PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

เพื่อที่จะบวกหรือลบเศษส่วนที่มีตัวหารต่างกัน (จำนวนที่อยู่ด้านล่างของเศษส่วน) คุณจะต้องหาตัวหารร่วมต่ำสุดที่เป็นตัวร่วมระหว่างสองตัวนั้น นี่หมายถึงค่าผลคูณต่ำที่สุดที่มีร่วมกันของตัวหารดั้งเดิมแต่ละตัวในสมการ หรือจำนวนเต็มต่ำสุดที่ตัวหารในเศษส่วนแต่ละตัวสามารถหารได้ [1] คุณอาจจะเคยเห็นคำว่าตัวคูณร่วมน้อย ซึ่งโดยทั่วไปก็จะเป็นจำนวนเต็ม แต่วิธีการหาก็เหมือนกันทั้งสองตัว การหาตัวหารร่วมน้อยจะทำให้คุณสามารถแปลงตัวหารให้กลายเป็นจำนวนเดียวกันเพื่อที่คุณจะสามารถบวกลบมันได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

แจกแจงผลคูณ [2]

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทำการแจกแจงผลคูณทั้งหลายของตัวหารแต่ละตัวในสมการ แต่ละรายการผลลัพธ์ควรประกอบด้วยตัวหารที่คูณด้วย 1, 2, 3, 4, ไปเรื่อยๆ
    • ตัวอย่าง: 1/2 + 1/3 + 1/5
    • ผลคูณของ 2: 2 * 1 = 2; 2 * 2 = 4; 2 * 3 = 6; 2 * 4 = 8; 2 * 5 = 10; 2 * 6 = 12; 2 * 7 = 14; เป็นต้น
    • ผลคูณของ 3: 3 * 1 = 3; 3 * 2 = 6; 3 *3 = 9; 3 * 4 = 12; 3 * 5 = 15; 3 * 6 = 18; 3 * 7 = 21; เป็นต้น
    • ผลคูณของ 5: 5 * 1 = 5; 5 * 2 = 10; 5 * 3 = 15; 5 * 4 = 20; 5 * 5 = 25; 5 * 6 = 30; 5 * 7 = 35; เป็นต้น
  2. กวาดตาดูรายการที่ได้และหาผลคูณที่มีร่วมกันในตัวหารดั้งเดิมทั้งหมด หลังจากหาตัวคูณร่วมได้ ให้ระบุตัวหารร่วมน้อยหรือตัวหารร่วมที่มีค่าต่ำสุด
    • โปรดสังเกตว่าหากยังไม่มีตัวหารร่วมปรากฎให้เห็น คุณอาจต้องเขียนผลคูณต่อจนกระทั่งเจอผลคูณที่มีร่วมกัน
    • วิธีนี้จะง่ายเมื่อตัวหารเป็นจำนวนเลขมูลค่าน้อย
    • ในตัวอย่างนี้ ตัวหารทั้งหมดมีผลคูณร่วมกันเพียงตัวเดียว นั่นคือ 30: 2 * 15 = 30 ; 3 * 10 = 30 ; 5 * 6 = 30
    • ตัวหารร่วมน้อย = 30
  3. เพื่อที่จะเปลี่ยนเศษส่วนแต่ละตัวในสมการให้มันยังคงเดิมต่อสมการตั้งต้นนั้น คุณจะต้องคูณเศษ (เลขตัวบนของเศษส่วน) กับตัวหารโดยใช้ตัวประกอบเดียวกันกับที่ใช้คูณตัวหารเมื่อหาตัวหารร่วมน้อย
    • ตัวอย่าง: (15/15) * (1/2); (10/10) * (1/3); (6/6) * (1/5)
    • สมการใหม่: 15/30 + 10/30 + 6/30
  4. หลังจากหาตัวหารร่วมน้อยและเปลี่ยนเศษส่วนแล้ว คุณควรสามารถแก้โจทย์ได้อย่างไม่ยากเย็น จำไว้ว่าต้องเขียนเศษส่วนให้อยู่ในรูปแบบอย่างง่ายในตอนท้ายสุด
    • ตัวอย่าง: 15/30 + 10/30 + 6/30 = 31/30 = 1 1/30
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ใช้ตัวหารร่วมมาก [3]

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตัวประกอบของตัวเลขคือจำนวนเต็มทั้งหมดที่สามารถหารตัวเลขนั้นลงตัว [4] เลข 6 นั้นมีตัวประกอบสี่ตัว: 6, 3, 2, และ 1 ตัวเลขทุกตัวจะมีตัวประกอบ 1 เพราะตัวเลขทุกตัวสามารถเป็นผลคูณจากตัวมันเองกับหนึ่ง
    • ตัวอย่าง: 3/8 + 5/12
    • ตัวประกอบของ 8: 1, 2, 4, กับ 8
    • ตัวประกอบของ 12: 1, 2, 3, 4, 6, 12
  2. ระบุตัวประกอบร่วมที่มีค่าสูงสุดระหว่างจำนวนส่วนทั้งสอง. พอคุณแจกแจงตัวประกอบของจำนวนส่วนแต่ละตัวได้แล้ว วงตัวประกอบที่มีร่วมกันทั้งหมด ตัวประกอบร่วมที่มีค่าสูงที่สุดคือตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.) ซึ่งจะใช้ในการแก้โจทย์ต่อไป
    • ในตัวอย่างของเรา 8 กับ 12 มีตัวประกอบร่วม 1, 2, กับ 4
    • ตัวประกอบร่วมที่มีค่าสูงสุดคือ 4
  3. เพื่อที่จะใช้ตัวหารร่วมมากในการแก้โจทย์ คุณจะต้องคูณจำนวนส่วนทั้งสองเข้าด้วยกันก่อน
    • ทำตัวอย่างของเราต่อไป: 8 * 12 = 96
  4. หลังจากหาผลของจำนวนส่วนทั้งสองได้แล้ว หารผลนั้นด้วยตัวหารร่วมมากที่คุณพบไปก่อนหน้านี้ ตัวเลขนี้จะเป็นตัวหารร่วมน้อยที่สุดของคุณ (หารร่วมน้อย)
    • ตัวอย่าง: 96 / 4 = 24
  5. ในการระบุตัวคูณที่ต้องใช้เพื่อทำให้จำนวนส่วนเท่าเดิม ให้หารตัวหารร่วมน้อยที่คุณหาได้ด้วยจำนวนส่วนเดิม คูณจำนวนเศษและจำนวนส่วนของเศษส่วนแต่ละตัวด้วยตัวเลขนี้ ตอนนี้จำนวนส่วนทั้งคู่ควรจะเท่ากับตัวหารร่วมน้อย
    • ตัวอย่าง: 24 / 8 = 3; 24 / 12 = 2
    • (3/3) * (3/8) = 9/24; (2/2) * (5/12) = 10/24
    • 9/24 + 10/24
  6. เมื่อพบตัวหารร่วมน้อย คุณควรสามารถบวกหรือลบเศษส่วนในสมการอย่างไม่ยากเย็น จำไว้ว่าในตอนท้ายต้องทอนเศษส่วนให้อยู่ในรูปแบบอย่างง่ายถ้าเป็นไปได้
    • ตัวอย่าง: 9/24 + 10/24 = 19/24
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

แยกตัวประกอบจำนวนส่วนแต่ละตัวให้เป็นจำนวนเฉพาะ [5]

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. แยกจำนวนส่วนแต่ละตัวให้กลายเป็นเลขจำนวนเฉพาะ. แยกตัวประกอบในจำนวนส่วนแต่ละตัวออกเป็นแถวของจำนวนเฉพาะที่คูณกันเองแล้วได้ผลเท่ากับจำนวนดังกล่าว จำนวนเฉพาะคือตัวเลขที่ไม่สามารถหารด้วยตัวเลขอื่น [6]
    • ตัวอย่าง: 1/4 + 1/5 + 1/12
    • แยกตัวประกอบจำนวนเฉพาะของ 4: 2 * 2
    • แยกตัวประกอบจำนวนเฉพาะของ 5: 5
    • แยกตัวประกอบจำนวนเฉพาะของ 12: 2 * 2 * 3
  2. นับจำนวนครั้งที่จำนวนเฉพาะแต่ละตัวปรากฎในการแยกตัวประกอบแต่ละครั้ง. รวมจำนวนครั้งที่จำนวนเฉพาะแต่ละตัวปรากฎในการแยกตัวประกอบของจำนวนส่วนแต่ละจำนวน
    • ตัวอย่าง: มี 2 อยู่สองตัวใน 4; ไม่มี 2 เลยใน 5; มี 2 อยู่สองตัวใน 12
    • ไม่มี 3 ใน 4 กับ 5; มี 3 อยู่ตัวเดียวใน 12
    • ไม่มี 5 ใน 4 กับ 12; มี 5 ตัวเดียวใน 5
  3. เลือกจำนวนครั้งสูงสุดสำหรับจำนวนเฉพาะแต่ละตัว. ระบุจำนวนครั้งสูงสุดที่คุณใช้จำนวนเฉพาะแต่ละตัวสำหรับจำนวนส่วนใดๆ และเขียนจำนวนครั้งเหล่านั้น
    • ตัวอย่าง: จำนวนครั้งสูงสุดของ 2 คือสอง; จำนวนครั้งสูงสุดของ 3 คือหนึ่ง; จำนวนครั้งสูงสุดของ 5 คือหนึ่ง
  4. เขียนจำนวนเฉพาะจำนวนเท่าที่นับได้ในขั้นตอนที่แล้ว. อย่าเขียนจำนวนครั้งที่จำนวนเฉพาะแต่ละตัวปรากฎตลอดจำนวนส่วนทั้งหมด ให้เขียนเฉพาะจำนวนครั้งสูงสุดตามที่ระบุในขั้นตอนที่แล้ว
    • ตัวอย่าง: 2, 2, 3, 5
  5. คูณจำนวนเฉพาะที่ปรากฎในขั้นตอนที่แล้วเข้าด้วยกัน ผลลัพธ์จะเท่ากับตัวหารร่วมน้อยสำหรับสมการตั้งต้น
    • ตัวอย่าง: 2 * 2 * 3 * 5 = 60
    • ตัวหารร่วมน้อย = 60
  6. ในการระบุการคูณที่จำเป็นเพื่อให้จำนวนส่วนยังเท่ากันเหมือนเดิม ให้หารตัวหารร่วมน้อยที่หาได้ด้วยจำนวนส่วนเดิม คูณทั้งจำนวนเศษและจำนวนส่วนในเศษส่วนด้วยตัวเลขนี้ จำนวนส่วนตอนนี้จะเท่ากับตัวหารร่วมน้อยทั้งคู่
    • ตัวอย่าง: 60/4 = 15; 60/5 = 12; 60/12 = 5
    • 15 * (1/4) = 15/60; 12 * (1/5) = 12/60; 5 * (1/12) = 5/60
    • 15/60 + 12/60 + 5/60
  7. เมื่อพบตัวหารร่วมน้อย คุณควรสามารถบวกหรือลบเศษส่วนในสมการอย่างไม่ยากเย็น จำไว้ว่าในตอนท้ายต้องทอนเศษส่วนให้อยู่ในรูปแบบอย่างง่ายถ้าเป็นไปได้
    • ตัวอย่าง: 15/60 + 12/60 + 5/60 = 32/60 = 8/15
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

ใช้เลขจำนวนเต็มและจำนวนคละ [7]

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. แปลงเลขจำนวนเต็มและจำนวนคละให้เป็นเศษส่วนเกิน. แปลงจำนวนคละให้เป็นเศษส่วนเกินโดยการคูณจำนวนเต็มด้วยจำนวนส่วนและบวกจำนวนเศษเข้ากับผลลัพธ์ที่ได้ แปลงจำนวนเต็มให้เป็นเศษส่วนเกินโดยการวางจำนวนเต็มเหนือจำนวนส่วนของ “1”
    • ตัวอย่าง: 8 + 2 1/4 + 2/3
    • 8 = 8/1
    • 2 1/4; 2 * 4 + 1 = 8 + 1 = 9; 9/4
    • เขียนสมการใหม่: 8/1 + 9/4 + 2/3
  2. ใช้วิธีการในการหาตัวหารร่วมน้อยของเศษส่วนร่วมวิธีไหนก็ได้ตามที่อธิบายในขั้นตอนแล้วๆ มา โปรดสังเกตว่าสำหรับตัวอย่างนี้ เราจะใช้วิธี “แจกแจงผลคูณ” ซึ่งจะแจกแจงผลคูณที่เกิดจากจำนวนส่วนแต่ละตัวและระบุตัวหารร่วมน้อยจากการแจกแจงนี้
    • โปรดสังเกตว่าคุณไม่จำเป็นต้องแจกแจงผลคูณสำหรับ 1 เนื่องจากจำนวนใดๆ เมื่อคูณด้วย 1 ก็จะมีค่าเท่าตัวมันเอง หรือพูดอีกอย่างคือ ทุกจำนวนคือผลคูณของ 1
    • ตัวอย่าง: 4 * 1 = 4; 4 * 2 = 8; 4 * 3 = 12 ; 4 * 4 = 16; เป็นต้น
    • 3 * 1 = 3; 3 * 2 = 6; 3 * 3 = 9; 3 * 4 = 12 ; เป็นต้น
    • ตัวหารร่วมน้อย = 12
  3. แทนที่จะคูณแต่ตัวส่วน คุณจะต้องคูณเศษส่วนทั้งหมดด้วยตัวเลขนี้จากการเปลี่ยนตัวหารเดิมให้เป็นตัวหารร่วมน้อย
    • ตัวอย่าง: (12/12) * (8/1) = 96/12; (3/3) * (9/4) = 27/12; (4/4) * (2/3) = 8/12
    • 96/12 + 27/12 + 8/12
  4. เมื่อพบตัวหารร่วมน้อย คุณควรสามารถบวกหรือลบเศษส่วนในสมการอย่างไม่ยากเย็น จำไว้ว่าในตอนท้ายต้องทอนเศษส่วนให้อยู่ในรูปแบบอย่างง่ายถ้าเป็นไปได้
    • ตัวอย่าง: 96/12 + 27/12 + 8/12 = 131/12 = 10 11/12
    โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • ดินสอ
  • กระดาษ
  • เครื่องคิดเลข (ไม่จำเป็น)

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 12,195 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา