ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การแนะนำตัวเองไม่ได้หมายถึงแค่การพูดชื่อตัวเอง มันยังหมายถึงการสร้างสัมพันธ์กับคนใหม่ๆ ด้วยการพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็น รวมถึงการสื่อสารผ่านท่าทางด้วย การแนะนำตัวเองกับคนแปลกหน้าอาจจะยากสักหน่อย เพราะสิ่งที่คุณจะพูดขึ้นอยู่สถานการณ์ทั้งหมด คุณอาจแนะนำตัวเองแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าคุณกำลังทักทายผู้ฟังก่อนกล่าวคำปราศรัย ทำความรู้จักกับผู้คนที่งานเครือข่าย หรือแค่พูดคุยทำความรู้จักกับคนใหม่ๆ ที่งานเลี้ยง สิ่งสำคัญ คือ คุณต้องแนะนำตัวเองอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ และทำให้คนชอบและจดจำตัวคุณให้ได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

การแนะนำตัวเองในงานสังคมต่างๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การมองตาแสดงให้เห็นถึงการมีปฏิสัมพันธ์ของคุณ และยังเป็นวิธีในการเชื่อมต่อกับบุคคลอีกคนหนึ่ง และแสดงให้อีกฝ่ายเห็นว่าคุณกำลังสนใจเขาอยู่ เวลาที่คุณมองตา มันแสดงให้เห็นว่าคุณกำลังเปิดใจและรับฟังอยู่ [1]
    • ถ้าคุณรู้สึกอึดอัดกับการมองตาใครสักคนตรงๆ ให้จ้องไปที่จุดกึ่งกลางระหว่างคิ้วแทน อีกฝ่ายจะแทบไม่เห็นความแตกต่างอะไรเลย
    • ถ้าคุณกำลังคุยกันเป็นกลุ่ม ให้ส่งสายตามองไปรอบกับบุคคลรอบตัวคุณเป็นครั้งคราว
  2. การยิ้มอย่างสดใสและจริงใจเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการทำความรู้จักคน แสดงถึงความดีใจอย่างแท้จริงในการพบใครใหม่ๆ และแบ่งปันประสบการณ์ที่ดีร่วมกัน จะช่วยสร้างรอยยิ้มที่จริงใจ รอยยิ้มที่ใช้ทุกส่วนของใบหน้าจะช่วยแสดงถึงความจริงใจมากขึ้น และดูไม่เสแสร้ง [2]
  3. การใช้ภาษากายจะสื่อสารว่าคุณมีความมั่นใจและรู้สึกสบายใจ ยืนตัวตรง เชิดหน้าไว้ อย่ายืนหลังโก่ง ให้สังเกตท่าทางของคนรอบๆ ตัวคุณ รวมถึงจังหวะการพูด และน้ำเสียงที่พูดของคนที่อยู่ใกล้ๆ คุณ และทำตามเพื่อสร้างความเป็นมิตร [3]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

การแนะนำตัวเองแบบส่วนตัว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าเป็นการแนะนำแบบเป็นทางการ ให้ทักทาย “สวัสดีค่ะ/ครับ ผม/ดิฉัน [ชื่อจริง][นามสกุล]” แต่ถ้าเป็นแบบกันเอง ให้ทักทาย “สวัสดีค่ะ/ครับ เรา [ชื่อเล่น] นะ” หลังจากที่คุณบอกชื่อตัวเองเสร็จ ให้ถามชื่ออีกฝ่ายทันทีด้วยน้ำเสียงเป็นมิตร “คุณชื่ออะไรคะ/ครับ?” เมื่อคุณรู้จักชื่ออีกฝ่ายแล้ว ให้พูดซ้ำอีกครั้งด้วยการพูดว่า “ยินดีที่ได้รู้จักนะครับ/ค่ะ เปโดร” หรือ “ดีใจที่ได้รู้จักนะ แคโรลีน”
    • การพูดชื่ออีกฝ่ายซ้ำจะช่วยให้คุณจำชื่อได้ และแสดงให้เห็นถึงความใส่ใจมากกว่า
  2. หรือทักทายด้วยวิธีต่างๆ ตามความเหมาะสมของแต่ละวัฒนธรรม. หลายๆ วัฒนธรรมมีท่าทางที่ใช้สื่อสารประกอบกับการการทักทาย ในประเทศสหรัฐอเมริกา จะใช้วิธีจับมือ ควรจับให้กระชับ ไม่หลวม (ห้อย) หรือแน่นเกินไป(บีบจนกระดูดแตก)
    • ระวังเรื่องความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วย เช่น ในประเทศจีนการจับมือแน่นๆ ถือเป็นการกระทำที่หยาบคาย [4]
    • สำหรับบางวัฒนธรรม การทักทายด้วยการกอดถือเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะกับเพื่อนของเพื่อน หรือญาติๆ เช่นพี่สะใภ้ พี่เขย การกอดแสดงให้เห็นถึงการเปิดกว้างมากกว่าการจับมือ ผู้หญิงมักจะชอบการกอดมากกว่าผู้ชาย
    • ในหลายๆ วัฒนธรรม การทักทายด้วยการจูบก็ถือเป็นเรื่องปกติ เช่น ในประเทศทางทวีปอเมริกาใต้ ผู้หญิงทุกคนจะทักทายกันด้วยจูบหนึ่งครั้ง และในฝรั่งเศส ผู้หญิงจะทักทายกันด้วยการหอมแก้มข้างละหนึ่งครั้ง ถ้าคุณไม่มั่นใจว่าควรทักทายอย่างไรถึงจะเหมาะสม ให้ทำตามอีกคน หรือดูคนรอบๆ ตัวว่าเขาทักทายกันอย่างไร
  3. การแสดงถึงความสนใจในตัวอีกฝ่ายถือเป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน ถามว่าเธอมาจากไหน ทำงานอะไร หรือถามเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่คุณมีเหมือนกัน ถามว่าเธอชอบที่จะทำอะไร หรือเธออยากทำอะไรในชีวิตนี้ แสดงให้เห็นว่าคุณให้ความสนใจในสิ่งที่เธอพูด และคุณกำลังฟังอยู่
    • คุณอาจจะพูดถึงตัวเองสักเล็กน้อยเพื่อเริ่มบทสนทนา และเล่าเรื่องตัวเองให้ฟัง การบอกใครสักคนว่าคุณทำงานที่ไหน หรือคุณชอบที่จะไปปีนเขาเป็นเรื่องที่สามารถคุยได้ทั่วไป และยังอาจนำไปสู่บทสนทนาเรื่องอื่นๆ ได้อีกด้วย
    • อย่าพูดถึงแต่เรื่องของตัวเอง อีกฝ่ายจะคิดว่าคุณเป็นพวกเห็นแก่ตัว หรือไม่น่าสนใจได้
  4. หลังจากที่คุณได้ทำความรู้จักกับใครสักคนครั้งแรก คุณควรจบบทสนทนาด้วยการบอกว่า คุณรู้สึกสนุกกับการได้พบกันครั้งนี้ ถ้าเป็นการพบกันแบบเป็นทางการ ให้พูดประมาณ “คุณแคสโตรคะ/ครับ ผม/ดิฉันรู้สึกยินดีที่ได้รู้จักกับคุณนะคะ/นะครับ แล้วหวังว่าจะได้คุยกันใหม่เร็วๆ นี้” แต่ถ้าบทสนทนาเป็นแบบเป็นกันเอง คุณอาจพูดว่า “ดีใจที่ได้เจอนะ แฮโรลด์ แล้วไว้เจอกันใหม่นะ”
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

การแนะนำตัวเองก่อนกล่าวคำปราศรัย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณกำลังกล่าวคำปราศรัย การพูดชื่อจริงและนามสกุลนับเป็นสิ่งที่สำคัญ ขณะที่คุณกล่าวทักทาย และบอกชื่อของคุณ อย่าลืมพูดด้วยน้ำเสียงที่ชัดเจนและมั่นใจ
    • กล่าว “อรุณสวัสดิ์ ดิฉัน เชลล์ อาร์โนลด์” หรือ “วันนี้เป็นอย่างไรกันบ้างคะทุกท่าน? ดิฉัน ลิซ่า คาร์โรลล์”
  2. หลังจากที่ได้บอกชื่อไปแล้ว ให้คุณบอกว่า คุณมีส่วนเกี่ยวข้องกับคำปราศรัยในวันนี้อย่างไร อย่าลืมพูดให้ดูมีความน่าเชื่อถือ ข้อมูลบางอย่างที่คุณพูดออกไป จะขึ้นอยู่กับผู้ฟังและหัวข้อที่คุณจะพูดถึง หากคุณกำลังกล่าวคำปราศรัยเกี่ยวกับความสำคัญของการกินอาหารออแกนิค ให้บอกว่าคุณเป็นนักวิทยาศาสตร์ พ่อครัว หรือศาสตราจารย์ด้านสิ่งแวดล้อม ถ้าคุณกำลังพูดถึงพัฒนาการของเด็ก อย่าลืมบอกด้วยว่าคุณเป็นนักจิตวิทยาเด็ก
    • พูดถึงข้อมูลใดๆ ก็ตามที่เกี่ยวข้อง เช่น คุณอาจเล่าถึงประวัติคร่าวๆ เกี่ยวกับประสบการณ์ที่น่าเชื่อถือของคุณ “ฉันชื่อ อีริคก้า ลาเฟารี เป็นศาสตราจารย์สอนวิทยาศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมที่เบิร์คลีย์ หลังจากที่ฉันได้ทำงานวิจัยในป่าดงดิบอเมซอน ฉันก็ได้พบว่ามันสำคัญแค่ไหนที่จะมาแบ่งปันวิธีการปกป้องผืนดินนี้ไว้”
  3. ตั้งแต่เริ่มแรกสุด ให้พูดด้วยเสียงที่ดังฟังชัดพอให้ทุกคนได้ยินคุณ หลีกเลี่ยงการพูดพึมพำด้วยการเปล่งเสียงพยัญชนะออกมาให้ชัดเจน คุณอาจถามผู้ฟังด้วยว่าพวกเขาได้ยินคุณชัดเจนดีไหม คนอาจไม่สามารถเข้าใจคุณ หรือเชื่อในสิ่งที่คุณกำลังพูดได้ หากพวกเขาไม่ได้ยินคุณ
  4. ยืนท่าดีๆ และขยับตัวไปตามสบายขณะที่พูด ยืนตัวตรง อกผายไหล่ผึ่ง แทนที่จะยืนห่อไหล่ หลังโก่ง ปล่อยมือให้ว่าง เพื่อใช้ในการแสดงท่าทางหากจำเป็น ถ้าคุณไม่จำเป็นที่จะต้องยืนหลังโพเดี่ยม ให้เดินไปรอบๆ เพื่อแสดงให้ผู้ฟังได้เห็นว่าคุณรู้สึกสบายเพียงใด และทำให้คุณดูไม่แข็งทื่อเกินไป
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

การแนะนำตัวเองในงานกิจกรรมต่างๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บอกชื่อเต็มของคุณ.ให้บอกชื่อเต็มเพื่อที่อีกฝ่ายจะได้จำชื่อคุณได้ คุณอาจพูดว่า “สวัสดีครับ ผม มาร์ค ซาลาซาร์” หรือ “สวัสดีค่ะ ดิฉัน แองเจลา เกรซ ค่ะ” จะทำให้พวกเขาจำคุณได้มากขึ้น
  2. ถ้าคุณอยู่ที่งานเครือข่าย ก็อาจเป็นไปได้ว่าคุณจะต้องคุยเกี่ยวกับสิ่งที่คุณทำกับคนหลายๆ คน ดังนั้นคุณจะพูดว่าอะไรถ้ามีคนมาถามคุณว่า “ที่คุณทำอยู่มันคืออะไรหรอครับ?” คุณจะเริ่มร่ายเกี่ยวกับสายอาชีพของคุณ 10 นาทีเลยหรือเปล่า? หรือจะนั่งไล่ว่าคุณเคยได้รับรางวัล ประสบความสำเร็จอะไรมาบ้าง? แน่นอนว่าไม่ ถ้าคุณไม่ได้กำลังคุยอะไรที่ยืดยาวกันอยู่ คุณควรจะเตรียคำตอบสำหรับบรรยายสิ่งที่คุณทำในหนึ่งประโยค ที่ให้ข้อมูลดังต่อไปนี้: [5]
    • คุณมีอาชีพการงานอะไร? เป็นคุณครู ผู้จัดการโครงงาน หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพก็ว่ากันไป
    • คุณทำงานกับใคร? คุณทำงานกับเด็ก ทีมงานวิจัยเรื่องวัฒนธรรมต่างสังคม หรือองค์กรทำการเงินขนาดเล็ก?
    • คุณมีหน้าที่อะไร? คุณช่วยเด็ก ป.2 ให้พัฒนาทักษะการเขียน ช่วยทีมที่ทำเรื่องวัฒนธรรมต่างสังคมให้บรรลุเป้าหมายขณะเดียวกันก็ไม่ใช้งบเกินที่ตั้งไว้ หรือคุณช่วยองค์กรการเงินขนาดเล็กขยายฐานตลาดในประเทศกำลังพัฒนา?
    • ทีนี้ ให้นำประโยคเหล่านั้นมาต่อเข้าด้วยกัน บอกว่าคุณเป็นใครทำงานอะไร และมีหน้าที่อะไร
  3. ถ้าคุณมีของ อย่าวางบนโต๊ะของผู้รายงานหรือฝ่ายจัดหาคน ให้ความเคารพในพื้นที่ของคนอื่น และไม่ไปก้าวก่ายพื้นที่ส่วนนั้น คุณอาจจะไปทำให้ข้าวของของเขาเสียหายได้ เช่น ทำป้ายโปสเตอร์ล้ม หรือทำแผ่นพับกระจัดกระจาย ให้รอจนกว่าจะถูกขอแลกเปลี่ยนนามบัตร ประวัติการทำงาน ฯลฯ [6]
  4. ถ้าอีกฝ่ายถามว่าคุณทำอะไรก่อน อย่าตอบและก็เดินหนีออกมาและชื่นชมตัวเองว่าตัวเองทำดีแล้ว ในทางกลับกัน ให้ถามกลับว่าเขาหรือเธอทำอะไร นี่ไม่เพียงแต่แสดงถึงความสุภาพ แต่ยังแสดงถึงความสนใจอย่างจริงใจในเส้นทางอาชีพของบุคคลนั้น และแสดงถึงความต้องการที่จะสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีร่วมกัน
  5. อย่าทำเพียงแค่โบกมือและพูดว่า “ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ/ครับ” และเดินออกมาจากคนๆ นั้น “ใครก็ตาม” ที่คุณเจอที่งานเครือข่าย คุณอาจจะต้องให้เขามาช่วยคุณในอนาคตก็เป็นได้ อย่าลืมที่จะมองตา พร้อมกับพูดชื่อของเขาอีกครั้ง และแลกเปลี่ยนนามบัตร หรืออะไรที่เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ก่อนที่จะเดินออกมา
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • มุ่งความสนใจไปที่คนที่คุณพบ – ให้ความเคารพกับพวกเขาอย่างที่คุณอยากจะได้รับ
  • หลีกเลี่ยงการกินอะไรที่อาจติดตามซอกฟันคุณ
  • อย่ามองหนีไปทางอื่น หรือทำท่าทางวอกแวก – มันจะดูเหมือนว่าคุณกำลังเบื่อ หรือไม่สนใจ
  • อย่าพูดขณะที่มีอาหารอยู่ในปาก
  • สนใจแต่สิ่งที่ดีๆ บทสนทนาการแนะนำไม่ใช่เวลาสำหรับการพูดถึงสิ่งแย่ๆ เกี่ยวกับตัวคุณเองหรือคนอื่น
  • พยายามปรับบรรยากาศการพูดคุยให้สบายๆ ด้วยการเริ่มด้วยมุข หรือคำชม
  • ถ้ามือของคุณเริ่มมีเหงื่อออก ให้เช็ดกับกระดาษหรือผ้าเช็ดหน้าก่อนที่จะเริ่มการแนะนำตัวกับใครสักคน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 77,670 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา