ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณชอบอาหารเอเชียรึเปล่า ถ้าหากจะให้เข้าถึงอาหารเอเชียจริงๆ ก็คงต้องกินด้วยตะเกียบใช่ไหมล่ะ บางคนถึงกับยืนยันเลยว่าอาหารจะรสชาติดีขึ้นจริง ๆ ถ้าได้กินด้วยตะเกียบ ว่าแต่ คุณอยากจะลองใช้ตะเกียบโดยไม่ดูเงอะงะและไม่เผลอเอาตะเกียบจิ้มอาหารเข้าปากไหมล่ะ สงสัยไหมว่าทำไมเวลาบางคนใช้ตะเกียบทีนี่ดูง่ายแสนง่าย แต่เมื่อคุณลองเองแล้ว กลับกลายเป็นว่าต้องขอส้อมแทน เอาล่ะ ถึงเวลาบอกลาส้อมไปตลอดกาลและใช้ตะเกียบให้เป็นกันแล้ว

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

จับให้ถนัดมือ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้นิ้วกลางและนิ้วโป้งหนีบตะเกียบข้างหนึ่งขึ้นมา. ข้างนี้จะเป็นข้างที่วางนิ่ง ไม่ขยับ เกร็งมือไว้เพื่อให้จับได้แน่น ตะเกียบจะพาดอยู่ระหว่างง่ามนิ้วโป้งและนิ้วชี้ และจะวางพักอยู่บนนิ้วกลาง โดยนิ้วโป้งและนิ้วชี้หนีบไว้ คล้ายเวลาเราจับปากกาแต่ต่ำกว่านิดหน่อย
    • บางคนอาจจะชอบวางตะเกียบไว้ข้าง “นิ้วนาง” และใช้นิ้วชี้ประคอง
  2. Watermark wikiHow to ใช้ตะเกียบทานอาหาร
    หยิบตะเกียบข้างที่สองขึ้นมาด้วยนิ้วชี้และนิ้วโป้ง. “นี่เป็นตะเกียบข้างที่ขยับ” วางทาบเคียงกับตะเกียบอีกข้างและใช้นิ้วโป้งประคองไว้ด้านข้าง คลายนิ้วให้อยู่ในท่าที่ไม่เกร็ง ดูให้ด้านที่เรียวกว่าทั้งสองข้างตรงกันเพื่อไม่ให้ตะเกียบไขว้กันหรือ “คีบ” อาหารไม่ได้
    • คุณอาจจะตอกปลายตะเกียบกับโต๊ะเบาๆ เพื่อจัดปลายตะเกียบให้เท่ากัน ตะเกียบที่ปลายไม่เท่ากันคีบอาหารยาก
  3. Watermark wikiHow to ใช้ตะเกียบทานอาหาร
    ดูไม่ให้ตะเกียบด้านที่ใช้คีบอาหารไขว้กันเป็นตัว “กากบาท” เพราะจะทำให้คีบอาหารได้ยาก มีแค่ตะเกียบด้านบนเท่านั้นที่ขยับ
    • ลองเลื่อนมือขึ้นลงตามตะเกียบในท่าเดิม เพื่อทดลองระดับในการจับตะเกียบ บางคนรู้สึกว่าจับใกล้ด้านบนของตะเกียบง่ายกว่าจับด้านปลาย ทั้งนี้ก็แล้วแต่ถนัดเลย
  4. Watermark wikiHow to ใช้ตะเกียบทานอาหาร
    วิธีที่ง่ายที่สุดเวลาคีบ คือให้ยกตะเกียบทำมุม 45 องศากับอาหาร เมื่อคีบได้แน่นแล้ว ยกตะเกียบขึ้น ถ้ารู้สึกว่าอาหารจะหลุดให้วางลงและลองคีบดูใหม่
    • พอคีบอาหารชนิดหนึ่งคล่องแล้ว เปลี่ยนไปลองอาหารที่มีขนาดและพื้นผิวต่างไป พอคุณรู้สึกมั่นใจมากๆ ให้ฝึกกับก๋วยเตี๋ยวดู
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

มารยาทในการใช้ตะเกียบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to ใช้ตะเกียบทานอาหาร
    คนเอเชียส่วนใหญ่แล้วจะรับประทานอาหารร่วมกัน โดยมีอาหารจานใหญ่อยู่ตรงกลางไว้แบ่งกันทาน (ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหรือที่ร้านอาหาร) ฉะนั้น หากคุณใช้ตะเกียบที่เพิ่งเอาเข้าปากของคุณคีบอาหารจานตรงกลางนั้นล่ะก็ ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง โดยปกติแล้ว วิธีการรับประทานอาหารแบบที่มีจานแบ่งตรงกลางมีสองวิธีด้วยกันคือ
    • ใช้ตะเกียบกลาง ซึ่งเป็นตะเกียบที่ไม่ใช้ตักข้าวหรืออาหารของใครคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ แต่จะเอาไว้คีบอาหารจานกลางเท่านั้น
    • หากไม่มีตะเกียบกลาง ก็ให้ใช้ตะเกียบของคุณเอง โดยใช้ปลายอีกด้านหนึ่ง (ด้านกว้าง) ที่ไม่โดนปากของคุณ หวังว่าคุณจะไม่ได้เอาด้านนั้นจิ้มเข้าปากเคี้ยวเล่นซะก่อน
  2. Watermark wikiHow to ใช้ตะเกียบทานอาหาร
    นอกจากวิธีการใช้ตะเกียบคีบอาหารที่ไม่คุ้นเคยแล้ว ยังมีกฎเล็กๆ น้อยๆ เวลาที่คุณถือตะเกียบบนโต๊ะอาหารโดยที่ยังไม่ได้ใช้คีบอาหาร ทั้งนี้ แต่ละสังคมมีธรรมเนียมการใช้ตะเกียบต่างกันเล็กน้อย ต่อไปนี้เป็นกฎทั่ว ๆ ไปที่คุณควรรู้ :
    • อย่าปักตะเกียบชี้ขึ้นฟ้าอาหารคุณ จะเป็นลางไม่ดีเพราะดูเหมือนธูปในงานศพ
    • อย่าจิ้มอาหารด้วยปลายตะเกียบ เพราะจะดูไม่สุภาพ
    • อย่าใช้ตะเกียบคีบรับส่งอาหารกัน ถือเป็นพฤติกรรมที่ไม่สุภาพและไม่เป็นมงคลเลยเนื่องจากสื่อถึงงานศพ
    • อย่าเอาตะเกียบไขว้กัน ถ้ากินเสร็จแล้วให้วางลงข้างซ้ายของจาน
    • อย่าใช้ตะเกียบชี้คน โดยทั่วไปการใช้นิ้วชี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำในวัฒนธรรมเอเชีย กับตะเกียบก็เช่นเดียวกัน
      • หน้านี้จะยาวเกินไปถ้าไล่กฎไปทุกข้อ พวกนี้คือกฎพื้นฐาน
  3. Watermark wikiHow to ใช้ตะเกียบทานอาหาร
    ใช้ตะเกียบพุ้ยข้าวได้เลย ถ้าเกิดมีชามข้าวกับแค่ตะเกียบไม้ไผ่สองชิ้นวางอยู่ตรงหน้าคุณ คุณอาจคิดว่าจะตักข้าวทานอย่างไร อย่าตระหนกไป ให้คุณยกชามข้าวขึ้นมาใกล้ปากและพุ้ยข้าวเข้าปาก นี่เป็นธรรมเนียมการทานข้าวด้วยตะเกียบ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยอมรับได้เป็นอย่างดีและค่อนข้างปกติเสียด้วยซ้ำ คุณอาจจะดูประหม่าไปสักหน่อยในครั้งแรกๆ แต่เชื่อเถอะว่าเป็นสิ่งที่ทำให้คุณดูดีทีเดียวเพราะคุณรู้จักวิธีการพุ้ยข้าวอย่างคนเอเชีย
    • คุณอาจรู้สึกว่าตัวเองเหมือนอสูรที่กินข้าวอยู่กับเบลล์รึเปล่า แต่นี่ล่ะคือวิธีทานข้าวด้วยตะเกียบอย่างคนเอเชียทั่วไป ระวังอย่าโกยข้าวเข้าปากเหมือนมนุษย์ถ้ำล่ะ แต่ให้ยกถ้วยข้าวขึ้นใกล้ ๆ ปาก ข้าวจะได้ไม่หล่นร่วงจากชามซะก่อน
      • ประเทศญี่ปุ่นจะเข้มงวดเรื่องมารยาทบนโต๊ะอาหารกว่านี้สักหน่อย แต่ถ้าคุณอยู่ในเมืองจีนหรือเวียดนาม คุณอาจจะรอดตัวไปได้แน่ [1] [2]
    โฆษณา

คำแนะนำ

  • ในขณะที่การจับตรงปลายด้านเรียวอาจจะดูง่ายกว่าในตอนแรก การจับขึ้นไปอีกจะทำให้ตะเกียบขนานกันมากขึ้น ซึ่งช่วยให้พุ้ยอาหาร (อย่างข้าว) จากด้านล่างได้ และยังทำให้คีบอาหารชิ้นโตขึ้นได้อีกด้วย
  • เวลาคีบอาหาร คีบให้แน่นพอดี ๆ แค่ไม่ให้อาหารหล่นจากตะเกียบ เพราะหากคีบแน่นเกินไปจะทำให้ตะเกียบไขว้กันตรงปลายด้านเรียวและอาจจะทำให้อาหารกระเด็นข้ามโต๊ะไปได้ เว้นแต่ตะเกียบจะปลายตรงกันดี
  • เมื่อจับตะเกียบ คนที่ไม่ได้ฝึกมากับคนที่ฝึกมาจะต่างกันอย่างสิ้นเชิง คนที่ฝึกมาล่ะก็จะดูมีวัฒนธรรมมากทีเดียว คำแนะนำคือ อย่าจับตะเกียบใกล้ปลายด้านเรียวมากเกินไป ยิ่งจับสูงยิ่งดี และอย่าใช้ตะเกียบจิ้มอาหารเพราะถือว่าหยาบคายและไม่ให้เกียรติพ่อครัว
  • หากคุณยังฝึกจับตะเกียบให้เรียงกันหรือฝึกว่าจะต้องคีบให้แน่นแค่ไหนถึงจะพอดี ให้ลองคีบอาหารที่เป็นแผ่นหรือหั่นมาบางๆ เหมือนเนื้อแล่บางหรือแผ่นชีสแทนอาหารที่หั่นเป็นลูกเต๋าดูสิ
  • เริ่มต้นจากการจับตะเกียบตรงกลางหรือใกล้ปลายตอนที่ฝึกให้ชินกับการขยับและการจัดปลายให้เท่ากัน พอถนัดมากขึ้นและมั่นใจขึ้น ให้ลองเลื่อนขึ้นไปจับทางด้านกว้าง
  • ตะเกียบไม้หรือไม้ไผ่ใช้ง่ายที่สุดเพราะพื้นผิวแบบไม้จะเกาะติดดี ไม่ลื่น ตะเกียบพลาสติกใช้ยากกว่า ส่วนตะเกียบโลหะที่คนเกาหลีชอบใช้จะยากที่สุด ใช้แบบหนึ่งให้เก่งก่อนแล้วค่อยขยับไปใช้แบบถัดไป รับรองว่าคราวหน้าที่คุณไปกินอาหารนอกบ้าน เจ้าภาพจะต้องประทับใจอย่างแน่นอน
  • นี่อาจเป็นวิธีที่ถูกต้องในการจับตะเกียบ อย่างไรก็ดี แต่ท้ายที่สุดแล้ว ถ้าคุณคีบอาหารเข้าปากเองได้เมื่อไหร่ นั่นแปลว่าคุณใช้ตะเกียบเป็นแล้วล่ะ
  • เอาตะเกียบกลับไปฝึกที่บ้าน ทำตามขั้นตอนข้างต้น ใช้คีบถั่ว ปากกาหรือชิ้นปลา ลองใช้ตะเกียบกินอาหารเย็นดู
  • จงอดทนสักหน่อยเพราะกว่าจะใช้ได้อย่างถูกต้องนั้นอาจต้องใช้เวลา ถ้าคุณยังรู้สึกลำบากมากเวลาใช้ตะเกียบคีบอาหาร ขอช้อนส้อมใช้ไปก่อนได้ไม่ว่ากัน

ข้อควรระวัง

  • มารยาทจีนบอกว่าคุณอาจยกถ้วยข้าวใกล้ปากด้วยมือหนึ่งและใช้ตะเกียบพุ้ยข้าวเข้าปากได้ อย่างไรก็ตาม มารยาทเกาหลีบอกว่านี่เป็นมารยาทที่ไม่ดีเลย ควรรู้ว่าคนที่คุณกินข้าวด้วยเป็นใครและมีธรรมเนียมอย่างไร
  • อย่าเอาตะเกียบเคาะถ้วยจาน นี่เป็นสิ่งที่ขอทานในสมัยโบราณของจีนทำ
  • หลีกเลี่ยงการคีบอาหารส่งให้คนอื่น เหมือนคำเตือนข้างต้น นี่ดูคล้ายธรรมเนียมปฏิบัติในงานศพของคนญี่ปุ่นที่คนในครอบครัวใช้ตะเกียบคีบกระดูกส่ง ดังนั้นเมื่อส่งอาหารควรวางลงบนจานกลางโดยใช้ช้อนกลางแทน ถ้าไม่มีให้ ให้ใช้ตะเกียบด้านที่ไม่ได้เข้าปากคีบอาหารแล้วส่งต่อจานให้คนอื่น
  • อย่าใช้ตะเกียบแคะฟัน แม้ว่าจะไม่มีไม้จิ้มฟันให้
  • เลือกก่อนว่าจะคีบชิ้นไหนก่อน การเขี่ยอาหารในจานถือว่าไม่สุภาพมากๆ
  • การใช้ตะเกียบไม่ง่ายดังนั้นจงอย่าถอดใจตอนที่ฝึกทำ

สิ่งที่ต้องใช้

  • ตะเกียบ
  • อาหาร

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 46,009 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา