ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การร้องไห้ต่อหน้าคนที่ตวาดเรานั้นเป็นประสบการณ์ที่ใครๆ ก็ไม่อยากให้เกิดขึ้นเลย มันเป็นเรื่องน่าอายและอาจทำลายชื่อเสียงของเราในที่ทำงาน ที่โรงเรียน หรือที่บ้านได้ ถึงแม้มนุษย์เราต้องเคยร้องไห้กันบ้าง แต่ก็มีบางสถานการณ์ที่ต้องกล้ำกลืนน้ำตาไว้ แล้วเราจะทำอะไรได้บ้างล่ะ ถ้าเราเป็นคนที่ร้องไห้ง่าย บทความนี้จะขอแนะนำเคล็ดลับในการสะกดความรู้สึก (และกลั้นน้ำตา) เราจะได้เรียนรู้วิธีสงบสติอารมณ์หลังจากร้องไห้ออกมาแล้ว และเราสามารถลดโอกาสที่ตนเองจะร้องไห้ได้ในอนาคตด้วยการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่มีผลกระทบต่ออารมณ์ความรู้สึกของเราให้คลี่คลาย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

กลั้นน้ำตาไว้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หยิกผิวหนังบริเวณง่ามมือระหว่างนิ้วชี้กับนิ้วหัวแม่มือ. หยิกผิวหนังบริเวณนั้นของมือแรงๆ สักครั้ง หยิกแรงจนกระทั่งตนเองรู้สึกเจ็บ แต่อย่าแรงมากจนเกิดรอยพกช้ำดำเขียว ความเจ็บปวดจะช่วยให้เราชะงักและมีโอกาสร้องไห้น้อยลง [1]
    • จะบีบดั้งจมูกก็ได้ การบีบดั้งจมูกจะช่วยขัดขวางน้ำตาไม่ให้ออกมาจากท่อน้ำตาได้ [2]
  2. สูดลมหายใจเข้าลึกๆ . เมื่อรู้สึกอยากร้องไห้ขึ้นมา ให้ค่อยๆ สูดลมหายใจเข้าลึกๆ สักสองสามครั้ง จะทำให้ร่างกายของเราผ่อนคลายและได้หันเหความสนใจออกจากคนที่กำลังตวาดเราอยู่สักเล็กน้อย การได้หันเหความสนใจออกไปแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจเพียงพอแล้วที่จะป้องกันไม่ให้เราร้องไห้ [3]
  3. มองอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่คนซึ่งกำลังตวาดเราอยู่ มองโต๊ะ มองมือตนเอง หรือวัตถุอื่นที่อยู่ตรงหน้าเรา การไม่มองตาคนที่กำลังโมโหอยู่จะทำให้เรากลับมาสงบเยือกเย็นได้อีกครั้ง [4]
  4. ออกห่างจากคนที่กำลังตวาดเราสักหน่อยด้วยการถอยหลังหรือถอยเก้าอี้ห่างออกมา การรักษาระยะห่างทางกายจะช่วยให้เรารู้สึกว่ายังพอมีหนทางและอยากร้องไห้น้อยลง [5]
  5. ถ้าไม่สามารถกลั้นน้ำตาได้ ให้ออกจากสถานการณ์นั้น หาข้ออ้าง ถ้าทำได้อย่างเช่น รู้สึกไม่ค่อยดี อาจบอกคนคนนั้นว่าเราไม่มีอารมณ์จะคุยด้วย ออกไปอยู่ที่ซึ่งมีความเป็นส่วนตัวเพื่อสงบสติอารมณ์ [6]
    • พูดบางสิ่งอย่างเช่น “ฉันอารมณ์ไม่ดี จึงไม่อยากคุยอะไรกับคุณตอนนี้ ฉันขอเวลาสักหนึ่งนาที จากนั้นเราค่อยกลับมาคุณกันภายหลัง”
    • เราจะหนีไปหลบอยู่ในห้องน้ำก็ได้
    • การออกไปเดินเล่นจะทำให้สมองของเราปลอดโปร่งมากขึ้น การได้ออกกำลังกายสักหน่อยจะช่วยให้เรารู้สึกว่าควบคุมตนเองได้มากขึ้น
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

สงบสติอารมณ์ของตนเองให้ได้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไปที่รถ ห้องทำงาน ห้องน้ำ หรือที่ไหนก็ได้ที่เราจะไม่ถูกรบกวน ถ้าต้องการร้องไห้ ก็ร้องออกมา ให้เวลาตนเองทั้งหมดที่มีจนกว่าเราจะกลับมารู้สึกสงบอีกครั้ง
    • ถ้าพยายามหยุดร้องไห้กลางคัน เราจะกลับมาร้องไห้ใหม่ได้อีก
  2. ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบบริเวณใต้ดวงตาเพื่อลดความแดงและความบวมของดวงตา จะใช้ผ้าห่อก้อนน้ำแข็งแล้วนำมาประคบบริเวณดวงตาแทนก็ได้ [7]
    • ถ้าอยู่ที่บ้านและไม่ได้เร่งรีบอะไร นำกระดาษอเนกประสงค์มาห่อถุงถั่วแช่แข็งและวางประคบที่บริเวณใบหน้าหรือนำถุงชาเขียวเย็นๆ วางประคบที่บริเวณดวงตา
  3. ใช้ยาหยอดตาอย่างเช่น Visine เพื่อลดความแดงที่ยังคงหลงเหลืออยู่ของดวงตา ใช้น้ำยาหยอดตาข้างละหนึ่งหรือสองหยด ดวงตาควรจะดูใสใน 10 ถึง 15 นาที [8]
    • ถ้าเราเป็นคนที่ร้องไห้บ่อยมาก อย่าใช้ยาหยอดตาบ่อยเกินไป ยาหยอดตาจะทำให้ตาของเราแดง ถ้าใช้มากเกินไป ควรใช้ยาหยอดตาสองครั้งต่อสัปดาห์ก็พอ
    • ยาหยอดตานั้นต้องสามารถนำมาใช้กับคอนแทคเลนส์ได้อย่างปลอดภัย ถ้าเราใส่คอนแทคเลนส์อยู่
  4. ถ้าเราแต่งหน้ามา ใช้เวลาเติมเครื่องสำอางสักหน่อย เช็ดเครื่องสำอางที่ไหลเปื้อนบริเวณดวงตาและบริเวณอื่นๆ ของใบหน้า ใช้รองพื้นหรือคอนซีลเลอร์ปกปิดรอยแดงหรือบริเวณจุดด่างดำ จบด้วยการทามาสคาร่า ปัดแก้ม หรือเติมเครื่องสำอางอะไรก็แล้วแต่ที่เลือนไปหลังจากร้องไห้ [9]
    • ถ้าเราร้องไห้บ่อยๆ อาจต้องมีเครื่องสำอางติดโต๊ะหรือกระเป๋าถือไว้
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

สร้างความเข้าใจและแก้ไขปัญหา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าเราเป็นคนบ่อน้ำตาตื้น ป้องกันความตื่นตกใจด้วยการบอกเจ้านาย เพื่อนร่วมงาน ครอบครัว และเพื่อนให้รู้ล่วงหน้า ย้ำว่านี้ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไรและบอกวิธีรับมือที่ดีที่สุดแก่บุคคลเหล่านี้ด้วยถ้าเกิดเราร้องไห้ออกมา [10]
    • ตัวอย่างเช่น เราอาจพูดว่า “ฉันมักจะร้องไห้ง่าย ฉะนั้นอย่ากังวล ถ้าเห็นฉันร้องไห้ นี้เป็นเรื่องปกติของฉัน ฉันพยายามยับยั้งตนเองไม่ให้ร้องไห้มาตลอด แต่ถ้าฉันร้องไห้ออกมา ขอเวลาสักสองสามนาทีแล้วฉันจะหยุดร้องไห้เอง”
  2. หลังจากที่อารมณ์สงบลงแล้ว ขอพูดคุยกับคนที่ตวาดเราเป็นการส่วนตัว พูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและขอโทษถ้าเราทำอะไรผิดไป จากนั้นค่อยบอกว่าเรารู้สึกอย่างไรที่ถูกคนคนนั้นตวาดและขอให้เขาพูดคุยกับเราอย่างใจเย็นมากกว่านี้ในคราวหน้า [11]
    • อาจพูดอย่างเช่นว่า “ฉันจะลนลานเมื่อมีคนตวาดฉันอย่างรุนแรง ฉันก็เลยคิดหาวิธีแก้ปัญหาของเราไม่ออกในตอนนั้น คราวหน้าถ้าพบปัญหาแบบนี้อีก รอให้เราทั้งคู่สงบลงก่อนแล้วค่อยคุยกันได้ไหม”
  3. คิดหาสาเหตุว่าทำไมการถูกตวาดถึงทำให้เราร้องไห้. ถามตนเองว่ารู้สึกอย่างไรบ้างเมื่อมีใครสักคนตวาดใส่เรา ถ้ารู้สาเหตุที่ทำให้ตนเองร้องไห้อย่างชัดเจนแล้ว ก็อาจสามารถหากลวิธีรับมือได้มากขึ้น [12]
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าเรากระวนกระวายเหลือเกิน อาจบีบลูกบอลคลายเครียดเพื่อให้จิตใจได้ผ่อนคลายลง
    • ถ้าการถูกตวาดทำให้ตนเองรู้สึกต่ำต้อยหรือด้อยค่า ก็ให้พยายามนึกเสียว่าคนที่ตวาดเรานั้นเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่สามารถทำผิดพลาดได้เช่นกันและคนคนนั้นอาจไม่มีสิทธิ์ตวาดเราด้วยซ้ำ
    • เราร้องไห้บ่อยๆ เหมือนเด็กหรือเปล่า นี้อาจเป็นอุปนิสัยที่ติดตัวเรามาจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่
  4. คิดสิว่าเราจะสามารถทำหรือพูดอะไรได้บ้างในคราวหน้า ถ้ามีใครสักคนโมโหใส่เรา นึกภาพตนเองมีท่าทีสงบและเยือกเย็น ขณะที่ใช้กลวิธีใหม่ๆ ในการรับมือกับการถูกตวาด [13]
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าหัวหน้ามักจะตวาดเราบ่อยๆ ลองนึกภาพเรากำลังพูดอย่างเช่นว่า “ขอโทษที่ทำให้หัวหน้าไม่พอใจและฉันพยายามหาทางแก้ไขปัญหาอยู่ ตอนที่หัวหน้ากำลังตวาดอยู่ ฉันไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งที่หัวหน้ากำลังเอ่ยได้ เราสามารถคุยกันอย่างใจเย็นมากกว่านี้ในภายหลังได้ไหม”
    • ถ้าบอกไปก็ยังไม่ได้ผล หัวหน้าก็ยังเอาแต่ตวาดใส่เราอยู่ดี อาจลองปรึกษาฝ่ายบุคคลในที่ทำงาน ไม่มีใครควรตกเป็นเหยื่อของการถูกข่มแหงในที่ทำงาน
  5. ถ้ากำลังเผชิญกับความเครียดเรื้อรัง เราก็อาจมีโอกาสร้องไห้มากขึ้นในสถานการณ์ตึงเครียด การลดความเครียดสามารถยับยั้งเราไม่ให้ร้องไห้ได้มาก คิดสิว่าสามารถทำกิจกรรมอะไรได้บ้างในช่วงนี้เพื่อให้ตนเองผ่อนคลายและลดความเครียดลง [14]
    • ตัวอย่างวิธีการดีๆ ที่สามารถนำมารับมือกับความเครียดได้เช่น เล่นโยคะ ทำสมาธิ โทรหาเพื่อน ไปเดินเล่นข้างนอก หรือฟังเพลงสบายๆ พยายามทำกิจกรรมเหล่านี้เมื่อรู้สึกเครียดหรือสมองตื้อคิดอะไรไม่ออก
  6. ถ้าการร้องไห้ของเรามีผลกระทบต่อความสัมพันธ์หรือเป็นอุปสรรคในการทำงานหรือการเรียน ขอแนะนำให้เข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพจิตเพื่อจะได้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับตนเอง ผู้ให้คำปรึกษาหรือนักบำบัดสามารถช่วยให้เราค้นพบสาเหตุว่าทำไมตนเองถึงมักจะร้องไห้บ่อยๆ และหาวิธีการยับยั้งตนเองไม่ให้ร้องไห้ได้
  7. ลองพูดคุยกับเพื่อน ถ้าไม่สะดวกใจที่จะพูดคุยกับผู้ให้คำปรึกษา. ถ้าได้อธิบายปัญหาของตนเองให้ใครสักคนซึ่งสนิทกันฟัง เราก็น่าจะเปิดเผยเรื่องราวต่างๆ ได้มากขึ้นและจากนั้นก็จะสามารถเปิดเผยตัวเองได้มากขึ้น ถ้าไม่เล่าปัญหาให้ผู้อื่นฟังบ้าง เราก็อาจไม่สามารถมองเห็นปัญหาของตนเองได้ ถ้าเพื่อนคนนั้นเป็นเพื่อนแท้ เขาจะพยายามปลอบใจและปลอบโยนมากกว่านั่งอยู่เฉยๆ และเอาแต่เฝ้ามองเราทุกข์ใจ
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,757 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา