอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก คุณสามารถปรับกิจวัตรการออกกำลังกายเพื่อให้คุณตั้งเป้าอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายได้ ด้วยวิธีนี้ คุณจะหาระดับความเข้มข้นของการออกกำลังกายและการทำงานของหัวใจได้ และค่อยๆ เพิ่มมันเมื่อร่างกายคุณแข็งแรงขึ้น คุณต้องหาอัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจก่อน วิธีการที่ปลอดภัยเหล่านี้เป็นเพียงการประมาณค่า แต่มันจะทำให้คุณเห็นภาพรวมได้
    • วิธีหนึ่งที่ง่ายๆ คือแค่นำ 220 ไปลบอายุของคุณ [11]
    • ถ้าคุณอายุ 30 ปี อัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจคุณจะอยู่ที่ประมาณ 190 ครั้งต่อนาที
    • วิธีนี้จะใช้ได้แม่นยำกว่าสำหรับผู้ที่อายุไม่เกิน 40 ปี
    • อีกวิธีที่ซับซ้อนขึ้นเล็กน้อย คือนำอายุของคุณไปคูณ 0.7 และเอามาลบด้วย 208
    • ด้วยวิธีนี้ ผู้ที่อายุ 40 ปี จะมีอัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจอยู่ที่ 180 (208 - 0.7 x 40) [12]
  3. เมื่อรู้ค่าโดยประมาณของอัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจแล้ว คุณจะสามารถหาค่าเป้าหมายของอัตราการเต้นของหัวใจสำหรับการออกกำลังกายของคุณได้ การออกกำลังกายให้อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ในระหว่างค่าเป้าหมาย จะทำให้คุณรู้ว่าหัวใจทำงานหนักได้แค่ไหน และจัดแผนการออกกำลังกายได้ละเอียดขึ้น
  4. เฝ้าสังเกตอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกาย. การจะสังเกตอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกาย ทำได้โดยจับชีพจรที่ข้อมือหรือคอ นับจำนวนครั้งใน 15 วินาที และคูณด้วย 4 ถ้ากำลังออกกำลังกาย คุณต้องรักษาอัตราการเต้นของหัวใจให้อยู่ระหว่าง 50-85 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นสูงสุดของคุณ ถ้ามันลดลง ลองเพิ่มระดับความเข้มข้นขึ้น [16]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

เปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ออกกำลังกายควบคู่กับการกินอาหารที่มีประโยชน์. การมีน้ำหนักตัวมากเกินจะทำให้หัวใจของคุณทำงานหนักขึ้นในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ถ้าคุณมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ การออกกำลังกายอย่างเคร่งครัดและการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพจะช่วยลดน้ำหนักและบรรเทาความตึงเครียดของกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งจะเป็นการลดอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก [18]
  2. ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักที่สูงกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ และยังเป็นอันตรายต่อร่างกายด้วย การลดหรือเลิกบุหรี่จะช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ และทำให้สุขภาพหัวใจดีขึ้น [19]
    • สารนิโคตินจะทำให้เส้นเลือดตีบ เป็นอันตรายต่อกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด การเลิกสูบบุหรี่สามารถทำให้ความดันโลหิต การไหลเวียน และสุขภาพโดยรวมดีขึ้นได้อย่างมาก ทั้งยังลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งและมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจอีกด้วย
  3. เป็นที่รู้กันดีว่าสารคาเฟอีนและผลิตภัณฑ์ที่มีคาเฟอีนอย่างกาแฟและชา จะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น [20] ถ้าคุณคิดว่าตัวเองมีอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักค่อนข้างสูง การลดปริมาณการบริโภคคาเฟอีนจะช่วยทำให้มันต่ำลงได้ [21]
    • การดื่มกาแฟเกินสองแก้วต่อวันจะทำให้เกิดผลข้างเคียงหลายอย่าง รวมถึงเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจด้วย [22]
    • เครื่องดื่มที่สกัดคาเฟอีนออกแล้ว (Decaffeinated drinks) สามารถช่วยคุณลดปริมาณคาเฟอีนที่บริโภคได้
  4. การดื่มแอลกอฮอล์จะสัมพันธ์กับอัตราการเต้นของหัวใจที่เพิ่มขึ้น และค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจที่สูงขึ้น การลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์จะช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก [23]
  5. การลดความเครียดที่ต้องเจอไม่ใช่เรื่องง่าย แต่มันสามารถช่วยคุณลดอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักได้ หากมีความเครียดมากจะส่งผลเสียต่อร่างกายของคุณ ลองทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลาย เช่น ฝึกสมาธิ หรือฝึกไทชิ [24] พยายามหาเวลาเล็กน้อยในแต่ละวันเพื่อผ่อนคลายและหายใจลึกๆ
    • แต่ละคนชอบไม่เหมือนกัน ควรหาอะไรที่ทำให้คุณผ่อนคลายได้
    • บางทีอาจจะเป็นการฟังเพลงที่ช่วยให้ใจสงบ หรือการแช่น้ำนานๆ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ยาบางชนิดอาจเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก เช่นเดียวกับคาเฟอีนและนิโคติน แพทย์จะสามารถประเมินระหว่างผลกระทบกับประโยชน์ของยาได้ดีที่สุด
  • ปรึกษาแพทย์ถึงสุขภาพโดยรวมของคุณ อัตราการเต้นของหัวใจขณะพักเป็นเพียงตัววัดสุขภาพหัวใจ แพทย์อาจจะแนะนำให้ทำการทดสอบเพิ่มเติม
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • นาฬิกาที่มีเข็มวินาที หรือนาฬิกาจับเวลา
  1. http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/HighBloodPressure/PreventionTreatmentofHighBloodPressure/Physical-Activity-and-Blood-Pressure_UCM_301882_Article.jsp
  2. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/fitness/in-depth/exercise-intensity/art-20046887?pg=2
  3. http://www.webmd.com/fitness-exercise/the-truth-about-heart-rate-and-exercise?page=3
  4. http://www.heart.org/HEARTORG/HealthyLiving/PhysicalActivity/FitnessBasics/Target-Heart-Rates_UCM_434341_Article.jsp#.Vt47mY-cHIUShow less
  5. http://www.heart.org/HEARTORG/GettingHealthy/PhysicalActivity/FitnessBasics/Target-Heart-Rates_UCM_434341_Article.jsp
  6. http://www.heart.org/HEARTORG/HealthyLiving/PhysicalActivity/FitnessBasics/Target-Heart-Rates_UCM_434341_Article.jsp#.Vt47mY-cHIUShow less
  7. http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/HighBloodPressure/PreventionTreatmentofHighBloodPressure/Physical-Activity-and-Blood-Pressure_UCM_301882_Article.jsp
  8. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/fitness/in-depth/exercise-intensity/art-20046887?pg=2
  9. http://www.health.harvard.edu/blog/increase-in-resting-heart-rate-is-a-signal-worth-watching-201112214013
  10. http://www.health.harvard.edu/blog/increase-in-resting-heart-rate-is-a-signal-worth-watching-201112214013
  11. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15730434
  12. http://www.vacardio.com/for-patients/blog/fast-heart-rate-when-to-worry/
  13. http://www.uhs.umich.edu/caffeine
  14. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1767471/
  15. http://www.health.harvard.edu/blog/increase-in-resting-heart-rate-is-a-signal-worth-watching-201112214013

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 8,635 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา