ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าลดไขมันส่วนเกินได้ทั้งตัว จะทำให้แข็งแรงสุขภาพดีขึ้นอีกเยอะ ปกติไขมันก็จำเป็นต่อระบบการทำงานของร่างกาย แต่ถ้าพอกพูนเยอะเกินไประวังโรคภัยจะถามหา เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (sleep apnea) ความดันสูง และโรคหัวใจ รวมถึงหลอดเลือดอุดตัน [1] ถึงเวลาลุกขึ้นมาเปลี่ยนอาหารการกินและวิถีชีวิต รวมถึงออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะได้ขจัดไขมันส่วนเกินของร่างกาย และลดความเสี่ยงการเกิดโรคภัย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ปรับเปลี่ยนอาหาร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เพราะลดทั้งน้ำหนักและไขมันส่วนเกิน [2] ให้คุณบันทึกแคลอรี่ที่กินไปในแต่ละวัน แล้วค่อยลดลงวันละ 500 แคลอรี่ จะทำให้ลดน้ำหนักได้ 0.5 – 1 กก. ใน 1 อาทิตย์ [3]
    • เช็คว่าตอนนี้แต่ละวันกินเข้าไปกี่แคลอรี่ จะใช้สมุดบันทึก แอพในมือถือ หรือเว็บคำนวณแคลอรี่ก็ได้ จากนั้นลดลง 500 แคลอรี่ นี่คือแคลอรี่ที่แนะนำในการลดไขมันส่วนเกินแบบช้าแต่ปลอดภัย
    • ห้ามใช้วิธีไดเอทแบบกินแคลอรี่น้อยจนน่ากลัว เช่น กินน้อยกว่า 1,200 แคลอรี่ต่อวัน เพราะถ้าแคลอรี่ไม่เพียงพอ ร่างกายจะกักตุนไขมัน ทำให้น้ำหนักไม่ลดแถมเสียมวลกล้ามเนื้ออีกต่างหาก [4]
    • ทางที่ดีให้ปรึกษาคุณหมอหรือนักโภชนาการก่อน ว่าสภาพร่างกายแบบคุณควรกินกี่แคลอรี่ต่อวันถึงจะลดไขมันส่วนเกินได้
  2. โปรตีนนั้นจำเป็นต่อระบบเผาผลาญของร่างกาย ถ้าเน้นกินโปรตีนไขมันต่ำในทุกมื้อกระทั่งของว่าง จะทำให้น้ำหนักและไขมันลดเร็ว [5]
    • ทุกมื้อต้องมีโปรตีน จะได้ครบปริมาณที่แนะนำในแต่ละวัน ผู้หญิงควรกินโปรตีน 46 กรัมต่อวัน ส่วนผู้ชายคือ 56 กรัมต่อวัน [6]
    • โปรตีนไขมันต่ำก็เช่น สัตว์ปีก เนื้อวัว เนื้อหมู ถั่ว เต้าหู้ นมพร่องมันเนย และอาหารทะเล
    • ลดหรืองดโปรตีนประเภทที่มีไขมันอิ่มตัวสูง บางงานวิจัยชี้ว่าอาหารที่อุดมไขมันอิ่มตัวจะทำให้ไขมันส่วนเกินพอกพูน โดยเฉพาะรอบเอว [7] ให้พยายามงดนมเนยไขมันสูงและเนื้อติดมัน
  3. นอกจากโปรตีนไขมันต่ำแล้ว ให้เน้นกินผักเป็นอาหารส่วนใหญ่ในแต่ละมื้อรวมถึงของว่าง รวมถึงกินผลไม้เยอะๆ สองอย่างนี้มีประโยชน์มาก เพราะมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย
    • แนะนำให้กินผักผลไม้ 5 - 9 servings (หน่วยบริโภค) ต่อวัน โดยเป็นผลไม้ 1 - 2 servings นอกนั้นเป็นผัก [8]
    • นอกจากนี้ขอให้เลือกผักผลไม้ที่มีสีสันสดใส ไม่ก็สีเข้มไปเลย เพราะมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่า ทั้งวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระ [9] เช่น กินผักเคลดีกว่ากินผักกาดแก้ว
    • สร้างสรรค์เมนูผัก เช่น กินสดๆ โดยจิ้มน้ำพริกหรือดิปปิ้งซอส กินเป็นสลัด ผัดผัก ผักต้ม ผักย่าง กระทั่งปั่นดื่มเป็นสมูธตี้ หรือผสมในซอสสปาเก็ตตี้ แล้วราดบน spaghetti squash หรือฟักสปาเก็ตตี้
  4. อีกวิธีลดไขมันส่วนเกินได้ดี ก็คือกินธัญพืชหรือแป้งขาวให้น้อยๆ [10] เพราะเป็นอาหารอุดมคาร์โบไฮเดรต เลยทำให้ลดไขมันส่วนเกินในร่างกายไม่ค่อยได้
    • อาหารคาร์โบไฮเดรตสูงก็เช่น ขนมปัง ข้าว เค้ก ขนมหวาน พาสต้า แครกเกอร์ มันฝรั่งทอด มัฟฟิ่น และเบเกิล เป็นต้น พวกนี้เป็นธัญพืชขัดสี เหลือสารอาหารน้อยมาก แถมทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งปรี๊ด จนร่างกายกักตุนไขมัน [11]
    • จริงๆ ผลไม้กับถั่วก็มีคาร์โบไฮเดรต แต่บังเอิญมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายมากกว่า เลยกินได้ตามปกติ
  5. ใน 1 วัน เราควรดื่มน้ำ 8 แก้ว (แก้วละ 8 ออนซ์) น้ำเปล่าจะดีที่สุด เพราะไม่มีแคลอรี่และไม่มีคาเฟอีน [12]
    • หลีกเลี่ยงน้ำหวานๆ หรือน้ำแคลอรี่สูง อย่างน้ำอัดลม น้ำผลไม้ หรือเครื่องดื่มชูกำลัง เพราะจะเพิ่มแคลอรี่ให้อาหารประจำวันจนไขมันพอกพูน
    • นี่คือปริมาณที่แนะนำโดยเฉลี่ย อาจแตกต่างไปจากนี้ตามน้ำหนักตัวและกิจกรรมที่ทำว่าเสียเหงื่อมากแค่ไหน เช่น คนที่เน้นออกกำลังกายแบบแอโรบิกก็ต้องดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ เอาเป็นว่าหิวน้ำเมื่อไหร่ให้รีบดื่มทันที
  6. เช่น นมหมักออร์แกนิค (organic kefir) โยเกิร์ตออร์แกนิค และเซาเออร์เคราท์ (sauerkraut หรือกะหล่ำดอง) พวกนี้มีแบคทีเรียดีที่มีชีวิต (live cultures) ถ้ามีแบคทีเรียดีในลำไส้เยอะ จะช่วยให้น้ำหนักไม่เกินเกณฑ์ [13] หรือกินอาหารที่มีโปรไบโอติกส์ เพราะช่วยคลายเครียดได้ [14]
  7. หลีกเลี่ยงสารให้ความหวานเพิ่มเติมและน้ำตาลเทียม. พวกนี้ทำให้ยิ่งโหยจนกินจุกว่าเดิม สารให้ความหวานเพิ่มเติมหรือสารที่ใช้แทนน้ำตาลนั้นมีมากกว่า 60 ชนิดด้วยกัน อาจเลี่ยงยากหน่อย แต่ให้คอยหาชื่อส่วนผสมต่อไปนี้ในฉลากดู [15]
    • น้ำหวานจากเกสรดอกไม้ (agave nectar)
    • มอลต์จากข้าวบาร์เลย์ (barley malt)
    • น้ำอ้อย (cane juice)
    • น้ำเชื่อมข้าวโพด (corn syrup)
    • น้ำตาลเด็กซ์โทรส (dextrose)
    • น้ำอ้อยเข้มข้น (evaporated cane juice)
    • น้ำเชื่อมข้าวโพดชนิดฟรุกโตสสูง (high-fructose corn syrup)
    • มอลตัน (malton)
    • เมเปิ้ลไซรัป (maple syrup)
    • กากน้ำตาล (molasses)
    • น้ำผึ้ง (honey)
    • ซูโครส (sucrose)
    • น้ำเชื่อมข้าวหมัก (rice syrup)
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ออกกำลังกาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ควบคู่ไปกับการควบคุมอาหาร ก็จะช่วยลดไขมันส่วนเกินได้อย่างเห็นผล ซึ่ง 2 อย่างนี้ถือเป็นวิธีลดไขมันได้อย่างยั่งยืนที่สุดแล้วในระยะยาว
    • พยายามออกกำลังกายแบบแอโรบิกให้ได้อย่างน้อย 150 นาทีต่ออาทิตย์ คิดดูดีๆ ก็แค่วันละ 20 นาทีเท่านั้นเอง [16] แต่ถ้าอยากลดเร็วกว่านั้น ก็ต้องเพิ่มเวลา เช่น วันละ 60 นาที [17]
    • ออกกำลังกายแบบแอโรบิกให้หลากหลาย เช่น เดิน/จ็อกกิ้ง วิ่ง ขี่จักรยาน เต้น ว่ายน้ำ ศิลปะการต่อสู้ หรือต่อยมวย ไม่ก็เล่นเครื่อง elliptical เลือกอะไรก็ได้ที่ทำแล้วสนุก เพราะจะได้ไม่เบื่อ เป็นผลดีในระยะยาว
    • ถ้าเพิ่งหันมาออกกำลังกาย ให้เริ่มออกเบาๆ ง่ายๆ แล้วค่อยขยับขยายไป
    • ไม่ว่าคุณจะชอบออกกำลังกายเบาๆ อย่างว่ายน้ำกับเดิน หรืออะไรที่หนักกว่าอย่างมวยไทยหรือเล่นเวท ก็ขอให้ออกอย่างน้อย 30 นาทีขึ้นไป
  2. บางงานวิจัยชี้ว่าถ้าออกกำลังกายหนักสลับเบาเป็นรอบๆ ไป จะช่วยลดไขมันในร่างกายได้เห็นผลกว่าการออกกำลังกายแบบหนักปานกลาง [18]
    • High Intensity Interval Training หรือ HIIT เป็นการออกกำลังกายหนักๆ สลับกับเบาเป็นรอบๆ ไป ใช้เวลาออกไม่นาน เช่น วิ่งสุดฝีเท้า 1 นาที ตามด้วยจ็อกกิ้ง 3 นาที สลับไปมาแบบนี้หลายๆ รอบประมาณ 20 นาที (ไม่รวมช่วงวอร์มร่างกายและ cool down)
    • การฝึกเป็นรอบๆ แบบนี้ช่วยลดไขมันส่วนเกินได้ไวมาก เพราะเบิร์นหรือเผาผลาญแคลอรี่จากไขมันได้เยอะกว่า แถมระบบเผาผลาญจะทำงานตลอด 24 ชั่วโมง แม้กระทั่งตอนที่ไม่ได้ออกกำลังกาย [19]
  3. การเล่นเวท หรือ strength training ไม่ค่อยเบิร์นไขมันเท่าไหร่ แต่ช่วยสร้างเสริมมวลกล้ามเนื้อในระยะยาว ซึ่งทำให้เผาผลาญแคลอรี่ได้มากขึ้น [20]
    • ขอให้เล่นเวท 2 - 3 วันต่ออาทิตย์ ครั้งละอย่างน้อย 30 นาที [21] โดยบริหารแต่ละกลุ่มกล้ามเนื้อสลับกันไป
    • ต้องมีวันพักอย่างน้อย 2 วัน ให้ร่างกายได้ฟื้นตัว เพราะกว่าร่างกายและกล้ามเนื้อจะคืนสภาพต้องใช้เวลา ถ้าฝืนอาจบาดเจ็บเรื้อรัง [22]
  4. นอกจากคาร์ดิโอกับการเล่นเวท ในแต่ละวันควรเคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้น เขาวิจัยกันมาแล้ว ว่าคนที่ไม่อยู่เฉยจะแข็งแรงสุขภาพดีกว่า [23]
    • สำรวจว่าคุณเคลื่อนไหวมากแค่ไหน และเดินประมาณกี่ก้าวในแต่ละวัน ทำยังไงถึงจะขยับตัวให้ได้มากกว่านั้น?
    • ถ้าอยากขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวให้มากขึ้นในแต่ละวัน ให้ลองบริหารขาระหว่างนั่งทำงาน หรือยืนแล้วบริหารด้วยท่ายกเข่าสูงระหว่างพักโฆษณา
    • เดินให้มากขึ้น โดยลุกไปเดินเล่นหรือหาอะไรกินไกลๆ ช่วงพักกลางวัน ขึ้นบันไดแทนลิฟท์ เวลาไปไหนให้จอดรถไกลขึ้น และเวลาจะไปไหนใกล้บ้านให้เดินแทนขับรถ (เช่น ไป 7-11 หรือร้านขายยา)
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

เปลี่ยนชีวิตประจำวัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อย่าเครียด . เขาวิจัยกันมาแล้วว่าใครเครียดนาน เครียดบ่อย เครียดเล็กเครียดน้อย ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมามากกว่าปกติ ทำให้ลดน้ำหนักยาก แถมดีไม่ดีจะอ้วนกว่าเดิม [24]
    • ออกกำลังกายบ่อยๆ ก็คลายเครียดได้ ถ้าเครียดจัดหรือเจอเรื่องหนักเกินรับมือ ให้ออกไปเดินสัก 10 นาที จะทำให้ผ่อนคลายและสงบใจได้ หรือลองเล่นโยคะก็ได้ฝึกสมาธิไปในตัว
    • หาอะไรทำแก้เครียด เช่น ฟังเพลง อ่านหนังสือหรือแมกกาซีน เขียนไดอารี่ ไปเที่ยวกับเพื่อน ไม่ก็ดูหนัง ถ้าชอบแนวนิ่งๆ ผ่อนคลาย ก็ต้อง นั่งสมาธิ หายใจเข้าออกลึกๆ คิดถึงเรื่องดีๆ ไม่ก็ผ่อนคลายด้วยการเกร็งแล้วคลายกล้ามเนื้อ (progressive muscle relaxation)
    • ถ้ารับมือกับความเครียดไม่ค่อยได้ อาจพิจารณาเข้ารับการบำบัดกับผู้เชี่ยวชาญ จะได้รับคำแนะนำและการรักษาที่ตรงจุดกว่า
    • อย่าสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า คาเฟอีน หรือเสพยาเพื่อแก้เครียด
  2. หลายคน นอนหลับพักผ่อน ไม่ค่อยเพียงพอในแต่ละวัน ทั้งๆ ที่การนอนสำคัญต่อระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงการควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ด้วย ลองเข้านอนแต่หัวค่ำดู จะได้นอนเยอะๆ ช่วยลดระดับไขมันในร่างกาย [25]
    • แนะนำให้นอนวันละ 7 - 9 ชั่วโมง โดยเข้านอนเร็วขึ้นและตื่นช้าลงนิดหน่อย (ถ้าทำได้) แบบนี้ก็จะนอนหลับได้เยอะขึ้น
    • ถ้านอนหลับพักผ่อนเพียงพอ จะทำให้กระฉับกระเฉงคล่องตัวขึ้น แถมไม่หิวบ่อยระหว่างวัน
  3. อย่ากินเกินพิกัด จะช่วยลดแคลอรี่ประจำวันและไขมันส่วนเกินได้
    • ปกติใน 1 serving ผู้ใหญ่ควรได้รับโปรตีนไม่เกิน 3 – 4 ออนซ์ ธัญพืช (คาร์โบไฮเดรต) ไม่เกิน 1/2 ถ้วยตวง ผลไม้ 1/2 ถ้วยตวง และผัก 1 ถ้วยตวง [26]
    • ให้ใช้ถ้วยตวงหรือตาชั่งส่วนผสม จะได้ไม่เกินปริมาณที่แนะนำ
    • หรือใช้จาน ชาม และถ้วยที่เล็กลง เพื่อหลอกสมองให้รู้สึกว่ากินเต็มภาชนะแล้ว
    • ถ้ากินเยอะเกินปริมาณที่แนะนำ จะทำให้น้ำหนักและไขมันส่วนเกินเพิ่มอย่างไม่ต้องสงสัย
  4. ปิดทีวี เก็บมือถือและหนังสือ แล้วตั้งใจกินอย่างมีสติ กินช้าๆ เคี้ยวเยอะๆ ใส่ใจรสชาติอาหารหน่อย ถ้ากินไปทำอย่างอื่นไปพลางจะทำให้ใจลอยเผลอกินมากกว่าปกติ ส่วนเวลาโกรธหรือเศร้าบางคนก็แก้ปัญหาด้วยการกินแหลกเช่นกัน [27] พยายามจดจ่ออยู่กับอาหารตรงหน้า ค่อยๆ ลิ้มรสสัมผัสและดมกลิ่นไป
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

ติดตามผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เขียนไดอารี่ หรือจดบันทึกอาหารที่กินแต่ละวัน. ถ้าอยากลดน้ำหนักและไขมันส่วนเกินอย่างเห็นผล ก็ต้องเขียนไดอารี่ จะเพิ่มเติมรายละเอียดเรื่องอาหารการกินและอื่นๆ เข้าไปก็ได้ แต่จุดสำคัญคือจะได้เห็นภาพชัดเจนและทำตามแผนได้อย่างเคร่งครัด
    • เขียนไดอารี่ก่อนเริ่มลด เช่น ตั้งใจจะลดไขมันตรงไหนยังไง ระยะเวลาที่ต้องใช้ ไปจนถึงไอเดียและความรู้สึกนึกคิดต่างๆ
    • จดบันทึกอาหารและเครื่องดื่มที่กินเข้าไปในแต่ละวัน จะได้ไม่ออกนอกลู่นอกทาง เพราะพลาดเมื่อไหร่จะเห็นทันที ทำให้คิดก่อนกินจนลดได้สมใจ [28]
    • จดบันทึกพวกน้ำหนัก รอบเอว และอื่นๆ ไว้ด้วย
  2. เวลาจะลดน้ำหนักและไขมันส่วนเกิน จุดสำคัญคือต้องติดตามผลอย่าให้คลาดสายตา หรือก็คือชั่งน้ำหนักทุกอาทิตย์นั่นเอง
    • เขาวิจัยกันมาแล้วว่าชั่งน้ำหนักทุกอาทิตย์ช่วยให้คนลดความอ้วนไม่วอกแวก ลดได้ตามเป้า แถมเห็นผลในระยะยาว [29]
    • อย่าชั่งน้ำหนักบ่อยเกินอาทิตย์ละ 1 - 2 ครั้ง ถ้าชั่งทุกวันจะไม่ค่อยเห็นความต่างเท่าไหร่ เพราะน้ำหนักตัวคนเราขึ้นลงได้นิดหน่อยในแต่ละวัน
    • ถ้าอยากให้แม่นยำยิ่งกว่าเดิม ต้องชั่งน้ำหนักวันและเวลาเดิมทุกอาทิตย์ ใส่ชุดเดียวกันได้ยิ่งดี โดยชั่งหลังตื่นนอน ก่อนกินอาหารหรือดื่มน้ำ ก่อนอาบน้ำแต่งตัว แต่หลังขับถ่ายจะดีที่สุด
  3. พอลดน้ำหนักและไขมันส่วนเกินไปเรื่อยๆ จะไม่ใช่แค่ตัวเลขบนตาชั่งแน่นอนที่เปลี่ยนไป ถ้าไขมันส่วนเกินลดลง รูปร่างและรอบเอวคุณจะเปลี่ยนแปลงไปแบบชัดเจน
    • ก่อนควบคุมอาหารและออกกำลังกาย ให้วัดสัดส่วนเก็บไว้ก่อน จะได้รู้ว่ากำจัดไขมันส่วนเกินบริเวณไหนได้มากที่สุด
    • จุดที่ควรวัดและติดตามผล ก็คือเอว สะโพก อก ต้นขา และต้นแขน วัดแล้วจดไว้ในไดอารี่เลย โดยวัดทุกเดือนเพื่อดูความเปลี่ยนแปลง
    • ถ้าน้ำหนักคงที่ แต่สัดส่วนเล็กลงเพราะออกกำลังกายสม่ำเสมอ แสดงว่ากล้ามเนื้อคุณเพิ่มขึ้น ไขมันลดลง ถือว่ามีพัฒนาการ
  4. ถ้าเป็นไปได้ให้ไปตรวจวัดระดับไขมันที่มีในร่างกาย (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์) พอควบคุมอาหารและออกกำลังกายไปเรื่อยๆ เปอร์เซ็นต์ไขมันนี้จะลดลงเอง [30]
    • ฟิตเนสหลายที่มีบริการวัดระดับไขมันในร่างกายให้ฟรีถ้าเป็นสมาชิก ยังไงลองสอบถามเจ้าหน้า สมาชิกคนอื่นๆ หรือเทรนเนอร์ดู ถ้าอยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติม
    • หรือสอบถามคุณหมอประจำตัวเพื่อรับการตรวจวัดก็ได้
    • เดี๋ยวนี้มีกระทั่งอุปกรณ์วัดระดับไขมันในร่างกายแบบซื้อมาวัดเองได้ แต่ค่อนข้างใช้ยาก ต้องมีประสบการณ์และหมั่นฝึกฝน ข้อมูลที่ได้ก็มีโอกาสผิดพลาดมากกว่าการตรวจวัดกับผู้เชี่ยวชาญ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ่ายรูปทั้งก่อนลด และต่อมาทุก 2 - 3 เดือน จะได้เห็นพัฒนาการชัดเจน
  • ถ้าผอมจนใส่เสื้อผ้าเดิมไม่ได้ ให้เอาไปบริจาค เหลือแต่ชุดพอดีตัว จะได้บังคับตัวเองให้รักษาหุ่นโดยปริยาย
  • คนแพ้กลูเตน นม ถั่วเหลือง ข้าวโพด และอื่นๆ อาจลำบากหน่อยเวลาลดน้ำหนัก
  • อย่ารู้สึกผิดหรือโทษตัวเอง บางทีคนเราก็ตบะแตกกันได้ เช่น เผลอตามใจปากหรือขี้เกียจออกกำลังกาย อย่าเพิ่งเครียดหรือถอดใจ พยายามใหม่ให้ดีกว่าเดิม
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 14,923 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา