ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

แผลพุพองมักจะเกิดจากเสียดสีที่ผิวหนัง ทำให้เกิดตุ่มน้ำบริเวณผิวส่วนที่เกิดการเสียดสี แพทย์และแพทย์ผิวหนังจำนวนมากต่างที่ต้องการป้องกันไม่ให้เกิดแผลเป็นและไม่ให้เกิดการติดเชื้อจะไม่แนะนำให้คุณเจาะตุ่มน้ำ แต่หากคุณต้องการจริงๆ ให้ทำตามขั้นตอนเหล่านี้เพื่อเจาะตุ่มน้ำอย่างปลอดภัย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ตัดสินใจเจาะแผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แพทย์มักจะเตือนเรื่องการเจาะแผลพุพองเพราะในทางเทคนิค แผลพุพองจะปกคลุมบริเวณผิวหนังที่ได้รับบาดเจ็บมาและช่วยปกป้องผิวส่วนนั้นจากเชื้อโรค การเจาะแผลจะทำให้ผิวหนังเกิดติดเชื้อได้ได้ [1]
  2. ถามตัวเองดูว่าสมควรจะเจาะแผลหรือไม่ [2]
    • คุณมีแผลพุพองตรงไหน การเจาะแผลที่เท้าโดยทั่วไปจะปลอดภัยกว่าแผลเริมที่ริมฝีปากหรือในช่องปาก เริมและแผลพุพองด้านในปากควรให้แพทย์ประเมินอาการก่อน
    • แผลดูเหมือนเป็นแผลติดเชื้อหรือไม่ หากแผลพุพองมีหนองสีออกเหลืองซึมๆ ออกมา ก็เป็นไปได้ว่าจะมีการติดเชื้อเกิดขึ้นและควรไปพบแพทย์ [3]
    • แผลพุพองไปรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ทำให้คุณเดินไม่สะดวกหรือไม่ ถ้าใช่ คุณควรจะเจาะแผลอย่างปลอดภัย เรียกได้ว่าสถานการณ์ของคุณเหมาะสมที่จะเจาะแผลแล้ว
  3. อย่าเจาะแผลพุพองที่เกิดจากการไหม้จากแดดหรืออาการผิวไหม้จากสาเหตุอื่นๆ. หากคุณมีแผลพุพองที่เกิดจากการตากแดด และเป็นการไหม้ในระดับสอง ซึ่งจัดว่าหนักพอที่จะไปพบแพทย์ อย่าเจาะแผล – ตุ่มน้ำจากแผลพุพองเหล่านั้นช่วยปกป้องผิวข้างใต้ในขณะที่ผิวกำลังสร้างตัวขึ้นมาใหม่หลังจากโดนแดดเผามา ให้ไปพบแพทย์เพื่อรักษาและปกป้องผิวของคุณจากแสงอาทิตย์ในขณะที่ผิวกำลังฟื้นฟูสภาพ [4]
    • ผิวไหม้ระดับสอง เช่น แผลไหม้ที่ทำให้เกิดแผลพุพองต้องได้รับการรักษาอย่างอ่อนโยนด้วยครีมทาผิวไหม้ที่แพทย์สั่ง พบแพทย์เพื่อให้แพทย์สั่งยาให้และเรียนรู้วิธีดูแลรักษาแผลพุพองจากแสงแดด [5]
  4. ตุ่มเลือดหรือบางครั้งเรียกว่า ส้นเท้าหรือฝ่ามือช้ำเลือดช้ำหนอง เป็นแผลที่บริเวณใต้ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีออกดำๆ ม่วงๆ แดงๆ ซึ่งเกิดจากการที่เส้นเลือดถัดจากหนังกำพร้าภายในชั้นหนังแท้ การเสียดสีบริเวณที่กระดูกนูนออกมา เช่น ส้นเท้าด้านหลัง ทำให้เลือดออกจากเส้นเลือดและซึมขึ้นมาที่ผิวหนัง [6]
    • ตุ่มเลือดบ่งบอกถึงการบาดเจ็บที่รุนแรงขึ้นอีกขั้น. โดยทั่วไปแผลเหล่านี้หายได้เอง แต่บางคนก็เข้าใจสิ่งนี้กับมะเร็งไฝสลับกันไป ดังนั้น ถ้าไม่แน่ใจก็ให้ปรึกษาแพทย์เสีย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

เตรียมตัวเจาะ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ล้างมือด้วยสบู่และน้ำอุ่น ถูไปมาสัก 20 วินาทีก่อนล้างออก [7]
    • ใช้สบู่ธรรมดาที่ไม่มีน้ำหอมล้างมือ. วิธีนี้จะช่วยป้องกันสารระคายเคืองจากเคมีไม่ให้บริเวณแผลแย่ลงไปอีกและป้องกันการแพร่ของแบคทีเรียจากมือไปสู่ผิวหนังที่บอบบางเมื่อแผลพุพองถูกเจาะแตก
  2. ล้างแผลด้วยสบู่และน้ำ แอลกอฮอล์เช็ดแผล หรือยาฆ่าเชื้อ. [8]
    • ยาฆ่าเชื้อ เช่น เบตาดีน หาซื้อได้ที่ร้านขายยาแทบทุกแห่ง อย่างไรก็ตาม ต้องใช้เบตาดีนอย่างระมัดระวังเพราะมันอาจทำให้แผลมีรอยเปื้อนและอาจทำให้เสื้อผ้าและพื้นผิวอื่นๆ เปื้อนได้
    • ค่อยๆ เทเบตาดีนหรือแอลกอฮอล์เช็ดแผลลงบนแผลและรอบๆ หากคุณล้างแผลด้วยสบู่และน้ำ ให้ใช้สบู่ปราศจากน้ำหอมทั่วๆ ไป ถูให้ขึ้นฟอง ล้างบริเวณแผลออกเบาๆ แต่ระวังอย่าล้างแรงไปจะได้ไม่ทำให้แผลแตก และล้างให้สะอาดดี
  3. ชนิดที่ดีที่สุดคือใบมีดห่อแบบใช้แล้วทิ้ง เข็มที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว หรือมีดผ่าตัด ซึ่งมักหาซื้อได้ที่ร้านขายยาและอุปกรณ์การแพทย์ [9]
    • ถ้าเลือกที่จะใช้เข็มเย็บผ้าที่บ้าน ให้เอาไปแช่แอลกอฮอล์ก่อน
    • อย่าเอาเข็มหรือใบมีดไปเผาไฟ เพราะจะทำให้สารคาร์บอนถูกปล่อยออกมา อาจทำให้ผิวระคายเคืองและอาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ [10]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

เจาะแผลพุพอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เจาะสัก 2 หรือ 3 รู ในบริเวณที่คุณสามารถใช้แรงดึงดูดจะช่วยให้น้ำหนองไหลออกไป โดยเจาะแต่ละข้างและใกล้ๆ แผลด้านล่างตรงขอบๆ [11]
    • อย่าใช้เข็มเย็บผ้าและด้าย ซึ่งเป็นการใช้เข็มและด้ายแทงทะลุตุ่มน้ำ วิธีนี้จะเพิ่มความเสี่ยงติดเชื้อมากขึ้นอีก
  2. ปล่อยให้แรงโน้มถ่วงทำให้น้ำจากแผลไหลออกตามธรรมชาติ หรือใช้แรงดันเบาๆ ทำให้น้ำไหลลง จากด้านบนสุดจนถึงด้านล่างผ่านรู้ที่คุณเจาะไว้ ปล่อยให้ของน้ำไหลผ่านรูนั้นออกจนหมด [12]
    • อย่าออกแรงกดหรือฉีกแผลพุพองเพื่อจะให้ของเหลวไหลออกมา คุณอาจทำให้ผิวข้างใต้เกิดปัญหาได้
  3. การดึงหนังที่ตายแล้วที่เคยเป็นมีแผลพุพองออกอาจทำให้ระคายเคืองผิวหนังสุขภาพดีที่อยู่รอบๆ นั้นได้ และทำให้ผิวหนังติดเชื้อได้ แค่ล้างบริเวณที่มีปัญหาด้วยสบู่และน้ำหรือยาฆ่าเชื้อ แล้วพันแผลให้เรียบร้อย [13]
  4. วิธีนี้ช่วยป้องกันแบคทีเรียไม่ให้เข้ามาและช่วยให้บริเวณที่แผลไม่ถูกรบกวนมากนัก [14]
    • ทายาอีกทีและเปลี่ยนผ้าพันแผลทุกวันจนกว่าผิวจะหายสนิท ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์ [15]
  5. แช่ตัว เท้า หรือมือเป็นระยะๆ หลังจากที่คุณได้เจาะตุ่มน้ำที่แผลไปแล้ว. เกลือแมกนีเซียมซัลเฟตช่วยดึงน้ำออกจากแผลได้ อีกสองสามวันถัดมา ให้ใส่เกลือแมกนีเซียมซัลเฟตครึ่งถ้วยในน้ำอุ่นและแช่เท้าหรืออาบน้ำด้วยเกลือแมกนีเซียมซัลเฟตเป็นเวลา 20 นาทีต่อวัน [16]
  6. อาการแดง บวม เจ็บปวด หรือนำ้หนองที่เพิ่มมากขึ้นเป็นตัวบ่งชี้ว่าอาจมีการติดเชื้อเกิดขึ้น และคุณอาจต้องไปพบแพทย์และรับยาฆ่าเชื้อ [17]
    • เป็นไปได้ว่าแผลของคุณอาจติดเชื้อหากรอบแผลพุพองแดงขึ้นและบวมขึ้น คุณอาจมีไข้สูงกว่าอุณหภูมิปกติที่ 37 องศา หากมีอาการเจ็บปวดบริเวณแผลซึ่งมากกว่าเป็นการเจ็บแผลพุพองและยังมีอาการที่กล่าวมาข้างต้นร่วมด้วย เป็นไปได้ว่าแผลอาจติดเชื้อ
    • หนองเป็นของเหลวสีออกเหลืองที่ไหลซึมมาจากบริเวณที่เกิดการติดเชื้อ หากแผลพุพองหรือแผลที่แตกแล้วเกิดมาหนองเหลืองไหลออกมา ให้พบแพทย์เพราะมีแนวโน้มจะติดเชื้อ
  7. ป้องกันการเสียดสีของผิวหนังบริเวณที่กระดูกนูน อาจใช้แผ่นป้องกันการเสียดสีก็ได้ ถ้าคุณวิ่งออกกำลัง คุณอาจต้องคิดหาซื้อรองเท้าคู่ใหม่หรือถุงเท้าที่ใส่พอดีเพื่อลดการเสียดสีและช่วยจัดการเรื่องความชื้น [18]
    • หากคุณพายเรือเป็นประจำให้ใส่ถุงมือเฉพาะสำหรับคนที่เล่นกีฬาทางน้ำหรือให้ใช้เทปพันที่ด้ามไม้พายเพื่อลดการเสียดสี [19]
    โฆษณา

คำเตือน

  • แผลพุพองบางอย่างเป็นผลจากอาการทางการแพทย์ เช่น ตุ่มน้ำเพมฟิกัส เพมฟิกอยด์ หรือจากการติดเชื้อ เช่น ตุ่มน้ำอิมเพติโก หากคุณมีแผลพุพองที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด มีแผลพุพองหลายที่หรือแผลพุพองกลับมาอีกก็ควรปรึกษาแพทย์เสีย


โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ให้แน่ใจว่าทุกอย่าง (มือ เข็ม บริเวณรอบแผล และบริเวณแผล) ปราศจากเชื้อเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • คุณสามารถไปพบแพทย์ แพทย์ผิวหนัง หรือพยาบาลเพื่อเจาะตุ่มน้ำโดยใช้เข็มที่ฆ่าผ่านการเชื้อแล้ว วิธีนี้ช่วยได้มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าแผลมีขนาดใหญ่ [20]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 38,626 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา