ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การเริ่ม บทสนทนา กับใครสักคนอาจเป็นส่วนที่ยากที่สุดของการสื่อสารส่วนหนึ่งเลยก็ว่าได้ กับบางคนคุณอาจจะเริ่มเข้าไปคุยได้เลย แต่กับบางคนกว่าจะพูดออกมาได้ก็แสนยากเย็นราวกับกลัวดอกพิกุลจะร่วง แต่อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะมีเคล็ดลับสากลอยู่ 2-3 ข้อที่ช่วยให้คุณเริ่มต้นบทสนทนาที่ดีกับคนอื่นได้เกือบทุกคน และเคล็ดลับอีก 2-3 ข้อที่ใช้เริ่มต้นบทสนทนากับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ ถ้าคุณอยากรู้ว่าจะเริ่มต้นบทสนทนาที่ดีได้อย่างไร มาลองทำตามขั้นตอนต่อไปนี้กันเลย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

เริ่มบทสนทนา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณสามารถเปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนได้ด้วยการทำให้เขารู้สึกว่าคุณสนใจสิ่งที่เขาพูดและความคิดเห็นของเขามีความหมายกับคุณ ถ้าเขาคิดว่าคุณแค่พูดเพื่อให้ได้ยินความคิดของตัวเอง เขาจะไม่อยากคุยด้วยทันที เพราะฉะนั้นให้หันตัวเข้าหาอีกฝ่ายและสนใจเขา สบตาเขาตลอดแต่อย่าถึงกับจ้องเขม็ง เว้นพื้นที่ส่วนตัวของเขาให้มากพอ แต่ก็ทำให้เขารู้สึกด้วยว่าคุณสนใจเขาอยู่ [1]
    • ทำให้เขารู้สึกว่าความคิดของเขาสำคัญ ถ้าเขาเริ่มเข้าเรื่อง ก็ให้ถามคำถามเรื่องนั้นต่อไปอีก แทนที่จะพูดในสิ่งที่คุณอยากจะพูดจริงๆ
    • เรียกชื่อเขาครั้งสองครั้งหลังจากที่คุณรู้ชื่อเขาแล้ว
    • ถ้าเขาเป็นฝ่ายพูดก่อน ให้พยักหน้าอย่างตั้งใจเพื่อให้เขารู้ว่าคุณฟังอยู่
  2. การสนทนาที่ดีหลายครั้งเริ่มจากคำถาม แต่คุณก็ไม่ควรทำให้คนที่คุณคุยด้วยรู้สึกเหมือนว่าเขากำลังถูกสอบสวนอยู่ที่สถานีตำรวจ อย่ายิงคำถามใส่เขารัวๆ โดยไม่ได้แสดงความคิดเห็นกลับและไม่ได้สนทนากับเขาจริงๆ เพราะไม่มีอะไรแย่ไปกว่าการรู้สึกเหมือนว่าตัวเองกำลังโดนสอบสวน การถามคำถามมากเกินไปมีแต่จะทำให้อีกคนรู้สึกอึดอัดและทำให้เขาต้องหาทางออกจากการสนทนาให้ได้ [2]
    • ถ้าคุณรู้สึกตัวว่าคุณถามคำถามมากเกินไป ก็แค่เล่นมุกไป บอกเขาว่า "โทษทีนะ สัมภาษณ์เสร็จแล้ว" แล้วก็เปลี่ยนไปคุยเรื่องอื่น
    • ถามเรื่องงานอดิเรกหรือสิ่งที่เขาสนใจ แต่อย่าไปถามเรื่องความฝันและสิ่งที่เขาปรารถนา
    • คุยเรื่องสนุกๆ อย่าไปถามเขาว่าเขาคิดอย่างไรกับโศกนาฏกรรมล่าสุดในข่าว หรือช่วงนี้เขาต้องทำงานล่วงเวลามากแค่ไหน ทำให้อีกฝ่ายสนุกไปกับหัวข้อการสนทนาและบทสนทนาเองด้วย
    • อย่าลืมเล่าเรื่องของตัวเอง ตามหลักการแล้วคุณกับคู่สนทนาควรได้เป็นฝ่ายพูดคนละครึ่ง
  3. นี่ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องแสดงเดี่ยวไมโครโฟน แต่แค่หยอดมุกตลกลงไปบ้างและเล่าเรื่องตลกให้เขาฟังเพื่อละลายพฤติกรรม แล้วคุณจะประหลาดใจว่าการเล่าเรื่องตลกมันช่วยให้คนอื่นเปิดใจมากขึ้นได้แค่ไหน ไม่ว่าใครก็ชอบหัวเราะและการหัวเราะก็ทำให้คนอื่นสบายใจขึ้น วิธีนี้เป็นวิธีที่ช่วยลดความตึงเครียดของคนที่จริงจังและชวนให้เขาคุยได้ [3]
    • ใช้ไหวพริบ ดึงความสนใจของอีกฝ่าย ทำให้เขาเห็นว่าคุณหัวไวและสามารถพูดจาเล่นลิ้น เล่นมุกตลกเจ๋งๆ และพูดแซวทั่วไปได้อย่างสบายๆ
    • ถ้าคุณมีเรื่องตลกที่ฮาแน่ๆ ก็ให้เล่าให้เขาฟัง แต่มีข้อแม้ว่าต้องสั้น อย่าเล่าเรื่องยาวๆ ที่คุณไม่เคยลองเล่ามาก่อน ไม่อย่างนั้นคุณอาจจะต้องหน้าแหกเพราะมุกดันแป้ก
  4. ถามคำถามปลายเปิด . คำถามปลายเปิดคือคำถามที่ต้องการคำตอบมากกว่าใช่หรือไม่ใช่ คำถามปลายเปิดเปิดโอกาสให้อีกฝ่ายได้อธิบายซึ่งจะกลายบทสนทนา เท่ากับว่าคุณเปิดโอกาสให้อีกฝ่ายได้แสดงความคิดเห็นและทำให้เขากลายเป็นส่วนหนึ่งของการสนทนา คำถามปลายเปิดทำให้บทสนทนาขยายต่อไปเรื่อยๆ ไม่เหมือนกับคำถามประเภทที่ต้องการคำตอบว่าใช่หรือไม่ใช่
    • คุณต้องแน่ใจว่าคำถามเปิดมากพอ แต่ก็อย่าถึงขั้นไปถามเขาว่าเขาคิดว่าความหมายของชีวิตคืออะไร แค่ถามเขาว่าเขาคิดว่าทีมบาสเก็ตบอลโรงเรียนปีนี้เล่นเป็นยังไงบ้างก็พอ
    • แต่คุณก็ควรรู้ด้วยว่าเมื่อไหร่ที่บทสนทนาดำเนินไปได้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ถ้าเขาตอบแค่ใช่หรือไม่ใช่ในคำถามที่ต้องการคำตอบมากกว่านั้น ก็หมายความว่าเขาอาจจะไม่ได้อยากคุยกับคุณขนาดนั้น
  5. มีข้อควรระวังอยู่ 2-3 เรื่องที่ทำให้บทสนทนาดีๆ ต้องจบลงก่อนที่มันจะทันได้ออกรสด้วยซ้ำ ถ้าคุณอยากรู้ว่าจะเริ่มบทสนทนาที่ดีได้อย่างไร ก็มีเรื่องพื้นฐานอยู่ 2-3 เรื่องที่คุณควรเลี่ยงตั้งแต่แรก [4]
    • อย่าเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป อย่าเล่าเรื่องการเลิกราอันแสนเจ็บปวด ผื่นประหลาดๆ ที่หลัง หรือการที่คุณเริ่มจะสงสัยแล้วว่าในชีวิตนี้มีใครรักคุณจริงๆ บ้างไหม เรื่องพวกนี้เก็บไว้คุยกับคนที่คุณรู้จักดีจริงๆ จะดีกว่า
    • อย่าถามเขาในเรื่องที่อาจนำไปสู่คำตอบที่ชวนอึดอัด ให้อีกฝ่ายได้พูดถึงคนรัก อาชีพ หรือสุขภาพ แต่ไม่ใช่ไปถามเขาว่าเขาคบกับใครอยู่แต่กลายเป็นว่าเขาเพิ่งจะอกหักมา
    • อย่าเอาแต่พูดเรื่องตัวเอง แม้ว่าการเล่นมุกเกี่ยวกับตัวเองบ้างและการให้ข้อมูลส่วนตัวบ้างอาจทำให้อีกฝ่ายรู้สึกสบายใจ แต่ถ้าคุณเอาแต่พูดไปเรื่อยเปื่อยว่าคุณเจ๋งแค่ไหนหรือพรุ่งนี้เช้าจะกินอะไรดี อีกฝ่ายก็จะเลิกสนใจคุณอย่างรวดเร็ว
    • สนใจเขา อย่าลืมชื่อ งาน หรือข้อมูลสำคัญที่อีกฝ่ายเพิ่งบอกคุณไปเมื่อ 5 นาทีที่แล้ว เพราะมันจะทำให้เขารู้สึกว่าคุณไม่ได้สนใจฟังเขาเลย เวลาที่อีกฝ่ายบอกชื่อ ให้พูดซ้ำดังๆ เพื่อที่คุณจะได้จำได้
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

เริ่มต้นบทสนทนาในสถานการณ์ต่างๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณเพิ่งได้เจอคนที่คุณชอบและอยากจะเริ่มบทสนทนากับเขา คุณก็ต้องทำให้เขาอยากคุยกับคุณทันทีด้วยการชวนคุยเรื่องใหม่ๆ ที่ตลก และน่าสนใจ และอย่าลืมอ่อยสักเล็กน้อยด้วย เวลาที่คุณเริ่มคุยกับคนที่คุณชอบ วิธีการพูดสำคัญกว่าสิ่งที่พูด สบตาและหันตัวเข้าหาเขาเพื่อให้เขาหรือเธอรู้ว่าคุณสนใจเขา ด้านล่างนี้เป็นวิธีดีๆ ในการเริ่มบทสนทนากับคนที่คุณชอบ : [5]
    • ถ้าคุณอยู่ที่งานปาร์ตี้ ให้คุยเรื่องเพลงที่กำลังเล่นอยู่ วิธีนี้จะทำให้คุณมีเรื่องคุยไม่ว่าคุณทั้งคู่จะเกลียดหรือชอบเพลงนั้นก็ตาม
    • ถ้าคุณเจอเขาที่บาร์ ให้ขอให้เขาแนะนำเครื่องดื่มให้ จากนั้นคุณค่อยตอบตกลงถ้าคุณชอบเครื่องดื่มที่เขาแนะนำ หรือหยอกเขาเล่นถ้ามันไม่ดีพอ
    • คุยเรื่องกิจกรรมยามว่างของเธอ ถามเธอว่าเธอชอบทำอะไรสนุกๆ ในวันหยุดสุดสัปดาห์ แต่อย่าถึงกับเซ้าซี้
    • อย่าคุยเรื่องงาน เพราะมันไม่ใช่เรื่องที่ชวนให้อยากคุยต่อเลย ค่อยเก็บเรื่องนี้ไว้คุยทีหลังก็ได้
    • แซวเธอ ถ้าอากาศข้างนอกร้อนแต่เธอดันใส่เสื้อสเวตเตอร์ ก็อาจจะแซวเรื่องแฟชั่นการแต่งตัวของเธอแบบขำๆ
    • คุยเรื่องสัตว์เลี้ยง หลายคนชอบพูดเรื่องสัตว์เลี้ยงของตัวเอง ถ้าคุณเองก็มีสัตว์เลี้ยง ก็อาจจะแลกภาพกันดูก็ได้
  2. ถ้าคุณอยากเป็นเพื่อนกับใครที่คุณได้เจอหรือได้เห็นในทันที หรือถ้าคุณได้พบปะกับเพื่อนของเพื่อนและอยากรู้จักเขาให้มากขึ้น คุณก็ควรแสดงความสนใจในตัวเขา แต่อย่าทำราวกับว่าคุณกำลังสัมภาษณ์เขา แค่ทำให้เขาหัวเราะและอยากรู้จักคุณเหมือนกันก็พอ
    • ชวนคุยแต่เรื่องดีๆ อย่าตำหนิตัวเองหรือหาเรื่องบ่นเดี๋ยวนั้น แต่ให้เปิดบทสนทนาด้วยการแสดงความคิดเห็นที่เป็นบวก เช่น ชวนคุยว่าทีมท้องถิ่นของคุณเล่นได้ดีแค่ไหน (ถ้าคุณคิดว่าเขาชอบกีฬา) หรือคุณชอบบาร์หรือร้านอาหารที่คุณไปเจอมาแค่ไหน
    • ชวนคุยเรื่องละแวกบ้าน คนเราภูมิใจในที่ที่เราอาศัยอยู่และสิ่งที่เราชอบทำในละแวกนั้น เพราะฉะนั้นถ้าคุณมาจากละแวกเดียวกัน คุณก็จะได้สานสัมพันธ์ว่าละแวกบ้านที่คุณสองคนอยู่มันเจ๋งแค่ไหน จากนั้นคุณก็จะได้คุยกันเรื่องส่วนตัวมากขึ้นและคุยถึงละแวกที่คุณเคยอยู่
    • ถามอีกฝ่ายว่าเขาหรือเธอชอบทำอะไรสนุกๆ ไม่แน่ว่าคุณสองคนอาจจะมีความสนใจเหมือนๆ กันก็ได้
    • อย่าเอาแต่พูดเรื่องตัวเอง คุณสองคนต้องได้พูดพอๆ กัน หลังจากคุยจบแล้วคุณควรได้ข้อมูลใหม่ๆ เกี่ยวกับเขาบ้าง
    • ถ้าคุณมีเพื่อนร่วมกัน ให้ถามเขาว่าเขารู้จักเพื่อนคนนี้ได้ยังไง คุณอาจจะได้ฟังเรื่องตลกๆ เกี่ยวกับเพื่อนคนนี้ก็ได้
  3. การเริ่มบทสนทนากับเพื่อนร่วมงานอาจจะยากกว่าการเริ่มบทสนทนากับว่าที่คนรักหรือเพื่อนใหม่เล็กน้อย เพราะในสภาพแวดล้อมของการทำงานมักจะมีเส้นแบ่งที่เราไม่ควรล้ำเข้าไป แต่ตราบใดที่คุณยังรักษาบรรยากาศให้เป็นบวกและพูดเรื่องส่วนตัวแต่พอประมาณ การสนทนาก็จะมีชีวิตชีวาได้เช่นเดียวกัน
    • ถามเพื่อนร่วมงานเกี่ยวกับครอบครัวของเขา ทุกคนชอบพูดเรื่องครอบครัวของตัวเอง เพราะฉะนั้นให้ถามเขาไปว่าครอบครัวเขาสบายดีไหม เชื่อเถอะว่าเขาจะรีบควักรูปถ่ายและเล่าเรื่องต่างๆ ให้คุณฟังมากกว่าที่คุณอยากฟังเสียอีก
    • บอกเขาว่าสุดสัปดาห์คุณจะทำอะไร ถ้าคุณทำงานด้วยกัน คุณสองคนก็คงอยากออกจากที่ทำงานในวันศุกร์เพื่อไปหาอะไรสนุกๆ หรือผ่อนคลายทำในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์แทบไม่ไหว และเพื่อนร่วมงานของคุณก็คงจะยินดีเล่าให้คุณฟังว่าเขามีแผนจะทำอะไรถ้าคุณไม่ได้ถามซอกแซกจนเกินไป
    • สานสัมพันธ์จากเรื่องที่คุณทั้งคู่ไม่พอใจ บ่นเรื่องจราจร เครื่องถ่ายเอกสารพัง หรือในครัวไม่มีครีมเทียม แล้วคุณทั้งคู่จะได้ส่ายหัวไปพร้อมกันเมื่อบทสนทนาเริ่มออกรสออกชาติมากขึ้น
    • อย่าคุยเรื่องงานมากเกินไป พยายามแสดงด้านที่เป็นมนุษย์และชวนเขาคุยเรื่องเพื่อน ครอบครัว และสิ่งที่คุณสนใจแทนที่จะคุยเรื่องโปรเจ็กต์หรือรายงาน ยกเว้นว่าคุณตั้งใจเข้ามาคุยกับเขาเพราะมีเรื่องจะถามเกี่ยวกับงานโดยตรง หาสายสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่คุณสามารถสร้างขึ้นนอกเหนือจากเรื่องงานให้ได้
  4. การคุยกับคนทั้งกลุ่มอาจจะยากกว่าเล็กน้อย วิธีที่ปลอดภัยที่สุดในการเริ่มบทสนทนาก็คือการหาสิ่งที่เหมือนกัน แม้ว่ามันอาจจะยากที่จะทำให้ทุกคนรู้สึกสบายใจและอยากมีส่วนร่วมในการสนทนา แต่คุณก็ควรพยายามเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าร่วมบทสนทนาให้มากที่สุดด้วยการพูดเรื่องที่มันกว้างๆ และสบายๆ
    • แซวตัวเอง วิธีนี้เป็นกลยุทธ์ที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณเริ่มบทสนทนากับกลุ่มคนที่รู้จักคุณ แต่คนในกลุ่มนั้นไม่ได้รู้จักกันดีเท่าไหร่ ให้คนอื่นได้หัวเราะหรือแซวคุณ เพื่อให้พวกเขาได้สานสัมพันธ์ร่วมกัน
    • พยายามคุยกับคนทั้งกลุ่มแทนที่จะคุยกับแค่คนสองคน เพราะถ้าคุณโต้ตอบแค่กับใครคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษ คนที่เหลือก็จะเหมือนถูกทิ้ง
    • เรื่องที่คุณไม่ชอบเป็นเรื่องชวนคุยที่ดีเพราะทุกคนล้วนมีเรื่องที่ตัวเองไม่ชอบ คุณอาจจะเริ่มบทสนทนาด้วยการเล่าเรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่คุณไม่ชอบ แล้วคนอื่นๆ จะเข้ามาผสมโรงด้วยเอง
    • หาเรื่องที่คนในกลุ่มอาจจะมีความเห็นเหมือนกันแล้วชวนคุยเรื่องนี้ ไม่ต้องเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากก็ได้ คุณอาจจะพูดว่า "คุณทั้งคู่ชอบสมุทรปราการ เอฟซีนี่นา คุณได้ดูการแข่งขันเมื่อคืนหรือเปล่า มันมากๆ"
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • มองว่าการสนทนาก็เหมือนการเล่นกระดานหก คุณจะต้องได้พูดพอๆ กัน เพราะฉะนั้นอย่าเอาแต่พูดอะไรน่าเบื่ออย่างเรื่องยาสีฟัน เพราะว่าเพื่อนคุณจะรำคาญเอาได้ และถ้าคนที่คุณคุยด้วยเขาเอาแต่พูดอยู่ฝ่ายเดียว ก็บอกเขาว่าขอพูดหน่อย คุณจะหดหู่น้อยลงถ้าคุณสนุกกับงานปาร์ตี้
  • ระวังเรื่องน้ำเสียง การสนทนาที่ดีควรมีน้ำเสียงที่ไม่เบามากแต่ก็ไม่ดังจนเกินไป
  • ลองนึกถึงเรื่องที่จะคุยก่อนเข้าไปคุยจริงๆ และวิธีนี้ยังช่วยให้คุณหาทางออกจากบทสนทนาที่ไม่รื่นรมย์ได้ด้วย
  • อย่ารู้สึกว่าตัวเองจะต้องเป็นฝ่ายควบคุมทิศทางการสนทนา ให้อีกฝ่ายได้เป็นฝ่ายเปิดปากบ้าง
  • อย่าถามคำถาม "ปลายปิด" แต่ให้ถามคำถามที่ต้องคิดและสามารถอธิบายเพิ่มเติมได้
โฆษณา

คำเตือน

  • เวลาถามคำถามที่ค่อนข้างส่วนตัวกับคนอื่นที่ไม่ใช่เพื่อนสนิท ก็อย่าถามเรื่องส่วนตัวที่ลึกมากๆ แต่ให้ถามคำถามเช่น 'วันหยุดที่ผ่านมาได้ทำอะไรบ้าง' 'มาทำอะไรที่ห้างเหรอ' 'เป็นคนที่ไหนเหรอ' หรือ 'ครอบครัวสบายดีไหม'
  • อย่าคุยเรื่องที่อาจจะทำให้เกิดความอับอายหรือกระอักกระอ่วน เพราะมันอาจจะทำให้ทั้งคู่ถึงกับเงียบกริบและ/หรือรู้สึกอี๋
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,023 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา