ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การขโมยเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปในสังคม แต่ในขณะที่บางคนขโมยหนึ่งหรือสองครั้ง บางคนกลับไม่อาจหักห้ามใจต่อแรงกระตุ้นให้ขโมยสิ่งของต่างๆ บางคนขโมยเพราะไม่มีเงินจะซื้อสิ่งของ แต่บางคนอาจขโมยเพราะความตื่นเต้นที่ได้ขโมย และบางคนรู้สึกว่ามีอภิสิทธิ์ที่ได้ของซึ่งตนต้องการโดยไม่ต้องจ่ายเงิน การเป็นคนขี้ขโมยมีผลกระทบด้านลบตามมามากมาย ตัวอย่างเช่น ถูกจับกุมคุมขัง และถูกบันทึกประวัติอาชญากร การขโมยยังไม่ได้ถูกจัดเป็นอาการเสพติดชนิดหนึ่ง แต่โรคชอบหยิบฉวย (Kleptomania) เป็นโรคจิตประเภทที่ไม่สามารถควบคุมแรงกระตุ้นให้ขโมยได้ ซึ่งอาจทำให้คุณรู้สึกอับอายและรู้สึกผิด เพื่อที่จะรับมือกับปัญหาเรื่องขี้ขโมย มีความสำคัญที่คุณจะวินิจฉัยปัญหาที่ทำให้คุณขี้ขโมย ขอการสนับสนุนจากคนอื่น เปลี่ยนความคิดของคุณเรื่องการขโมย สร้างสรรค์แผนป้องกันอาการกำเริบ ค้นหาทางเลือกต่างๆ แทนการขโมย และศึกษาด้วยตัวเองเรื่องการขโมย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 6:

วินิจฉัยปัญหาที่ทำให้คุณขี้ขโมย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีความสำคัญที่จะรู้ว่าคุณมีค่าเพราะหลายคนที่รู้สึกผิด (รวมทั้งรู้สึกละอายที่ตัวเองขี้ขโมย) อาจไม่เชื่อว่าตนสมควรได้รับความช่วยเหลือ [1] ความรู้สึกเช่นนี้มักขัดขวางไม่ให้พวกเขาขอความช่วยเหลือ คุณสมควร “จริงๆ” ที่จะได้รับความช่วยเหลือกับความเข้าใจ และคุณไม่ได้โดดเดี่ยวอยู่ตามลำพัง
  2. มีความสำคัญที่คุณจะวินิจฉัยเป็นอย่างแรกถึงเหตุผลเฉพาะต่างๆ ที่ทำให้คุณขโมย เพื่อที่จะได้เริ่มเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้ [2]
    • คุณขโมยเพื่อความเบิกบานใจ? ในตอนแรกคุณรู้สึกเครียด ก่อนจะตามมาด้วยความตื่นเต้นดีใจซึ่งก่อตัวขึ้นก่อนหน้าการขโมย และจะโล่งอกหลังจากทำเสร็จ? หลังจากนั้น จึงตามมาด้วยความรู้สึกผิด ละอาย และสำนึกผิด? เหล่านี้คือสัญญาณบางประการว่าการขี้ขโมยอาจจะเป็นปัญหาหนึ่งสำหรับคุณ
    • คุณขโมยเพื่อหลบหนี? ในระหว่างที่ขโมย คุณรู้สึกแปลกไปไหม รู้สึกเหมือนไม่ใช่ตัวคุณเอง หรือรู้สึกว่าคุณไม่ได้สัมผัสกับความเป็นจริง? นี่คือสภาพของความรู้สึกที่ค่อนข้างจะพบได้ทั่วไปสำหรับคนที่ชอบขโมย
  3. หลังจากคุณค้นพบว่าอะไรขับเคลื่อนพฤติกรรมขี้ขโมยของคุณ จงรู้สึกว่าคุณสามารถเขียนได้อย่างอิสระถึงความจำเป็นต้องขโมยของคุณ อย่าเซ็นเซอร์ความรู้สึกต่างๆ ของตัวเอง – ทุกสิ่งที่คุณคิดหรือรู้สึกมีความสำคัญที่จะจดบันทึกไว้ [3]
    • ทำให้แน่ใจว่าได้ระบุออกมาซึ่งความรู้สึกต่างๆ ที่มาพร้อมกับความปรารถนาที่จะขโมย เช่น ความโกรธ ความกลัว เศร้า เปล่าเปลี่ยว รู้สึกสยดสยอง ไม่มั่นคง เปราะบาง ฯลฯ
  4. การคิดถึงผลกระทบที่จะตามมาจากพฤติกรรมของคุณ สามารถช่วยลดแรงกระตุ้นให้ลงมือขโมย [4] หากคุณเคยเกือบถูกจับได้ หรือเคยถูกจับได้ (หรือเคยถูกจับได้หลายครั้ง) จงจดบันทึกไว้ทั้งหมด และจงจดบันทึกความรู้สึกที่ตามมาหลังการขโมยด้วย เช่น ความละอาย ความรู้สึกผิด และพฤติกรรมที่คุณใช้เพื่อพยายามรับมือกับความรู้สึกเหล่านี้ หรือความสำนึกผิด หรือความไม่สบอารมณ์ ตัวอย่างเช่น ดื่มมากเกินไป ตัดเฉือนตัวเอง ทำลายสิ่งของที่ได้ขโมยมา หรือมีพฤติกรรมอันตรายอื่นๆ
    • หากคุณเคยถูกจับ ความรู้สึกที่ตามมานั้นรุนแรงเพียงใด ? ทำไมคุณรู้สึกว่าถึงจะถูกจับได้ ก็ไม่น่ากลัวพอที่จะมีชัยเหนือความจำเป็นที่คุณจะต้องขโมย จงจดบันทึกไว้
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 6:

ขอการสนับสนุนจากคนอื่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ขณะที่มีความเป็นไปได้ที่จะเอาชนะอาการขี้ขโมยด้วยตัวคุณเอง พร้อมกับความมุ่งมั่นเป็นอย่างมาก การพิจารณาเรื่องการบำบัดก็อาจเป็นประโยชน์เช่นกัน รูปแบบดีที่สุดของความช่วยเหลือคือปรึกษากับนักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์ การบำบัดร่วมกับการใช้ยาสามารถมีประสิทธิผลในการรักษาโรคชอบหยิบฉวย (Kleptomania) หรือ การขโมยเพราะไม่สามารถควบคุมแรงกระตุ้นทางจิต
    • จงเรียกความมั่นใจกลับคืนมาอีกครั้งหนึ่งว่า การบำบัดโรคชอบหยิบฉวย (Kleptomania) หรือ การขโมยเพราะไม่สามารถควบคุมแรงกระตุ้นทางจิต สามารถประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการช่วยให้คุณเอาชนะความผิดปกติทางจิตนี้ แต่ก็ต้องจำไว้เช่นกันว่าผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับว่าคุณต้องการมากเพียงใดที่จะเลิกขี้ขโมย และคุณเต็มใจจะทำงานหนักเพียงใดเพื่อให้หายจากอาการนี้!
  2. รูปแบบของการรักษาอาการขี้ขโมยซึ่งพบได้บ่อยที่สุดรวมทั้ง ความคิดและพฤติกรรมบำบัด (Cognitive Behavioral Therapy หรือ CBT) พฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี (Dialectical Behavior Therapy หรือ DBT) การบำบัดด้วยวิธีจิตวิเคราะห์ (Psychodynamic treatment) และกลุ่มบำบัด/โครงการ 12 ขั้นตอน (Group therapy/12-step programs) [5] [6] CBT ช่วยให้ผู้คนเปลี่ยนวิธีคิด เพื่อที่จะเปลี่ยนความรู้สึกและพฤติกรรมต่างๆ DBT เน้นสอนคนให้อดทนต่อความกังวลใจ การกำกับดูแลภาวะทางอารมณ์ (Emotion regulation) การมีปฏิสัมพันธ์ส่วนบุคคลที่มีประสิทธิผล (Interpersonal effectiveness) และมีสติ ( Mindfulness). การแทรกแซงทางจิตวิเคราะห์(Psychodynamic interventions) คือการย้อนดูอดีตกับการเลี้ยงดูและอบรมสั่งสอน เพื่อวินิจฉัยสาเหตุต่างๆของปัญหา และหาทางที่จะแก้ปัญหาในปัจจุบัน ส่วนโครงการ 12 ขั้นตอน (12-step programs) เน้นเรื่องการเสพติดสารต่างๆ แต่ก็มีโครงการ 12 ขั้นตอนสำหรับการขโมยโดยเฉพาะด้วย [7]
    • คุณสามารถปรึกษาหารือเรื่องทางเลือกเหล่านี้กับมืออาชีพด้านสุขภาพจิต
    • มีวิธีต่างๆ เช่นกันที่คุณสามารถสำรวจชนิดของการบำบัดเหล่านี้ด้วยตัวเอง ผ่านทางมาตรการช่วยตัวเองต่างๆ ตัวอย่างเช่น CBT เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนความคิดของคุณเพื่อที่จะเปลี่ยนความรู้สึกและพฤติกรรมต่างๆ
  3. ได้มีการบ่งชี้ถึงยาหลายขนานที่ใช้บำบัดโรคชอบหยิบฉวย ซึ่งรวมทั้ง ยาโพรแซค (Prozac) และ รีเวีย (Revia) [8]
    • ปรึกษาจิตแพทย์สักคนหนึ่งเพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติม หรือเพื่อหารือเรื่องทางเลือกทางจิตเวชต่างๆ
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 6:

เปลี่ยนความคิดของคุณเรื่องการขโมย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเปลี่ยนความคิดของคุณเพื่อเปลี่ยนความรู้สึกและพฤติกรรม เป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของ ความคิดและพฤติกรรมบำบัด (Cognitive Behavioral Therapy หรือ CBT) ซึ่งเป็นวิธีบำบัดวิธีหนึ่งที่พบได้บ่อยครั้งมากที่สุดสำหรับใช้รับมือกับการขโมยและโรคชอบหยิบฉวย [9] คอยเฝ้าสังเกตความคิดโดยอัตโนมัติต่างๆ ของคุณ แล้วคุณจะสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการขโมยของตัวเองได้ [10]
    • นึกถึงความคิดต่างๆ ที่ผุดขึ้นมาในตอนที่คุณกำลังพิจารณาจะขโมยบางสิ่ง ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะคิดว่า “ฉันอยากได้สิ่งนั้นจริงๆ” หรือ “ฉันจะออกไปกับมัน” [11]
    • คิดว่าการขโมยทำให้ใครได้ประโยชน์ มีเพียงคุณที่ได้ประโยชน์หรือเปล่าเวลาที่คุณขโมย? หรือครอบครัวของคุณ เพื่อนฝูงของคุณ หรือใครสักคน? และคุณหรือคนอื่นๆ ได้ประโยชน์ในรูปแบบใด? หากคุณรู้สึกว่าบางส่วนของแรงกระตุ้นให้คุณขโมย เกี่ยวข้องกับการทำให้คุณรู้สึกว่าตำแหน่งของคุณในกลุ่ม หรือในครอบครัวนั้นมีค่าหรือช่วยให้รู้สึกมั่นคง ด้วยการใช้วิธี “ซื้อ” ความรักจากพวกเขา หรือให้รางวัลที่พวกเขาใส่ใจในตัวคุณด้วยสิ่งของ หลังจากนั้น คุณจะจำเป็นต้องเริ่มมองแรงกระตุ้นเหล่านี้ว่าเป็นตัวแทนของความไม่มั่นคงภายในตัวคุณ
  2. เมื่อได้วินิจฉัยรูปแบบการคิดของคุณได้แล้ว คุณสามารถเริ่มคิดถึงความคิดทางเลือกต่างๆ ซึ่งรวมทั้งให้ความสนใจต่อความคิดด้านลบต่างๆ ของคุณซึ่งสนับสนุนพฤติกรรมขี้ขโมย และเปลี่ยนกระบวนการคิดในช่วงนั้นของคุณอย่างแข็งขัน
    • ยกตัวอย่างเช่น หากคุณพบว่าตัวเองกำลังคิดว่า “ฉันอยากได้แหวนวงนั้นจริงๆ ดังนั้น ฉันจะขโมยมันมา” แทนที่จะคิดว่า “ฉันต้องการแหวนวงนั้น แต่มันผิดที่จะขโมย ฉันจึงจะเน้นเก็บสะสมเงินของฉันแทน”
  3. เมื่อคุณรู้สึกเข้มแข็งมากขึ้นเกี่ยวกับสิ่งที่กระตุ้นให้คุณขโมย และสิ่งที่คุณตั้งใจจะทำเกี่ยวกับมัน จงใช้เวลาบางส่วนไตร่ตรองสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ และมองโดยรอบด้านว่าสิ่งนี้กำลังมุ่งหน้าไปทางไหน เวลาที่ใช้ไตร่ตรองนี้มีความสำคัญ เพราะดูเหมือนกับว่าคุณรู้สึกราวกับว่าชีวิตขาดเป้าหมาย หรือบางที คุณอาจรู้สึกราวกับว่าไม่มีอำนาจควบคุมเหนือแง่มุมต่างๆ ของชีวิตตัวเอง
    • สำหรับบางคนนั้น การลักขโมยเป็นรูปแบบหนึ่งของการก่อกบฏแบบเฉื่อยๆ ต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่ทำให้พวกเขารู้สึกไร้อำนาจ การไตร่ตรองเรื่องที่คุณกังวลในภาพที่ใหญ่ขึ้นนี้ จะช่วยให้คุณเริ่มพัฒนาเป้าหมาย “ของตัวเอง” เพื่อชีวิต “คุณ” และจะช่วยให้คุณกำหนดขอบเขตของพฤติกรรมแย่ๆ ซึ่งไม่ได้ช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายต่างๆ
  4. จงเตรียมพร้อมที่จะแสดงออกให้มากขึ้นถึงความเป็นตัวเอง และสิ่งที่ต้องการ. หากคุณไม่รู้สึกแข็งแกร่งมากพอที่จะลุกขึ้นยืนเพื่อตัวเอง หรือรู้สึกว่าถูกเมินเฉย ถูกค่อนแคะ หรือถูกทำให้ตกต่ำลงอยู่ตลอดเวลา จึงง่ายที่คุณจะใช้การขโมยเป็นรูปแบบหนึ่งของ “การแก้แค้น” ต่อคนซึ่งคุณเข้าใจว่าได้ทำให้คุณเจ็บปวด เมินเฉยคุณ หรือ คุณอาจกำลังใช้การขโมยเป็นวิธีหนึ่งเพื่อผ่อนคลายความรู้สึกโดยทั่วๆ ไป นับเป็นโชคร้ายที่คุณไม่ได้อ้างสิทธิ์ของตัวเอง และไม่ได้มองตัวเองว่ามีค่า แต่กลับเลือกใช้วิธีขโมยแทน คุณนำเอาอนาคตของตัวเองมาเสี่ยง และปล่อยให้การกระทำของคนอื่นทำให้คุณทำร้ายตัวเองมากขึ้น จงเตือนใจตัวเองว่าคนๆ เดียวที่คุณทำให้เจ็บปวดอย่างแท้จริงก็คือ “ตัวคุณ” – คุณอาจจะทำให้คนที่รักคุณกลัดกลุ้มได้จริงๆ แต่คุณไมได้กำลังลงโทษพวกเขา คุณกำลังลงโทษตัวเองต่างหาก
    • อ่านเพื่อหารายละเอียดเพิ่มมากขึ้นสำหรับวิธีที่จะลุกขึ้นยืนสู้เพื่อตัวเอง วิธีที่จะกล้าแสดงออก และทำอย่างไรจึงจะติดต่อสื่อสารด้วยท่าทางที่กล้าแสดงออก
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 6:

สร้างสรรค์แผนป้องกันอาการกำเริบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การสร้างแผนป้องกันอาการกำเริบ (Relapse prevention plan) เป็นอุปกรณ์สำคัญในการควบคุมแรงกระตุ้นของคุณที่จะขโมย เช่นเดียวกับป้องกันไม่ให้คุณหวนกลับไปขโมยอีกในอนาคต [12] [13] ขั้นตอนแรกในการวางแผนป้องกันไม่ให้คุณหวนกลับไปขโมยอีก คือวินิจฉัยปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการขโมยที่ผ่านมา
    • คุณสามารถใช้ข้อมูลที่บันทึกไว้ ในระหว่างการฝึกเขียนข้างบนนี้ เพื่อเริ่มจัดทำแผนป้องกันไม่ให้คุณหวนกลับไปขโมยอีก
    • จดบันทึกประวัติการขโมยของคุณ. บันทึกการขโมยให้มากครั้งที่สุดที่จะทำได้ เริ่มจากตอนที่คุณเป็นเด็ก จดบันทึกสถานการณ์ใดๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในช่วงนั้น ๆ หรือเกี่ยวกับสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของคุณที่จะขโมย
    • จัดอันดับความจำเป็นที่จะขโมยในแต่ละครั้ง โดยใช้มาตราส่วน 1 ต่อ 10 เพื่อแสดงว่าคุณรู้สึกว่าถูกบังคับมากเพียงใด ให้ต้องขโมย ในแต่ละครั้งที่ได้จดบันทึกไว้
  2. เข้าใจและรับมือกับสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้คุณขโมย. ตัวกระตุ้นคือความคิดและความรู้สึกเกี่ยวกับสถานการณ์ซึ่งอาจนำไปสู่พฤติกรรมหนึ่ง จดบันทึกสิ่งที่คุณคิดและรู้สึกซึ่งเกี่ยวข้องกับการขโมย
    • เรียนรู้สถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูงต่างๆ. กุญแจที่จะควบคุมแรงกระตุ้นของคุณ คือ ความเข้าใจในสถานการณ์ต่างๆ ที่มีความเสี่ยง และหลีกเลี่ยงสถานการณ์เสี่ยงเหล่านั้น [14]
    • คุณรู้สึกอย่างไรในตอนที่ขโมย? ดูสิว่าคุณสามารถวินิจฉัยตัวกระตุ้นเฉพาะต่างๆ ได้หรือไม่ เช่น บางคนผู้ทำสิ่งน่ารังเกียจกับคุณ ผู้ที่ตะโกนใส่คุณ ความรู้สึกตกต่ำ หรือรู้สึกว่าไม่มีใครรัก ความรู้สึกว่าถูกปฏิเสธ ฯลฯ
    • จงบันทึกเรื่องความเกี่ยวพันกันระหว่างสิ่งที่กระตุ้นให้คุณจำเป็นต้องขโมย กับการจัดอันดับความรู้สึกว่าจำเป็นต้องขโมย
    • เก็บรักษารายการ บันทึกความจำ หรือโน๊ตบุ๊คไว้อย่างปลอดภัยมากๆ
    • พาตัวเองออกมาจากสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นตัวกระตุ้น และอาจส่งเสริมหรือทำให้ง่ายขึ้นที่คุณจะขโมย ตัวอย่างของชนิดของตัวกระตุ้นเหล่านี้ รวมทั้ง การอยู่รอบๆ เพื่อนที่เป็นขโมย หรือการเข้าไปในร้านที่คุณรู้ว่ามีการรักษาความปลอดภัยต่ำ จงหลีกเลี่ยงสถานการณ์เหล่านี้ไม่ว่าต้องแลกกับอะไร เพื่อที่คุณจะได้ไม่ถูกยั่วยวนให้ขโมย
  3. สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับการพูดคุยกับตัวคุณเองก่อนที่จะเดินหน้าไปไกลมากขึ้น [15] จงทดลองทำสิ่งดังต่อไปนี้
    • หยุด แทนที่จะทำตามแรงกระตุ้น จงหยุดตัวคุณเองในทันที
    • หายใจหนึ่งเฮือก จงยืนนิ่งและปล่อยให้ตัวเองมีพื้นที่สำหรับหายใจ
    • เฝ้าดู คิดถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น ฉันกำลังรู้สึกอย่างไร? ฉันกำลังคิดอะไรอยู่? ฉันกำลังมีปฏิกิริยาตอบสนองต่ออะไร?
    • ถอยกลับ จงพยายามมองดูสถานการณ์อย่างไม่มีอคติ มีวิธีคิดเกี่ยวกับสถานการณ์นี้ในแบบอื่นหรือไม่ ? จินตนาการถึงตัวคุณเองหลังการขโมย ในตอนที่คุณกำลังกอดรัดสิ่งนั้น และกังขาว่าจะทำอะไรกับมัน และกังขาว่าทำอย่างไรถึงจะเอาชนะความรู้สึกผิดได้
    • ฝึกซ้อมสิ่งที่ทำได้จริง จงเลือกด้วยตัวเองว่าอยากทำอะไร แทนที่จะยังคงขโมย จงวางแผนการที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมของคุณ ในทุกครั้งที่ความกระหายที่จะขโมยมีอำนาจเหนือคุณ บางตัวอย่างที่อาจเป็นประโยชน์รวมทั้งบอกกับตัวเองว่าคุณเป็นใคร และมีค่านิยมอย่างไร เตือนตัวเองว่าคุณเป็นคนดี และเป็นคนที่มีค่า ใช้เทคนิคทำให้ตัวเองสงบ และจินตนาการฉากต่างๆที่สงบเพื่อสยบความเครียด และหัวใจที่กำลังเต้นแรงของคุณ
  4. เมื่อได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงศิลปะการควบคุมแรงกระตุ้น และได้ลดหรือกำจัดพฤติกรรมขี้ขโมยของคุณแล้ว คุณจะจำเป็นต้องเฝ้าดูแผนการป้องกันอาการขี้ขโมยกำเริบต่อไป และปรับใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ [16]
    • หันมาหาปัจจุบัน จัดเก็บบัญชีรายวันของการหาประโยชน์ใส่ตัวจากการขโมยของคุณในปัจจุบัน หากว่ามี และจดบันทึกเรื่องอารมณ์ กับจัดระดับความปรารถนาที่จะขโมยของคุณเหมือนกับที่ทำก่อนหน้านี้
    • สร้างสมดุลให้กับงานเขียน จงทำให้แน่ใจว่าได้จดบันทึกเรื่องความสำเร็จต่างๆ ของคุณ เรื่องสิ่งต่างๆ ที่คุณภาคภูมิใจ และสิ่งต่างๆที่คุณสำนึกในบุญคุณ จงพยายามทำสิ่งเหล่านี้ให้กลายเป็นจุดสนใจหลักของบันทึกความทรงจำของคุณซึ่งเก็บรักษาไว้เมื่อเวลาผ่านไป จะช่วยให้คุณตระหนักถึงคุณค่าของตัวเอง
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 6:

ค้นหาทางเลือกต่างๆแทนการขโมย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ค้นหาทางเลือกต่างๆ แทนการขโมย ซึ่งช่วยให้คุณรุ้สึกเบิกบานใจ หรือมีเป้าหมาย แต่ไม่สร้างอันตรายเพิ่มมากขึ้นให้กับชีวิตคุณ [17] สิ่งที่ว่านี้อาจรวมถึงงานอดิเรก กิจกรรมต่างๆ การอาสาสมัคร การช่วยเหลือผู้อื่น วาดภาพ เรียนรู้ เป็นนักเคลื่อนไหวเพื่อบางสิ่งที่คุณเชื่อมั่น หรือทางเลือกอื่นๆ อีกมากมายเพื่อ แทนที่การขโมย ไม่ว่าคุณจะเลือกอะไร จงเลือกทางเลือกที่เป็นประโยชน์สำหรับคุณและไม่ใช่เพียงแค่เปลี่ยนจากทางเลือกที่ผิดปกติอย่างหนึ่งไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง (เช่น ย้อมใจตัวเองด้วยแอลกอฮอล์)
  2. หากการขโมยเติมเต็มให้กับชีวิตคุณ จงเปลี่ยนเป็นเติมเต็มด้วยกิจกรรมต่างๆ แทน [18] เล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย ทำงานอดิเรก หรือเริ่มทำงานอาสาสมัคร แทนที่จะหันไปใช้การขโมยเติมเต็มเวลาของคุณ จงใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น การทำเช่นนี้จะช่วยเพิ่มการตระหนักถึงคุณค่าของตัวคุณเอง ฟื้นเรี่ยวแรงขึ้นมาใหม่ และทำให้หายเบื่อ มันจะช่วยหยุดยั้งคุณจากการขโมยเพราะไม่มีสิ่งอื่นที่ดีกว่าทำ หรือขาดสัมผัสของความไร้จุดประสงค์ แค่ทำให้ตัวคุณไม่ว่าง ส่วนที่เหลือจะตามมาเอง
  3. เพิ่มเงินรายได้หรือค่าจ้างของคุณมากขึ้น หรือทบทวนงบประมาณของคุณใหม่ หากคุณจำเป็นต้องขโมยเพื่อความอยู่รอด หรือรู้สึกว่าถูกทิ้ง เช่นเดียวกันกับตัวกระตุ้นทางอารมณ์ต่างๆ การมีสายธารของเงินรายได้ที่มั่นคงมากขึ้น อาจบรรเทาความปรารถนา หรือ "ความจำเป็น" ที่คุณจะขโมย ยิ่งกว่านั้น ความมั่นคงและกิจวัตรประจำของการมีงาน หากคุณไม่มีงานทำก่อนหน้านี้ สามารถฟื้นฟูสัมผัสของความรับผิดชอบและความเคารพในตัวเองซึ่งอาจขาดหายไปจากชีวิตคุณ ขั้นตอนนี้อาจจะไม่เกี่ยวกับคุณ หากคุณมีเงินเพียงพอแล้ว งานหรือเงินไม่ใช่ปัญหา แต่หากปัญหาเรื่องเงินเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาของคุณ การได้มาซึ่งแหล่งรายได้ที่มั่นคงปลอดภัยของคุณเองอาจเป็นประโยชน์
  4. จงใช้ความรู้ที่ได้มาจากการเขียนเพื่อบำบัด เพื่อเริ่มรับมือกับอารมณ์ และความรู้สึกซึ่งกระตุ้นความจำเป็นที่คุณจำเป็นต้องขโมย [19] รับมือกับความโกรธของคุณ ความสับสน ความเศร้า ความเจ็บปวด และอื่นๆ ยอมรับความรู้สึกดั้งเดิมของคุณ และหาวิธีใหม่ๆ ที่จะรับมือกับพวกมัน แทนที่จะใช้วิธีขโมย
    • จดบันทึกวิธีใหม่ๆ ที่จะใช้เบนความสนใจของตัวคุณเอง จงหาความบันเทิง และทำให้ตัวคุณเองสนุกสนาน มีความคิดและการกระทำใหม่ๆ ชนิดใดบ้างที่คุณพบว่าสามารถทำให้ตัวคุณเองรู้สึกดีขึ้น?
    โฆษณา
วิธีการ 6
วิธีการ 6 ของ 6:

ศึกษาด้วยตัวเองเรื่องการขโมย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เข้าใจการเปรียบเทียบระหว่างขโมยกับโรคชอบหยิบฉวย (Kleptomania). เพื่อที่จะรับมือกับการดิ้นรนต่อสู้เป็นพิเศษของการขโมย อาจเป็นประโยชน์ที่คุณจะวินิจฉัยว่า คุณพัวพันอยู่กับพฤติกรรมขี้ขโมย หรือคุณมีอาการผิดปกติทางจิตเฉพาะอย่าง [20] มีคำแนะนำให้คุณขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต
    • มีผู้เป็นโรคชอบหยิบฉวย (Kleptomania)มีจำนวนประมาณ .3-.6 % ของประชากรทั่วไป [21] หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ คนประมาณ 1 ในทุกๆ 200 คนอาจเข้าเกณฑ์ความผิดปกติ ของการเป็นโรคชอบหยิบฉวย
    • 11% ของผู้คนเคยขโมยของในร้านค้าอย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต [22] นั่นคือมากกว่าทุกๆ 1 คนจาก 10 คนเคยขโมยของในร้านค้าอย่างน้อยหนึ่งครั้ง อย่างไรก็ตาม การขโมยของในร้านค้าหนึ่งหรือสองครั้งไม่ถือเป็นความผิดปกติทางจิต
    • โรคชอบหยิบฉวย (Kleptomania) เป็นอาการผิดปกติของการควบคุมแรงกระตุ้น เกี่ยวข้องกับหัวใจที่ “เต้นแรง” เมื่อเกี่ยวข้องกับการขโมย ตามมาด้วยความรู้สึกผิดหลังจากการขโมย โรคนี้ยังแสดงอาการของการไร้ความสามารถที่จะควบคุมหรือหยุดการขโมยด้วย แม้จะพยายามซ้ำแล้วซ้ำอีก [23]
    • การขโมยไม่ได้ถูกพิจารณาว่าเป็นอาการเสพย์ติด หากยึดตามคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (Diagnostic and Statistical Manual) ฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน (DSM-5) ซึ่งใช้อ้างอิงเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับนักจิตวิทยา และจิตแพทย์ในการวินิจฉัยความผิดปกติทางจิต [24]
  2. การขโมยอาจเป็นส่วนหนึ่งของอาการผิดปกติจากโรคอื่น ตัวอย่างของการวินิจฉัยโรค ได้แก่ ความประพฤติผิดปกติ (Conduct Disorder) โรคอารมณ์ 2 ขั้ว (Bipolar Disorder) โรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (Antisocial Personality Disorder) และโรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder) ทั้งหมดมีเกณฑ์ซึ่งอาจจะรวมทั้งพฤติกรรมลักขโมยด้วย [25] คุณยังสมควรได้รับการประเมินหาอาการผิดปกติอื่นๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดอุปนิสัยแบบโรคชอบหยิบฉวย เช่น การตกอยู่ในภวังค์ ความเครียด ความวิตกกังวล และความผิดปกติทางอารมณ์
  3. ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจากห้องสมุด หรือร้านหนังสือแถวบ้าน ในยุคอินเตอร์เน็ตนี้ เป็นเรื่องง่ายที่จะค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ของเรา เพียงทำให้แน่ใจว่าได้หาข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เช่น เว๊ปไซต์สุขภาพของรัฐบาล และเว๊ปไซต์ต่างๆ ที่เขียนโดยแพทย์และจิตแพทย์ โดยมีการอ้างอิงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ขณะเดียวกัน จงอ่านข้อความที่โพสต์และการแสดงความเห็นต่างๆ ณ ที่ซึ่งผู้มีความผิดปกติเช่นเดียวกันกับคุณร่วมแบ่งปันความคิดเห็น ความรู้สึก ความวิตกกังวล ฯลฯ เพราะจะช่วยให้คุณตระหนักความจริงว่า คุณไม่ได้อยู่ตามลำพัง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หากคุณไม่มีเงินมากพอที่จะซื้อของบางอย่าง แต่อยากได้ ให้มองหาวิธีได้มาในราคาถูกผ่านทางตลาดนัดที่มีการพบปะเพื่อแลกเปลี่ยนสิ่งของกัน (A swap meet) หรืออาจจะใช้แม้แต่วิธีขอยืมสิ่งนั้นเป็นการชั่วคราวจากใครบางคน เพื่อช่วยให้คุณหายอยากได้สิ่งนั้นมาเป็นของตน
  • บอกกับเพื่อนสนิท และหรือสมาชิกในครอบครัวคนหนึ่ง (หรือหลายคน) เรื่องปัญหาการขโมยของคุณ พวกเขาอาจจะมีคำแนะนำดีๆ และจะช่วยคุณได้มาก การแบ่งปันปัญหาของคุณกับคนที่รักสามารถช่วยได้มาก
  • หากคุณรู้สึกว่าไม่อาจพูดคุยเรื่องนี้กับบางคน เช่น แพทย์ จงพูดคุยกับสมาชิกในครอบครัวที่คุณไว้วางใจ
โฆษณา

คำเตือน

  • การส่งคืนสิ่งของขโมยมาอาจทำให้เกิดปัญหาทางกฎหมายได้ หากมีสักวิธีหนึ่งที่คุณจะส่งคืนสิ่งของที่ขโมยมาโดยไม่ทำให้ตัวเองถูกฟ้องร้อง ก็จงทำ – อาจนำสิ่งของเหล่านั้นไปวางคืนไว้ที่หน้าร้านก่อนที่ร้านจะเปิด หรือส่งคืนทางไปรษณีย์ พร้อมกับจดหมายหรือโน๊ตขอโทษ
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • โน๊ตบุ๊คสักเครื่องหนึ่ง หรือสมุดบันทึกประจำวันสำหรับบันทึกอารมณ์ต่างๆ สิ่งกระตุ้นและวิธีแก้ปัญหา – คุณอาจทำขึ้นเองจากกระดาษรีไซเคิล หรือ ซื้อ มาในราคาถูก คุณต้องจ่ายเงินซื้อมาหรือได้มาเป็นของคุณอย่างถูกต้อง ไม่อย่างนั้น คุณจะทำผิดความตั้งใจ ก่อนที่จะได้เริ่มต้นด้วยซ้ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก


  1. http://digital.doctorsonly.co.il/wp-content/uploads/2011/12/2006_2_3.pdf
  2. http://digital.doctorsonly.co.il/wp-content/uploads/2011/12/2006_2_3.pdf
  3. http://www.solanocounty.com/civicax/filebank/blobdload.aspx?blobid=14403
  4. http://www.minddisorders.com/Kau-Nu/Kleptomania.html
  5. https://www.psychologytoday.com/blog/do-the-right-thing/201005/six-principles-best-manage-impulses-maximize-life-satisfaction-and
  6. http://www.getselfhelp.co.uk/stopp.htm
  7. http://www.solanocounty.com/civicax/filebank/blobdload.aspx?blobid=14403
  8. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/kleptomania/basics/coping-support/con-20033010
  9. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/kleptomania/basics/coping-support/con-20033010
  10. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/kleptomania/basics/coping-support/con-20033010
  11. http://digital.doctorsonly.co.il/wp-content/uploads/2011/12/2006_2_3.pdf
  12. http://download.springer.com/static/pdf/539/art%253A10.1007%252Fs40429-014-0027-6.pdf?originUrl=http%3A%2F%2Flink.springer.com%2Farticle%2F10.1007%2Fs40429-014-0027-6&token2=exp=1436814442~acl=%2Fstatic%2Fpdf%2F539%2Fart%25253A10.1007%25252Fs40429-014-0027-6.pdf%3ForiginUrl%3Dhttp%253A%252F%252Flink.springer.com%252Farticle%252F10.1007%252Fs40429-014-0027-6*~hmac=48f637fe608860f85a2b6c4779eaf1bc72a3e240a245bee8f21add9ce550d053
  13. http://download.springer.com/static/pdf/539/art%253A10.1007%252Fs40429-014-0027-6.pdf?originUrl=http%3A%2F%2Flink.springer.com%2Farticle%2F10.1007%2Fs40429-014-0027-6&token2=exp=1436814442~acl=%2Fstatic%2Fpdf%2F539%2Fart%25253A10.1007%25252Fs40429-014-0027-6.pdf%3ForiginUrl%3Dhttp%253A%252F%252Flink.springer.com%252Farticle%252F10.1007%252Fs40429-014-0027-6*~hmac=48f637fe608860f85a2b6c4779eaf1bc72a3e240a245bee8f21add9ce550d053
  14. http://www.theravive.com/therapedia/Kleptomania-DSM--5-302.32-%28F63.3%29
  15. http://download.springer.com/static/pdf/539/art%253A10.1007%252Fs40429-014-0027-6.pdf?originUrl=http%3A%2F%2Flink.springer.com%2Farticle%2F10.1007%2Fs40429-014-0027-6&token2=exp=1436814442~acl=%2Fstatic%2Fpdf%2F539%2Fart%25253A10.1007%25252Fs40429-014-0027-6.pdf%3ForiginUrl%3Dhttp%253A%252F%252Flink.springer.com%252Farticle%252F10.1007%252Fs40429-014-0027-6*~hmac=48f637fe608860f85a2b6c4779eaf1bc72a3e240a245bee8f21add9ce550d053
  16. http://www.bandbacktogether.com/kleptomania-resources/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 12,182 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา