ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อาการหูอื้อ (เรียกอีกอย่างว่าอาการเสียงดังในหู) ที่คุณรู้สึกหลังจากได้ยินเสียงเพลงดังๆ มักเกิดจากปลายประสาทเล็กๆ ในหูชั้นในได้รับความเสียหาย อาการเสียงดังในหูอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงความเสียหายทางประสาทที่ซุกซ่อนอยู่ หรือปัญหาอื่นๆ ในระบบไหลเวียนภายในร่างกายของคุณ [1] แม้วิธีการที่ได้ผลในการแก้อาการหูอื้อมักเป็นการป้องกันเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ยังพอมีขั้นตอนที่คุณสามารถนำไปใช้เพื่อแก้อาการเสียงดังในหูได้แม้ความเสียหายจะเกิดขึ้นแล้วก็ตาม ไม่รอช้า เลื่อนลงไปอ่านข้อเสนอแนะและเทคนิคที่เป็นประโยชน์กันเลยดีกว่า

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

รักษาอาการหูอื้อชั่วคราว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณเพิ่งกลับมาจากดูคอนเสิร์ตหรือเที่ยวผับโดยที่ยังรู้สึกหูอื้อไม่หาย นั่นเพราะเส้นขนเล็กๆ ภายในคอเคลีย (cochlea) ถูกกระทบกระเทือน จนทำให้เกิดการอักเสบและเส้นประสาทถูกกระตุ้น โดยสมองของคุณจะแปลงอาการอักเสบนี้ออกมาเป็นเสียงอื้อหรือเสียงดังต่อเนื่อง แต่ไม่ต้องกังวลไป เทคนิคต่อไปนี้สามารถช่วยให้เสียงน่ารำคาญเหล่านี้มลายหายไปได้
    • ใช้ฝ่ามือปิดหู โดยให้นิ้วหันกลับและวางอยู่ทางด้านหลังของกะโหลกศีรษะ และให้นิ้วกลางชี้เข้าหากันตรงด้านหลังสุดของกะโหลก
    • วางนิ้วชี้ไว้ด้านบนนิ้วกลาง
    • เคลื่อนนิ้วในจังหวะเคาะ โดยกระดกนิ้วชี้ลงจากนิ้วกลางไปที่ด้านหลังกะโหลก การเคลื่อนไหวในลักษณะนี้จะทำให้เกิดเสียงเหมือนการตีกลอง และเพราะนิ้วจะกระแทกเข้ากับกะโหลกของคุณด้วยในขณะเดียวกัน เสียงที่เกิดขึ้นจึงอาจดังพอสมควร ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ
    • เคาะนิ้วลงบนด้านหลังกะโหลกอย่างต่อเนื่องประมาณ 40-50 ครั้ง หลังจากทำไปได้สัก 40 หรือ 50 ครั้งแล้ว เราลองมาดูกันสิว่าอาการหูอื้อทุเลาลงบ้างรึเปล่า
  2. อาการหูอื้อที่เกิดจากการได้ยินเสียงดังๆ มักหายไปเองภายใน 2-3 ชั่วโมง ลองเบี่ยงเบนความสนใจออกจากเสียงในหูด้วยการพักผ่อนและอยู่ในห่างจากสิ่งที่อาจทำให้อาการแย่ลง แต่ถ้ายังหูอื้อไม่หายหลังจากผ่านไป 24 ชั่วโมง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาเพิ่มเติม
  3. หลีกเลี่ยงเสียงดังและปกป้องหูของคุณเวลาต้องเจอเสียง. การต้องเจอเสียงดังซ้ำแล้วซ้ำเล่าจะนำไปสู่การเกิดอาการหูอื้อระยะยาว ถ้าต้องเจอเสียงดังบ่อยๆ ให้แน่ใจว่าได้สวมที่อุดหู
    • หาที่อุดหูยางที่พอดีกับรูหูหรือหาที่สวมครอบหูก็ได้
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

รักษาอาการหูอื้อเรื้อรัง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เสียงดังในหูหรือหูอื้อมักเกิดจากอาการที่สามารถรักษาให้หายได้ การรักษาอาการที่ซุกซ่อนอยู่นี้จึงอาจช่วยบรรเทาหรือทำให้อาการหูอื้อหายขาดได้ในที่สด
    • ให้คุณหมอขจัดขี้หูออกจากหู หรืออาจทำด้วยตัวเองด้วยความระมัดระวัง การแคะขี้หูที่ค้างสะสมอยู่มากเกินไปอาจช่วยให้อาการเสียงดังในหูทุเลาลงได้
    • ให้คุณหมอตรวจเส้นเลือด เพราะอาการของเส้นเลือด เช่น เลือดไหลเวียนน้อยลง ฯลฯ อาจทำให้อาการเสียงดังในหูทรุดหนักได้
    • ให้คุณหมอตรวจสอบปฏิกิริยาของยาที่คุณใช้อีกครั้ง ถ้าหากคุณกำลังใช้ยาหลายตัว อาจจะลองปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับผลข้างเคียงต่างๆ ที่อาจทำให้มีอาการหูอื้อ
    • ให้แน่ใจว่าได้บอกหมอถึงอาการอื่นที่คุณมี ภาวะผิดปกติของขากรรไกร (โรค Costen’s) นั่นมีส่วนเชื่อมโยงกับอาการหูอื้อ
    • การเกร็งของกล้ามเนื้อ tensor tympani หรือ stapedius ในหูชั้นในอาจส่งผลให้หูอื้อได้
  2. ถ้าคุณซึมเศร้า เครียดหรืออ่อนเพลีย คุณอาจอ่อนไหวต่อเสียงในหัวทั่วไปได้ มองหาการบำบัดแบบไบโอฟีดแบ็คจากผู้ให้คำปรึกษาที่อาจช่วยคุณปรับอารมณ์และสถานการณ์ที่ทำให้อาการหูอื้อแย่ลง นี่จะช่วยป้องกันการเกิดหูอื้อและป้องกันไม่ให้มันเกิดซ้ำ [2]
  3. มีกลยุทธ์ระงับเสียงหลากหลายรูปแบบที่แพทย์นำมาใช้เพื่อกลบเสียงอื้อในหูของคุณ กลยุทธเหล่านี้ประกอบด้วยอุปกรณ์และเทคนิคดังต่อไปนี้
    • ใช้เครื่องสร้างสัญญาณรบกวนสีขาว (white noise) เครื่องสร้างสัญญาณรบกวนสีขาวจะสร้างเสียง “เบื้องหลัง” ในรูปแบบต่างๆ เช่น เสียงฝนตก ลมพัดแรง ฯลฯ ซึ่งอาจช่วยกลบเสียงอื้อในหูของคุณได้
      • พัดลม เครื่องทำความชื้น เครื่องลดความชื้น และเครื่องปรับอากาศเป็นอีกหนึ่งทางเลือกดีๆ ที่สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องสร้างสัญญาณรบกวนสีขาวได้เช่นเดียวกัน
    • ใช้อุปกรณ์กลบเสียง อุปกรณ์กลบเสียงจะติดไว้ที่หูเพื่อสร้างคลื่นสัญญาณรบกวนสีขาวต่อเนื่อง เพื่อกลบเสียงอื้อเรื้อรังในหูของคุณ
    • สวมเครื่องช่วยฟัง อุปกรณ์ชนิดนี้จะได้ผลอย่างมากโดยเฉพาะถ้าหากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินร่วมกับอาการหูอื้อ
  4. แม้ยาอาจไม่สามารถทำให้อาการหูอื้อหายขาดได้ แต่ถ้ายาได้ผล มันจะทำให้อาการหูอื้อทุเลาลงอย่างเห็นได้ชัดเลยทีเดียว
    • ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาต้านอาการซึมเศร้ากลุ่มไตรไซคลิก (tricyclic) ยาต้านอาการซึมเศร้ากลุ่มไตรไซคลิกอาจใช้ได้ผลกับเสียงดังในหูขั้นรุนแรง แต่ก็มีผลข้างเคียงที่ไม่น่าพิศมัยบางประการ เช่น ปากแห้ง มองเห็นภาพเบลอ ท้องผูก และปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ [4]
    • ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาอัลปราโซแลม (Alprazolam) หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อซาแนกซ์ (Xanax) มีการพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่ายาอัลปราโซแลมสามารถลดอาการเสียงดังในหูอย่างได้ผล แต่เป็นยาประเภทเสพติด อีกทั้งยังมีผลข้างเคียงที่ไม่น่าพิศมัยด้วยเช่นกัน
  5. การทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยวันละ 3 ครั้ง (พร้อมอาหาร) อาจทำให้เลือดไหลเวียนไปยังศีรษะและลำคอน้อยลง จึงช่วยลดอาการหูอื้อจากความดันโลหิตได้นั่นเอง [5] โดยอาจจะลองทานใบแปะก๊วยสัก 2 เดือน จากนั้นจึงตรวจเช็คประสิทธิภาพในการรักษา
    • ทำตามคำแนะนำจากผู้ผลิตว่าควรใช้ปริมาณเท่าใด
    • ให้แน่ใจว่าได้ปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อมั่นใจว่ามันปลอดภัยต่อคุณ
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ป้องกันอาการหูอื้อ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลีกเลี่ยงสถานกาณ์ที่อาจทำให้คอเคลียได้รับความกระทบกระเทือนจนทำให้เกิดเสียงดังในหู. เนื่องจากอาการเสียงดังในหูรักษาให้หายได้ยากเอาการ ทางเลือกที่ดีที่สุดคงต้องเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดเสียตั้งแต่ต้น หรือป้องกันไม่ให้อาการหนักขึ้น ปัจจัยที่อาจทำให้อาการเสียงดังในหูแย่ลงได้ มีดังต่อไปนี้ [6]
    • เสียงดังๆ: คอนเสิร์ตเป็นตัวการหลักเลยเชียวล่ะ แต่พื้นที่ก่อสร้าง ท้องถนน เครื่องบิน เสียงยิงปืน ดอกไม้ไฟ และเสียงดังอื่นๆ ก็อาจเป็นอันตรายได้เช่นเดียวกัน
    • การว่ายน้ำ: เพราะน้ำและสารคลอรีนอาจติดค้างอยู่ในหูชั้นในในขณะที่คุณว่ายน้ำ จนเป็นสาเหตุหรือทำให้อาการเสียงดังในหูแย่ลง แต่ก็สามารถหลีกเลี่ยงได้ด้วยการสวมที่อุดหูขณะว่ายน้ำ
  2. ถ้าหากคุณมีอาการหูอื้อต่อเนื่อง ความเครียดอาจทำให้อาการแย่ลงได้เช่นเดียวกัน คุณจึงควรมองหาวิธีการต่างๆ เช่น ออกกำลังกาย นั่งสมาธิ และการนวดบำบัด ฯลฯ เพื่อผ่อนคลายความเครียดของคุณ [7]
  3. บริโภคแอลกอฮอล์ คาเฟอีน และนิโคตินให้น้อยลง. เพราะปัจจัยเหล่านี้ทำให้ความเครียดขยายตัว จึงเป็นเหตุให้ความเครียดไหลเข้ากระแสเลือดมากขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะในหูชั้นใน คุณจึงควรจำกัดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ หรือชาที่มีคาเฟอีน รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่มียาสูบเป็นส่วนประกอบเพื่อให้อาการทุเลาลง
  4. เพราะเกลือทำให้การไหลเวียนของเลือดในร่างกายอ่อนแรง ทำให้ความดันขึ้นสูง อีกทั้งยังอาจทำให้อาการเสียงดังในหูแย่ลงได้อีกด้วย
    โฆษณา


เคล็ดลับ

  • การพยายามเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรงเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่จำเป็นในการแก้อาการหูอื้อ เพราะวิธีการนี้จะช่วยให้คุณห่างไกลจากการติดเชื้อและโรคภัยไข้เจ็บที่อาจเพิ่มระดับเสียงที่ไม่ต้องการ นอกจากนี้ การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงขึ้นยังอาจช่วยให้อาการเสียงดังในหูทุเลาลงได้เช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ คุณจึงควรใช้ชีวิตอย่างใส่ใจสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หมั่นทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในระดับที่เหมาะสม และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 18,485 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา