ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

โรคปลอกประสาทอักเสบ (Multiple Sclerosis: MS) เป็นหนึ่งในโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองที่ยังไม่มีวิธีการรักษาในปัจจุบัน ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีอาการชาหรืออ่อนแรงทั่วทั้งร่างกาย มีปัญหาด้านสายตา สูญเสียการทรงตัว และอ่อนเพลีย เนื่องจากโรคนี้ยังไม่มีวิธีการวินิจฉัยที่แน่นอน โดยทั่วไปแพทย์จึงใช้วิธีการทดสอบต่างๆ เพื่อตัดสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่ที่มาของอาการผู้ป่วยออกไป การตรวจเพื่อพิจารณาว่าผู้ป่วยเป็นโรคปลอกประสาทอักเสบหรือไม่นั้น อาจมีตั้งแต่การตรวจเลือด การเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง และกระบวนการวินิจฉัยโรคที่เรียกกันว่าการตรวจคลื่นไฟฟ้าของเส้นประสาท โดยแพทย์จะสรุปว่าผู้ป่วยเป็นโรคปลอกประสาทอักเสบเมื่อผ่านกระบวนการทดสอบทั้งหมดแล้วตรวจไม่พบโรคทางกายภาพอื่นใด

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

การสังเกตอาการ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นัดพบแพทย์เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับอาการและตรวจหาโรคปลอกประสาทอักเสบ. แม้การลองวินิจฉัยโรคปลอกประสาทอักเสบด้วยตัวเองจะเป็นสิ่งที่ดีไม่น้อย แต่รายละเอียดปลีกย่อยและความยากในการวินิจฉัยทำให้แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญที่มีใบรับรองเองก็ยังวินิจฉัยให้แม่นยำแน่นอนได้ยาก
  2. ผู้ป่วยโรคปลอกประสาทอักเสบจำนวนมากเริ่มมีอาการครั้งแรกในช่วงอายุ 20-40 ปี [1] ถ้าคุณมีอาการใดๆ ต่อไปนี้ ลองจดเพื่อนำไปให้คุณหมอใช้ในการตัดโรคอื่นๆ ที่อาจเป็นไปได้ออกไป
    • มองเห็นภาพเบลอหรือภาพซ้อน
    • ซุ่มซ่ามหรือมีปัญหาด้านการประสานงาน
    • มีปัญหาด้านการคิด
    • สูญเสียการทรงตัว
    • รู้สึกชาและปวดเสียว
    • แขนหรือขาอ่อนแรง
  3. ทำความเข้าใจก่อนว่าโรคปลอกประสาทอักเสบจะแสดงอาการแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย. เรียกได้ว่าไม่มีผู้ป่วยคู่ใดที่แสดงอาการในลักษณะเดียวกัน อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยอาจมีอาการดังต่อไปนี้
    • อาการหนึ่งห่างหายเว้นระยะไปหลายเดือนหรืออาจจะหลายปี ก่อนที่ร่างกายจะแสดงอาการดังกล่าวอีกครั้งหรืออาจมีอาการใหม่ปรากฏขึ้นมา [1]
    • มีหนึ่งหรือหลายอาการเกิดไล่เลี่ยกัน และอาการทรุดลงภายในไม่กี่สัปดาห์หรือไม่กี่เดือน [1]
  4. มองหาอาการที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคปลอกประสาทอักเสบ. อาการเหล่านี้ ได้แก่
    • รู้สึกเหมือนมีหมุดหรือเข็มทิ่มแทง แต่ก็รู้สึกชา คัน ปวดแสบปวดร้อน หรือเสียดแทงทั่วทั้งร่างกายด้วยในเวลาเดียวกัน อาการเหล่านี้เกิดขึ้นในประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่เป็นโรคปลอกประสาทอักเสบ
    • ปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ เช่น อาการท้องผูก ปัสสาวะบ่อย ปวดปัสสาวะกะทันหัน ถ่ายไม่สุด และปวดปัสสาวะกลางดึก
    • กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเกิดการกระตุกทำให้เดินเหินลำบาก และอาการอื่นๆ ที่อาจเกิดร่วมด้วยอาจทำให้อาการนี้ทรุดหนักลง
    • หน้ามืดหรือวิงเวียนศีรษะ แม้อาการหัวหมุนจนทรงตัวไม่ได้จะพบไม่บ่อยนัก แต่อาการหน้ามืดและวิงเวียนศีรษะเป็นสิ่งที่พบได้ในผู้ป่วยทั่วไป
    • อ่อนเพลียเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคปลอกประสาทอักเสบประมาณ 80% มักมีอาการอ่อนแรงเรื้อรัง ผู้ป่วยจำนวนมากกล่าวว่าพวกเขายังคงรู้สึกเหนื่อยอ่อนไร้เรี่ยวแรงแม้นอนหลับอย่างเพียงพอแล้วก็ตาม นอกจากนี้ ความอ่อนเพลียที่เชื่อมโยงกับโรคปลอกประสาทอักเสบมักไม่ขึ้นอยู่กับอัตราการออกกำลังกายหรือการทำงานที่ต้องออกแรง
    • ปัญหาเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ เช่น ภาวะช่องคลอดแห้งในผู้หญิงและสมรรถภาพทางเพศหย่อนลงในเพศชาย ปัญหาเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์อาจขยายใหญ่เป็นการตอบสนองต่อการสัมผัสได้น้อยลง แรงขับทางเพศลดลง และพบปัญหาในการบรรลุจุดสุดยอด
    • ปัญหาด้านการพูด เช่น เว้นระยะระหว่างคำค่อนข้างนาน พูดไม่ชัด หรือพูดเสียงขึ้นจมูกชัดเจน
    • ปัญหาด้านการคิด การจดจ่อกับงานได้ยากขึ้น หลงๆ ลืมๆ และจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้สั้นลงล้วนเป็นอาการที่พบได้บ่อย
    • ตัวสั่นหรือใจสั่น ทำให้ทำกิจกรรมในแต่ละวันได้ลำบาก
    • ปัญหาด้านสายตา มักจะเกิดกับดวงตาเพียงข้างเดียว เช่น มองเห็นเป็นจุดดำๆ กลางดวงตา เห็นภาพเบลอหรือสีเทาๆ ปวดตา หรือสูญเสียการมองเห็นชั่วคราว
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

การวินิจฉัยโดยสมบูรณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. วางแผนเข้ารับการตรวจเลือด เพื่อให้คุณหมอเข้าใกล้การวินิจฉัยเพื่อตรวจหาโรคปลอกประสาทอักเสบได้มากขึ้น. เพราะการตรวจจะช่วยตัดโรคอื่นๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของอาการออกไปได้ ภาวะอักเสบ การติดเชื้อ และความไม่สมดุลของสารเคมีในร่างกายจะมีอาการใกล้เคียงกับโรค ซึ่งถือเป็นสัญญาณเตือน แต่ก็ไม่ใช่สัญญาณอันตรายของโรคปลอกประสาทอักเสบแต่อย่างใด ยิ่งไปกว่านั้น หลายๆ โรคเหล่านี้ยังสามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการใช้ยาและวิธีการรักษาอื่นๆ
  2. วางแผนเข้ารับการเจาะตรวจน้ำไขสันหลังกับคุณหมอ. แม้การเจาะตรวจน้ำไขสันหลังหรือการเจาะตรวจหลังจะทำให้เจ็บมากพอตัว แต่ก็ถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการตรวจหาโรคปลอกประสาทอักเสบ ในการตรวจ แพทย์จะดึงเอาตัวอย่างน้ำปริมาณเล็กน้อยออกมาจากโพรงกระดูกสันหลังเพื่อนำไปวิเคราะห์ในห้องแล็บ การเจาะตรวจน้ำไขสันหลังมักเป็นหนึ่งในวิธีการตรวจหาโรคปลอกประสาทอักเสบ เพราะของเหลวดังกล่าวอาจแสดงให้เห็นความผิดปกติในเม็ดเลือดขาวหรือโปรตีน ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงความผิดปกติในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยเป็นโรคนี้ อย่างไรก็ดี การตรวจนี้อาจช่วยตัดโรคหรือภาวะติดเชื้ออื่นๆ ออกไปได้เช่นเดียวกัน
    • การเตรียมตัวเข้ารับการเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง:
      • แจ้งแพทย์หากคุณกำลังใช้ยาหรือสมุนไพรรักษาโรคที่อาจลดเม็ดเลือดของคุณ
      • ทำให้กระเพาะปัสสาวะว่าง
      • ลงชื่อในใบยินยอม และอาจมีเอกสารข้อมูลการตรวจทางการแพทย์เพิ่มเติม
  3. เตรียมตัวเข้ารับการตรวจ MRI จากโรงพยาบาลประจำหรือสถานพยาบาลใกล้บ้าน. การตรวจนี้เรียกอีกอย่างว่าการตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยใช้แม่เหล็ก คลื่นวิทยุ และคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างภาพสมองและไขสันหลัง ซึ่งเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยหาโรคปลอกประสาทอักเสบต่างๆ เพราะการตรวจมักแสดงให้เห็นความผิดปกติหรือความเสียหายในบริเวณเหล่านี้และอาจบ่งชี้ได้ว่าผู้ป่วยมีโรคนี้หรือไม่
    • ในปัจจุบัน การทำ MRI เป็นที่ยอมรับว่าเป็นหนึ่งในการตรวจที่ดีที่สุดในการวิเคราะห์หาโรคปลอกประสาทอักเสบ แม้เราจะไม่สามารถตรวจหาโรคปลอกประสาทอักเสบได้ด้วยการทำ MRI เพียงอย่างเดียวก็ตาม [2] เพราะการตรวจ MRI อาจแสดงผลว่าผู้ป่วยหายเป็นปกติแล้ว ในขณะที่ผู้ป่วยยังคงมีอาการปลอกประสาทอักเสบ นอกจากนี้ ผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้สูงอายุ อาจมีบาดแผลในสมองที่ดูเหมือนอาการปลอกประสาทอักเสบแต่ไม่ใช่แต่อย่างใด
  4. ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการตรวจคลื่นไฟฟ้าของเส้นประสาท. ปัจจุบัน แพทย์เริ่มเรียนรู้วิธีการวินิจฉัยโรคปลอกประสาทอักเสบได้มากขึ้น และการตรวจนี้ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้แพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคนี้หรือไม่ได้อย่างแม่นยำ ขั้นตอนการตรวจไม่สร้างความเจ็บปวดแต่อย่างใด เพียงใช้ตัวกระตุ้นไฟฟ้าหรือสิ่งเร้าทางสายตาเพื่อตรวจวัดสัญญาณไฟฟ้าที่ร่างกายส่งไปยังสมอง โดยแพทย์ประจำตัวของคุณมักเป็นผู้ดำเนินการในขั้นตอนนี้ แต่ส่วนใหญ่มักจะส่งต่อให้นักประสาทวิทยาทำการวิเคราะห์ผล
  5. นัดติดตามผลกับแพทย์ประจำตัวหลังจากการตรวจทั้งหมดเสร็จสมบูรณ์ เพื่อประเมินว่าควรใช้วิธีการเฉพาะทางใดเพื่อวินิจฉัยโรคปลอกประสาทอักเสบหรือไม่. ถ้าแพทย์สามารถหาสาเหตุของโรคปลอกประสาทอักเสบได้จากการตรวจเหล่านี้ คุณจะเข้าสู่ระยะการรักษาโรคนี้โดยตรงต่อไป เช่น การเรียนรู้วิธีการดูแลอาการที่ถูกต้อง รวมถึงวิธีการทำให้โรคลุกลามช้าลง
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,764 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา