ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ยาปฏิชีวนะ (antibiotics) โดยเฉพาะกลุ่มเพนิซิลินกับซัลฟา เป็นยาที่มักใช้แล้วเกิดอาการแพ้ได้มากที่สุด [1] อาการแพ้ยาส่วนใหญ่คือเป็นลมพิษ บวม และผื่นขึ้น แต่บางคนก็มีอาการที่ไม่ค่อยพบบ่อยและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น ภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง (anaphylaxis) [2] ที่บางคนแพ้ยาก็เพราะระบบภูมิคุ้มกันเข้าใจผิด คิดว่ายาปฏิชีวนะเป็นสิ่งแปลกปลอม ทำให้ผิดหนังอักเสบหรือเคสที่รุนแรงกว่าคือหลอดลมตีบตัน ทำให้ช็อคได้ สุดท้ายก็หมดสติหรือถึงขั้นเสียชีวิต [3] ถ้าคุณมีอาการภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง (anaphylaxis) สำคัญมากว่าต้องไปโรงพยาบาลทันที เพราะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการรักษาบรรเทาอาการผื่นแพ้จากการใช้ยาปฏิชีวนะ รวมถึงวิธีสังเกตจนรู้ตัวเมื่ออาการรุนแรงให้คุณเอง รับรองปลอดภัยหายห่วง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

หาหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไปแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลหรือโทรเรียกรถฉุกเฉิน. ถ้าคุณคิดว่าตัวเองกำลังมีอาการแพ้ยาปฏิชีวนะ ให้ไปโรงพยาบาลทันที ไม่ว่าจะอาการหนักเบาแค่ไหนก็ตาม อาการแพ้ส่วนใหญ่จะเป็นผื่นที่ผิวหนัง ไม่มีอาการแทรกซ้อน แต่ยังไงก็ต้องหาหมอเพื่อตรวจรักษาให้แน่ใจ ผื่นแพ้บางชนิดทำให้เกิดกลุ่มอาการสตีเวนส์-จอห์นสัน (Stevens-Johnson syndrome) ได้ หรือก็คืออาการแทรกซ้อนรุนแรงที่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลอย่างเดียว [4] ผื่นแบบอื่นๆ อาจเป็นสัญญาณเตือนบอกอาการแพ้รุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ถ้าไม่รีบรักษา [5] สรุปแล้วให้ไปหาหมอทันทีถ้ามีอาการดังต่อไปนี้ [6] [7]
    • มีไข้
    • เจ็บคอ/ปาก จะไอร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้
    • หน้าบวม
    • ลิ้นบวม
    • เจ็บปวดตามผิวหนัง
    • มีผื่นแพ้และ/หรือตุ่มพอง
    • ลมพิษขึ้น
    • หายใจติดขัดหรือคอตีบ
    • เสียงแหบพร่าผิดปกติ
    • ลมพิษขึ้นหรือมีอาการบวม
    • คลื่นไส้หรืออาเจียน
    • ปวดท้อง
    • วิงเวียนหรือเป็นลม
    • หัวใจเต้นเร็ว
    • จิตตก
  2. ถ้าใช้ยาปฏิชีวนะแล้วเกิดอาการแพ้ ให้หยุดใช้ยาทันที และอย่าแตะต้องสัมผัสอีก ซึ่งมักเป็นไปโดยบังเอิญ ไม่ตั้งใจ ยังไงให้ป้องกันไว้ก่อนจะปลอดภัยที่สุด
    • แจ้งคุณหมอ พยาบาล หรือเภสัชกรเรื่องอาการแพ้ยาทุกครั้งที่ต้องรับยา [8] สำคัญมากว่าในประวัติการรักษาของคุณต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับยาที่คุณแพ้ แต่ก็อย่าชะล่าใจไปว่าคุณหมอหรือเภสัชกรคงเคยเห็นประวัติหรือรู้อยู่แล้วว่าคุณแพ้ยาอะไร คุณต้องรับผิดชอบชีวิตตัวเองโดยแจ้งเรื่องอาการแพ้ทุกครั้งที่เข้ารับการรักษาหรือซื้อยากินเอง
    • สวมสายรัดข้อมือหรือกำไลที่บอกข้อมูลเรื่องแพ้ยา ถือว่าสำคัญมาก โดยเฉพาะกรณีที่เกิดอุบัติเหตุหรืออะไรที่ต้องรับการรักษาฉุกเฉินโดยที่คุณหมดสติ ทางเจ้าหน้าที่จะได้รู้ว่าคุณแพ้ยาอะไร ถึงสื่อสารกันไม่ได้ก็เถอะ [9]
    • บางคนก็ต้องพก epinephrine auto-injector (ที่เรียกกันว่า "Epipen") หรืออีพิเนฟรีนในกระบอกฉีดอัตโนมัติ โดยเฉพาะคนที่แพ้ขั้นรุนแรง แต่คุณหมอจะแนะนำให้พกก็ต่อเมื่ออาการแพ้ของคุณอันตรายจนอาจถึงแก่ชีวิตเท่านั้น [10]
  3. ส่วนใหญ่ ถ้าคุณรู้ตัวอยู่แล้วว่ามีอาการแพ้ คุณหมอจะแนะนำยาตัวอื่นให้แทน แต่บางเคสที่คุณหมอพิจารณาแล้วว่าเป็นผลดี คุ้มที่จะลองเสี่ยง ที่สำคัญคือไม่มียาทางเลือก ก็คงจำเป็นต้องทำ ถ้าคุณ จำเป็น ต้องใช้ยาบางตัวจริงๆ โดยที่รู้ว่าแพ้ยาตัวนั้น คุณหมอจะแนะนำให้ทำ drug desensitization คือค่อยๆ เพิ่มยาที่แพ้ทีละน้อย ให้ร่างกายปรับตัวเอง [11]
    • ระหว่างทำ desensitization คุณหมอจะให้ยาที่คุณแพ้ในปริมาณน้อยๆ และคอยเฝ้าระวังสังเกตอาการ จากนั้นค่อยเพิ่มปริมาณยาทุก 15 - 30 นาที แบบนี้ไปเรื่อยๆ ในช่วงหลายชั่วโมง หรือหลายวัน [12]
    • ถ้าร่างกายคุณทนต่อยาในปริมาณที่จำเป็นได้ โดยไม่มีอาการอันตรายร้ายแรง คุณหมออาจจะเริ่มให้ยาในปริมาณตามปกติได้ [13]
    • ปกติมักใช้วิธีการนี้ในเคสที่อาการรุนแรง และต้องดูแลควบคุมโดยคุณหมอเท่านั้น เพราะหากเกิดไม่คาดคิดจะได้รับมือทัน
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

แพ้ไม่มากให้กินยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ยาแก้แพ้ (antihistamines) จะช่วยขยายทางผ่านของเซลล์เม็ดเลือดขาวในร่างกาย ขณะที่ช่วยลดการสร้างฮิสตามีน ที่ปกติระบบภูมิคุ้มกันสร้างมาต้านสารก่อภูมิแพ้ [14] บางทีคุณหมออาจแนะนำให้ใช้ยาแก้แพ้แรงๆ (ที่หาซื้อเองไม่ได้) แต่บางทีก็ซื้อยาแก้แพ้กินเองได้ อันนี้แล้วแต่ความรุนแรงของอาการ [15]
    • Diphenhydramine (Benadryl) ถ้าอาการแพ้รุนแรง คุณหมอมักแนะนำให้ใช้ยา diphenhydramine (Benadryl) เพราะเป็นยาแก้แพ้ที่ค่อนข้างแรง แนะนำให้รวมไว้ในอุปกรณ์ปฐมพยาบาล
    • ยาแก้แพ้ที่หาซื้อได้ทั่วไปตามร้านขายยาก็เช่น loratadine (Claritin), cetirizine (Zyrtec) หรือ chlorpheniramine (Aller-Chlor) [16]
    • ส่วนจะกินมากน้อยแค่ไหนก็ต้องแล้วแต่ปัจจัยต่างๆ ประกอบกัน เช่น อายุ และชนิดของยาแก้แพ้ [17] ย้ำว่าต้องกินยาตามคำแนะนำที่บรรจุภัณฑ์อย่างเคร่งครัด หรือปรึกษาคุณหมอ/เภสัชกรให้แน่ใจเรื่องวิธีใช้งาน
    • ห้ามขับรถหรือบังคับเครื่องจักรหนักหลังกินยาแก้แพ้ เพราะยาแก้แพ้กลุ่มดั้งเดิม (first-generation antihistamines) เช่น Benadryl ทำให้ง่วงซึมรุนแรง ยากจะควบคุมตัวเองหรือเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ [18]
    • ห้ามกินยาแก้แพ้ถ้าตั้งครรภ์หรือให้นมอยู่ เพราะยาพวกนี้อาจก่อผลข้างเคียงอันตรายต่อทารก ถึงขั้นทำให้เกิดความผิดปกติแต่กำเนิดกับตัวอ่อนในครรภ์ได้เลย [19]
    • ห้ามให้เด็กอายุต่ำกว่า 4 ขวบกินยาแก้แพ้ ถ้าลูกมีอาการแพ้ขั้นรุนแรง แนะนำให้พาไปแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลจะดีกว่า อย่ารอจนหลอดลมตีบ หายใจติดขัด หรือหน้าบวม ต้องพาไปโรงพยาบาลหรือเรียกรถฉุกเฉินให้เร็วที่สุด
    • ผู้สูงอายุบางคนที่ใช้ยาแก้แพ้ก็พบผลข้างเคียงอันตราย เช่น สับสนมึนงง วิงเวียน ง่วงซึม กระวนกระวาย และหงุดหงิดรำคาญใจ [20] พอมีอาการดังกล่าวแล้วผู้สูงอายุอาจวูบหรือล้มได้ ซึ่งถ้าถึงขั้นสะโพกหักก็เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ในหมู่ผู้สูงอายุ เพราะระบบภูมิคุ้มกันไม่ดีเท่าสมัยหนุ่มสาวหรือวัยกลางคน
  2. ถ้ามีผื่นแพ้หรือลมพิษหลังใช้ยา ให้ทาโลชั่นคาลาไมน์ น่าจะช่วยบรรเทาอาการคัน ไม่สบายตัวได้ [21]
    • ส่วนผสมของโลชั่นคาลาไมน์คือคาลาไมน์ (calamine), สังกะสีออกไซด์ (zinc oxide) และอื่นๆ ทั้งคาลาไมน์และสังกะสีออกไซด์ขึ้นชื่อเรื่องสรรพคุณแก้คันภายนอก [22]
    • ย้ำว่าคาลาไมน์ใช้ภายนอกเท่านั้น ห้ามกินหรือเผลอเอาเข้าปากเด็ดขาด รวมถึงดวงตา จมูก อวัยวะเพศ และทวารหนัก [23]
  3. ครีม hydrocortisone ปริมาณน้อยๆ มีขายตามร้านขายยาทั่วไป โดยมีตัวยาเข้มข้น 0.5 - 1% ถ้าแรงกว่านั้นต้องให้คุณหมอสั่งให้เท่านั้น เป็นยาใช้ทาภายนอกเพื่อกดปฏิกิริยาตอบสนองของภูมิคุ้มกันในร่างกายเรา ช่วยลดอาการระคายผิว อาการคัน และผื่นแพ้ได้ [24]
    • ครีมไฮโดรคอร์ติโซนเป็นครีมยาสเตียรอยด์ ปกติยา class นี้จะใช้ได้ ปลอดภัยดี แต่ห้ามใช้ต่อเนื่องนานเกิน 7 วันติดกัน เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อน เช่น คัน ผิวแตก ผิวบาง และสิว [25]
    • ห้ามใช้ครีมไฮโดรคอร์ติโซนกับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ และห้ามใช้ถ้าคุณตั้งครรภ์หรือให้นมอยู่ เว้นแต่คุณหมอพิจารณาแล้ว [26]
    • ทาครีมนี้บริเวณที่แพ้ 1 - 4 ครั้งต่อวัน ติดต่อกันไม่เกิน 7 วัน ระวังอย่าให้เข้าตา ถ้าทาบริเวณใบหน้า [27]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

รักษาด้วยวิธีธรรมชาติและปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. น้ำร้อนหรือเย็นไปจะระคายเคืองลมพิษได้ ดีไม่ดีอาการจะแย่กว่าเดิม ถ้าถึงขั้นเป็นลมพิษแล้ว [28] ที่ดีที่สุดคือให้แช่น้ำอุ่นนิดๆ หรือน้ำอุณหภูมิห้อง เพื่อบรรเทาอาการผื่นแพ้ [29]
  2. ใช้อะไรเปียกๆ เย็นๆ มาประคบ จะช่วยบรรเทาอาการของผื่นแพ้และลมพิษได้ เวลาผิวที่มีอาการเจอผ้าพันแผลหรือผ้าก๊อซเปียกเย็นๆ จะช่วยบรรเทาอาการระคายเคือง ลดการอักเสบ เพราะชะลอการไหลเวียนของเลือดที่จะไปยังบริเวณที่มีผื่น [32]
  3. มีหลายอย่างเลยที่อาจทำให้ลมพิษหรือผื่นแพ้ระคายเคืองกว่าเดิม ถึงปกติของใช้ในบ้านพวกนี้จะไม่ทำให้คุณเกิดอาการผิดปกติก็เถอะ ทางที่ดีให้หลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ไปก่อน จนกว่าจะรู้แน่ชัดว่าส่งผลยังไงต่อผื่น/ลมพิษของคุณ [33] ต่อไปนี้คือสิ่งที่อาจก่อให้เกิดอาการระคายเคือง [34]
    • เครื่องสำอาง
    • สีย้อม (เช่น สีย้อมผ้า)
    • อะไรที่มีขนเฟอร์หรือหนัง
    • ยาย้อมผม
    • ลาเท็กซ์
    • อะไรที่ทำจากนิกเกิล ทั้งเครื่องประดับ ซิป กระดุม และเครื่องครัว
    • ผลิตภัณฑ์ดูแลเล็บ ทั้งยาทาเล็บ และเล็บปลอม
    • สบู่ น้ำยาล้างจาน และน้ำยาทำความสะอาดต่างๆ ที่ใช้ในบ้าน
  4. ถึงผื่นจะคันคะเยอจนแทบทนไม่ไหว แต่ย้ำกันตรงนี้ว่าห้ามเกาหรือถูผื่น/ลมพิษเด็ดขาด เพราะการเกาจะทำให้ผิวแตก เป็นแผลถลอก ติดเชื้อได้ง่าย ทำให้ผื่น/ลมพิษยิ่งหายช้า [35]
  5. บางคนเจอความร้อนและความชื้นแล้วผื่น/ลมพิษยิ่งระคายเคือง ถ้าคุณมีผื่นหรือลมพิษอยู่ แนะนำให้หลีกเลี่ยงที่ร้อนชื้น และงดออกกำลังกายไปก่อน
  6. ถ้าเป็นผื่น/ลมพิษอยู่ สำคัญว่าต้องเลือกเสื้อผ้าให้เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวระคายเคืองกว่าเดิม เสื้อผ้าที่ควรใส่คือเสื้อผ้าหลวมๆ เนื้อผ้าเนียนนุ่ม เช่น คอตตอน อย่าสวมเสื้อผ้ารัดรูปหรือคับแน่น หรือเนื้อผ้าหยาบๆ ที่ระคายผิวได้ เช่น ขนสัตว์ (wool) [36]
    โฆษณา
  1. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/drug-allergy/basics/prevention/con-20033346
  2. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/drug-allergy/basics/treatment/con-20033346
  3. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/drug-allergy/basics/treatment/con-20033346
  4. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/drug-allergy/basics/treatment/con-20033346
  5. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/drug-allergy/basics/treatment/con-20033346
  6. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/drug-allergy/basics/treatment/con-20033346
  7. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/antihistamine-oral-route-parenteral-route-rectal-route/description/drg-20070373
  8. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/antihistamine-oral-route-parenteral-route-rectal-route/proper-use/drg-20070373
  9. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/antihistamine-oral-route-parenteral-route-rectal-route/before-using/drg-20070373
  10. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/antihistamine-oral-route-parenteral-route-rectal-route/before-using/drg-20070373
  11. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/antihistamine-oral-route-parenteral-route-rectal-route/before-using/drg-20070373
  12. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/calamine-topical-route/description/drg-20062463
  13. http://www.medicinenet.com/calamine_lotion-topical/article.htm
  14. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/calamine-topical-route/proper-use/drg-20062463
  15. https://nationaleczema.org/eczema/treatment/topical-corticosteroids/hydrocortisone-faq/
  16. https://nationaleczema.org/eczema/treatment/topical-corticosteroids/hydrocortisone-faq/
  17. https://nationaleczema.org/eczema/treatment/topical-corticosteroids/hydrocortisone-faq/
  18. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/meds/a682793.html
  19. http://acaai.org/allergies/types/skin-allergies/hives-urticaria
  20. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hives-and-angioedema/basics/lifestyle-home-remedies/con-20014815
  21. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hives-and-angioedema/basics/lifestyle-home-remedies/con-20014815
  22. http://acaai.org/allergies/types/skin-allergies/contact-dermatitis
  23. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hives-and-angioedema/basics/lifestyle-home-remedies/con-20014815
  24. http://acaai.org/allergies/types/skin-allergies/contact-dermatitis
  25. http://acaai.org/allergies/types/skin-allergies/contact-dermatitis
  26. http://www.healthline.com/health/rashes
  27. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hives-and-angioedema/basics/lifestyle-home-remedies/con-20014815

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,760 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา