PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ผู้หญิงหลายคนตกเลือด หรือมีเลือดออกจากช่องคลอดในบางช่วงที่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาสแรก ซึ่งในหลายๆ กรณี (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงต้น และหากเลือดออกไม่มาก) อาจเป็นเรื่องปกติอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม หากเลือดยังคงออกอยู่อีกก็อาจจะน่าวิตก และมีเหตุผลอันสมควรที่จะประเมินความเสี่ยงโดยแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีเลือดออกพร้อมกับมีอาการเจ็บปวด เป็นตะคริว เป็นไข้ เวียนศีรษะ หรือเป็นลม มีความสำคัญที่คุณจะรู้จักยุทธศาสตร์ในการรับมือและควบคุมหากเกิดตกเลือด และต้องรู้ด้วยว่าเมื่อไรจะไปพบแพทย์เพื่อขอความช่วยเหลือ และรักษาเพิ่มเติม

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ประเมินและควบคุมการตกเลือด

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีความสำคัญมากที่จะรู้เรื่องปริมาณเลือดที่เสียไปตอนที่เลือดออกในแต่ละครั้ง สิ่งนี้จะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้ เช่นเดียวกับการวางแผนการจัดการ เริ่มตรวจดูปริมาณเลือดที่คุณกำลังเสียไป ในทันทีที่คุณสังเกตเห็นว่ามีเลือดออก
    • คุณจะตรวจดูได้หากใส่ผ้าอนามัยไว้ในกางเกงชั้นในให้ซับเลือดจนชุ่ม จงนับดูว่าตั้งแต่แปดโมงเช้าของวันหนึ่งจนถึงแปดโมงเช้าของอีกวันหนึ่ง ต้องใช้ผ้าอนามัยกี่ผืน จดบันทึกจำนวนไว้ แล้วนำไปให้แพทย์ของคุณประเมินผล
    • เฝ้าตามดูอาการอื่นๆ ของการมีเลือดออก เช่น เจ็บปวดหรือไม่เจ็บปวดอะไรเลย และมีเลือดออกเป็นพักๆ หรือออกอย่างต่อเนื่อง [1] ข้อมูลที่อธิบายการมีเลือดออกของคุณ จะเป็นประโยชน์สำหรับแพทย์ ที่จะคิดคำนวณว่าสาเหตุเกิดจากอะไร
    • สังเกตสีของเลือด (ชมพูกับแดงกับน้ำตาล) รวมทั้งดูว่ามีการแข็งตัวของเลือดหรือไม่ หรือมี “ชิ้นส่วนเนื้อเยื่อ” ที่ออกมาพร้อมกับเลือดหรือไม่ [2] หากมีชิ้นส่วนเนื้อเยื่อออกมาจากช่องคลอดพร้อมกับเลือด คุณอาจต้องการเก็บใส่ภาชนะบรรจุเพื่อนำไปให้แพทย์ตรวจดู เพราะอาจจะช่วยให้แพทย์ของคุณวินิจฉัยสาเหตุของปัญหาของคุณได้
  2. สำหรับการมีเลือดออกจำนวนเล็กน้อยในช่วงแรกของการตั้งครรภ์นั้น การพักผ่อนคือการบำบัดอย่างดีเลิศ ตามปกติแพทย์จะสนับสนุนให้นอนพักบนเตียงในช่วงสี่ห้าวันแรก หลังเกิดกรณีที่มีเลือดออก
    • หากพักแล้ว เลือดยังไม่หยุดไหลหรือยังไม่มีปริมาณลดน้อยลง มีความสำคัญที่คุณต้องไปพบแพทย์เพื่อประเมินผลอย่างละเอียด
  3. แพทย์จะแนะนำอย่างแน่นอนให้คุณหลีกเลี่ยงการทำงานที่ต้องออกแรงมาก หรือทำงานหนัก เช่น ยกน้ำหนัก เดินขึ้นลงบันไดบ่อยๆ วิ่ง ปั่นจักรยาน ฯลฯ กิจกรรมเหล่านี้ทำให้มดลูกเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วและกะทันหัน อาจทำให้เส้นเลือดที่เกิดใหม่และบอบบางของรกในครรภ์แตกได้ จึงจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงกิจกรรมเหล่านี้โดยสิ้นเชิง หากคุณสังเกตเห็นว่ามีเลือดออกแม้เพียงจำนวนเล็กน้อย
    • คุณสมควรจำกัดกิจกรรมทางกาย และหลีกเลี่ยงงานหนักอย่างน้อยสองสัปดาห์หลังจากเลือดหยุดไหล
  4. [3] บางครั้ง การมีเพศสัมพันธ์อาจเร่งให้เกิดการตกเลือด หรือทำให้อาการมีเลือดออกจากช่องคลอด ร้ายแรงมากขึ้น
    • หากมีเลือดออกในระหว่างตั้งครรภ์ คุณสมควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าแพทย์จะบอกว่าทำได้อย่างปลอดภัย ตามปกติ จะต้องรออย่างน้อยสองถึงสี่สัปดาห์หลังจากเลือดหยุดไหลแล้ว
  5. อย่าใช้ผ้าอนามัยแบบสอด หรือพยายามจะสวนล้างช่องคลอด. [4] อย่าสอดสิ่งใดเข้าไปในช่องคลอด หลังจากมีเลือดออกจากช่องคลอด จงหลีกเลี่ยงโดยสิ้นเชิงเรื่องการใช้ผ้าอนามัยแบบสอด หรือสวนล้างช่องคลอด เพราะอาจทำให้มีอาการบาดเจ็บที่คอมดลูก (cervix) หรือผนังมดลูก (vaginal wall) จนเลือดออกมากขึ้นอีก การสวนล้างช่องคลอดอาจนำเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ เข้าไปในช่องคลอด ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง
  6. มีความสำคัญมากที่คุณจะดื่มของเหลวเป็นจำนวนมากพอ ในตอนที่เลือดออก เรื่องนี้เป็นจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณประสบกับการตกเลือดอย่างหนัก
    • ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละแปดแก้วเพื่อให้คุณยังไม่ขาดน้ำ และดื่มมากกว่านั้น เพราะการมีเลือดออกเกี่ยวพันกับการสูญเสียของเหลวในร่างกาย ดังนั้น คุณจึงจำเป็นต้องดื่มมากกว่าจำนวนที่ดื่มตามปกติ เพื่อชดเชยของเหลวที่เสียไป
    • มีความสำคัญเช่นกันที่คุณจะดูแลตัวเองให้อิ่มน้ำ เพื่อสุขภาพและสวัสดิภาพของทารกในครรภ์ของคุณ
  7. จงตระหนักถึงสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้สตรีมีครรภ์มีเลือดออกจากช่องคลอด. นี่อาจช่วยทำให้เห็นความแตกต่างของสิ่งที่อาจจะกำลังเกิดขึ้นในกรณีเฉพาะของคุณ
    • การมีเลือดออกค่อนข้างจะเกิดขึ้นเป็นปกติในช่วงไตรมาสแรก (ในช่วงสิบสองสัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์) และเกิดขึ้นกับผู้หญิงประมาณ 20 – 30% [5] ส่วนใหญ่ของกรณีที่มีเลือดออกเป็นเรื่องไม่ร้ายแรง หมายความว่าไม่ได้น่าวิตกทั้งสำหรับมารดา และสำหรับทารก อาจเกิดจากการฝังตัวในผนังมดลูกของตัวอ่อน หรือการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของการตั้งครรภ์ [6]
    • อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ที่น่าวิตกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสูญเสียเลือดจำนวนมาก และ/หรือรู้สึกเจ็บปวดในช่วงไตรมาสแรกเช่นกัน นี่รวมถึงความเป็นไปได้ที่จะ “ท้องนอกมดลูก” หรือ "ectopic pregnancy" (ทารกฝังตัวในปีกมดลูกมากกว่าจะเป็นในมดลูก) “ครรภ์ไข่ปลาอุก " หรือ "molar pregnancy" (เป็นกรณีที่เกิดขึ้นได้ยาก เกิดจากการมีเนื้อเยื่อที่ผิดปกติเติบโตอยู่ในมดลูกของคุณ แทนที่จะเป็นตัวอ่อน) หรือการแท้งลูก [7]
    • 50% ของกรณีมีเลือดออกจากช่องคลอดภายใน 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ บ่งบอกว่ากำลังจะเกิดการแท้ง [8]
    • การมีเลือดออกในช่วงหลังของการตั้งครรภ์ (ในไตรมาสที่สองหรือสามของการตั้งครรภ์) น่ากังวลใจมากกว่า สาเหตุรวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับรก ปัญหาเกี่ยวกับมดลูก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณเคยผ่าท้องคลอดบุตรมาก่อน) การคลอดก่อนกำหนด (นิยามว่าหมายถึงการคลอดก่อนที่เด็กจะมีอายุได้ 37 สัปดาห์) หรือมีปัญหากับการคลอดเอง (หากใกล้กำหนดคลอดแล้ว) [9]
    • สาเหตุอื่นๆ ของการมีเลือดออกซึ่งอาจจะไม่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะเจาะจงกับการตั้งครรภ์ รวมทั้ง “ภาวะบาดเจ็บ” หรือ “trauma" (เป็นอาการบาดเจ็บที่ผนังมดลูก) จากการมีเพศสัมพันธ์, ติ่งเนื้อปากมดลูก หรือ Cervical polyp (เป็นเนื้อบริเวณรอบๆปากมดลูกซึ่งอาจมีเลือดออก และสามารถเกิดขึ้นได้ในสตรี ไม่ว่าจะตั้งครรภอยู่หรือไม่ก็ตาม), การเปลี่ยนแปลงของปากมดลูกไปในเชิงเป็นมะเร็ง หรือ cervical dysplasia (เซลล์ผิดปกติที่อาจทำให้เกิดมะเร็ง) ,และ/หรือมะเร็งปากมดลูก (หนึ่งในรูปแบบของมะเร็งที่พบได้ดาษดื่นที่สุดสำหรับสตรี ผู้ซึ่งไม่ได้เข้ารับการตรวจแปป (Pap tests) เป็นประจำ. [10]
  8. และพิจารณาว่าการที่คุณมีเลือดออกอาจหมายความหรือไม่ ว่าคุณกำลังจะคลอดแล้ว การตั้งครรภ์ตามปกติจะใช้เวลา 40 สัปดาห์ หรือ 280 วัน คุณสามารถใช้ข้อมูลนี้คำนวณกำหนดวันคลอดของคุณ—บวกเวลาเก้าเดือนกับอีกเจ็ดวันตามปฏิทิน จากวันแรกที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้าย ตัวอย่างเช่น หากเริ่มมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายในวันที่ 1 มกราคม 2557 กำหนดคลอดบุตรของคุณ คือในวันที่ 8 ตุลาคม 2557.
    • การมีเลือดออกช่วงใกล้กำหนดคลอด อาจบ่งชี้ว่าคุณเริ่มจะคลอดบุตรแล้ว ช่วงเวลาปกติคือตั้งแต่ก่อนวันครบกำหนด 10 วันและหลัง 10 วัน คุณสมควรจะแจ้งให้แพทย์ทราบในทันทีหากสงสัยว่าคุณอาจจะใกล้คลอดแล้ว
  9. รู้ว่าเมื่อใดสมควรขอรับความช่วยเหลือจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ. ไม่ว่าจะมีเลือดออกใดๆ ระหว่างการตั้งครรภ์ คุณสมควรปรึกษากับแพทย์ของคุณให้ทันต่อเวลา หากมีเลือดออกมาพร้อมกับอาการใดๆ ดังต่อไปนี้ ขอแนะนำให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุดที่จะเป็นไปได้เพื่อประเมินอาการและให้การรักษาอย่างรวดเร็ว: [11]
    • เจ็บปวดมาก หรือเป็นตะคริว
    • มึนหัวหรือเป็นลม (เป็นสัญญาณของการสูญเสียเลือดจำนวนมาก)
    • เนื้อเยื่อที่ออกมาจากช่องคลอดพร้อมกับเลือด (อาจเป็นสัญญาณของการแท้ง)
    • มีไข้ และ/หรือหนาวสั่น (อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ)
    • อาการตกเลือดหนักซึ่งไม่ได้ลดลง หรือหยุดลง
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

รู้ว่าเมื่อไรสมควรร้องขอความช่วยเหลือทางการแพทย์

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. รู้ว่าคุณสามารถเมินเฉยต่อการมีเลือดออกหากมีปริมาณเล็กน้อยมาก. หากคุณมีเลือดออกน้อยมาก (เพียงสี่ห้าหยด) เลือดเป็นสีน้ำตาล มีเลือดออกน้อยกว่าหนึ่งถึงสองวัน และไม่ได้มีอาการเจ็บปวดหรือตะคริว คุณอาจเมินเฉยมันได้ เพราะส่วนใหญ่แล้วน่าจะเป็น “เลือดล้างหน้าเด็ก”( implantation bleeding ) หรือเป็นผลจากการขยายตัวของหลอดเลือด
    • ไม่ว่าเลือดจะออกน้อยเพียงใด คุณสมควรหลีกเลี่ยงการทำงานหนักนานสี่ห้าวัน และเฝ้าดูอย่างระมัดระวังเรื่องปริมาณเลือดที่ออก
  2. ร้องขอความช่วยเหลือทางการแพทย์หากคุณตกเลือดอย่างหนัก.ไม่ว่าจะเป็นการมีเลือดออกในปริมาณมากแบบไหนระหว่างการตั้งครรภ์ ล้วนถือเป็นเหตุฉุกเฉิน โดยคร่าวๆ นั้น การตกเลือดมากเกินจำเป็นหมายถึงมีเลือดออกปริมาณมากกว่าเลือดประจำเดือนตามปกติ [12]
  3. ให้ความสนใจกับอาการเจ็บปวด หรือการเป็นตะคริวใดๆ ที่คุณรู้สึก. ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นและหายไปบ่งชี้ว่ามีการหดตัวของมดลูก ซึ่งหมายความว่ามดลูกกำลังพยายามจะขับตัวอ่อนออก สำหรับการตั้งครรภ์ในระยะเริ่มแรกนั้น ความเจ็บปวดและการเป็นตะคริวอาจเป็นสัญญาณของการแท้ง แต่สำหรับช่วงไตรมาสสุดท้าย อาจเป็นสิ่งบ่งชี้ว่าคุณกำลังเจ็บท้องคลอด [13] ด้วยเหตุนี้ หากรู้สึกเจ็บปวด หรือเป็นตะคริว คุณสมควรติดต่อแพทย์ในทันที
    • การเจ็บท้องคลอดของจริงนั้นจะเจ็บสม่ำเสมอและหยุดพักเป็นช่วงๆ มันจะค่อยๆ เพิ่มความเข้มข้นและช่วงเวลา รวมทั้งจะมี "เลือดไหลเริ่มคลอด" หรือ "show" (การขับเมือกผสมเลือดออกมา)
  4. ร้องขอความช่วยเหลือหากคุณวิงเวียนศีรษะ หรือรู้สึกจะเป็นลม. การวิงเวียนศีรษะ หรือรู้สึกจะเป็นลมเป็นอาการของการเสียเลือดปริมาณมาก [14]
  5. ตามปกตินั้น การมีเลือดออกพร้อมกับมีไข้บ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อในมดลูกหลังการแท้งตามธรรมชาติหรือการทำแท้ง ด้วยเหตุนี้ คุณจึงสมควรแจ้งให้แพทย์ทราบในทันทีทุกครั้งที่เป็นไข้ [15]
  6. ขอความช่วยเหลือในทันทีหากร่างกายขับเนื้อเยื่อออกมาทางช่องคลอด. การขับเนื้อเยื่อผ่านช่องคลอดออกมา เป็นอาการบ่งชี้อย่างร้ายแรงเรื่องการแท้ง หากเกิดขึ้น คุณสมควรติดต่อกับแพทย์ในทันที เพื่อที่แพทย์จะสามารถนำก้อนเลือดที่คั่งในมดลูกออกหากจำเป็น เพื่อสามารถควบคุมอาการเลือดออกได้ [16]
  7. ไม่ว่าอะไรจะเป็นสาเหตุของเลือดออกในช่องคลอด (ไม่ว่าจะเป็นการแท้ง การท้องนอกมดลูก การติดเชื้อ หรือการเริ่มเจ็บครรภ์ ) ล้วนจะทำให้ร่างกายของคุณเกิดความเครียดอย่างมาก ซึ่งในกรณีส่วนใหญ่นั้น แพทย์จะแนะนำอย่างแข็งขันให้พักผ่อน ไม่ให้ออกกำลังกายหักโหม มักจะให้งดการมีเพศสัมพันธ์ชั่วขณะหนึ่ง กับดื่มน้ำมากๆ จงทำให้แน่ใจว่าคุณได้ทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างระมัดระวัง เพื่อเร่งเวลาฟื้นตัวของคุณและป้องกันโรคแทรกซ้อนอื่นๆ
    โฆษณา

คำเตือน

  • มีความสำคัญที่จะแจ้งเตือนแพทย์ของคุณเรื่องการตกเลือดใดๆ หากคุณมีกลุ่มเลือดอาร์เอช เนกาทีฟ เพราะคุณอาจจะจำเป็นต้องฉีดวัคซีน RhoGAM
โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 18,996 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา