ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การรู้จักตนเอง คือ คุณรู้ว่าตัวเองเป็นใครจากแก่นภายใน อย่างเช่น สิ่งที่คุณให้คุณค่าและความเชื่อ การรู้จักตนเองยังรวมถึงการรู้จักพฤติกรรมและคาดเดาตัวเองได้ การรู้จักตัวเองเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการเรียนรู้ตัวเองในฐานะคนคนหนึ่ง การเรียนรู้ที่จะรู้จักตัวเองก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะทำให้คุณวิเคราะห์ตัวเองได้ ทั้งความเชื่อ ทัศนคติ พฤติกรรมและการโต้ตอบของคุณ [1] มีหลายวิธีในการเรียนรู้ว่าจะวิเคราะห์ตัวเองได้อย่างไร

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

รับรู้ความรู้สึกของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ความคิดคุณเป็นภายในของคุณส่วนหนึ่ง ความคิดเหล่านี้มักชี้ทางเวลาที่คุณรู้สึก มีทัศนคติ รวมไปถึงมองเหตุการณ์ต่างๆ คุณต้องจับตาดูความคิดตัวเองและเข้าใจความเป็นไป ความคิดของคุณติดลบหรือเปล่า? คุณทำให้ตัวเองผิดหวัง หรือคิดอยู่ตลอดเวลาว่าเรื่องจะไม่เป็นไปตามที่คิดหรือไม่? เรื่องไหนในชีวิตที่คุณมักจะกดดันตัวเองมากที่สุด?
    • ให้ลองดูความคิดตัวเองในทุกๆ เรื่องของชีวิต คุณจะต้องทำให้ตัวเองคิดเรื่องที่กำลังคิดอยู่ในแต่ละวัน และในระหว่างทำกิจกรรมต่างๆ [2]
  2. เพื่อช่วยจัดเก็บความคิดของคุณในทุกๆ วัน ลงมือเขียนบันทึกเรื่องราวของคุณ ความพยายาม เป้าหมาย และความฝันของคุณ วิเคราะห์บันทึกในแต่ละวัน จากนั้นเขียนเกี่ยวกับคุณภาพของบันทึกนั้นๆ บันทึกนี่ฟังดูว่าคุณมีความหวังหรือกำลังหมดหวังนะ? คุณรู้สึกติดแหง็กหรือมีพลังล่ะ? เขียนและวิเคราะห์ความคิดของคุณต่อไปเพื่อให้คุณรู้จักตนเองมากขึ้น
  3. บางครั้งมุมมองของเราต่อเหตุการณ์บางอย่างทำให้เราสรุปสิ่งที่เกิดขึ้นหรือสิ่งที่เราเห็นอย่างผิดๆ [3] ยกตัวอย่าง ถ้าคุณคิดว่าเพื่อนของคุณหัวเสียใส่คุณหลังมื้อกลางวัน คุณอาจจะสับสนและคิดไปโดยอัตโนมัติว่า นั่นเป็นเพราะเพื่อนกำลังอารมณ์ไม่ดี ไม่ก็คุณทำบางอย่างผิดไป การรับรู้ความคิดของคุณที่มีต่ออารมณ์ของเพื่อนจะช่วยให้คุณวิเคราะห์ว่า ทำไมคุณถึงด่วนสรุปว่าเธออารมณ์เสียเพราะคุณกันล่ะ
    • เมื่อคุณเจอสถานการณ์แบบนี้ ลองหยุดมองสิ่งที่คุณทำและความเชื่อของคุณที่มีต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ให้คุณเขียนบันทึกสิ่งที่คุณเห็น ได้ยิน หรือรู้สึก ที่ทำให้คุณตีความสถานการณ์ในแบบนั้นไป ถามตัวเองว่ามีสาเหตุอื่นอีกไหมที่ทำให้เพื่อนคุณหงุดหงิด หรือมีปัจจัยภายนอกที่คุณไม่รู้หรือไม่
  4. ความรู้สึกของคุณจะบอกใบ้เองว่าคุณเป็นคนแบบไหน และทำไมคุณถึงมีปฏิกิริยาโต้ตอบสถานการณ์หรือคนบางประเภทในแบบนั้นๆ วิเคราะห์ความรู้สึกตัวเองจากการสังเกตปฏิกิริยาของคุณที่มีต่อหัวข้อบทสนทนา ดูว่าคุณมีน้ำเสียง สีหน้า และภาษากายอย่างไร ระบุสิ่งที่คุณรู้สึกและถามตัวเองว่า ทำไมคุณถึงรู้สึกอย่างนั้น คุณกำลังมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับอะไร? อะไรทำให้คุณรู้สึกแบบนี้?
    • คุณสามารถใช้ปฏิกิริยาทางกายเพื่อดูว่าคุณกำลังรู้สึกอย่างไร เช่น ถ้าคุณสังเกตเห็นตัวเองหายใจหนักขึ้นหรือเร็วขึ้น อาจเป็นเพราะคุณกำลังเครียด หัวเสีย หรือหวาดกลัวอยู่ [4]
    • ถ้าคุณคิดไม่ออกว่าตัวเองรู้สึกยังไงกันแน่ คอยเขียนปฏิกิริยาตอบโต้และความคิดของคุณที่มีต่อเหตุการณ์นั้นๆ คุณอาจต้องใช้เวลาและปลีกตัวเองให้ออกจากสถานการณ์นั้นก่อนจึงค่อยดูว่าคุณรู้สึกอย่างไร
    • ลองถามเพื่อนสนิทหรือคนในครอบครัวก็ได้ ให้พวกเขาช่วยคุณคิดให้ออกว่าตกลงคุณรู้สึกแบบไหนกันแน่ด้วยการดูความคิดและอากัปกิริยาของคุณ นี่อาจจะยากสำหรับคุณเองที่จะกันตัวเองออกมาจากสถานการณ์ที่คุณอยู่ ให้คุณห่างออกมามากพอที่จะรู้ว่าคุณรู้สึกอย่างไร หรือสิ่งเหล่านี้มีความหมายกับคุณยังไง
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

วิเคราะห์สิ่งที่มีค่าสำหรับคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การรู้ว่าคุณให้ความสำคัญกับสิ่งไหนจะทำให้คุณมองเห็นแก่นแท้ในตัวคุณ คุณค่าหลายอย่างขึ้นอยู่กับประสบการณ์ส่วนตัว หรือบางอย่างก็เปลี่ยนไปเนื่องคุณได้เรียนรู้เกี่ยวกับตัวเองมากขึ้น
    • บางครั้ง สิ่งที่คุณให้ความสำคัญก็ยากที่จะระบุได้ เพราะนิยามและความเข้าใจเป็นเรื่องนามธรรมและมักคลุมเครือ สิ่งสำคัญของคุณคือ ความเชื่อ และอุดมคติที่คุณยึดถือตลอดชีวิตของคุณเวลาที่คุณต้องตัดสินใจ [5]
  2. การระบุและจำกัดความคุณค่าที่มีต่อคุณจะทำให้คุณเข้าใกล้วิถีที่คุณตระหนักว่าคุณเป็นใคร และสิ่งไหนคือที่สำคัญสำหรับคุณ เพื่อที่จะค้นหาสิ่งสำคัญของคุณ คุณจะต้องใช้เวลาสักพักในการคิดทบทวน และวิเคราะห์สิ่งที่สำคัญต่อคุณ และคุณค่าไหนที่ทำให้คุณเป็นคนอย่างที่คุณเป็น เริ่มระบุสิ่งสำคัญด้วยการเขียนและตอบคำถามดังต่อไปนี้:
    • หาคนสองคนที่คุณชื่นชอบมากที่สุด คุณสมบัติอะไรในตัวพวกเขาที่ทำให้คุณชื่นชอบ? เขาสองคนมีอะไรถึงทำให้คุณรู้สึกว่าพวกเขาน่าชื่นชม?
    • ถ้าคุณเลือกมีของติดตัวไปตลอดชีวิตของคุณได้แค่สามอย่างจากของที่มีอยู่ คุณจะเลือกอะไร? และทำไม?
    • หัวข้อ อีเวนท์ หรืองานอดิเรกอันไหนที่คุณรู้สึกชอบ? ทำไมสิ่งเหล่านี้จึงสำคัญสำหรับคุณ? มีอะไรในสิ่งเหล่านั้นที่ทำให้คุณรู้สึกหลงใหล?
    • เหตุการณ์อะไรที่ทำให้คุณรู้สึกได้รับการเติมเต็มและเต็มอิ่มมากที่สุด? อะไรในเวลานั้นที่ทำให้คุณรู้สึกแบบนั้น? และเพราะอะไร? [6]
  3. คุณควรเริ่มจากความคิดที่ว่า อะไรคือสิ่งสำคัญสำหรับคุณและคุณให้ความสำคัญกับอะไร พยายามจัดกลุ่มความคิด เหตุการณ์ หรือสิ่งทั้งหลายให้อยู่ภายใต้หลักเดียวกัน รวมทั้ง ความนอบน้อม ความซื่อตรง การมองโลกในแง่ดี ความมั่นใจ มิตรภาพ ความสำเร็จ ความศรัทธา ความเมตตา ความยุติธรรม ความเชื่อใจ และความสงบ
    • ใช้สิ่งสำคัญหัวใจหลักเหล่านี้ทำความเข้าใจและเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเองให้ดียิ่งขึ้น คุณค่าเหล่านี้จะช่วยให้คุณตัดสินใจและระบุสิ่งที่สำคัญสำหรับคุณ หลังจากวิเคราะห์ตนเองแบบนี้ได้ คุณก็ใกล้จะปลดล็อคตัวตนที่แท้จริงของคุณยิ่งขึ้นล่ะ [7]
    • คุณอาจจะมีสิ่งสำคัญหลายๆ กลุ่ม นี่เป็นเรื่องปกติเพราะมนุษย์เราซับซ้อนและมีความรู้สึกได้หลายรูปแบบ ตัวอย่าง คุณอาจเห็นคุณค่าของความซื่อสัตย์ ความสามารถ และความมั่นใจ คุณค่าเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องจัดอยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน แต่คุณสมบัติเหล่านี้แสดงให้คุณเห็นลักษณะของเหตุการณ์และผู้คนที่คุณให้ความสำคัญรอบตัวคุณ เช่นเดียวกันกับลักษณะนิสัยที่คุณมีโอกาสจะต่อสู้ในตัวคุณเพื่อให้ได้สิ่งนั้นมา
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ค้นพบเรื่องราวของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเขียนเรื่องราวในชีวิตของคุณจะบอกเกี่ยวกับสิ่งที่คุณเป็นได้หลายอย่าง รวมทั้งวิธีที่คุณมองความท้าทาย ความสนุก โอกาส และความพยายามในชีวิตของตัวเอง การเขียนถ่ายทอดเรื่องราวในชีวิตส่วนตัวของตัวเองออกมาจะทำให้คุณมองเห็นสิ่งที่คุณได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของคุณเอง และทำให้คุณเห็นว่าประสบการณ์เหล่านี้ส่งผลต่อคุณอย่างไรบ้าง [8]
    • ใช้วิธีนี้ทำให้คุณสามารถวิเคราะห์ได้ว่า ประสบการณ์ของคุณช่วยหล่อหลอมตัวคุณได้อย่างไรและนำมาสู่คุณค่าที่คุณยึดถือ ทัศนคติ ความเชื่อ ความลำเอียง กิริยาโต้ตอบ และการใช้ชีวิตคุณบนโลกใบนี้
  2. เมื่อคุณเขียนเกี่ยวกับชีวิตของคุณเสร็จ วิเคราะห์ตัวเองด้วยการถามคำถามดังต่อไปนี้:
    • เรื่องของคุณจัดอยู่ในเรื่องเล่าประเภทไหน? คุณได้รับความช่วยเหลือตลอด หรือคุณคือคนที่คอยช่วยคนอื่น? ธีมในเรื่องคุณคือความสิ้นหวัง หรือความสามารถ? เรื่องของคุณเป็นเรื่องรัก เรื่องตลก ดราม่า หรือแนวอื่น?
    • ถ้าคุณจะตั้งชื่อเรื่องของคุณ คุณจะใช้ชื่อว่าอะไร?
    • แบ่งเรื่องของคุณออกเป็นตอนๆ ทำไมคุณจึงแบ่งเนื้อเรื่องแบบนั้น? มีอะไรเปลี่ยนไป? คุณได้เรียนรู้อะไรบ้าง? ชื่อในแต่ละตอนคืออะไร?
    • คุณนิยามตัวเองในเรื่องของคุณหรือไม่? คุณนิยามคนอื่นหรือไม่? คำนิยามเหล่านั้นมีความหมายต่อคุณอย่างไร และคนอื่นพูดถึงการที่คุณมองตัวเอง คนอื่น และสังคมอย่างไร?
    • คุณจะบรรยายตัวเอง คนอื่นๆ และสังคมด้วยคำว่าอะไร? คำบรรยายเหล่านี้บอกเกี่ยวกับชีวิตของคุณและวิธีที่คุณใช้ชีวิตได้ยังไง? [9]
  3. เมื่อคุณเขียนเรื่องเกี่ยวกับตัวเองแล้ว คุณต้องตัดสินว่ามันหมายถึงอะไร สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเขียนเรื่องราวชีวิตของตนเองเพื่อการวิเคราะห์หรือที่เรียกกันว่า เล่าเรื่องบำบัด ก็คือ วิธีนี้แสดงให้คุณเห็นว่าสิ่งไหนสำคัญหรือจำเป็นต่อการดำรงอยู่ของตัวคุณ การเล่าเรื่องจะเปิดเผยช่วงเวลาสำคัญหรือควรค่าแก่การจดจำในชีวิตของคุณ เผยให้เห็นถึงวิธีที่คุณมองตัวเอง และสะท้อนวิถีชีวิตของคุณที่ผ่านมา
    • ตัวอย่าง ถ้าคุณเขียนเล่าเรื่องแบบดราม่า คุณอาจรู้สึกว่าชีวิตของคุณดราม่าและตึงเครียดกว่าเดิม ถ้าคุณเขียนเรื่องให้ดูตลก คุณอาจคิดว่าชีวิตของคุณนั้นสนุกสนานอยู่มาจนถึงตอนนี้ ถ้าคุณเขียนแนวความรัก บางทีคุณอาจจะเป็นคนที่เชื่อในความรักโดยที่คุณมีความรักอันยิ่งใหญ่หรือคาดหวังที่จะมีสักครั้งในอนาคต [10]
  4. ถึงแม้คุณจะทำตามขั้นตอนเหล่านี้ครบถ้วน คุณต้องรู้ไว้ด้วยว่านี่ต้องใช้เวลา สำคัญมากที่คุณต้องเข้าใจว่าการตระหนักว่าคุณเป็นใคร หรือวิเคราะห์ว่าคุณเป็นคนยังไง คือกระบวนการที่ต้องทำไปตลอดชีวิต คนที่คุณเป็นหรือสิ่งที่คุณเชื่อในวันนี้อาจแปรเปลี่ยนเมื่อเวลาผ่านไปในอนาคต [11]
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 23,728 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา