ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อาการคัดจมูก หรือ “จมูกตัน (stuffy nose)” นั้นเป็นเพราะเยื่อบุโพรงจมูกกับหลอดเลือดในจมูกนั้นบวมเต่งเต็มไปด้วยของเหลว (หรือก็คือน้ำมูก) อาการที่พบเป็นปกติของการคัดจมูกคือมีน้ำมูกไหล หรือ “runny nose” เราคัดจมูกได้ด้วยหลายสาเหตุด้วยกัน รวมถึงการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส (หวัด) อากาศแห้ง ภูมิแพ้ ยาบางชนิด หรือหอบหืด [1] จะดีกว่าถ้าคุณไปหาหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมว่าคุณคัดจมูกเพราะอะไร แต่ถ้าอาการไม่หนักเท่าไหร่ เราก็มีวิธีง่ายๆ เพื่อแก้อาการคัดจมูกมาฝากกัน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ทำให้น้ำมูกหายข้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นประคบที่จมูกและใบหน้าวันละหลายๆ ครั้ง. ความร้อนจะทำให้หลอดเลือดในโพรงจมูกขยายตัว ทำให้น้ำมูกเหลว ไหลออกมาได้ง่ายขึ้น เอาผ้าขนหนูไปชุบน้ำอุ่น แต่อย่าให้ร้อนจัดเกินไป ไม่งั้นจะลวกผิวได้ บิดให้หมาดๆ แล้วเอามาประคบหน้ากับจมูก นั่งผ่อนคลายไปประมาณ 5 - 10 นาที จากนั้นค่อยเอาผ้าออก
  2. สูดไอน้ำของน้ำอุ่นที่ไหลจากฝักบัวหรือในอ่างอาบน้ำแล้วช่วยทำให้น้ำมูกหายเหนียวข้นได้เหมือนกัน จะอาบน้ำอุ่นจากฝักบัวหรือแช่น้ำอุ่นในอ่างก็ได้ แล้วหายใจเอาไอน้ำเข้าไป หรือเปิดน้ำร้อนเติมอ่างอาบน้ำหรือให้ไหลจากฝักบัว แล้วนั่งสูดไอน้ำอยู่ในห้องน้ำแทนก็ได้ ประมาณ 10 - 15 นาที ไอน้ำที่คลุ้งเต็มห้องจะช่วยให้น้ำมูกคุณหายเหนียวข้น ไม่จมูกตัน [2]
  3. ถ้าในห้องนอนหรือในบ้านคุณอากาศแห้งเกินไป ก็อาจทำให้จมูกตันได้ ถ้ามีเครื่องทำความชื้น (humidifier) หรือเครื่องทำไอระเหย (vaporizer) ก็จะช่วยสร้างไอน้ำหรือเพิ่มความชื้นในอากาศ ลองใช้เครื่องพวกนี้ตอนกลางคืนดู อากาศจะได้ชื้นขึ้น คุณก็นอนหลับสบายเพราะน้ำมูกไม่เหนียวข้นอุดตัน [3]
  4. ดื่มน้ำเยอะๆ ก็ช่วยให้น้ำมูกหายเหนียวข้นได้เหมือนกัน แถมยังป้องกันไม่ให้โพรงไซนัสอุดตัน พยายามดื่มน้ำ 8 แก้วต่อวันจะได้ไม่ขาดน้ำ จิบไปเรื่อยๆ ตลอดวัน ถ้าอยากดื่มเครื่องดื่มอื่นร่วมด้วยก็ได้ เช่น น้ำผลไม้ กาแฟที่ไม่มีคาเฟอีน (กาแฟ decaf) รวมถึงชาสมุนไพร (ที่ไร้คาเฟอีนเช่นกัน) ด้วย [4]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ขจัดน้ำมูก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สั่งน้ำมูกแรงเร็วช่วยขจัดเชื้อโรคต่างๆ และน้ำมูกออกจากจมูกคุณได้ทันใจก็จริง แต่ความดันที่เพิ่มสูงกะทันหันอาจดันให้มันกลับไปในจมูกหรือไซนัสได้เหมือนกัน ลองเปลี่ยนมาสั่งน้ำมูกเบาๆ แทน อาจขจัดน้ำมูกได้มากกว่าเดิม เวลาสั่งก็ใช้ทิชชู่นุ่มๆ หน่อย เอานิ้วปิดรูจมูกข้างหนึ่ง แล้วสั่งน้ำมูกเบาๆ ออกมาทางรูจมูกอีกข้าง [5]
  2. เรารู้ เวลาป่วยคุณอยากเอนตัวนอนพัก แต่รู้หรือไม่ การนอนราบทำให้โพรงไซนัสยิ่งอุดตัน ลองเปลี่ยนมานั่งแทนนอนดีกว่า รับรองว่าน้ำมูกไหลคล่อง นั่งแล้วสั่งน้ำมูกง่าย ไม่อุดตัน ตอนกลางคืนเวลานอนหรือตอนพักผ่อนกลางวัน ลองใช้หมอนหนุนหัวให้ตั้งไว้ก็ดี [6]
  3. ล้างโพรงจมูกด้วยน้ำอุณหภูมิห้องก็ช่วยขจัดน้ำมูกอุดตันได้ โดยเฉพาะ neti pot อุปกรณ์หน้าตาเหมือนกาน้ำที่เอาไว้ใส่น้ำเกลือแล้วเทออกมาทางพวยกายาวๆ บางๆ เข้าไปล้างจมูกคุณ
    • เอาเกลือผสมในน้ำอุณหภูมิห้องให้เข้ากัน แล้วเติมลงใน neti pot เป็นสูตรที่จำลองเนื้อเยื่อกับของเหลวตามธรรมชาติในร่างกายขึ้นมา [7] [8] ผสมน้ำอุณหภูมิห้องประมาณ 16 ออนซ์ (2 ถ้วยตวง) ให้เข้ากันกับเกลือ 1 ช้อนชา จนได้น้ำสูตรพิเศษสำหรับ neti pot [9]
    • เวลาจะล้างจมูกด้วย neti pot ให้ยืนที่ซิงค์แล้วเอียงหัวไปข้างๆ เอาพวยกาจ่อตรงรูจมูกที่อยู่ด้านบน จากนั้นหายใจทางปากแล้วค่อยๆ เทน้ำเกลือลงในรูจมูกบน ให้น้ำเกลือไหลออกมาทางรูจมูกล่าง เสร็จแล้วทำซ้ำอีกข้าง
    • ใช้ neti pot แต่ละครั้งแล้วต้องล้างให้สะอาดด้วยน้ำกลั่น น้ำต้ม หรือน้ำกรอง
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

ใช้ยาแก้คัดจมูก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ต้องเข้าใจว่าบางทีสเปรย์หรือยาแก้คัดจมูกอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรงได้. ถ้าคุณใช้ยาชนิดอื่นอยู่หรือมีโรคประจำตัว ต้องปรึกษาคุณหมอก่อนจะลองใช้ยาแก้คัดจมูกหรือยาพ่นจมูกตามร้านขายยา เช่น ถ้าคุณมีอาการต่อมลูกหมากโต ต้อหิน โรคหัวใจ ความดันสูง หรือโรคไทรอยด์ ให้สอบถามคุณหมอหรือเภสัชกรให้แน่ใจก่อนใช้ยา เพราะทั้งยาและสเปรย์แก้คัดจมูกอาจทำให้โรคประจำตัวของคุณทรุดลง คุณหมอจะแนะนำเองว่าควรใช้ยาตัวไหน ผลข้างเคียงที่ควรระวังของยาแก้คัดจมูกก็คือ [10]
    • ระคายเคืองเยื่อบุโพรงจมูกจนอาจเลือดกำเดาไหลได้
    • มีผื่นแพ้
    • ปวดหัว
    • ปากแห้งแตก
    • กระวนกระวาย หรือวิตกกังวล
    • Tremor คือ อาการสั่นแบบควบคุมไม่ได้
    • มีปัญหาเรื่องการนอน (นอนไม่หลับ)
    • หัวใจเต้นแรงและ/หรือเต้นผิดปกติ
    • ใจสั่น หรือ palpitations
    • ความดันสูงขึ้น
  2. ยาแก้คัดจมูกที่ขายตามร้านขายยา (ไม่ต้องให้หมอสั่ง) ก็เช่นยาที่มี phenylephrine และ pseudoephedrine เป็นตัวยาหลัก โดยจะออกฤทธิ์ให้หลอดเลือดในจมูกหดตัว ลดเลือดที่ไหลเวียนผ่านบริเวณดังกล่าว ทำให้เยื่อบุโพรงจมูกหด อากาศจะไหลเวียนเข้าไปได้ดีขึ้น [11]
    • Phenylephrine มีทั้งแบบยาเม็ด ยาน้ำ (สเปรย์พ่น) หรือแบบแผ่นละลายในปาก ทั้งยังเป็นส่วนผสมในยาแก้หวัดหลายตัว เวลาใช้ก็ต้องอ่านคำแนะนำกับข้อควรระวังให้ดี [12]
    • Pseudoephedrine จะเป็นแบบเม็ดธรรมดา ยาเม็ดที่ค่อยๆ ปล่อยตัวยาใน 12 ชั่วโมง (ออกฤทธิ์นาน) ยาเม็ดที่ค่อยๆ ปล่อยตัวยาใน 24 ชั่วโมง รวมถึงยาน้ำด้วย อย่าลืมอ่านคำแนะนำให้ดีก่อนใช้ [13]
  3. ยาพ่นช่วยลดอาการคัดจมูกโดยออกฤทธิ์หดหลอดเลือดในจมูกและลดการบวม ลองปรึกษาคุณหมอก่อน คุณหมออาจจ่ายยาพ่นมาให้หรือแนะนำยาตามร้านขายยาที่เหมาะกับคุณ [14] ลองมาดูขั้นตอนการพ่นยาข้างล่างนี่เลย [15]
    • สั่งน้ำมูกเบาๆ ก่อน จะได้เป็นการเคลียร์จมูกก่อนพ่นยา
    • เขย่าขวดก่อนพ่น
    • ทำหน้าตรงแล้วหายใจออกช้าๆ (ถ้าเงยหน้า ยาอาจไหลเข้าไปมากเกิน ผลข้างเคียงก็จะมากตามด้วย)
    • เอานิ้วของมือข้างที่ว่างปิดจมูกข้างที่ไม่ได้พ่นยาไว้
    • เอาปลายขวดแหย่เข้าไปในจมูกข้างที่จะพ่น แล้วกดพ่นยา ระหว่างนั้นให้หายใจเข้าช้าๆ ทางจมูก เสร็จแล้วทำซ้ำอีกข้าง
    • พยายามอย่าจามหรือสั่งน้ำมูกหลังพ่นยา
  4. อย่าพ่นยาติดต่อกันนานเกิน 3 วัน ถ้านานกว่านั้นอาจกลับมาคัดจมูกหนักกว่าเดิม หรือที่เรียกว่า rebound congestion
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

ไปหาหมอดีกว่า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เวลาคุณหมอจะตรวจวินิจฉัยต้องใช้ทั้งหมด ไม่ว่าจะรายละเอียดของอาการปัจจุบัน ประวัติการรักษาที่ผ่านมา และอาการหรือสัญญาณอื่นๆ ร่วมด้วย อย่างมีไข้ ปวดหัว ไอ หายใจขัด และอื่นๆ
    • ระหว่างการตรวจ คุณหมอจะใช้ปากกาไฟฉายส่องดูในจมูกของคุณ ตรวจหูหาของเหลวสะสม กดโหนกแก้มและ/หรือหน้าผากหาอาการแน่นหน้าปวดไซนัส และคลำว่าต่อมน้ำเหลืองแถวๆ คอบวมหรือเปล่า
    • คุณหมออาจขอตรวจเลือดเพื่อวัดจำนวนเซลล์ภูมิคุ้มกันในร่างกาย (WBC) ถ้าเพิ่มสูงขึ้น แปลว่าอาจมีอาการติดเชื้อหรืออักเสบบางอย่าง เช่น โรคภูมิแพ้
    • คุณหมออาจโอนเคสคุณต่อไปยังคุณหมอหู คอ จมูก ถ้าจำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยหรือทดสอบเพิ่มเติมแบบเฉพาะเจาะจง
  2. ยาแก้คัดจมูกส่วนใหญ่หาซื้อได้ตามร้านขายยาโดยไม่ต้องให้คุณหมอสั่ง แต่ก็แล้วแต่สาเหตุและอาการของคุณ บางทีอาจต้องใช้ยาอื่นร่วมด้วย เช่น ถ้าไซนัสอักเสบก็ต้องกินยาปฏิชีวนะเพิ่มเพื่อต้านแบคทีเรีย ส่วนหอบหืดกับอาการอักเสบรุนแรงอื่นๆ คงต้องใช้สเตียรอยด์
  3. ถ้าอาการรุนแรงหนักข้อ ให้รีบติดต่อคุณหมอทันที. ในบางเคส อาการคัดจมูกอาจลุกลามหรือเกิดอาการรุนแรงอื่นร่วมด้วย ให้รีบติดต่อคุณหมอทันทีที่เกิดอาการต่อไปนี้
    • คัดจมูกเกิน 10 วัน
    • ไข้ขึ้นสูง และ/หรือมีไข้นานเกิน 3 วัน
    • น้ำมูกสีเขียว และแน่นหน้าเจ็บไซนัส (แถวๆ โหนกแก้มหรือหน้าผาก) หรือมีไข้ นี่อาจเป็นสัญญาณว่าคุณติดเชื้อแบคทีเรีย
    • คุณเป็นโรคหอบหืดหรือถุงลมโป่งพอง หรือใช้ยาชนิดอื่นที่ออกฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันอยู่ เช่น สเตียรอยด์ เหล่านี้อาจเพิ่มความเสี่ยงการติดเชื้อ
    • น้ำมูกมีเลือดปน หรือน้ำมูกใสแต่ไหลไม่หยุดหลังเกิดอาการบาดเจ็บที่หัว ทั้งน้ำมูกใสและมีเลือดปนอาจมาจากสมองที่ถูกกระทบกระเทือนได้ [17]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ป่วยแล้วต้องพักผ่อนให้เยอะๆ และดูแลตัวเองดีๆ
  • ถ้าอาการไม่ดีขึ้นต้องรีบไปหาหมอ หรือถ้าอาการดีขึ้นแล้วอยู่ๆ ทรุดลงก็เหมือนกัน บางทีรักษาเองก็ไม่หายหรอก ต้องกินยาจริงจัง
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,569 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา