ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าใครมีปัญหาขับถ่ายยาก อุจจาระแข็ง เวลาเบ่งเจ็บปวดมาก บทความนี้จะขอแนะนำวิธีการที่น่าจะช่วยแก้ปัญหานี้ของทุกคนได้ เราจะเริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนแปลงอาหารและรูปแบบการดำเนินชีวิตก่อน แต่ถ้าเปลี่ยนแปลงแล้วไม่ได้ผล ให้พบแพทย์จะดีกว่า

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ปรับเปลี่ยนอาหารการกิน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ภาวะขาดน้ำอาจทำให้ร่างกายดูดน้ำออกจากอาหารที่เคลื่อนผ่านทางเดินอาหารในปริมาณมากได้ จึงทำให้อุจจาระแห้งและแข็ง การดื่มน้ำให้เพียงพอจะช่วยให้อุจจาระนิ่มขึ้นและช่วยให้สิ่งต่างๆ เคลื่อนตัวไปได้ง่ายมากขึ้น [1]
    • บางครั้งแพทย์จะแนะนำให้ดื่มน้ำประมาณสองลิตรหรือ 8 แก้วต่อวัน แต่การดื่มน้ำในปริมาณนั้นอาจไม่เพียงพอสำหรับเราก็ได้ ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่เราทำและภูมิอากาศในบริเวณที่เราอาศัยอยู่
    • ถ้ามีอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ คลื่นไส้บ่อยๆ ปัสสาวะน้อย ปัสสาวะมีสีเข้มหรือขุ่น และไม่ค่อยมีเหงื่อ แสดงว่าอาจดื่มน้ำไม่พอ [2]
  2. กินอาหารที่มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ และมีเส้นใยสูง. อาหารบางชนิดอย่างเช่น พรุน มีซอร์บิทอล สารนี้จะดูดน้ำเข้าสู่อุจจาระ จึงทำให้อุจจาระนิ่มและขับถ่ายออกจากร่างกายได้ง่าย [3] [4] [5]
    • พรุน หรือน้ำพรุน
    • ลูกท้อ
    • ลูกแพร์
    • ลูกพลัม
    • แอปเปิล
    • แอปริคอต
    • ราสเบอร์รี
    • สตรอว์เบอร์รี
    • ถั่วต่างๆ
    • ถั่วลันเตา
    • ปวยเล้ง
  3. เส้นใยอาหารคือส่วนที่ไม่สามารถย่อยได้ในพวกอาหารจากพืช ร่างกายขับถ่ายเส้นใยออกมาโดยไม่ดูดซึม ฉะนั้นเส้นใยจึงช่วยทำให้อุจจาระมีเนื้อมากและนิ่ม ขับถ่ายออกจากร่างกายง่าย [6]
    • ควรกินอาหารที่มีเส้นใยวันละ 25-30 กรัม [7] เราต้องกินอาหารที่มีเส้นใยทั้งแบบที่ละลายน้ำได้และแบบไม่ละลายน้ำ เส้นใยอาหารแบบแรกจะกลายเป็นสารคล้ายเจลในน้ำ และเส้นใยอาหารแบบที่สองจะไม่ละลายน้ำ
    • เส้นใยอาหารแบบละลายน้ำได้พบในข้าวโอ๊ต ถั่วลันเตา ถั่วต่างๆ แอปเปิล ผลไม้ตระกูลส้ม แคร์รอต และข้าวบาร์เลย์
    • เส้นใยอาหารแบบไม่ละลายน้ำพบในแป้งสาลีโฮลวีต รำข้าวสาลี ถั่วเปลือกแข็ง ถั่วต่างๆ และผักอย่างกะหล่ำดอกและถั่วฝักยาว
    • มีพืชหลายชนิดที่มีเส้นใยทั้งแบบละลายน้ำได้และละลายน้ำไม่ได้ ฉะนั้นจึงควรกินธัญพืชและผักให้หลากหลายเพื่อจะได้รับเส้นใยทั้งสองแบบ
    • การกินอาหารที่มีเส้นใยจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด ถ้าเราดื่มน้ำเพิ่มเติมเพื่อช่วยละลายเส้นใยแบบที่ละลายน้ำได้
  4. รักษาแบคทีเรียในลำไส้ที่ดีต่อสุขภาพด้วยการกินโยเกิร์ต. ทางเดินอาหารของเราต้องการจุลินทรีย์ที่สมดุลดีเพื่อย่อยอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อจุลินทรีย์เริ่มขาดความสมดุล ก็อาจทำให้เราท้องผูกและขัดขวางการดูดซึมสารอาหาร โยเกิร์ตสดและผลิตภัณฑ์นมหมักอื่นๆ อย่างเช่น คีเฟอร์ ช่วยฟื้นฟูและปรับแบคทีเรียในลำไส้ให้กลับมาสมดุลอีกครั้งได้ จึงช่วยป้องกันไม่ให้อุจจาระแข็งเนื่องจาก [8]
    • โรคลำไส้แปรปรวน
    • อาการท้องร่วงและท้องผูกแบบไม่มีสาเหตุ
    • อาการท้องเสียหรือท้องผูกหลังจากได้รับยาปฏิชีวนะที่ได้ฆ่าแบคทีเรียในลำไส้บางชนิดซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติไป
  5. กินอาหารเสริมเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้ร่างกายย่อยอาหารได้ดีขึ้น. แต่ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเพราะอาหารเสริมบางชนิดอาจเปลี่ยนแปลงกระบวนการจัดการยาบางชนิดของร่างกายได้
    • ลองกินอาหารเสริมเส้นใยอาหาร จะช่วยให้อุจจาระมีเนื้อมากขึ้น นิ่ม และขับถ่ายออกง่าย โดยปกติอาหารเสริมพวกนี้จะเรียกว่ายาเพิ่มกากใยไฟเบอร์ของอุจจาระ เราควรลองอาหารเสริมพวกนี้ก่อนที่จะเปลี่ยนไปลองยาระบายชนิดอื่น ลองหาอาหารเสริมที่มีเมธิลเซลูโลส (methylcellulose) ไซเลียม (psyllium) แคลเซียมพอลิคาร์บอฟิล (calcium polycarbophil) และกัวกัม (guar gum) เป็นสารออกฤทธิ์ (เช่น FiberCon, Metamucil, Konsyl และ Citrucel ) [9]
    • ลองอาหารเสริมโพรไบโอติก โพรโบโอติกเป็นแบคทีเรียและยีสต์ที่เหมือนกับจุลินทรีย์ในลำไส้ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ การกินอาหารเสริมโพรไบโอติกอาจช่วยได้ ถ้าเราอยู่ในช่วงท้องเสียและท้องผูกหรือลำไส้แปรปรวน [10]
  6. กาแฟมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ ฉะนั้นการดื่มกาแฟสักหนึ่งหรือสองถ้วยในแต่ละวันอาจช่วยให้เราขับถ่ายได้ตามปกติ
    • ถ้าดื่มกาแฟเป็นประจำอยู่แล้ว อาจเพิ่มปริมาณอีกสักเล็กน้อย ถ้าไม่ได้ผล แสดงว่าร่างกายอาจชินกับกาแฟ เมื่อดื่มเข้าไปจึงไม่ช่วยในการระบายท้อง
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

เปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาหารพวกนี้จำนวนมากมายมีเส้นใยน้อยแต่มีน้ำตาลและไขมันมาก จึงทำให้เรารู้สึกอิ่มก่อนที่จะได้กินอาหารที่มีเส้นใยในปริมาณที่เพียงพอ อาหารพวกนี้เช่น [11] [12]
  2. กินอาหารมื้อเล็กๆ หลายมื้อแทนการกินอาหารมื้อใหญ่สองสามมื้อ. การกินบ่อยๆ จะกระตุ้นทางเดินอาหารให้ทำงานอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่มากจนเกินไปนัก ทำให้ย่อยอาหารได้ดีขึ้นและบีบตัวอยู่เสมอ
    • กินอาหารช้าๆ เพื่อให้ร่างกายมีเวลาจัดการอาหาร การกินเร็วเกินไปอาจทำให้เรากินมากเกินไป จึงทำให้ระบบย่อยทำงานหนักเกินไป
    • เคี้ยวอาหารให้ละเอียดเพื่อช่วยให้อาหารนั้นมีขนาดที่เหมาะสมและย่อยง่าย
  3. การออกกำลังกายจะกระตุ้นลำไส้ให้บีบตัวเพื่อเคลื่อนอาหารผ่านไป [14]
    • กิจกรรมที่ทำควรมีการออกแรงมากพอที่จะเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจเช่น เดินเร็ว ว่ายน้ำ วิ่ง หรือขี่จักรยาน
    • บางครั้งการออกกำลังกายก็ให้ผลเร็วมากจนน่าตกใจ เพราะฉะนั้นเตรียมตัวหาห้องน้ำไว้ด้วย!
    • ถ้ามีปัญหาด้านสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อจะได้รับคำแนะนำในการออกกำลังกายที่เหมาะสมต่อสภาพร่างกาย
  4. ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าความเครียดทำให้เกิดอาการท้องผูกและท้องเสียซึ่งทั้งสองอย่างอาจมีผลทำให้อุจจาระของเราแห้งและแข็งได้ ฉะนั้นพยายามลดความเครียดโดยใช้เทคนิคการผ่อนคลายดังต่อไปนี้ [15]
    • หายใจเข้าลึกๆ
    • เล่นโยคะ
    • ทำสมาธิ
    • ฝึกไทชิ
    • นวดกล้ามเนื้อ
    • ฟังดนตรีที่ช่วยทำให้ผ่อนคลาย
    • นึกภาพสถานที่ซึ่งช่วยทำให้ผ่อนคลาย
    • ใช้วิธีการผ่อนคลายกล้ามเนื้อทีละส่วน เกร็งและคลายกล้ามเนื้อทีละส่วนทั่วร่างกาย
  5. เราอาจใช้เทคนิคการผ่อนคลายควบคู่ไปด้วยก็ได้เพื่อช่วยให้ตนเองขับถ่ายง่ายขึ้น [16] [17] [18]
    • ใช้เวลาในห้องน้ำอย่างน้อย 10 นาทีหลังจากกินอาหารไปแล้วประมาณ 30 นาที
    • วางเท้าบนเก้าอี้เตี้ยๆ เข่าทั้งสองข้างจะได้อยู่สูงกว่าสะโพก อาจช่วยให้ลำไส้ของเราบีบตัวได้ง่ายขึ้น
  6. เข้าเครื่องไบโอฟีดแบ็ค (biofeedback) เพื่อจะได้เรียนรู้การผ่อนคลายกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน. วิธีนี้จะช่วยให้ลำไส้บีบตัวได้ง่ายขึ้น [19]
    • นักบำบัดจะใช้เครื่องนี้วัดความเกร็งในลำไส้ตรงและช่วยให้เราได้ฝึกการเกร็งและคลายกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
    • เข้าพบนักบำบัดที่แพทย์เป็นผู้แนะนำเพื่อเราจะได้มั่นใจว่านักบำบัดคนนั้นเชื่อถือได้
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ใช้ยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ยาตามใบสั่งบางตัวอาจทำให้ท้องผูกได้เช่น พวกยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์ (opioid) แพทย์อาจแนะนำให้เปลี่ยนยาหรือกินยาระบายเพื่อแก้อาการท้องผูก แพทย์อาจแนะนำยาจำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์หรือสั่งยาที่กินแล้วได้ผลดีกว่านี้ให้ พบแพทย์ ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้ [20]
    • มีเลือดออกทางลำไส้ตรง
    • น้ำหนักลดลงไปมาก
    • อ่อนเพลีย
    • ปวดท้องรุนแรง
  2. ปรึกษาแพทย์เพื่อจะได้รู้ว่ากินปริมาณเท่าใดถึงจะเหมาะสม [21] [22]
    • รออย่างน้อยสองชั่วโมงหลังจากกินเข้าไปแล้ว เพราะน้ำมันแร่อาจขัดขวางร่างกายไม่ให้ดูดซึมสารอาหารอย่างเต็มที่
    • น้ำมันแร่จะออกผลภายในหกถึงแปดชั่วโมงถัดไป
    • อย่ากินน้ำมันแร่ขณะที่นอน เพราะถ้าเกิดบังเอิญสูดเข้าไป อาจทำให้เป็นโรคปอดบวมได้ เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่าเจ็ดขวบกิน
    • สตรีมีครรภ์อย่ารับประทานน้ำมันแร่ เพราะน้ำมันแร่อาจขัดขวางการดูดซึมสารอาหารและทำให้เด็กแรกเกิดมีภาวะเลือดออก ถ้ารับประทานเป็นเวลานาน
  3. ยาพวกนี้จะดึงความชุ่มชื้นออกจากลำไส้และใช้ความชุ่มชื้นนั้นมาทำให้อุจจาระนิ่มขึ้น [23]
    • ยาที่ใช้กันทั่วไปได้แก่ Colace และ Surfak
    • ดื่มน้ำเพิ่มสองสามแก้วเมื่อกินยาพวกนี้
  4. ใช้ยาเพิ่มน้ำในลำไส้เพื่อช่วยให้อุจจาระนิ่มขึ้น. ยาพวกนี้ช่วยเพิ่มน้ำในลำไส้ และยังช่วยกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัว ทำให้อุจจาระเคลื่อนตัวสะดวก แต่อาจต้องใช้เวลาสองสามวันถึงจะเห็นผล ยาเพิ่มน้ำในลำไส้ที่ใช้กันทั่วไปได้แก่ [24] [25]
    • มิลค์ออฟแมกนีเซีย (Milk of magnesia)
    • ยาแมกนีเซียมซิเตรท (Magnesium citrate)
    • ยาแลคตูโลส (Lactulose)
    • เอทิลีนไกลคอล (Polyethylene glyco เช่น MiraLax)
  5. อุจจาระอาจนิ่มพอที่จะขับถ่ายได้สะดวกแล้ว แต่ถ้าลำไส้กลับไม่บีบตัวเพื่อเคลื่อนอุจจาระ ยานี้จะกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ เมื่อกินแล้ว ควรออกผลภายใน 12 ชั่วโมง ยากระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ที่ใช้กันทั่วไปได้แก่ [26]
    • เซนนา (Senna)
    • บิซาโคดิล (Bisacodyl)
    • โซเดียมพิโคซัลเฟต (Sodium Picosulphate)
  6. ถ้าลำไส้ตรงมีอุจจาระที่แห้งแข็งปิดกั้น สามารถทำให้หลุดออกได้โดยยาเหน็บทวาร ยาสวนอุจจาระ หรือการใช้นิ้วสอดเข้าไปในทวารหนัก (manual disimpaction) [27] [28]
    • ยาเหน็บทวารเป็นยาชนิดแคปซูล ให้สอดยาไว้ที่ทวารหนัก เม็ดยาจะละลายและถูกดูดซึมตรงนั้น
    • ยาสวนอุจจาระเป็นยาน้ำ ยานี้จะใส่เข้าไปในลำไส้ทางทวารหนัก ควรให้แพทย์เป็นผู้ทำให้จะดีกว่า
    • การใช้นิ้วสอดเข้าไปในทวารหนักต้องให้แพทย์และพยาบาลเป็นผู้ทำให้ วิธีการคือสวมถุงมือและสอดนิ้วลื่นๆ เข้าไปในลำไส้ตรงเพื่อทำให้อุจจาระที่อุดกั้นอยู่หลุดและค่อยนำออกมา [29]
    โฆษณา

คำเตือน

  • อย่ารับประทานยาใดๆ ซึ่งรวมถึงยาจำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ด้วย ถ้าไม่ได้ปรึกษาแพทย์ก่อน
  • ปรึกษาแพทย์ก่อนให้ยาเด็ก
  • อ่านและทำตามคำแนะนำของผู้ผลิตรวมทั้งทำตามคำแนะนำของแพทย์ด้วย
  • ถ้าเรากินยารักษาโรค ยาสมุนไพร หรืออาหารเสริมตัวอื่นๆ อยู่ ให้สอบถามแพทย์ก่อนว่ายาพวกนี้มีผลกระทบไหม
โฆษณา
  1. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/consumer-health/expert-answers/probiotics/faq-20058065
  2. http://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/pages/constipation-and-soiling.aspx
  3. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/laxative-oral-route/description/drg-20070683
  4. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/added-sugar/art-20045328
  5. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/irritable-bowel-syndrome/basics/lifestyle-home-remedies/con-20024578
  6. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/relaxation-technique/art-20045368?pg=2
  7. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/constipation-in-children/basics/lifestyle-home-remedies/con-20034665
  8. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/constipation-in-children/basics/alternative-medicine/con-20034665
  9. http://www.nhs.uk/Conditions/Constipation/Pages/Treatment.aspx
  10. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/constipation/basics/treatment/con-20032773
  11. http://www.nhs.uk/Conditions/Constipation/Pages/Symptoms.aspx
  12. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/laxative-oral-route/proper-use/drg-20070683
  13. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/laxative-oral-route/before-using/drg-20070683
  14. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/constipation/basics/treatment/con-20032773
  15. http://www.nhs.uk/Conditions/Constipation/Pages/Treatment.aspx
  16. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/constipation/basics/treatment/con-20032773
  17. http://www.nhs.uk/Conditions/Constipation/Pages/Treatment.aspx
  18. http://www.nhs.uk/Conditions/Constipation/Pages/Treatment.aspx
  19. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2780143/
  20. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2780143/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,719 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา