ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ความหมายของชีวิตคือสิ่งที่คุณสร้างขึ้นในทุกๆ วันด้วยการกระทำและความคิดของคุณเอง จงหมั่นถามหาสิ่งที่คุณสามารถเรียนรู้และวิธีที่คุณจะสามารถเดินหน้าต่อไปในชีวิตและห้ามตัวเองไม่ให้กล่าวโทษคนอื่นหากบางสิ่งไม่ได้เป็นอย่างที่คุณหวังไว้ การใช้ชีวิตให้ “เต็มที่” เป็นอย่างไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับคุณโดยวิธีการเริ่มต้นมีดังนี้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ให้คำจำกัดความตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. รับรู้ว่าชีวิตคือการเดินทางไม่ใช่จุดหมายปลายทาง. คำพูดนี้ถูกใช้บ่อยและมันก็เป็นเรื่องจริง: ชีวิตนั้นเกี่ยวกับวิธีที่คุณจะไปสู่ที่ๆ คุณกำลังไปเช่นเดียวกับปลายทางของคุณ การใช้ชีวิตให้เต็มที่คือกระบวนการที่จะใช้เวลาชั่วชีวิตของคุณในการสร้าง อย่าหงุดหงิดหากคุณต้องใช้เวลานานในการเรียนรู้บางอย่างหรือหากคุณเจออุปสรรค สิ่งนี้คือธรรมชาติของชีวิต
  2. ความไม่ซื่อสัตย์ทำให้พลังงานและความสุขซึมหายไป เมื่อเราไม่ซื่อสัตย์กับตัวเอง เรารั้งตัวเองไว้ไม่ให้เรียนรู้และเติบโต เมื่อเราไม่ซื่อสัตย์กับคนอื่น เราทำลายความเชื่อใจและความใกล้ชิด [1]
    • เราอาจจะไม่ซื่อสัตย์เพราะเหตุผลหลายอย่าง งานวิจัยเผยว่าบางครั้งเราโกหก งานวิจัยเผยว่าบางครั้งเราโกหกเพราะเราหึงและต้องการทำให้คนอื่นช้ำใจ บางครั้งเราโกหกเพราะว่าเรากลัวว่าเราจะเจ็บหากเราเผยความจริงหรือกลัวการเผชิญหน้า [2] มันอาจจะยากที่จะต้องซื่อสัตย์โดยเฉพาะกับตัวเองแต่การทำเช่นนั้นจะช่วยให้คุณใช้ชีวิตให้เต็มที่และสมบูรณ์มากขึ้น
  3. บ่อยครั้งที่เราใช้เวลามากมายในการมองสิ่งที่เราไม่ชอบเกี่ยวกับตัวเอง สิ่งที่เราต้องการจะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เราคิดว่าควรจะแตกต่างจากนี้ การใช้เวลาทั้งหมดมุ่งเน้นไปที่สิ่งที่คุณไม่ชอบหรือสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตหมายความว่า คุณไม่สามารถพุ่งเป้าไปที่อนาคตของคุณ ตัดสินใจอย่างมีสติเพื่อที่จะเรียนรู้ที่จะรักตัวเองอย่างที่คุณเป็น [3]
    • สร้างลิสต์เกี่ยวกับจุดแข็งของคุณ คุณเก่งในด้านไหน สิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่เช่นการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ หรือทักษะใน “ชีวิตประจำวัน” เช่นการเป็นคนที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีกับผู้อื่น การเอาใจใส่จุดแข็งของคุณสามารถช่วยให้คุณพัฒนาสิ่งเหล่านั้นโดยไม่มองว่าตัวเองเป็น “ความล้มเหลว”
  4. คุณค่าหลักของคุณคือความเชื่อที่หล่อหลอมคุณให้เป็นคนอย่างที่คุณเป็นและวิธีที่คุณใช้ชีวิต สิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นความเชื่อทางจิตวิญญาณหรือความเชื่อหยั่งลึกทั่วไปที่สำคัญกับคุณ [4] การสะท้อนดูคุณค่าของตัวเองจะช่วยให้คุณตั้งเป้าหมายสำหรับตัวเองซึ่ง “สอดคล้องกับคุณค่า” ของคุณ คุณมักจะรู้สึกเติมเต็มและมีความสุขเมื่อคุณอยู่ร่วมกับคุณค่าของคุณ [5] คุณมักจะรู้สึกเติมเต็มและมีความสุขเมื่อคุณอยู่ร่วมกับคุณค่าของคุณ
    • ยืนหยัดต่อสิ่งที่คุณเชื่อและอย่าให้ผู้อื่นทำให้คุณเขว คุณสามารถทำสิ่งนี้และยังคงเปิดรับความคิดของผู้อื่นอย่างที่พวกเขาอาจจะทำให้คุณประหลาดใจ
  5. บางครั้งสังคมก็ทำให้การวิจารณ์ตัวเองสับสนปนเปไปกับการช่วยเหลือตัวเองให้พัฒนาปรับปรุง อย่างไรก็ตาม งานวิจัยเผยว่ายิ่งคุณเป็นปรปักษ์และวิจารณ์ตัวเองมากเท่าไหร่คุณก็จะยิ่งเป็นคนแบบนั้นต่อผู้อื่น การพูดกับตัวเองในแง่ลบและการวิจารณ์ตัวเองไม่ช่วยให้คุณเป็นคนที่ดีขึ้นหรือบรรลุเป้าหมายของคุณ [6] คุณควรใช้ความเมตตาและความเห็นใจตัวเอง
    • เช่น หากคุณพร่ำบอกกับตัวเองถึงสิ่งที่ผิดปกติกับคุณหรืออะไรที่คุณไม่ชอบเกี่ยวกับตัวเอง คุณต้องทำอย่างมีจุดประสงค์และท้าทายความคิดเหล่านั้นด้วยความคิดที่เป็นแง่บวก แทนที่ความคิด เช่น "ฉันมันขี้แพ้" ด้วย "สถานการณ์นั้นไม่เป็นไปตามที่ฉันวางแผนเอาไว้ ฉันจะกลับไปดูแผนงานและคิดวิธีอื่นที่จะทำให้มันสำเร็จ"
    • ลองคิดเกี่ยวกับการวิจารณ์ตัวเองอย่างมีตรรกะ การวิจารณ์ตัวเองอาจเป็นเรื่องง่าย ครั้งต่อไปที่คุณสังเกตว่าคุณใจร้ายกับตัวเองก็ลองหาคำตอบที่มีเหตุผลให้กับคำวิจารณ์นั้น เช่น หากคุณคิดว่า "ฉันโง่จัง ฉันไม่รู้อะไรเลยในวิชานี้และทุกคนฉลาดกว่าฉัน" ลองไตร่ตรองความคิดนี้อย่างมีตรรกะ ทุกคนฉลาดกว่าคุณหรือบางคนแค่เตรียมตัวมาพร้อมกว่าคนอื่น? ประสิทธิภาพของคุณในวิชานี้เกี่ยวข้องกับความฉลาดของคุณ (ไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น) หรือมันเป็นเพราะคุณเตรียมตัวมาไม่ดีพอ? คุณตั้งใจเรียนหรือเปล่า? คุณได้ความรู้จากครูผู้สอนหรือเปล่า? การย่อยสิ่งเหล่านี้ด้วยความคิดที่มีตรรกะสามารถช่วยให้คุณเจอขั้นตอนในการปรับปรุงตัวโดยไม่ต้องวิจารณ์ตัวเองให้เสียหาย
  6. หนึ่งในเหตุผลที่เราหงุดหงิดคือเราคาดหวังสิ่งต่างๆ ให้เป็นเหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม ชีวิตเต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลง การเปิดตัวเองให้กับกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงและการเติบโตและเรียนรู้ที่จะปรับ ตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ๆ และท้าทายสิ่งที่เกิดขึ้น [7]
    • การรับเอาอารมณ์ที่เป็นบวก เช่น ความสุขและการมองโลกในแง่ดีจะช่วยให้คุณพัฒนาความ ยืดหยุ่น [8]
    • มองหารูปแบบที่คุณตอบโต้กับเหตุการณ์และสถานการณ์ต่างๆ ระบุสิ่งที่เป็นประโยชน์และสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ วิธีนี้สามารถช่วยให้คุณเรียนรู้ที่จะแก้ไขคำตอบที่ไม่เป็นประโยชน์และเรียนรู้ที่จะปรับตัวได้เก่งขึ้น ไม่เพียงแต่คุณจะรู้สึกดีขึ้นกับตัวเองเท่านั้น คุณยังจะสามารถมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับผู้อื่นอีกด้วย [9]
    • เรียนรู้ที่จะมองเหตุการณ์ที่เป็น "ลบ" ให้เป็นประสบการณ์การเรียนแทน การมองปัญหาหรือสถานการณ์ที่เป็นลบว่าเป็น "ความล้มเหลว" สามารถทำให้คุณหมกมุ่นกับมันมากกว่าที่จะเรียนรู้และเติบโตไปกับมัน แทนที่จะมองเห็นความท้าทายหรืออุปสรรคว่าเป็นสิ่งที่ลบ จงมองมันให้เป็นสิ่งที่บวกสำหรับการเรียนรู้และการพัฒนา
    • เช่น นายทุนผู้โด่งดังอย่าง สตีฟ จอบส์ พูดว่า "การถูกไล่ออกจาก Apple คือสิ่งที่ดีที่สุดที่เคยเกิดขึ้นกับผม ความหนักหน่วงของการประสบความสำเร็จถูกแทนที่ ด้วยความเบาของการเป็นผู้เริ่มอีกครั้งโดยมั่นใจน้อยลงเกี่ยวกับทุกสิ่ง มันปล่อยให้ผมเข้าสู่ช่วงเวลาที่สร้างสรรค์ที่สุดช่วงหนึ่งของชีวิต" [10] เจ เค โรว์ลิ่ง นักเขียนที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากกับนิยายภาคต่ออย่าง แฮร์รี่ พอตเตอร์ เคยพูดว่าเธอมองความล้มเหลวเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมากที่ควรให้คุณค่ามากกว่าที่ควรจะกลัว [11]
  7. ส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตให้เต็มที่คือการดูแลเอาใจใส่ร่างกายของคุณ คุณมีร่างกายแค่ร่างเดียว คุณต้องทำให้มั่นใจว่ามันสามารถแบกรับคุณไปตลอดชีวิตของการผจญภัยและการเรียนรู้
    • ทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูงและไม่มีแคลอรี่ ทานผลไม้ ผักสด คาร์โบไฮเดรตและโปรตีน ที่มีไขมันต่ำ ในปริมาณมาก แต่อย่าลืมให้รางวัลกับตัวเอง คุณสามารถทานเค้กสักชิ้นหรือดื่มไวน์สักแก้วเป็นบางครั้งบางคราวได้ [12]
    • อย่าปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำ ผู้ชายควรดื่มน้ำประมาณ 13 ถ้วย (3 ลิตร) ต่อวัน ผู้หญิงควรดื่มประมาณ 9 ถ้วย (2.2 ลิตร) ต่อวัน [13]
    • ออกกำลังกาย งานวิจัยเผยว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้คุณรู้สึกสุขภาพดี มีความสุขและเป็นบวกมากขึ้น ตั้งเป้าหมายเพื่อออกกำลังกายแอโรบิกให้ได้ประมาณ 150 นาทีต่อสัปดาห์ [14]
  8. การเรียนรู้เรื่องการมีสติสามารถช่วยให้คุณใช้ชีวิตให้เต็มที่โดยให้คุณพุ่งเล็งไปที่สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน สติมีรากฐานมาจากธรรมเนียมของศาสนาพุทธ และหลีกเลี่ยงการตัดสินประสบการณ์ของคุณโดยการกระตุ้นให้คุณยอมรับประสบการณ์เหล่านั้นอย่างที่มันเป็น [15] [16]
    • คุณไม่สามารถใช้ชีวิตให้เต็มที่หากคุณยังซึมซับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตหรือสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต การเรียนรู้ที่จะมีสติกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นใน "ตอนนี้" จะช่วยให้คุณกังวลน้อยลงเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วหรืออาจจะเกิดขึ้น
    • มีหลายวิธีในการเรียนรู้เกี่ยวกับสติ รวมถึงการนั่งสมาธิกำหนดสติและการเรียนเรื่องของจิตวิญญาณ [17] การฝึกต่างๆ เช่นโยคะและไท ชี ได้รวมเอาการมีสติมาใส่ไว้ในการฝึกฝนด้วย
    • ประโยชน์มากมายของการมีสติ คือ สุขภาพกายและใจที่ดีขึ้น ความเครียดที่น้อยลง ปฏิสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับผู้อื่น และสุขภาพองค์รวมที่ดีขึ้น [18]
  9. ความคิดนี้ถูกสร้างขึ้นโดยนักจิตวิทยาชื่อ เคลย์ตัน บาร์โบ ซึ่งหมายถึงแนวโน้มของมนุษย์ในการบอกตัวเองว่า “ต้อง”ทำอะไรบางอย่าง แม้มันจะไม่สอดคล้องกับเป้าหมายหรือคุณค่าของเราก็ตาม [19] คำว่า “ควรจะ” สามารถก่อให้เกิดความไม่พอใจและความเสียใจเป็นอย่างมาก การกำจัดมันออกจากชีวิตจะช่วยให้คุณใช้ชีวิตได้เต็มที่มากขึ้น [20]
    • เช่น ลองพิจารณาประโยคที่ใช้คำว่า “ควรจะ”: “ฉันควรจะลดน้ำหนักมากกว่านี้” ทำไมคุณจึงรู้สึกแบบนั้น? เป็นเพราะคุณมีเป้าหมายในการออกกำลังกายที่คุณต้องการจะบรรลุเพื่อตัวเองหรือเปล่า? เป็นเพราะคุณได้ปรึกษาแพทย์และตกลงว่าคุณต้องมีสุขภาพที่ดีขึ้นหรือเปล่า? หรือเป็นเพราะบางคนบอกคุณว่าคุณ “ควรจะ” เป็นแบบนั้น? เป้าหมายเดียวกันสามารถทำให้คุณมีสุขภาพดี เป็นประโยชน์ “หรือ” ให้โทษกับคุณ ขึ้นอยู่กับว่าทำไมคุณจึงรู้สึกว่าคุณต้องทำมันให้สำเร็จ
    • การตัดสินใจที่จะไม่ “บังคับ” ตัวเองไม่ได้แปลว่าคุณไม่ได้ตั้งเป้าหมาย แต่มันคือการที่คุณตั้งเป้าหมายสำหรับตัวเองบนพื้นฐานของสิ่งที่มีความหมายสำหรับ “คุณ” ไม่ใช่สิ่งที่คนอื่นต้องการหรืออยากให้คุณทำ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การเดินบนทางของตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. งานวิจัยเสนอว่าคนเราต้องผลักตัวเองออกจากขอบเขตที่คุณคุ้นเคยเพื่อใช้ศักยภาพของตัวเองได้เต็มที่ [21] สิ่งนี้เรียกว่าการน้อมรับ “ความกังวลสูงสุด” และยิ่งคุณพร้อมที่จะท้าทายตัวเองมากแค่ไหนคุณก็จะยิ่งคุ้นเคยกับประสบการณ์ใหม่มากเท่านั้น [22]
    • มันอาจจะน่ากลัวที่ต้องเสี่ยงเพราะเราไม่คุ้นเคยกับแนวคิดของความล้มเหลว คนส่วนใหญ่กลัวความเสี่ยงในระยะสั้น อย่างไรก็ตามคนที่ไม่ชอบเสี่ยงและไม่ผลักดันตัวเองมักจะเสียใจใจภายหลังที่ไม่ได้ทำเช่นนั้น [23]
    • การออกจากขอบเขตที่คุณคุ้นเคยเป็นครั้งคราวสามารถช่วยให้คุณพัฒนาความยืดหยุ่นที่คุณต้องการเพื่อรับมือกับอุปสรรคที่ไม่คาดหวังในชีวิต [24]
    • เริ่มจากก้าวเล็กๆ และค่อยพัฒนาเป็นก้าวใหญ่ๆ เช่น ไปร้านอาหารโดยไม่ต้องอ่านรีวิวก่อน ขับรถไปเที่ยวกับคนรัก ลองสิ่งที่ไม่เคยทำในที่ทำงาน เป็นต้น
  2. ตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้ตามความสามารถและพรสวรรค์ของคุณ จงนึกว่าความพยายามแต่ละครั้งให้คือความสำเร็จ ทำขั้นแรกให้สำเร็จก่อนจะทำขั้นต่อไปเพื่อที่เดินหน้าหาความมั่นคงและความอุ่นใจ [25]
    • ตั้งเป้าหมายที่มีค่าสำหรับคุณและอย่าเปรียบเทียบเป้าหมายของคุณกับของคนอื่น หากเป้าหมายที่มีค่าสำหรับคุณคือการเรียนกีต้าร์เพื่อเล่นเพลงโปรดของคุณ จงอย่ารู้สึกไม่ดีหากคุณไม่ได้กลายเป็นนักกีตาร์ผู้โด่งดัง
    • รักษาเป้าหมายตามศักยภาพของคุณ การบรรลุเป้าหมายต้องใช้ความพยายาม การทุ่มเทและแรงบันดาลใจ อย่างไรก็ตาม คุณต้องมั่นใจว่าคุณสามารถบรรลุเป้าหมายโดยใช้ความพยายาม "ของคุณ" และจำไว้ว่าคุณไม่สามารถควบคุมคนอื่นได้ [26] เช่น "การเป็นดาราภาพยนตร์" คือเป้าหมายที่ต้องอาศัยการกระทำของผู้อื่น (ทีมคัดตัวนักแสดงต้องคัดความสามารถของคุณหรือผู้คนต้องไปดูภาพยนตร์ของคุณ เป็นต้น) อย่างไรก็ตาม "การไปคัดตัวนักแสดงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้" เป็นเรื่องที่เป็นไปได้เพราะ "คุณ" ควบคุมการกระทำนั้นๆ แม้คุณจะไม่เคยได้รับบทนั้น คุณสามารถมองเป้าหมายของคุณว่าเป็นความสำเร็จเพราะคุณได้ทำสิ่งที่คุณตั้งเป้าไว้ซึ่งคือการพยายามทำสิ่งที่คุณต้องการ
  3. เมื่อคุณใช้ชีวิตให้เต็มที่คุณก็ต้องเสี่ยง คุณต้องตามล่าสิ่งที่คุณต้องการ คุณต้องเลือกการตัดสินใจที่จะมีเหตุการณ์ต่างๆ ตามมาและบางครั้งสิ่งเหล่านี้ก็ไม่เป็นไปตามที่คุณคาดหวัง การยอมรับความไม่มั่นคงในชีวิตหรือความเป็นไปได้ที่สิ่งต่างๆ จะแตกต่างไปจากที่เราคาดหวังนั้นสำคัญต่อการใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ เปิดเผยและจริงใจ [27]
    • ความไม่มั่นคงช่วยให้คุณทำสิ่งต่างๆ ในทุกด้านของชีวิต หากคุณกลัวการเปิดเผยและจริงใจกับคนอื่นเพราะคุณกลัวว่าคุณอาจจะเสียใจ คุณก็จะไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่สนิทสนมแน่นแฟ้นได้ หากคุณกลัวการที่ต้องเสี่ยงเพราะมันอาจจะไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ คุณก็จะพลาดโอกาสต่างๆ
    • เช่น ลองดูตัวอย่างของมิชกิน อินกาเวล นักประดิษฐ์คิดค้นซึ่งต้องการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของเด็กในถิ่นทุรกันดารของอินเดีย อินกาเวลมักจะพูดถึงการที่เขาล้มเหลวตลอด 32 ครั้งแรกที่เขาพยายามคิดค้นเทคโนโลยีนี้ เขาทำสำเร็จในครั้งที่ 33 ความพยายามที่ไม่มั่นคงและที่ยอมรับความเป็นไปได้ของความเสี่ยงและความล้มเหลวคือสิ่งที่ทำให้เขาพัฒนาเทคโนโลยีนี้เพื่อช่วยชีวิตผู้คนได้สำเร็จ
  4. อย่าเพียงแต่พอใจปล่อยให้ชีวิตเป็นไปในแบบนั้น คุณต้องลงมือทำและมีส่วนร่วมด้วย ลองหาสิ่งที่คุณสามารถเรียนรู้จากสถานการณ์ที่พบเจอ สิ่งนี้จะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงความเครียดจากความท้าทายและจะช่วยให้คุณพุ่งความสนใจไปกับอนาคต ไม่ใช่อดีต
    • การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ยังช่วยให้สมองของคุณใช้การได้เต็มที่ เมื่อคุณถามคำถามและไต่สวนประสบการณ์ต่างๆ อย่างสม่ำเสมอคุณมักรู้สึกว่ามีสุขภาพจิตและอารมณ์ที่ดี
  5. ความซาบซึ้งใจไม่ได้เป็นแค่ความรู้สึกแต่คือวิธีของชีวิตที่ต้องใช้การฝึกฝนที่สม่ำเสมอ งานวิจัยเผยว่าการฝึกฝนความซาบซึ้งใจทำให้คุณรู้สึกมีสุขภาพดี มีความสุขและคิดบวกมากขึ้น [28] ความซาบซึ้งใจสามารถช่วยให้คุณก้าวผ่านความทุกข์ใจในอดีตและทำให้ความสัมพันธ์ของคุณกับผู้อื่นแข็งแกร่งขึ้น [29] [30] ลองนึกถึงสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวันซึ่งคุณซาบซึ้งใจที่มีสิ่งเหล่านั้น ทำให้ครอบครัว เพื่อนและคนรักรู้ว่าคุณดีใจมากเท่าไหร่ที่มีพวกเขาในชีวิต แบ่งปันและแสดงความรักเมื่อคุณสามารถทำได้ ชีวิตของคุณจะรู้สึกเติมเต็มมากขึ้นเมื่อคุณฝึกฝนความซาบซึ้งใจเป็นประจำ
    • ดื่มด่ำช่วงเวลา. มนุษย์มีแนวโน้มที่ไม่ดีในการมุ่งความสนใจไปที่ด้านลบของชีวิตและเมินเฉยต่อความสวยงามและพลังบวกต่างๆ รอบตัว ลองใช้เวลารับรู้และดื่มด่ำช่วงเวลาเล็กๆ น้อยๆ ของความงามในชีวิตประจำวัน ลองนึกว่าประสบการณ์นี้มีความหมายอย่างไรกับคุณ มีสติกับความสุขที่ประสบการณ์นั้นนำมาสู่ชีวิตของคุณในช่วงเวลานั้น การเขียนประสบการณ์เหล่านี้ลงบนกระดาษสามารถเป็นประโยชน์เช่นกัน [31] แม้แต่สิ่งเล็กๆ น้อยๆ เช่น ข้อความที่คุณไม่คาดหวังจากเพื่อนคนหนึ่งหรือเช้าวันใหม่ที่สดใสสวยงามก็สามารถทำให้เรารู้สึกซาบซึ้งได้หากเราน้อมรับสิ่งเหล่านั้น
    • แบ่งปันความซาบซึ้งใจกับผู้อื่น คุณมักจะ “เก็บสะสม” สิ่งที่เป็นบวกในความทรงจำของคุณหากคุณแบ่งปันสิ่งเหล่านั้นกับผู้อื่น หากคุณเห็นดอกไม้แสนงดงามเมื่อคุณกำลังนั่งรถประจำทางก็ลองส่งข้อความหาเพื่อนเพื่อให้เขารู้ด้วย หากคนรักของคุณล้างจานและคุณรู้สึกประหลาดใจก็บอกเขาว่าคุณซาบซึ้งมากแค่ไหน การแบ่งปันความซาบซึ้งใจยังสามารถช่วยให้ผู้อื่นรู้สึกเป็นบวกและมีแนวโน้มที่จะมองหาวิธีในการซาบซึ้งใจในชีวิตของพวกเขา [32]
  6. การเขียนบันทึกสามารถช่วยให้คุณมองสะท้อนเป้าหมายและคุณค่าของคุณและยังสามารถช่วยให้คุณระบุสิ่งที่กำลังเป็นไปได้ด้วยดีในชีวิตและสิ่งที่คุณต้องการสานต่อ การเขียนบันทึกยังสามารถเป็นวิธีที่ดีในการฝึกฝนสติ
    • การเขียนบันทึกควรเป็นประโยชน์ ไม่ใช่เพียงการสุ่มจดบันทึกความคิดและประสบการณ์ แทนที่จะบันทึกทุกสิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณ คุณควรใช้การบันทึกเพื่อสะท้อนสถานการณ์ที่คุณพบเจอ ปฏิกิริยาตอบโต้อย่างแรกของคุณคืออะไร สถานการณ์ทำให้คุณรู้สึกอย่างไรในช่วงแรก ตอนนี้คุณรู้สึกแตกต่างไปหรือเปล่า คุณจะทำอะไรต่างออกไปหรือไม่หากคุณพบเจอสถานการณ์เดียวกันอีก [33]
  7. การหัวเราะคือยาที่ดีที่สุดจริงๆ เพราะมันช่วยลดฮอร์โมนของความเครียดและช่วยหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินหรือตัวกระตุ้นอารมณ์ดีตามธรรมชาติของร่างกาย การหัวเราะช่วยเผาผลาญพลังงานแคลอรี่และส่งออกซิเจนไปทั่วร่างกายทำให้คุณรู้สึกเป็นบวกและสุขภาพดีขึ้น [34]
  8. ทรัพย์สินของคุณอาจจะกลายมาเป็นเจ้าของเสียเอง บ้านที่เต็มไปด้วยสิ่งของจะไม่ทำให้คุณมีความสุข คุณควรตัดสินใจเพื่อให้มีความต้องการที่เรียบง่ายของชีวิตประจำวัน งานวิจัยเผยว่าการครอบครองสิ่งของต่างๆ คือวิธีในการปกปิดความต้องการที่ลึกซึ้งบางอย่าง [36] [37] มีสิ่งที่ต้องการและต้องการในสิ่งที่คุณมี
    • คนที่ลุ่มหลงในสิ่งของมากๆ มักจะมีความสุขและรู้สึกเติมเต็มน้อยกว่าคนอื่น [38] สิ่งของจะไม่ทำให้คุณมีความสุขแต่ความสัมพันธ์ที่คุณสร้างกับผู้อื่นต่างหากที่จะทำให้คุณมีความสุข
    • กำจัดสิ่งของในบ้านที่คุณไม่ใช้หรือไม่ชอบ หาองค์กรการกุศลท้องถิ่นเพื่อบริจาคเสื้อผ้า ของใช้ในบ้านและสิ่งของอื่นๆ ที่เกลื่อนกลาดเต็มบ้านของคุณ
    • ทำชีวิตส่วนตัวให้เรียบง่ายเช่นกัน คุณสามารถปฏิเสธพันธะสัญญาหรือคำเชิญต่างๆ ได้ เลือกใช้เวลาทำสิ่งที่มีความหมายหรือเป็นประโยชน์กับคุณ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เชื่อหรือไม่ว่ามนุษย์สามารถ “จับติด” อารมณ์ได้ง่ายพอๆ กับที่เราติดหวัด [39] หากคุณใช้เวลามากๆ กับคนที่เป็นสุขและเป็นบวก คุณก็มักจะรู้สึกเช่นเดียวกัน หากคุณใช้เวลามากๆ กับคนที่จดจ่อกับเรื่องลบๆ คุณก็จะรู้สึกเป็นลบเช่นกัน คุณควรแวดล้อมตัวเองด้วยคนที่ใส่ใจคุณ เคารพคุณและผู้อื่นและทำให้ชีวิตของคุณดีขึ้น
    • คุณใช้เวลากับใคร? พวกเขาทำให้คุณรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับตัวของคุณ? คุณรู้สึกว่าคนที่อยู่ในชีวิตเคารพและเห็นคุณค่าของคุณหรือไม่? [40]
    • สิ่งนี้ไม่ได้หมายความว่าเพื่อนหรือคนรักของคุณไม่ควรวิจารณ์คุณอย่างมีหลักการ จริงๆ แล้วในบางครั้งเราก็ต้องการให้เพื่อนชี้ให้เห็นเวลาที่เราทำบางอย่างโดยไม่คิดหรือทำให้คนอื่นเจ็บช้ำ อย่างไรก็ตาม คุณควรรู้สึกเสมอๆ ว่าคนที่คุณรักเข้าหาคุณด้วยความเมตตาและความเคารพและคุณควรปฏิบัติต่อพวกเขาแบบนั้นเช่นกัน
  2. การเรียนรู้ที่จะสื่อสารแบบตรงไปตรงมา (แต่ไม่ก้าวร้าว) สามารถช่วยให้คุณรู้สึกแข็งแกร่ง มั่นใจและเติมเต็มมากขึ้น การสื่อสารแบบตรงไปตรงมาคือการที่คุณและอีกฝ่ายล้วนมีความต้องการในชีวิตและต้องการให้แต่ละฝ่ายได้รับรู้ [41]
    • เปิดเผยและจริงใจแต่อย่าใช้คำพูดตัดสินหรือกล่าวโทษ หากมีคนทำให้คุณเสียใจคุณก็ควรแบ่งปันความรู้สึกกับเขาหรือเธอ อย่างไรก็ตาม อย่าใช้คำพูดที่กล่าวโทษอีกฝ่าย เช่น “เธอใจร้ายกับฉัน” หรือ “เธอไม่สนใจความต้องการของฉัน”
    • ใช้ประโยคที่แทนตัวเอง การใช้ประโยคที่พุ่งความสนใจไปที่สิ่งที่คุณรู้สึกและพบเจอจะไม่ทำให้คุณฟังดูเหมือนว่ากำลังกล่าวโทษหรือตัดสิน เช่น “ฉันรู้สึกเสียใจเมื่อเธอลืมไปรับฉันจากที่ทำงาน ฉันรู้สึกว่าความต้องการของฉันไม่สำคัญกับเธอ”
    • ให้คำวิจารณ์ที่มีหลักการและยอมคำวิจารณ์เหล่านั้นจากผู้อื่น อย่าสั่งคนอื่นให้ทำหรือไม่ทำอะไร อธิบายให้เขาฟังว่าทำไมคุณจึงขอร้อง
    • เชิญชวนผู้อื่นให้แบ่งปันความต้องการและความคิดกับคุณ ใช้ภาษาที่เรียบง่าย เช่น “คุณอยากทำอะไร?” หรือ “คุณคิดอย่างไร?”
    • แทนที่จะรู้สึกโดยอัตโนมัติว่าคุณต้องแทรกความเห็นของคุณเข้าไป ลองพูดว่า “เล่าต่อสิ” เมื่อคุณได้ยินบางอย่างที่ตอนแรกดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่คุณมักจะไม่เห็นด้วย ลองมองจากมุมมองของเขา
  3. คุณต้องไม่มีทิฐิในทัศนคติที่มีต่อผู้อื่น สิ่งหลักๆ ที่ดึงรั้งเราไว้ในชีวิตคือความสนใจที่เรามุ่งไปยังความคิดที่ว่าเรา “สมควร” ได้บางสิ่ง ความรู้สึกนี้สามารถทำให้เรารู้สึกไม่พอใจและโกรธ [42] มอบความรักโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน รักผู้อื่นแม้มันจะยาก
    • สิ่งนี้ไม่ได้แปลว่าคุณต้องเป็นเบี้ยรองรับคนที่ปฏิบัติไม่ดีต่อคุณ คุณสามารถรักและยอมรับบางคนและยังคงระลึกได้ว่าพวกเขาไม่ดีต่อคุณ
    • เชื่อหรือไม่ว่าความรักเป็นประโยชน์แม้แต่ในที่ทำงาน ที่ทำงานที่ใช้ความเห็นใจ ความใส่ใจและการแสดงออกของความรักมักจะมีประสิทธิภาพและลูกจ้างพึงพอใจมากกว่า [43]
  4. การให้อภัยนั้นดีต่อร่างกายและจิตใจของคุณ แม้มันอาจจะยากแต่มันช่วยลดความเครียด ความดันในเลือดและอัตราการเต้นของหัวใจ การให้อภัยสามารถช่วยให้คุณรู้สึกเติมเต็มและมีความสุขถึงแม้อีกฝ่ายจะไม่เคยรับรู้ถึงสิ่งที่ตัวเองทำผิดเลยก็ตาม [44]
    • คิดถึงเรื่องอะไรก็ได้ที่คุณอยากให้อภัย สังเกตว่าความคิดเหล่านั้นทำให้คุณรู้สึกอย่างไร ยอมรับความรู้สึกนั้นเพราะการตัดสินหรือการพยายามกดดันจะยิ่งทำให้มันแย่ลง [45]
    • เปลี่ยนประสบการณ์ที่เจ็บปวดให้เป็นประสบการณ์การเรียนรู้ คุณจะทำให้มันแตกต่างออกไปได้อย่างไร? คนอื่นจะทำมันได้แตกต่างออกไปอย่างไร? คุณเรียนรู้อะไรจากประสบการณ์นี้ซึ่งสามารถช่วยให้คุณกลายเป็นคนที่ดีขึ้น?
    • จำไว้ว่าคุณสามารถควบคุมการกระทำของตัวคุณเองไม่ใช่ของคนอื่น เหตุผลหนึ่งที่ทำให้การให้อภัยเป็นสิ่งที่ยากคือเพราะว่ามันขึ้นอยู่กับคุณคนเดียว อีกฝ่ายอาจจะไม่เคยรับรู้ถึงสิ่งที่ตัวเองทำผิดเลย เขาหรือเธออาจจะไม่เคยเผชิญหน้ากับเหตุการณ์หรือเรียนรู้จากประสบการณ์ อย่างไรก็ตาม การยืนอยู่บนความโกรธเกี่ยวกับสถานการณ์มีแต่จะทำร้ายคุณอย่างสาหัส การเรียนรู้ที่จะให้อภัยโดยไม่คำนึงว่าอีกฝ่ายจะลงมือทำบางอย่างหรือรับรู้ผลของการกระทำนี้หรือไม่นั้นจะช่วยรักษาเยียวยา “คุณ”
    • การให้อภัยตัวเองนั้นสำคัญพอๆ กับการให้อภัยผู้อื่น การพร่ำเพ้อถึงสิ่งต่างๆ ในอดีตหรือพฤติกรรมที่เรารู้สึกผิดที่ทำสิ่งนั้นจะทำให้เราตกอยู่ในวงจรการโทษตัวเองที่ไร้ประโยชน์แทนที่จะให้ประสบการณ์เหล่านั้นเป็นเครื่องมือเพื่อช่วยให้เราจดจ่อกับการเป็นคนที่ดีขึ้นในปัจจุบัน [46] ใช้เทคนิคในบทความนี้ เช่น การท้าทายการพูดกับตัวเองในแง่ลบและการฝึกสติ เพื่อช่วยให้คุณอภัยให้ตัวเองและแสดงความเห็นใจต่อตัวเองเช่นเดียวกับต่อผู้อื่น
    • เมื่อเราให้อภัย จำไว้ว่าเราต้องลืมสถานการณ์บางอย่างในชีวิตซึ่งนำอารมณ์ลบๆ มาให้เรา
  5. คุณต้องไม่มีทิฐิในการบริการผู้อื่นโดยเริ่มจากเพื่อนบ้าน เช่น ทำงานการกุศลในชุมชน การตอบแทนไม่เพียงแต่จะทำให้คุณเป็นคนที่ดีขึ้นแต่ยังช่วยผู้อื่นอีกด้วย
    • การช่วยเหลือผู้อื่นไม่เพียงแต่จะเป็นประโยชน์กับพวกเขาแต่ยังมีประโยชน์ต่อร่างกายของคุณ การทำงานการกุศลอาจจะทำให้สารเอ็นดอร์ฟินพลุ่งพล่านเมื่อเราทำสิ่งที่ดีให้กับผู้อื่น [47]
    • คุณไม่จำเป็นต้องเปิดโรงเจหรือจัดตั้งองค์กรไม่แสวงหากำไรสำหรับผู้อื่น การกระทำเพียงเล็กน้อยในชีวิตประจำวันก็สามารถมีผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ได้ งานวิจัยเผยว่าผลกระทบแบบ “ส่งต่อ” นั้นมีอยู่จริง ความเมตตาของคุณสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นในการแสดงความมีน้ำใจและความเมตตาตอบแทนซึ่งจะช่วยเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนอีกมากมายให้ทำสิ่งเดียวกัน [48]
  6. ใจดีและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กับผู้อื่น มีความสุขกับการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างที่คุณอยากให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อคุณ
    • คุณอาจจะรู้สึกอึดอัดในตอนแรกเมื่อต้องพูดกับคนที่คุณคิดว่า “แตกต่าง” จากคุณ จำไว้ว่าคุณสามารถเรียนรู้บางอย่างจากทุกคนที่คุณเจอและยิ่งคุณยอมรับความแตกต่างเข้าสู่ชีวิตประจำวันมากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งเห็นว่าเราทุกคนคือมนุษย์เหมือนๆ กัน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ทำสิ่งเหล่านี้
    • ฟังให้มากขึ้นและพูดให้น้อยลง
    • มองข้ามความผิดพลาดและความบกพร่อง
    • ให้คุณค่ากับสิ่งที่คุณมี
    • แสดงความชื่นชม
  • มีความสุขกับสิ่งที่เรียบง่ายในชีวิต นั่งลง ทำตัวสบายๆ และนึกว่าคุณชอบนั่งมองฟ้าสีครามหรือฟังเสียงหัวเราะของพี่สาวหรือมุกตลกของพ่อขนาดไหน ลองนึกว่าชีวิตจะเป็นอย่างไรหากไม่มีสิ่งเหล่านี้
  • เลี่ยงคำนินทา อคติและทัศนคติที่ชอบตัดสิน สิ่งที่สำคัญในการใช้ชีวิตให้เต็มที่คือการที่เราใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบัน อดีตไม่อาจย้อนมา อนาคตก็ไม่แน่นอน เพราะฉะนั้นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดคือปัจจุบัน
  • ปลดปล่อยความกลัว มันคอยจ้องจะกดขี่คุณและกักขังคุณให้อยู่ในโลกใบเล็ก เมื่อพูดถึงเรื่องของหัวใจและความปรารถนาของคุณ ความกลัวก็เปรียบได้กับโรคร้าย คุณต้องใช้ช่วงเวลาให้เต็มที่และแบ่งปันความสุขอันล้นพ้นที่อยู่ภายในกับทุกสิ่งและทุกคนรอบตัวคุณ
  • กล้าท้าลุย! สิ่งนี้ไม่ได้แปลว่าคุณต้องทำอะไรบ้าคลั่ง เช่น ขึ้นไปบนตึกเอ็มไพร์สเตทในนิวยอร์กทั้งๆ ที่คุณกลัวความสูง การผจญภัยเล็กๆ น้อยๆ สามารถเป็นสิ่งที่สนุก เช่น การลองอาหารใหม่ๆ หรือการเล่นเครื่องเล่นที่น่ากลัวที่สวนสนุก คุณจะดีใจมากหากคุณได้ทำ!
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าปล่อยให้สภาวะภายในกำหนดความรู้สึกของคุณ คุณไม่สามารถควบคุมสภาวะภายในได้ตลอดแต่คุณสามารถควบคุมความหมายที่คุณให้กับสิ่งต่างๆ
  • ตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างเรื่องราวกับความจริง อย่าจมปลักอยู่กับเรื่องราวของตัวเอง
โฆษณา
  1. http://www.businessinsider.com/the-full-text-of-steve-jobs-stanford-commencement-speech-2011-10
  2. http://news.harvard.edu/gazette/story/2008/06/text-of-j-k-rowling-speech/
  3. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/basics/healthy-diets/hlv-20049477
  4. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/water/art-20044256
  5. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/fitness/basics/fitness-basics/hlv-20049447
  6. http://greatergood.berkeley.edu/images/uploads/Davis-Mindfulness_Potential_on_Education_Psych.pdf
  7. http://www.helpguide.org/harvard/benefits-of-mindfulness.htm
  8. Gunaratana, B. H. (2011). Mindfulness in Plain English: 20th Anniversary Edition (20th Anniversary Edition edition). Boston Mass.: Wisdom Publications.
  9. http://www.helpguide.org/harvard/benefits-of-mindfulness.htm
  10. http://daphne.palomar.edu/jtagg/should.htm
  11. https://www.psychologytoday.com/blog/inviting-monkey-tea/201304/stop-shoulding-yourself-death-0
  12. http://psychclassics.yorku.ca/Yerkes/Law/
  13. http://www.wsj.com/articles/SB10001424052702303836404577474451463041994
  14. https://www.psychologytoday.com/blog/confessions-techie/201101/comfort-kills
  15. http://www.nytimes.com/2011/02/12/your-money/12shortcuts.html?pagewanted=all&_r=0
  16. https://www.psychologytoday.com/blog/notes-self/201308/how-set-goals
  17. http://www.mindtools.com/page6.html
  18. https://www.ted.com/talks/brene_brown_on_vulnerability/transcript?language=en
  19. http://greatergood.berkeley.edu/topic/gratitude/definition#why_practice
  20. http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0005796705000392
  21. http://greatergood.berkeley.edu/article/item/love_honor_thank/
  22. http://greatergood.berkeley.edu/article/item/tips_for_keeping_a_gratitude_journal
  23. http://greatergood.berkeley.edu/article/item/10_steps_to_savoring_the_good_things_in_life
  24. http://www.emeraldinsight.com/doi/abs/10.1108/13527590210442258
  25. http://www.webmd.com/balance/features/give-your-body-boost-with-laughter
  26. http://greatergood.berkeley.edu/article/item/why_laughter_is_contagious
  27. Reed, R. (2013). A Lacanian Ethics of Non-Personal Responsibility. Pastoral Psychology, 62(4), 515–531.
  28. http://greatergood.berkeley.edu/article/item/materialism_gratitude_happiness
  29. http://psycnet.apa.org/psycinfo/1993-16069-001
  30. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/positive-thinking/art-20043950?pg=2
  31. http://psychcentral.com/lib/therapists-spill-12-ways-to-accept-yourself/13976/
  32. http://www.cci.health.wa.gov.au/docs/Assertmodule%202.pdf
  33. http://www.apa.org/topics/anger/control.aspx
  34. http://greatergood.berkeley.edu/article/item/why_you_should_love_thy_coworker
  35. http://greatergood.berkeley.edu/topic/forgiveness/definition#why_practice
  36. http://greatergood.berkeley.edu/article/item/nine_steps_to_forgiveness
  37. http://greatergood.berkeley.edu/article/item/how_self_compassion_beats_rumination
  38. http://greatergood.berkeley.edu/topic/altruism/definition#what_is
  39. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2851803/?report=abstract

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 18,371 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา