ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้วยอนามัยกักเก็บของเหลวประจำเดือนแทนการดูดซับ คุณสามารถทำความสะอาดมันและนำกลับมาใช้ใหม่ซึ่งหมายความว่าคุณไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมันเป็นเวลานานๆ คนส่วนใหญ่คิดว่ามันรั่วซึมน้อยกว่าผ้าอนามัยแบบสอดและสวมใส่สบายกว่า สำหรับการใช้งาน คุณจะต้องสอดมันเข้าไปในช่องคลอดและบิดมันเพื่อให้มันอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง จากนั้นคุณสามารถปล่อยมันทิ้งไว้ได้นานถึง 12 ชั่วโมงก่อนที่จะนำออกมาและเททิ้ง คุณอาจจะต้องใช้เวลาและการฝึกฝนเพื่อใช้มันให้ชิน แต่ถ้วยอนามัยเป็นวิธีที่ปลอดภัยสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในการจัดการกับประจำเดือนของคุณ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

การใส่ถ้วยอนามัย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้วยอนามัยกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น ฉะนั้นคุณน่าจะหาซื้อมันได้ตามร้านขายยาและห้างสรรพสินค้า ถ้วยอนามัยบางชิ้นมีขนาดเล็กหรือใหญ่กว่าเล็กน้อย ฉะนั้นคุณควรอ่านรีวิวก่อนตัดสินใจเลือก [1]
    • เช่น คุณสามารถลอง Diva Cup Softcup หรือ Lunette
    • ถ้วยอนามัยราคา 900-1,200 บาท แต่คุณสามารถใช้มันซ้ำๆ ได้ [2] อย่างไรก็ตาม คุณสามารถหาที่ราคาถูกกว่านั้นได้ประมาณ 210-300 บาท ฉะนั้นลองหาไปเรื่อยๆ ถ้าคุณต้องการลองใช้ [3]
    • ถ้วยอนามัยมักจะทำจากซิลิโคนหรือยาง ถ้าคุณมีอาการแพ้น้ำยางก็ควรเลือกถ้วยที่ทำจากซิลิโคนทั้งหมด [4]
  2. คำแนะนำของแต่ละยี่ห้ออาจจะแตกต่างกัน ฉะนั้นคุณจึงควรอ่านสิ่งที่มาพร้อมกับถ้วยอนามัยเสมอ วิธีนี้คุณจะรู้ว่าควรทำอย่างไรกับถ้วยอนามัย
  3. คุณควรล้างมือทุกครั้งที่คุณใช้ผลิตภัณฑ์บริเวณช่องคลอดเพราะคุณคงไม่อยากติดเชื้อแบคทีเรีย ใช้น้ำอุ่นและสบู่โดยขัดถูมืออย่างน้อย 20 วินาทีก่อนล้างน้ำ [5]

    เคล็ดลับ: คุณสามารถร้องเพลง "Happy Birthday" อย่างช้าๆ เพื่อกะเวลา 20 วินาที

  4. ล้างถ้วยอนามัยด้วยสบู่อ่อนๆ ก่อนที่จะใช้ครั้งแรก. ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะบอกให้คุณล้างถ้วยอนามัยก่อนใส่ในร่างกาย เลือกสบู่ที่ไม่มีน้ำหอมสำหรับผิวบอบบาง ถูถ้วยทั้งด้านในและด้านนอกด้วยสบู่และน้ำอุ่น จากนั้นจึงล้างสบู่ออกให้หมด [6]
  5. บางคนชอบทำท่าสควอทในขณะที่คนอื่นๆ ชอบยกขาข้างหนึ่งขึ้น คุณสามารถนั่งชักโครกและแยกขาออกจากกันได้ [7]
    • ใช้เวลาเพื่อใส่ถ้วยอนามัยเป็นครั้งแรก คุณอาจจะต้องใช้เวลาทดลองและทำผิดๆ ถูกๆ คุณสามารถทำตอนอาบน้ำอุ่นได้เพื่อช่วยให้คุณผ่อนคลาย [8]
  6. คุณสามารถลองพับเป็นตัว c โดยบีบปากถ้วยอนามัยเข้าด้วยกัน จากนั้นจึงพับปากถ้วยอนามัยเป็นครึ่ง คุณสามารถลองพับเป็นเลข 7 ซึ่งคล้ายกันแต่ทำขอบด้านหนึ่งให้สูงกว่าซึ่งทำให้ถ้วยแคบลง อีกทางเลือกหนึ่งคือการหนีบ ถือถ้วยอนามัยไว้ระหว่างนิ้วโป้งกับนิ้วกลาง จากนั้นจึงกดขอบด้านหนึ่งลงโดยใช้นิ้วชี้กดลงไปที่กึ่งกลางถ้วยอนามัย [9]
    • คุณไม่สามารถใส่มันโดยไม่พับมันได้เพราะแรงดูดจะต้านคุณ ลองใช้การพับแบบต่างๆ และดูว่าแบบไหนดีที่สุดสำหรับคุณ
    • คุณยังสามารถทำให้ถ้วยอนามัยเปียกเล็กน้อยเพื่อให้เลื่อนเข้าได้ง่ายขึ้น
    • ก้านต้องหันลงและถ้วยอนามัยตั้งขึ้น
  7. ผ่อนคลายกล้ามเนื้อให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้. หายใจเข้าลึกๆ ถ้าคุณประหม่า คุณจะเกร็งและจะทำให้สอดได้ยากขึ้น ลองเกร็งกล้ามเนื้อช่องคลอดสักครู่แล้วผ่อนคลายมัน [10]
  8. ใช้มืออีกข้างแยกแคมออกจากกัน ค่อยๆ ดันถ้วยอนามัยที่พับเข้าไปในช่องคลอดโดยขยับไปข้างหน้ามากกว่าข้างหลัง คลายถ้วยอนามัยที่พับไว้และปล่อยให้มันเคลื่อนเข้าที่ [11]
    • โดยทั่วไป ถ้วยอนามัยจะไม่ขึ้นไปสูงเท่ากับผ้าอนามัยแบบสอด แต่คุณสามารถดันให้สูงขึ้นได้ถ้าต้องการ ถ้วยอนามัยบางชิ้นถูกออกแบบมาให้ใส่สูงขึ้น ฉะนั้นคุณควรอ่านคำแนะนำของเสมอ
    • ถ้ารู้สึกไม่สบายตัวก็ให้ลองใส่เข้าไปอีกครั้งเพื่อดูว่าคุณรู้สึกสบายขึ้นหรือไม่ [12]
  9. จับฐานถ้วยอนามัยด้านข้าง (ไม่ใช่ก้าน) แล้วหมุนอย่างน้อย 1 ครั้ง สิ่งนี้จะช่วยให้แน่ใจว่าด้านข้างคลายออกมาอย่างสมบูรณ์เพื่อแนบสนิท [13]
    • คุณอาจจะได้ยินหรือรู้สึกว่า "ป๊อป" ซึ่งเป็นสัญญาณว่าถ้วยอนามัยแนบสนิท ถ้าคุณไม่แน่ใจก็ให้จับและสัมผัสรอบฐานถ้วย มันควรจะมีลักษณะกลมหรือเป็นรูปไข่โดยขึ้นอยู่กับรูปร่างของคุณ
    • ถ้ามันยังไม่เปิดก็ให้ดึงก้านลงมาเบาๆ โดยไม่ดึงถ้วยอนามัยออกมา
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

การดึงถ้วยอนามัยออกมา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ส่วนใหญ่คุณจะสามารถปล่อยถ้วยอนามัยไว้เป็นเวลา 12 ชั่วโมงแปลว่าคุณต้องล้างมันในตอนเช้าและกลางคืนเท่านั้นซึ่งคุณสามารถทำได้ในบ้านของคุณ [14]
    • ถ้าประจำเดือนของคุณมามากเป็นพิเศษ คุณอาจจะต้องล้างมันบ่อยขึ้น
  2. แม้ผู้หญิงบางคนต้องยืนเพื่อดึงมันออกมาแต่คุณควรลองนั่งบนโถส้วม มันอาจจะเลอะเทอะถ้าคุณยังไม่มีเทคนิค ไม่ต้องกังวล เมื่อคุณหาวิธีที่ดีที่สุดเพื่อดึงถ้วยอนามัยออกมาแล้วมันจะไม่เลอะเทอะเลย [15]
  3. คุณไม่สามารถดึงถ้วยอนามัยออกมาได้เพราะแรงดูดจะต้านคุณ ยึดฐานของถ้วยอนามัยเหนือก้านไว้และบีบด้านข้างเข้าด้วยกัน วิธีนี้น่าจะทำให้ผนึกคลายตัวเพื่อดึงถ้วยอนามัยออกมา คุณต้องดึงตรงๆ [16]
    • อย่ากังวลถ้าคุณไม่สามารถดึงถ้วยอนามัยออกมาได้ในครั้งแรกได้ ถ้วยอนามัยไม่สามารถ"หลุด"เข้าไปในช่องคลอดของคุณ ช่องคลอดของคุณไม่เป็นแบบนั้น ใช้เวลาสักครู่ ผ่อนคลาย และลองอีกครั้ง

    เคล็ดลับ: ถ้าวิธีนั้นไม่ทำให้ผนึกคลายตัวก็ให้ลองขยับนิ้วหนึ่งนิ้วเหนือขอบถ้วย [17]

  4. ถือให้ตรงเมื่อคุณเคลื่อนมาที่ส้วมและคว่ำเพื่อเททิ้ง ถ้าคุณไม่สามารถล้างมันได้ คุณสามารถเช็ดออกด้วยกระดาษชำระและใส่กลับเข้าไปใหม่ [18]
    • ระวังอย่าให้ถ้วยอนามัยหล่นในส้วม ถ้าคุณทำหล่นก็ให้ล้างมันให้สะอาดก่อนนำกลับมาใส่ใหม่ [19]
  5. ถ้าเป็นไปได้ก็ให้ล้างถ้วยอนามัยในอ่าง จากนั้นจึงถูมันด้วยสบู่และน้ำอุ่นโดยล้างสบู่ออกให้หมด จากนั้นจึงสามารถใส่ถ้วยอนามัยกลับเข้าไปใหม่ [20]
    • คุณควรใช้สบู่อ่อนๆ ที่ไม่มีน้ำหอม
    • ถ้าคุณมีถ้วยอนามัยแบบที่ใช้แล้วทิ้งก็ให้ทิ้งแล้วใส่อันใหม่
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

การทำความสะอาดถ้วยอนามัยและการแก้ไขปัญหา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ฆ่าเชื้อถ้วยอนามัยระหว่างมีประจำเดือนโดยการต้ม. ล้างถ้วยอนามัยด้วยสบู่และน้ำ จากนั้นจึงนำน้ำไปต้มในหม้อเล็กๆ ใส่ถ้วยอนามัยไว้ในหม้อ และต้มประมาณ 5-7 นาทีเพื่อฆ่าเชื้อ คุณอาจจะต้องการแยกหม้อเพื่อจุดประสงค์นี้เท่านั้น [21]
    • ถ้าถ้วยอนามัยเปื้อนก็ให้ใช้แอลกอฮอล์ 70% ถู
    • คุณสามารถทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเช่นเดียวกับที่คุณใช้กับขวดนม คุณสามารถหาน้ำยานี้ได้จากร้านขายขวดนม [22]
    • คุณควรอ่านคำแนะนำเกี่ยวกับการฆ่าเชื้อถ้วยอนามัยเสมอเพราะแต่ละยี่ห้ออาจจะแตกต่างกัน
  2. สำหรับบางคน ก้านถ้วยอนามัยยาวเกินไปและทำให้เกิดการระคายเคือง ถ้ามันเป็นแบบนั้น คุณสามารถตัดก้านถ้วยอนามัยออกบ้างซึ่งจะทำให้สบายขึ้น [23]

    เคล็ดลับ: คุณสามารถซื้อถ้วยอนามัยที่มีก้านสั้นกว่าได้

  3. ถ้วยอนามัยไม่ได้เหมาะกับทุกคน นั่นคือเหตุผลที่มีถ้วยอนามัยที่แตกต่างกัน ถ้าคุณรู้สึกว่าใส่ไม่สบายก็ให้ลองใช้ตัวอื่นดูเพื่อดูว่าแบบไหนดีกว่ากัน [24]
    • เช่น คุณสามารถหาถ้วยอนามัยที่เล็กกว่า ก้านสั้นกว่า หรือออกแบบมาเพื่อผิวที่บอบบางกว่า
    • ถ้วยอนามัยมีรูปร่างแตกต่างกัน เช่น บางอันมีมุมมากกว่า
  4. หาถ้วยอนามัยที่ออกแบบมาเพื่อวันมามากถ้ามันรั่วซึม. แม้อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้แต่ถ้วยอนามัยไม่ควรรั่วซึมตราบใดที่คุณปิดผนึกแน่น อย่างไรก็ตาม ถ้าถ้วยอนามัยรั่วซึมอย่างต่อเนื่องและคุณไม่สามารถหรือไม่อยากตรวจดูมันบ่อยกว่านี้ก็ให้ลองใช้ถ้วยที่ออกแบบมาเพื่อวันมามาก มันจะกักเก็บของเหลวมากขึ้นเพื่อรั่วซึมน้อยลง [25]
  5. ยืดเยื่อพรหมจารีและช่องคลอดของคุณถ้าคุณพบว่าบริเวณนั้นแน่นเกินไป. ถ้าคุณไม่เคยมีเพศสัมพันธ์หรือใช้ผ้าอนามัยแบบสอด คุณอาจจะพบว่าช่องคลอดและเยื่อพรหมจารีไม่ยืดอย่างง่ายดายเพื่อรองรับถ้วยอนามัย ถ้าเป็นแบบนั้นก็ให้ลองยืดบริเวณนั้นโดยใช้นิ้วมือ เริ่มด้วย 1-2 นิ้วและเพิ่มเป็น 3 นิ้วตามที่ร่างกายของคุณจะรับได้ คุณสามารถใช้ดิลโดขนาดเล็กได้เช่นกัน อย่าทำเร็วเกินไป ถ้ามันเจ็บก็ให้หยุดและผ่อนคลายเพื่อไม่ให้เจ็บ [26]
    • จำไว้ว่าเยื่อพรหมจารีไม่ได้ปกปิดช่องคลอดยกเว้นในกรณีที่หายากมากซึ่งควรได้รับการแก้ไขด้วยการผ่าตัด แต่มันเป็นเยื่อที่ปกคลุมรอบๆ ช่องคลอดซึ่งน่าจะยืดได้ถ้ามันแน่นเกินไป เยื่อพรหมจารีไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ว่าคุณบริสุทธิ์หรือไม่ แม้ว่ามันจะยืดออกไปตามกาลเวลา แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่คุณเจาะทะลุและอาจจะมีรูปร่างหรือขนาดแตกต่างกันไปตามแต่ละคน [27]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เก็บถ้วยอนามัยในภาชนะที่ระบายอากาศและทำความสะอาดง่าย
  • ถ้าคุณรู้สึกไม่สบายใจกับแนวคิดของผ้าอนามัยแบบสอดหรือถ้วยอนามัยแต่ยังอยากใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับประจำเดือนที่สามารถใช้ซ้ำก็ให้ใช้ผ้าอนามัยแบบผ้า
  • ถ้วยอนามัยทำงานโดยกักเก็บเลือดแทนที่จะดูดซับเหมือนผ้าอนามัยแบบสอด แปลว่าคุณสามารถใส่ก่อนที่จะมีประจำเดือนได้
  • ถ้าคุณไม่อยากใช้ถ้วยอนามัยหรือผ้าอนามัย แต่อยากใช้ผ้าอนามัยแบบสอดที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ซึ่งไม่ก่อให้เกิดกลุ่มอาการท็อกซิกช็อกก็ให้ลองใช้ผ้าอนามัยแบบสอดฟองน้ำ
โฆษณา

คำเตือน

  • ในวันที่มามาก ถ้วยอนามัยที่เต็มอาจจะรั่วซึม การสวมแผ่นอนามัยรองรับและการล้างถ้วยอนามัยของคุณบ่อยขึ้นในวันเหล่านี้สามารถช่วยได้
  • ถ้วยอนามัยไม่ใช่การคุมกำเนิดและคนส่วนใหญ่ควรจะดึงออกก่อนมีเพศสัมพันธ์ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถใช้ถ้วยอ่อนแบบใช้แล้วทิ้งระหว่างมีเพศสัมพันธ์พร้อมกับการคุมกำเนิดได้
โฆษณา
  1. https://www.plannedparenthood.org/learn/health-and-wellness/menstruation/how-do-i-use-tampons-pads-and-menstrual-cups
  2. https://www.shape.com/lifestyle/mind-and-body/how-to-use-menstrual-cup
  3. https://www.plannedparenthood.org/learn/health-and-wellness/menstruation/how-do-i-use-tampons-pads-and-menstrual-cups
  4. https://www.teenvogue.com/story/menstrual-cups-everything-you-need-to-know
  5. https://health.clevelandclinic.org/tired-of-tampons-here-are-pros-and-cons-of-menstrual-cups/
  6. https://www.shape.com/lifestyle/mind-and-body/how-to-use-menstrual-cup
  7. https://www.shape.com/lifestyle/mind-and-body/how-to-use-menstrual-cup
  8. https://www.plannedparenthood.org/learn/health-and-wellness/menstruation/how-do-i-use-tampons-pads-and-menstrual-cups
  9. https://www.plannedparenthood.org/learn/health-and-wellness/menstruation/how-do-i-use-tampons-pads-and-menstrual-cups
  10. https://www.teenvogue.com/story/menstrual-cups-everything-you-need-to-know
  11. https://www.plannedparenthood.org/learn/health-and-wellness/menstruation/how-do-i-use-tampons-pads-and-menstrual-cups
  12. https://www.shape.com/lifestyle/mind-and-body/how-to-use-menstrual-cup
  13. https://health.clevelandclinic.org/tired-of-tampons-here-are-pros-and-cons-of-menstrual-cups/
  14. https://www.shape.com/lifestyle/mind-and-body/how-to-use-menstrual-cup
  15. https://www.cosmopolitan.com/sex-love/a13126155/best-menstrual-cups/
  16. https://www.cosmopolitan.com/sex-love/a13126155/best-menstrual-cups/
  17. http://sexted.org/faq/all-about-the-hymen/
  18. http://sexted.org/faq/all-about-the-hymen/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 8,595 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา