ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ตับของเราเป็นอวัยวะที่เฉพาะตัวมากๆ ถือเป็นอวัยวะภายในที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และเป็นหนึ่งในไม่กี่อวัยวะภายในที่ฟื้นตัวได้จำกัด [1] ตับมีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง ตั้งแต่ขับพิษและของเสีย ไปจนถึงช่วยเรื่องการย่อย ถ้าตับทำงานหนักเกินไปก็มีล้าได้เหมือนกัน การที่เอนไซม์ตับเพิ่มสูงขึ้น เป็นสัญญาณว่าคุณใช้งานตับหนักเกินไป แต่ก็แก้ได้ง่ายๆ โดยเปลี่ยนอาหารการกิน เพื่อให้ระดับเอนไซม์ของตับกลับมาเป็นปกติ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

สังเกตอาการโรคตับ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. [2] ตับช่วยทั้งเรื่องการทำงานของต่อมและระบบอวัยวะภายในต่างๆ คอยป้องกันร่างกายโดย detox หรือขับฮอร์โมนส์ ยา และโมเลกุลชีวภาพต่างๆ ที่ร่างกายไม่ได้ผลิต นอกจากนี้ตับยังสังเคราะห์คอเลสเตอรอลและโปรตีนต่างๆ ที่อาจอุดตันหรืออักเสบด้วย ตับช่วยกักเก็บวิตามิน แร่ธาตุ และน้ำตาล ในขณะที่กำจัดแบคทีเรียออกไป
    • ตับนั้นมีบทบาทในหลายๆ การทำงานสำคัญของร่างกาย เพราะงั้นก็อาจถูกใช้งานหนักเกินไปจนล้าหรือตับพังได้เหมือนกัน
    • เลยสำคัญมากว่าต้องลดระดับเอนไซม์ ฟื้นฟูตับที่ทำงานหนักเกินพิกัด ให้กลับมาแข็งแรงสมบูรณ์ตามเดิม แบบนี้ถึงจะแน่ใจได้ว่าตับจะทำงานเต็มประสิทธิภาพต่อไป
  2. ศึกษาหาความรู้ว่าอะไรทำตับล้าตับพังได้บ้าง. ส่วนหนึ่งก็เพราะตับมีหน้าที่สำคัญมากมายหลายอย่าง เลยเสี่ยงเกิดหลายโรคตามมา ต่อไปนี้คือบรรดาโรคต่างๆ ที่ทำให้ระดับเอนไซม์ของตับพุ่งสูงขึ้นได้ [3]
    • โรคตับคั่งไขมันที่มีภาวะตับอักเสบ (Non-Alcoholic Steatohepatitis (NASH)) หรือไขมันสะสมคั่งในตับ (Non-alcoholic fatty liver disease (NAFLD)) - ไขมันอย่างไตรกลีเซอไรด์ (triglycerides) และคอเลสเตอรอล จะสะสมในตับได้
    • โรคไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis viruses) - ไวรัสตับอักเสบ A, B, C, D และ E ต่างก็มีสาเหตุแตกต่างกันไป แต่ไม่ว่าชนิดไหนก็อันตรายต่อตับทั้งนั้น
    • การติดเชื้ออื่นๆ ที่ส่งผลต่อตับก็เช่น โรคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอสิส (mononucleosis), อดีโนไวรัส (adenoviruses) และโรคติดเชื้อไซโตเมกาโลไวรัส (cytomegalovirus) นอกจากนี้ถ้าเห็บกัดหรือมีปรสิต ก็ทำให้เกิดโรคร้ายแรงอย่าง Rocky Mountain Spotted Fever และ toxoplasmosis ได้ด้วย
    • มะเร็งที่พัฒนามาจากการติดเชื้อไวรัสหรือภาวะตับแข็ง
    • โรคตับอักเสบจากแอลกอฮอล์
    • ดีซ่าน
    • ตับแข็งหรือแผลเป็นในตับขั้นรุนแรง
  3. อย่างที่รู้ว่าตับมีหลายหน้าที่เหลือเกิน เลยทำให้ไม่มีอาการที่ฟันธงโรคตับได้แน่ชัด โชคดีที่แต่ละโรคที่เกิดกับตับจะมีอาการเฉพาะตัวและอาการร่วมกัน ถ้าพบอาการต่อไปนี้ แนะนำให้ไปตรวจสุขภาพกับคุณหมอโดยเร็วจะดีที่สุด [4]
    • ตัวเหลือง ตาเหลือง น่าจะเกิดจากดีซ่าน
    • ปวดท้อง ท้องโต
    • ขาและข้อเท้าบวม
    • คันตามตัว
    • ฉี่สีเหลืองเข้มหรือออกแดง
    • อึสีซีดหรือมีเลือดปน หรืออึเหนียวเหมือนยางมะตอย
    • อ่อนเพลียเรื้อรัง
    • คลื่นไส้หรืออาเจียน
    • ไม่ค่อยอยากอาหาร
    • น้ำหนักลด
    • ปากแห้ง หิวน้ำบ่อย
    • ฟกช้ำง่าย
  4. ไปตรวจร่างกายกับคุณหมอ คุณหมอจะนำผลไปวินิจฉัยรวมกับประวัติสุขภาพของคุณ และลักษณะอาการที่คุณบอกเล่า คุณหมออาจจะขอเจาะเลือดไปตรวจการทำงานของตับ (Liver Function Test (LFT)) ร่วมด้วย LFT ใช้วัดระดับของเอนไซม์และโปรตีนต่างๆ ของตับ หลังจากนี้คุณหมอจะนำไปวินิจฉัยโรคต่อไป การตรวจเอนไซม์ที่ว่าก็เช่น [5]
    • AST (Aspartate aminotransferase): ตรวจวัดระดับ AST เพื่อเช็คว่ามีแนวโน้มเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังหรือเฉียบพลันหรือเปล่า [6]
    • ALT (Alanine aminotransferase): ALT ใช้ตรวจหาหรือติดตามระยะของโรคตับอักเสบและอาการบาดเจ็บที่ตับ [7] คนที่ค่านี้สูงๆ ก็เช่น ติดเหล้า เป็นไวรัสตับอักเสบ และเบาหวาน
    • หาสัดส่วนระหว่างค่า AST/ALT จะได้รู้ว่าโรคตับเกิดเพราะติดเชื้อ อักเสบ หรือแอลกอฮอล์ [8]
    • ALP (Alkaline phosphatase): ใช้หาโรคกระดูก โรคตับ และโรคถุงน้ำดี [9]
    • GGT (Gamma-glutamyl transferase): ถ้าตรวจร่วมกับ ALP จะรู้ได้ว่าเป็นโรคตับหรือกระดูก GGT นั้นยังใช้เช็คประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ด้วย เพราะจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 75% ในคนที่ติดสุราเรื้อรัง [10]
    • LD (Lactic dehydrogenase): LD (บางทีก็เรียก LDH) จะใช้วินิจฉัยร่วมกับค่า LFT อื่นๆ เพื่อติดตามผลการรักษาโรคตับและอื่นๆ คนที่ค่าสูงๆ มักเป็นโรคต่างๆ เกี่ยวกับตับ โลหิตจาง โรคไต และอาการติดเชื้อ [11]
  5. ถ้าคุณเคยเป็นโรคตับ ก็ต้องเช็คตับทุกเดือนหรือทุก 6 - 8 อาทิตย์ โดยติดตามผลให้ดีๆ ถ้าผลแล็บมีค่าลดลงต่อเนื่องในระยะเวลา 6 - 12 เดือน แสดงว่าดูแลตับได้ผลดี ถ้าใช้อาหารเสริมไหนอยู่ต้องแจ้งให้คุณหมอประจำตัวทราบเสมอ รวมถึงถ้าลักษณะอาการเปลี่ยนแปลงไป
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ปรับเปลี่ยนอาหารการกิน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ผักใบเขียวมีวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารอื่นๆ สูง ซึ่งดีต่อการทำงานของตับตรงที่ช่วยลดการสะสมของไขมันในตับได้ [12] ผักใบเขียวที่ว่าก็เช่น ปวยเล้ง/ผักโขม คะน้า หัวบีท หัวผักกาด ผักกาดเขียวปลี เคล ผักตระกูลกะหล่ำปลี (กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี บร็อคโคลี กะหล่ำดาว) สวิสชาร์ด ใบแดนดิไลออน ผักกาดหอม และผักสลัดทั้งหลาย
  2. หัวบีทอย่างเดียวช่วยลดเอนไซม์ของตับไม่ได้ แต่จะมี "flavonoids" สูง ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเรื่องการทำงานของตับ [13] [14] อะโวคาโดก็มีประโยชน์ เพราะมีวิตามินอีสูง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติ ทั้งอะโวคาโดและวอลนัทมีตัวตั้งต้นของสารต้านอนุมูลอิสระหลักในร่างกาย อย่างกลูตาไธโอน (glutathione) นั่นเอง [15]
    • นอกจากนี้วอลนัทยังเป็นแหล่งกรดไขมันโอเมกา-3 ชั้นดี ที่ช่วยลดการอักเสบของตับได้
    • ถั่วอื่นๆ เช่น วอลนัท ถั่วบราซิล ถั่วพีแคน และอัลมอนด์ ก็มีวิตามินบีและแร่ธาตุสูงเช่นกัน
  3. ร่างกายต้องได้รับไฟเบอร์ (กากใย) วันละ 35 – 50 กรัม. อาหารที่ไฟเบอร์สูงจะช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายดูดซึมคอเลสเตอรอล พอลดปริมาณคอเลสเตอรอลที่ตับต้องจัดการแล้ว เอนไซม์ของตับก็จะลดลง ตับแข็งแรงสุขภาพดีขึ้น [16] นอกจากนี้ไฟเบอร์ยังช่วยเพิ่มการหลั่งน้ำดีของตับ ทำให้ย่อยไขมันได้ดีขึ้น และป้องกันโรคตับต่างๆ อาหารที่ไฟเบอร์สูงก็เช่น [17]
    • ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี ข้าวโพด และรำข้าว
    • ถั่วฝัก (ถั่วลิมา ถั่วแดงญี่ปุ่น ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วคิดนีย์ ถั่วขาว ถั่วเนวี และถั่วปินโต) ถั่วเลนทิล (แดง น้ำตาล และเหลือง) รวมถึงถั่วเมล็ดกลม (peas)
    • ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ (ราสเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ สตรอว์เบอร์รี่ แบล็กเบอร์รี่ โลแกนเบอร์รี่ กูสเบอร์รี่ บอยเซนเบอร์รี่ และแซลมอนเบอร์รี่)
    • โฮลเกรนหรือธัญพืชเต็มเมล็ด (ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวโพด ข้าวไรย์ ข้าวเทฟ ข้าวบัควีท ข้าวกล้อง)
    • ผักใบเขียว (ใบเทอร์นิพ มัสตาร์ด คะน้า บีท สวิสชาร์ด เคล และปวยเล้ง/ผักโขม)
    • ถั่วเปลือกแข็ง หรือ nuts (อัลมอนด์ พิสทาชิโอ มะม่วงหิมพานต์ และวอลนัท) รวมถึงเมล็ดพืชต่างๆ (งา เมล็ดฟักทอง เมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดทานตะวัน)
    • ผลไม้ต่างๆ (โดยเฉพาะที่กินทั้งเปลือก เช่น ลูกแพร์ แอปเปิ้ล พรุน พลัม พีช และแอพริคอต)
  4. วิตามินซีช่วยเรื่องซ่อมแซมเนื้อเยื่อและรักษาแผล ถ้ากินผลไม้หรือดื่มน้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว จะช่วยฟื้นฟูตับ ปรับระดับเอนไซม์ของตับกลับมาปกติ นอกจากนี้ผลไม้รสเปรี้ยวยังขึ้นชื่อเรื่องลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งตับด้วย [18] พยายามกินส้ม เกรปฟรุต เลมอน และมะนาวร่วมกับอาหารประจำวัน ส่วนใครชอบดื่มน้ำผลไม้ ก็ต้องเลือกที่มีการ fortify เพิ่มวิตามินซีเข้าไปด้วย
  5. ผักตระกูลกะหล่ำ หรือ "cruciferous vegetables" นั้นขึ้นชื่อเรื่องช่วยปรับสมดุลการสร้างเอนไซม์ดีท็อกซ์ตับ ซึ่ง "เอนไซม์ดีท็อกซ์ระดับ 2" นี้จะไปยับยั้งสารก่อมะเร็งในร่างกาย ผักตระกูลนี้อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ สารต้านอนุมูลอิสระ และไฟเบอร์เลย [19]
    • บร็อคโคลี่
    • กะหล่ำดาว
    • กะหล่ำดอก
    • แรดิช
    • ฮอร์สแรดิช
    • รูทาบากา (rutabaga) และเทอร์นิพ (turnip)
    • วาซาบิ
    • ผักสลัดน้ำ (watercress)
  6. ปรึกษาคุณหมอเรื่องปริมาณโปรตีนที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน. [20] โปรตีนนี่แหละกุญแจสำคัญสู่การซ่อมแซมและฟื้นฟูร่างกาย เพราะงั้นคุณอาจคิดว่าต้องเพิ่มโปรตีนเพื่อรักษาตับ แต่อย่าลืมว่าตับเป็นอวัยวะที่ต้องจัดการกับโปรตีน ถ้าโปรตีนมากไป ตับจะทำงานหนักกว่าเดิมได้ ระดับเอนไซม์ก็จะสูงขึ้นด้วย
    • ปรึกษาคุณหมอและ/หรือนักโภชนาการว่าคุณควรได้รับโปรตีนในแต่ละวันมากแค่ไหน จะได้รู้ตารางอาหารหรือปริมาณที่แนะนำตามความเหมาะสม
  7. ดื่มน้ำให้พอ ตับจะได้ขับของเสียและสารพิษได้ดีมีประสิทธิภาพ ไม่ล้าหรือพังเร็ว [21] แนะนำให้ดื่มน้ำวันละ 10 แก้ว (แก้วละ 8 ออนซ์) เวลาที่แนะนำให้ดื่มน้ำก็เช่น [22]
    • ตื่นนอน
    • ก่อนและระหว่างกินข้าว
    • ก่อนและหลังออกกำลังกายหรือออกแรง
    • ก่อนนอน
  8. [23] อาหารดีมีประโยชน์ช่วยให้ตับทำงานเต็มประสิทธิภาพ ส่วนอาหารไม่มีประโยชน์ก็ทำร้ายตับ อาหารที่ว่าก็เช่น อาหารที่ไขมันสูง หรืออาหารที่มัน เค็ม หวานมากไป พวกนี้เป็นภาระหนักตับทั้งนั้น ถ้าปกติเอนไซม์ตับของคุณสูงอยู่แล้ว ก็ยิ่งต้องรีบพักตับโดยด่วน โดยหลีกเลี่ยงอาหารต่อไปนี้เพื่อปรับระดับเอนไซม์ของตับให้สมดุล
    • อาหารไขมันสูง เช่น เนื้อแกะ เนื้อวัว หนังไก่ อาหารที่ปรุงด้วยเนยขาวหรือน้ำมันหมู และน้ำมันพืช [24]
    • อาหารเค็มๆ เช่น อาหารแปรรูปหรือสำเร็จรูปส่วนใหญ่ ขนมขบเคี้ยวต่างๆ เช่น มันฝรั่ง ขนมถุง ไปจนถึงอาหารกระป๋อง
    • อาหารหวานๆ เช่น เค้ก พาย และคุกกี้
    • อาหารทอดๆ
    • สัตว์น้ำเปลือกแข็งดิบๆ หรือกึ่งสุกกึ่งดิบ (เพราะอาจมีสารพิษที่อันตรายต่อตับ)
    • แอลกอฮอล์ (ถึงจะไม่ใช่อาหารก็เถอะ) ก็ต้องหลีกเลี่ยงให้มากที่สุด โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคตับอยู่แล้ว
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ใช้อาหารเสริมและสมุนไพร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีสมุนไพรหลายชนิดที่คนนิยมใช้บำรุงตับกันมานาน ถึงจะยังไม่ค่อยมีหลักฐานงานวิจัยรับรองให้แน่ชัด ว่าสมุนไพรพวกนี้ออกฤทธิ์หรือทำงานยังไง แต่ก็มักเป็นสูตรที่ใช้ต่อๆ กันมานาน หลายคนก็ว่าได้ผลและปลอดภัยดี ส่วนใหญ่จะเป็นการนำสมุนไพรพวกนี้ไปชงชาหรือทำน้ำสมุนไพรดื่ม โดยที่ไม่ระบุขนานชัดเจน ต้องอ้างอิงจากผู้ผลิตหรือปรึกษาคุณหมอเรื่องปริมาณที่เหมาะสมอีกที ปริมาณที่แนะนำต่อไปนี้แค่คร่าวๆ เท่านั้น
    • Milk thistle: เขาวิจัยกันมาแล้วว่าช่วยเรื่องโรคตับจากแอลกอฮอล์มากที่สุด รวมถึงโรคตับแข็ง และตับอักเสบ ปริมาณที่แนะนำต่อวันคือ 160 - 480 มก.
    • อึ่งคี้/ปักคี้ (Astragalus): [25] ปริมาณสารสกัดที่แนะนำคือ 20 – 500 มก. 3 - 4 ครั้งต่อวัน
    • รากแดนดิไลออน (Dandelion/Taraxacum): ช่วยลดคอเลสเตอรอล ให้ตับไม่ต้องรับภาระทำงานหนัก โดยดื่มชารากแดนดิไลออน 2 - 4 ถ้วยต่อวัน ถ้าเป็นรากก็ต้อง 2 - 4 กรัมต่อวัน [26]
    • สมุนไพรรวม: เดี๋ยวนี้มีขายทั่วไปมากมายหลายสูตร แต่ส่วนใหญ่จะยังไม่ได้รับการทดสอบทางคลินิก ตัวอย่างสมุนไพรรวมพวกนี้ก็เช่น Liver Detoxifier and Regenerator ของ NOW, Gaia Herbs Deep Liver Support และ Wild Harvest Milk Thistle Dandelion ของ Oregon
    • ชาเขียว: ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคตับ แต่บางคนก็กินแล้วมีปัญหาตับมากกว่าเดิม แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอประจำตัวก่อนกินจะดีที่สุด ปริมาณที่แนะนำตามปกติคือชาเขียว 2 - 4 ถ้วย เพราะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคตับได้ [27]
  2. นอกจากเป็นสมุนไพรรสดีแล้ว ยังช่วยบำรุงตับให้แข็งแรงยิ่งขึ้น อาจจะปรุงรสอาหารด้วย 2 อย่างนี้ ขอให้ได้อย่างน้อยวันละ 1 อย่างก็ยังดี
    • กระเทียมช่วยป้องกันมะเร็งตับและโรคหัวใจได้ด้วย แถมช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
    • ขมิ้นมีสรรพคุณต้านการอักเสบ เลยทำให้ตับแข็งแรงขึ้นได้โดยลดการอักเสบที่เป็นสาเหตุของโรคตับอักเสบ NASH มะเร็งตับ และตับแข็ง
  3. จริงๆ แล้วก็มีอาหารหลายชนิดช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระให้ร่างกายได้ แต่ถ้ากินอาหารเสริมก็ยิ่งเข้มข้น กรดอัลฟาไลโปอิก (Alpha-Lipoic acid (ALA)) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่เขาค้นคว้าวิจัยถึงผลที่มีต่อโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคตับ แล้วพบว่าช่วยให้ตับย่อยน้ำตาลได้ดีขึ้น และช่วยป้องกันโรคตับที่เกิดจากแอลกอฮอล์ ปริมาณที่แนะนำตามปกติคือ 100 มก. 3 ครั้งต่อวัน [28] [29] ส่วน N-acetyl cysteine (NAC) จะทำหน้าที่เป็นตัวตั้งต้นของกลูตาไธโอน (glutathione) อันเป็นสารต้านอนุมูลอิสระหลักของร่างกาย ปริมาณที่แนะนำตามปกติ ใช้แล้วดีต่อตับ คือ 200 – 250 มก. วันละ 2 ครั้ง
    • ALA (กรดอัลฟาไลโปอิค) อาจมีผลกับยาเบาหวานได้ เพราะงั้นต้องปรึกษาคุณหมอประจำตัวก่อน ถึงปริมาณที่เหมาะสม จะปลอดภัยที่สุด
    • มีผู้ป่วยบางเคสที่ใช้ NAC ปริมาณมากแล้วทำให้เอนไซม์ของตับเพิ่มสูงขึ้นแทน [30]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • แนะนำให้ตรวจการทำงานของตับทุก 6 เดือน หรือตามที่คุณหมอแนะนำ จนกว่าเอนไซม์ตับจะอยู่ในระดับที่เหมาะสม
โฆษณา

คำเตือน

  • ใครเอนไซม์ตับสูง ไม่ควรกินยา statin ลดไขมันในเลือด แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอเรื่องยาที่ใช้อยู่ จะได้แน่ใจว่าไม่มียากลุ่มนี้ปนอยู่
โฆษณา
  1. https://labtestsonline.org/understanding/analytes/ggt/tab/test/
  2. https://labtestsonline.org/understanding/analytes/ldh/tab/test/
  3. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24192144
  4. http://www.hindawi.com/journals/omcl/2012/165127/
  5. Xiao J, Högger P., Metabolism of dietary flavonoids in liver microsomes. Curr Drug Metab. 2013 May;14(4):381-91.
  6. http://www.sciencedaily.com/releases/2000/12/001219074822.htm
  7. http://healthyeating.sfgate.com/foods-eat-good-liver-health-4150.html
  8. http://www.todaysdietitian.com/newarchives/063008p28.shtml
  9. http://www.sciencedaily.com/releases/2015/01/150119082958.htm
  10. http://www.cancer.gov/about-cancer/causes-prevention/risk/diet/cruciferous-vegetables-fact-sheet
  11. http://www.liversupport.com/influencing-liver-disease-with-diet/
  12. http://www.dailymail.co.uk/health/article-116157/Love-liver.html
  13. http://www.liversupport.com/for-your-livers-sake-the-best-times-to-drink-water/
  14. http://www.liverfoundation.org/education/liverlowdown/ll0813/healthyfoods/
  15. http://nutritiondata.self.com/foods-000015000000000000000-w.html
  16. Zhang, B. Z., Ding, F., and Tan, L. W. [Clinical and experimental study on yi-gan-ning granule in treating chronic hepatitis B]. Zhongguo Zhong Xi Yi Jie He Za Zhi 1993;13(10):597-9, 580.
  17. Sannia, A. [Phytotherapy with a mixture of dry extracts with hepato-protective effects containing artichoke leaves in the management of functional dyspepsia symptoms]. Minerva Gastroenterol Dietol. 2010;56(2):93-99.
  18. http://www.medscape.com/viewarticle/578882
  19. Podymova S. D., Davletshina I. V. [Efficacy of using alpha-lipoic acid (berlition) in patients with nonalcoholic steatohepatitis]. Eksp Klin Gastroenterol 2008;(5):77-84.
  20. Schimmelpfennig W, Renger F, Wack R, and et al. [Results of a prospective double-blind study with alpha-lipoic acid against placebo in alcoholic liver damage] (Ergebnisse einer prospektiven Doppelblindstudie mit Alpha-Liponsäure gegen Plazebo bei alkoholischen Leberschäden). Dtsch Gesundheitswes 1983;38(18):690-693.
  21. Badawy, A. H., Abdel Aal, S. F., and Samour, S. A. Liver injury associated with N-acetylcysteine administration. J Egypt.Soc Parasitol. 1989;19(2):563-571.

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,851 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา