PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าคุณ (หรือลูกของคุณ) กำลังเป็นไข้ คุณอาจจะอยากลดไข้ให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ การเป็นไข้นั้นมีเหตุผลเพราะว่าร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นเพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและฆ่าเชื้อ [1] [2] ดังนั้น จึงมีเหตุผลที่ดีที่จะเป็นไข้อย่างปกติอย่างน้อยสักพัก อย่างไรก็ตาม คุณก็ต้องควบคุมอาการไข้เพื่อที่คุณหรือลูกๆ ของคุณจะได้รู้สึกสบายตัวมากที่สุดขณะที่ระบบภูมิคุ้มกันกำลังทำงานอยู่ การเยียวยาอาการไข้ที่ทำได้ที่บ้านสามารถช่วยคุณได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ทำให้อุณหภูมิลดลง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เริ่มต้นจากเปิดน้ำอุ่นลงในอ่าง ให้ผู้ที่เป็นไข้แช่น้ำอุ่นเพื่อที่จะได้ผ่อนคลายขึ้นขณะที่อุณหภูมิของน้ำลดลงอย่างช้าๆ ผู้ป่วยจะมีอุณหภูมิลดลงอย่างช้าๆ เช่นกันเมื่ออุณหภูมิของน้ำลดลง
    • คุณไม่ควรให้น้ำมีอุณหภูมิเย็นเกินไปเพราะอุณหภูมิของร่างกายจะลดลงอย่างรวดเร็วเกินไป
  2. วิธีนี้ได้ผลดีที่สุดเมื่อทำตลอดทั้งคืน ให้หาถุงเท้าฝ้ายแท้ที่มีความยาวคลุมข้อเท้า ทำให้มันเปียกชุ่มด้วยน้ำเย็น บิดน้ำออก และให้ผู้ป่วยสวมถุงเท้านี้ จากนั้นสวมถุงเท้าขนแกะทับอีกชั้น ให้ผู้ป่วยนอนหลับพักผ่อนบนเตียงตลอดทั้งคืนและให้นอนคลุมผ้าห่มด้วย
    • เด็กๆ ส่วนใหญ่จะค่อนข้างให้ความร่วมมือกับการใช้วิธีนี้เพราะพวกเขาจะรู้สึกเย็นขึ้นภายในเวลาสองสามนาที
    • วิธีนี้เป็นวิธีการบรรเทาไข้โดยไม่ใช้ยาที่ทำมายาวนาน มีทฤษฎีที่ว่าการทำให้เท้าเย็นจะช่วยกระตุ้นการหมุนเวียนของเลือดและกระตุ้นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันให้มากขึ้น [3] ผลลัพธ์ที่ได้จะทำให้ร่างกายต้องระบายความร้อนที่มีมากเกินออกไปและจะทำให้ถุงเท้าแห้ง อุณหภูมิก็จะลดลง วิธีนี้สามารถเยียวยาอาการแน่นจมูกได้อีกด้วย
  3. ใช้ผ้าขนหนูที่ใช้เช็ดหน้า 1-2 ผืนพับตามยาว แช่ผ้าทั้งในน้ำเย็นและน้ำแข็ง บิดน้ำออกและพันผ้าขนหนูรอบศีรษะ คอ ข้อเท้า หรือข้อมือ อย่าพันผ้าขนหนูมากกว่า 2 จุด เช่น ให้พันแค่รอบศีรษะและข้อเท้า หรือพันแค่รอบคอและข้อมือ มิเช่นนั้นแล้ว อุณหภูมิจะลดต่ำลงอย่างมากเกินไป
    • ผ้าขนหนูเย็นๆ จะนำความร้อนออกจากร่างกายและสามารถลดอุณหภูมิของร่างกายได้ ให้ทำซ้ำเมื่อผ้าขนหนูแห้งแล้วหรือผ้าขนหนูไม่เย็นพอ วิธีนี้สามารถทำบ่อยได้เท่าที่ต้องการ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ปรับเปลี่ยนอาหารเพื่อลดไข้

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. สำนวนที่ว่า "feed a cold, starve a fever" หรือการกินเยอะๆ จะช่วยให้หวัดหายเร็ว แต่การกินน้อยๆ จะช่วยให้หายไข้ จริงๆ แล้วก็มีความจริงอยู่บ้างจากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ผ่านๆ มา [4] คุณไม่ควรที่จะสูญเสียพลังงานของร่างกายไปกับการย่อยอาหาร เพราะพลังงานที่มีควรใช้ในการจัดการกับเชื้อที่ทำให้เกิดไข้
  2. เลือกผลไม้อย่าง เบอร์รี่ แตงโม ส้ม และแคนตาลูป ผลไม้เหล่านี้มีวิตามิน C สูง ซึ่งจะสามารถจัดการกับเชื้อและลดไข้ได้ [5] และมันจะทำให้ร่างกายของคุณอิ่มน้ำ
    • หลีกเลี่ยงอาหารหนักๆ มีไขมันสูงอย่างอาหารทอดหรือย่าง หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดอย่างปีกไก่ ไส้กรอกเปปเปอโรนี หรือไส้กรอกอื่นๆ
  3. จะทานน้ำสต๊อกไก่เป็นซุปไก่เปล่าๆ ก็ได้ หรือจะทานกับผักและข้าว งานวิจัยได้เผยว่าซุปไก่นั้นมีคุณสมบัติทางการแพทย์มากมาย [6] และมันจะช่วยทำให้ร่างกายของคุณอิ่มน้ำ
    • แน่ใจว่าคุณทานโปรตีนที่ย่อยง่ายอย่างเมนูไข่คนหรือเนื้อไก่ (ใส่เนื้อไก่สองสามชิ้นลงไปในน้ำสต๊อกไก่ด้วยก็ได้)
  4. ไข้สูงจะทำให้ร่างกายขาดน้ำซึ่งจะทำให้รู้สึกแย่ยิ่งขึ้น ดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการขาดน้ำหรือจะดื่มสารน้ำทางปาก (oral rehydration solution) อย่าง CeraLyte และ Pedialyte ให้โทรศัพท์หาแพทย์ก่อนที่จะทำอะไรเพื่อขอคำแนะนำ ให้เตรียมจดอาการต่างๆ ไว้รวมถึงปริมาณอาหารที่คุณหรือลูกของคุณทาน ปริมาณการดื่มน้ำ และอุณหภูมิของไข้ บันทึกว่าคุณเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกบ่อยแค่ไหน สำหรับเด็กที่โตกว่า ให้บันทึกว่าพวกเขาปัสสาวะบ่อยแค่ไหน
    • ถ้าคุณยังให้นมลูกอยู่ ให้ทำบ่อยๆ เท่าที่เป็นไปได้ เพราะนั่นจะเป็นการให้อาหาร น้ำ และความอบอุ่น
    • เด็กๆ (และตัวคุณเอง) อาจจะชอบทานหวานเย็นเพื่อทำให้ร่างกายรู้สึกชุ่มชื้นอิ่มน้ำ ควรจะหลีกเลี่ยงหวานเย็นที่มีน้ำตาลมากเกินไป ให้เลือกหวานเย็นที่ทำจากผลไม้ธรรมชาติ ไอศครีมแช่แข็งแบบอิตาเลียน โยเกิร์ตแช่แข็ง หรือไอศครีมเชอร์เบ็ต อย่าลืมดื่มน้ำด้วย!
  5. คุณจะซื้อชาหรือทำเองก็ได้ แค่ใส่ผงสมุนไพรประมาณ 1 ช้อนชาลงไปในน้ำที่ดื่มแต่ละแก้ว แช่ผงสมุนไพรในน้ำที่ต้มแล้ว โดยแช่ทิ้งไว้เป็นเวลา 5 นาที จากนั้นเติมมะนาวหรือน้ำผึ้งเพื่อให้ได้รสชาติที่ต้องการ ไม่ควรใส่นมเพราะผลิตภัณฑ์ที่เป็นนมอาจจะทำให้คัดจมูก สำหรับเด็กเล็กๆ ให้ลดปริมาณสมุนไพรเหลือ ½ ช้อนชาและต้องแน่ใจว่าชาเย็นแล้ว! อย่าให้ทารกดื่มชา ยกเว้นจะป็นคำแนะนำของแพทย์ ลองทำชาสมุนไพรจากสมุนไพรดังต่อไปนี้ [7]
    • ใบกระเพรา (โหระพาก็ใช้ได้ แต่อาจจะไม่ดีเท่า)
    • เปลือกไม้ไวท์วิลโลว์
    • สะระแหน่ หรือ สเปียร์มินต์
    • ดอกดาวเรือง
    • ดอกฮิสซอฟ
    • ใบราสเบอร์รี่
    • ขิง
    • ออริกาโน
    • ต้นไทม์
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

รู้อาการว่าเมื่อไหร่ควรต้องรับการรักษา

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. อุณหภูมิของร่างกายจะเปลี่ยนแปลงตลอดทั้งวัน แต่อุณหภูมิปกติจะอยู่ที่ 37 o C หรือ 98.6 o F หากวัดอุณหภูมิของทารกที่อายุน้อยกว่า 4 เดือน [8] โดยวัดทางทวารหนักแล้วพบว่ามีอุณหภูมิ 38 o C (100.4 o F) หรือมากกว่า ให้โทรศัพท์หาแพทย์ ทันที สำหรับเด็กวัยอื่นๆ ถ้าวัดทางทวารหนักแล้วมีอุณหภูมิ 40 o C (104 o F) หรือมากกว่า ให้โทรศัพท์หาแพทย์ ทันที เด็กที่มีอายุ 6 เดือนหรือมากกว่าที่มีไข้สูง 39.4 o C (103 o F) ควรจะไปพบแพทย์ ถ้าเด็กเป็นไข้และมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย ควรโทรศัพท์หาแพทย์ (หรือหน่วยฉุกเฉิน) ด่วนที่สุด
    • ดูป่วยหรือไม่อยากอาหาร
    • หงุดหงิดรำคาญ
    • ง่วงซึม
    • มีอาการติดเชื้อที่ชัดเจน (มีน้ำหนอง น้ำมูก หรือผื่นคันเป็นลาย)
    • เป็นลมชัก
    • เจ็บคอ มีผื่นคัน ปวดหัว คอแข็งตึง ปวดหู
    • สำหรับอาการแปลกๆ อื่นๆ ที่ต้องเฝ้าระวังและควรรีบรักษา
      • เด็กร้องเสียงสูงและเสียงเหมือนแมวน้ำร้อง
      • หายใจลำบากหรือมีแต้มสีน้ำเงินรอบๆ ปาก นิ้วมือ หรือนิ้วเท้า
      • ศีรษะทารกบริเวณด้านบนมีอาการบวม (บริเวณนิ่มๆ หรือกระหม่อม)
      • อ่อนปวกเปียกหรือไม่ค่อยเคลื่อนไหว
  2. โทรศัพท์หาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำถ้าคุณสังเกตอาการภาวะขาดน้ำเล็กน้อยโดยเฉพาะในเด็กทารก ซึ่งมันอาจจะกลายเป็นภาวะขาดน้ำรุนแรงได้อย่างรวดเร็ว อาการของภาวะขาดน้ำเล็กน้อยมีดังต่อไปนี้ [9]
    • ปากเหนียวแห้งหรือผิวหนังทารกบริเวณตาและปากลอกเป็นแผ่น
    • ง่วงซึม เหนื่อย หรือหงุดหงิดมากกว่าปกติ
    • กระหายน้ำ (สังเกตพฤติกรรม “เลียปาก” หรือจับปากทารกให้เป็นปากจู๋เพื่อดูว่าทารกกระหายน้ำหรือไม่)
    • ขับปัสสาวะน้อยลง
    • ผ้าอ้อมแห้ง (ควรที่จะเปลี่ยนผ้าอ้อมอย่างน้อยทุกๆ 3 ชั่วโมงเพราะผ้าอ้อมจะเปียกเต็ม แต่ถ้าผ้าอ้อมแห้งหลังจาก 3 ชั่วโมงไปแล้ว อาจจะเเปลว่าทารกมีภาวะขาดน้ำ ป้อนนมเด็กไปเรื่อยๆ และลองเช็คดูหลังจากผ่านไปสักชั่วโมงแล้ว ถ้าผ้าอ้อมยังคงแห้งอยู่ ควรที่จะโทรศัพท์หาแพทย์)
    • ปัสสาวะมีสีเข้ม
    • ไม่มีน้ำตาหรือมีน้ำตาน้อยเวลาทารกร้องไห้
    • ผิวแห้ง (หยิกหลังมือทารกเบาๆ แค่ลองหยิกตรงที่เป็นเนื้อ ถ้าทารกไม่ขาดน้ำและมีความชุ่มชื้นดี ผิวหนังจะนุ่มเด้ง)
    • ท้องผูก
    • รู้สึกเวียนศีรษะหรือดูเหมือนจะเป็นลม
  3. ถ้าคุณสังเกตอาการเหล่านี้ ให้โทรศัพท์หาหน่วยฉุกเฉินหรือแพทย์ทันที อาการของภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรงมีดังนี้ [10]
    • ในทารกหรือเด็ก จะกระหายน้ำ หงุดหงิด และง่วงซึมอย่างสุดๆ (ถ้าในผู้ใหญ่ จะโมโหง่ายและรู้สึกสับสน)
    • ปาก ผิว และเยื่อบุผิว จะแห้งมากๆ หรือผิวหนังบริเวณตาและปากลอกเป็นแผ่นๆ
    • ไม่มีน้ำตาเวลาร้องไห้
    • เมื่อหยิกเบาๆ แล้วพบว่าผิวแห้งและไม่ "เด้งกลับ"
    • ปัสสาวะน้อยลงและมีสีเข้มกว่าปัสสาวะปกติ
    • ตาโหล (จะมีรอยคล้ำใต้ดวงตา)
    • ในเด็กทารก ให้ตรวจเช็คว่ากระหม่อมหน้าของทารกบุ๋มกว่าปกติหรือไม่ กระหม่อมคือบริเวณนิ่มๆ ด้านบนสุดของศีรษะ
    • หัวใจเต้นเร็วและหายใจเร็ว
    • มีไข้
  4. โรคไข้ชักคือจะเป็นอาการสั่นอย่างรุนแรงที่จะเกิดกับทารกพร้อมกับการมีไข้ มันดูน่ากลัว แต่โดยปกติแล้วจะหายไปอย่างรวดเร็วละไม่สร้างความเสียหายที่สมองหรือมีอันตรายร้ายแรงอื่นๆ โดยปกติแล้วโรคไข้ชักจะเกิดในเด็กที่มีอายุระหว่าง 6 เดือนไปจนถึง 5 ขวบ มันอาจจะเกิดขึ้นซ้ำได้แต่ไม่บ่อยหลังจากอายุ 5 ขวบไปแล้ว ถ้าลูกของคุณมีอาการลมชัก ให้ทำสิ่งต่อไปนี้
    • แน่ใจว่าเด็กไม่อยู่ใกล้ขอบมุมที่แหลมคม ชั้นบันได หรือสิ่งอื่นๆ ที่จะเป็นอันตรายต่อเด็ก
    • อย่าอุ้มหรือรั้งทารกไว้
    • ให้เด็กหรือทารกนอนหันข้างหรือเงยท้อง
    • ถ้ามีอาการชักนานกว่า 10 นาที ให้โทรหาหน่วยฉุกเฉินและพาเด็กไปตรวจ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเด็กมีอาการคอแข็งตึง อาเจียน และดูเฉื่อยชาไม่มีชีวิตชีวา) [11]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การวัดอุณหภูมิทางทวารหนักเป็นการวัดอุณหภูมิของร่างกายที่แม่นยำที่สุด [12] แต่ก็อาจจะได้ค่าแตกต่างอย่างมากจากการวัดอื่นๆ เช่นการวัดอุณหภูมิทางช่องปาก หรือใช้เครื่องวัดอุณหภูมิทางหน้าผากหรือหู
  • การวัดอุณหภูมิทางทวารหนักมักจะจะได้ค่าที่สูงกว่าการวัดทางช่องปาก โดยจะมากกว่าประมาณ 0.3°C (0.5°F) ถึง 0.6°C (1°F)
  • เครื่องวัดอุณหภูมิทางหน้าผาก (เครื่องสแกนเนอร์) มักจะได้ค่าน้อยกว่าการวัดทางช่องปากประมาณ 0.3°C (0.5°F) ถึง 0.6°C (1°F) และจะมีค่าน้อยกว่าการวัดทางทวารหนักประมาณ 0.6°C (1°F) ถึง 1.2°C (2°F)
  • การวัดอุณหภูมิที่หู (หรือเยื่อแก้วหู) มักจะสูงกว่าการวัดทางช่องปากประมาณ 0.3°C (0.5°F) ถึง 0.6°C (1°F)
  • ถ้าเด็กมีไข้นานกว่า 1 วัน (เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ขวบ) หรือนานกว่า 3 วันในเด็กโต ควรโทรศัพท์หาแพทย์
  • โดยปกติแล้วอุณหภูมิร่างกายจะลดลงในตอนเช้าและจะสูงขึ้นในตอนบ่าย [13]
  • ดื่มน้ำเยอะๆ เสมอ
  • อย่าทำให้เด็กอบอุ่นจนร้อน การให้เด็กสวมเสื้อหลายชั้นเกินไปจะเป็นการเพิ่มอุณหภูมิของร่างกายเพราะเป็นการกักความร้อนไว้ ให้เด็กใส่ชุดนอนผ้าฝ้ายบางๆ และสวมถุงเท้าบางๆ ทำให้ห้องอุ่นและห่มผ้าห่มให้เด็กด้วย
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าต่อมไทรอยด์ของคุณทำงานผิดปกติหรือที่รู้จักกันในชื่อภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษวิกฤติ (ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ที่อยู่ในระดับสูงมาก) นี่เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินและควรจะโทรหาหน่วยฉุกเฉิน วิธีการที่อยู่ในบทความนี้ไม่สามารถจัดการกับภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษวิกฤติได้
  • หลีกเลี่ยงชาที่มีคาเฟอีน (ชาเขียว ชาดำ และชาขาว) เพราะว่าชามีคุณสมบัติก่อความร้อน (เพิ่มความร้อนให้สูงขึ้น)
  • ถ้าคุณมีไข้ ให้หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอื่นๆ เช่น กาแฟ ชา และน้ำอัดลม
  • อย่า ให้ทารกและเด็กกินยาแอสไพรินถ้าไม่อยู่ในการควบคุมของแพทย์และผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปีไม่ควรกินยาแอสไพริน [14]


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 56,525 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา