ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การพูดไม่ชัดหรือพูดแบบพึมพำนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อคุณพูดด้วยโทนเสียงต่ำ หรือไม่ก็พูดออกเสียงแบบลวกๆ จนทำให้คนอื่นไม่เข้าใจในสิ่งที่คุณกำลังพูด และมักจะขอให้คุณพูดซ้ำอีกรอบ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่อาจจะติดจนกลายเป็นพฤติกรรมที่ไม่ดีในตัวคุณได้ แต่ว่าจริงๆ แล้วคนส่วนใหญ่ก็มักจะรู้อยู่แล้วว่าจะต้องพูดยังไงไม่ให้เสียงออกมาเป็นแบบนั้น เราอยากให้คุณลองนึกถึงตอนที่ตัวเองกำลังคุยโทรศัพท์แล้วสัญญาณไม่ค่อยดี หรือไม่ค่อยจะได้ยินเสียงของอีกฝ่ายดู ในสถานการณ์แบบนั้น คุณอาจจะพูดออกมาดังๆ และชัดเจนไปเองโดยที่คุณแทบจะไม่ต้องคิดเลย คุณสามารถทำสิ่งนั้นให้เกิดเป็นความเคยชินและติดจนเป็นนิสัยได้หรือเปล่าล่ะ? ถ้าคุณอยากทำแบบนั้นได้ เราก็มีเทคนิคบางอย่างมาให้คุณลองด้วย ไปดูกันเลย!

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

ใช้บุคลิกท่าทางที่ดีกว่าเดิม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ยืนตัวตรง . ถึงแม้ว่าคุณจะรู้สึกประหม่า แต่การ มีบุคลิกท่าทางที่ดี ก็สามารถช่วยเสริม ความมั่นใจ ในตัวคุณได้ นอกจากนี้ยังช่วยทำให้ทางเดินหายใจของคุณเปิดโล่ง และส่งผลให้การหายใจของคุณแข็งแรงขึ้นด้วย
    • เวลานั่ง ให้นั่งสบายๆ เพื่อที่คุณจะได้สามารถนั่งตัวตรงได้ โดยให้คุณเก็บซ่อนหน้าท้องเอาไว้ และนั่งโดยให้ดันกระดูกสันหลังของคุณขึ้นให้ตรง
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

จัดการกับแรงกระตุ้นที่ทำให้คุณเผลอพูดแบบพึมพำ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เวลาที่คนพูดเร็วนั้นแสดงว่าเขากำลังรู้สึกไม่มั่นใจในตัวเองอยู่ หรือไม่ก็อาจจะรู้สึกประหม่า ฉะนั้น ให้คุณแกล้งทำเป็นว่าตัวเองไม่ได้รู้สึกประหม่าซะเลย เพราะนั่นจะช่วยทำให้คุณพูดออกมาในความเร็วระดับปกติได้
  2. อาจจะมีบ้างที่คุณพูดผิด แต่จำไว้ว่าคนอื่นก็เป็นเหมือนกันทั้งนั้น ฉะนั้น เมื่อพูดผิดก็แค่ย้อนกลับไปแก้ให้ถูกหรือไม่ก็พูดต่อไป สิ่งนี้เรียกว่าทักษะ ซึ่งบางคนก็มีพรสวรรค์ในเรื่องนี้อยู่แล้ว และถ้าหากคุณจำเป็นต้องฝึกจริงๆ ล่ะก็ ให้จำไว้เสมอว่า ถึงแม้นี่จะไม่ใช่ทักษะที่คุณถนัด แต่มันเป็นสิ่งที่คุณสามารถเรียนรู้และสร้างได้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

พยายามปรับปรุงความชัดเจนในการพูดของตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้คุณฝึกฟังจากคนที่มีทักษะที่ดีในการพูด เช่น ผู้ประกาศในวิทยุและทีวี ลองสังเกตดูว่าพวกเขาออกเสียงแต่ละคำอย่างไร พูดเร็วประมาณไหน รวมถึงจุดอื่นๆ นอกจากนี้ด้วย
  2. ให้คุณอัดเสียงพูดของตัวเองด้วยเครื่องอัดเสียง หรือจะใช้คอมพิวเตอร์กับไมโครโฟนก็ได้ จากนั้น ให้ฟังเสียงพูดที่ตัวเองอัดไว้ แล้วลองใช้โอกาสนี้สังเกตดูว่ามีตรงไหนบ้างที่ฟังไม่ค่อยเข้าใจ ประโยคไหนที่เสียงหายไปเหมือนพูดไม่ค่อยมั่นใจ และอื่นๆ ที่นอกเหนือจากนี้
    • ให้ฝึกออกเสียงด้วยการอ่านอะไรก็ได้ออกมาให้ดังฟังชัด และออกเสียงทุกๆ คำให้ถูกต้องและช้าๆ หากคุณเผลอพูดพึมพำในคอ ให้คุณย้อนกลับไปประโยคเดิมและพูดใหม่อีกรอบ
    • ฝึกออกเสียงสละบางเสียงด้วยปากที่เปิดกว้าง
  3. 3
    ฝึกอ่านออกเสียงดังๆ อย่างน้อยสัก 10 นาทีต่อวัน
  4. ให้คุณทดลองออกเสียงแบบ tongue twister (อย่างเช่น เช้าฟาดผัดฟัก เย็นฟาดฟักผัด) แล้วอัดเสียงไว้ จากนั้นก็เอามาฟังแล้วเช็คดูว่าตัวเองมีปัญหาในการออกเสียงตรงไหนบ้าง และพยายามแก้ไขจุดที่ผิดพลาดด้วยการฝึกฝนเพิ่มเติม
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

พูดออกมาให้ชัดเจน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เสียงพูดของคุณคงจะออกมาได้ไม่เยอะสักเท่าไร หากเสียงของคุณต้องพยายามเล็ดลอดออกมาจากฟันที่เกือบจะขบกันสนิทและริมฝีปากที่เกือบจะปิดสนิทของคุณ
  2. ให้เช็คตัวเองเวลาออกเสียงด้วยว่า คุณได้กักลมไว้สำหรับตัว “ท” และ “บ” แล้วหรือเปล่า นอกจากนี้ ให้แยกความต่างระหว่างเสียงสละแต่ละตัวให้ชัดเจนด้วย
  3. การพูดเร็วจนเกินไปคืออาการที่มักจะเกิดจากความประหม่า ซึ่งมันไม่ได้ทำให้สิ่งที่คุณพูดฟังดูเข้าใจมากขึ้นแต่อย่างใด
  4. พยายามพูดให้ดังขึ้นเพียงแค่เล็กน้อยก็ยังดี เพราะวิธีนี้จะทำให้คุณใช้ลมหายใจมากขึ้นโดยอัตโนมัติ และนั่นก็อาจจะทำให้คุณพูดช้าลง และเปล่งเสียงออกมาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
  5. ถ้าเป็นประโยคคำถามก็ให้คุณใช้โทนเสียงที่สูงขึ้นในช่วงท้ายๆ ประโยคสักหน่อย ส่วนประโยคบอกเล่าก็ใช้โทนเสียงพูดที่ไม่ต้องสูงมาก นอกจากนี้ ให้ดูด้วยว่าควรจะเน้นที่พยางค์และคำไหนบ้าง พยายามเล่นโทนเสียงสูงต่ำในประโยคพูดของตัวเองให้คล้ายๆ กับตอนที่ตัวเองอ่านนิทานให้เด็กเล็กฟัง และใส่น้ำเสียงหรืออารมณ์เพิ่มเข้าไปสักเล็กน้อย
  6. ให้คุณใช้กล้ามเนื้อส่วนท้องเพื่อช่วยในการหายใจเวลาพูด ถึงแม้ว่าวิธีนี้จะไม่ได้ทำให้คุณพูดเสียงดังขึ้น แต่ด้วยวิธีนี้ คุณจะสามารถพูดให้ชัดเจนขึ้นได้ ฉะนั้น ให้คุณลองวางมือทาบลงไปที่หน้าท้องที่ตรงใต้ซี่โครงดู หากคุณใช้กระบังลมช่วยเวลาคุณพูด คุณก็จะรู้สึกได้ถึงการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อตรงส่วนนั้น
  7. ร้องเพลง . คุณไม่จำเป็นต้องร้องเพลงให้คนอื่นฟังหรอก แค่ลองร้องเพลงคนเดียวเวลาอาบน้ำหรือเวลาอยู่ในรถก็ได้ วิธีนี้ถือเป็นการบริหารเสียงของตัวคุณเอง และทำให้คุณคุ้นเคยกับการใช้เสียงตัวเองด้วย นอกจากนี้ คุณยังจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ลม การเปล่งเสียง การหายใจ และการใช้ถ้อยคำด้วย
  8. ไม่ต้องตะโกนจนเสียงแหลมหรือกรี๊ดออกมา หรือทำเสียงของตัวเองให้สูง แค่ตะโกนออกมาให้เสียงดังฟังชัดก็พอ รักษาระดับเสียงให้อยู่ในระดับที่ปกติ และดูว่าคุณสามารถพูดให้ดังสุดได้เท่าไหน ซึ่งการตะโกนเชียร์เวลามีแข่งกีฬา หรือการพูดกันในที่ที่มีเสียงดนตรีดังๆ นั้นก็ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่คุณจะได้ฝึกฝนสิ่งนี้ หรือไม่คุณก็อาจจะปิดประตูห้องฝึกเอาก็ได้ จากนั้นให้สังเกตดูวิธีการที่ตัวเองควบคุมลมหายใจเวลาตะโกนออกมาดู
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • จงมั่นใจในตัวเอง หรืออย่างน้อยก็มีความเชื่อมั่นในสิ่งที่ตัวเองกำลังพูดเพื่อทำให้ประโยคเหล่านั้นสื่อสารออกมาอย่างชัดเจนได้
  • มีสติอยู่กับการพูดของตัวเอง และให้ฟังตัวเองพูดแล้วสังเกตในวิถีการพูดของตัวเองในบางครั้งคราวด้วย
  • ก่อนที่คุณจะพูด มันจะช่วยได้มากหากคุณไม่รู้สึกตื่นเต้นและมีความมั่นใจในตัวเอง เพราะบางครั้งหากคุณรู้สึกตื่นเต้น นั่นอาจจะทำให้คุณพูดเร็วกว่าเดิม และก็อาจจะทำให้ฟังไม่ชัดเจนได้ ฉะนั้น ทำใจให้สงบ ไม่ต้องรีบ และให้นึกถึงสิ่งที่ตัวเองอยากจะพูดออกไป
  • หากคุณรู้สึกประหม่าหรือไม่ค่อยมั่นใจ ให้คุณคิดซะว่าการพูดแบบชัดเจนนั้นถือเป็นการที่คุณแสดงมารยาทที่ดีต่อผู้ฟังอย่างหนึ่ง
  • ลองขอให้เพื่อนของคุณช่วยฟังคุณเวลาที่คุณฝึกอ่านออกเสียงดู จากนั้นก็ให้เพื่อนคุณบอกมาว่ามีจุดไหนที่คุณทำได้ดีและแย่บ้าง
  • พยายามพูดออกมาให้เสียงดังกว่าคนที่คุณกำลังพูดด้วย
  • สังเกตตัวเองดูว่ามีปัญหากับการพูดคำไหนบ้าง จากนั้นก็พูดออกมาให้ดังฟังชัดซ้ำๆ หลายรอบจนกว่าคุณจะสามารถพูดคำเหล่านั้นออกมาในจังหวะการพูดแบบปกติได้
  • คิดก่อน แล้วค่อยพูด
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,938 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา