PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

แม้ว่าจิตสำนึกจะเป็นสิ่งมหัศจรรย์ แต่จิตใต้สำนึกนั้นมีอำนาจยิ่งกว่า! ในขณะที่จิตสำนึกของคุณประมวลตัวเลือกหรือการกระทำหนึ่งๆ จิตใต้สำนึกของคุณก็จะประมวลตัวเลือกและการกระทำที่คุณไม่รู้ตัวไปพร้อมๆ กัน และเมื่อจิตใต้สำนึกถูกกระตุ้นแล้ว เป้าหมาย ตัวเลือก และการกระทำที่อยู่ในจิตใต้สำนึกจะยังคงอยู่จนกว่าจะได้รับการตอบสนอง งานวิจัยชี้ว่าเราไม่สามารถเตรียมพร้อมจิตใต้สำนึกของเราไว้ล่วงหน้าได้ [1] แต่ก็มีกิจกรรมและการฝึกบางรูปแบบที่อาจช่วยให้คุณเข้าถึงหรือเพิ่มการตระหนักรู้ในจิตใต้สำนึกของตัวเองได้มากขึ้น [2]

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

มองสิ่งต่างๆ ให้เป็นบวก

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. แทนที่การพูดเชิงลบกับตัวเองด้วยคำพูดยืนยันตนเอง การเปลี่ยนภาษาจะเปลี่ยนความคิดที่มีผลต่อพฤติกรรมและเอาชนะการกระทำและความคิดที่มาจากจิตใต้สำนึกที่เป็นลบได้ แทนที่ “ฉันทำไม่ได้หรอก!” ด้วย “ฉันทำได้น่า!” แทนที่จะพูดว่า “ฉันล้มเหลวทุกเรื่องเลย!” ให้เปลี่ยนมาตะโกนว่า “ฉันจะทำให้สำเร็จ!” ถ้าคุณจับได้ว่าตัวเองย้อนกลับไปพูดเชิงลบกับตัวเองอีกแล้ว ให้หยุดและหายใจลึกๆ พิจารณาว่าทำไมคุณถึงบอกตัวเองว่าคุณจะทำไม่สำเร็จ ระบุปัจจัยที่ทำให้คุณคิดลบ จำไว้ว่าปัจจัยเหล่านี้เป็นสิ่งเร้าและกลับไปพยายามใช้คำพูดยืนยันตัวเองอีกครั้ง [3]
    • การเปลี่ยนภาษาไม่ได้เกิดขึ้นภายในชั่วข้ามคืน มันต้องใช้เวลาและความสม่ำเสมอ ขอให้มองสิ่งต่างๆ ในแง่บวกเอาไว้ขณะที่คุณกำลังพยายามกำจัดความคาดหวังและพฤติกรรมที่มาจากจิตใต้สำนึกที่เป็นลบ
  2. เมื่อมีความวิตกกังวลหรือความเครียดเกิดขึ้น ให้ระงับสติตัวเองและควบคุมความคิดเชิงลบด้วยการพูดถ้อยคำที่คุณเรียบเรียงขึ้นมาเองซ้ำไปซ้ำมา การใช้ถ้อยคำเหล่านี้อยู่เสมอจะช่วยระงับความคิดและการกระทำเชิงลบที่เข้ามาอยู่ในจิตใต้สำนึกของคุณ ระบุให้ได้ว่าความคิดเชิงลบของคุณคืออะไรและยอมรับว่าการตัดสินตัวเองของคุณนั้นไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักของเหตุและผล คิดถ้อยคำที่ช่วยกล่อมเกลาจิตใจด้วยการหาคำพูดที่ตรงข้ามกับคำตัดสินตัวเอง เรียบเรียงถ้อยคำที่สื่อความเดียวกันขึ้นมาสองชุดไว้ใช้สลับกัน เลือกส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกายไว้เป็นศูนย์รวมความคิดเชิงบวก อาจจะเป็นหัวใจหรือหน้าท้อง วางมือลงบนจุดนั้นขณะที่คุณพูดถ้อยคำที่คุณคิดซ้ำไปซ้ำมา จดจ่อกับสิ่งที่กำลังทำและเติมความมั่นใจลงไปในร่างกายส่วนนั้น [4]
    • ถ้าคุณรู้สึกว่าคุณไม่มีวันดีพอ คำพูดของคุณก็จะเป็น “ฉันดีพอ” “ฉันมีค่า” และ “ฉันมีค่าคู่ควรกับสิ่งนี้”
  3. การจินตนาการภาพหรือการฝึกซ้อมการบรรลุเป้าหมายในใจเป็นวิธีที่เชื่อมโยงเข้าหาและฝึกจิตสำนึกได้อย่างน่าอัศจรรย์ เริ่มจากการฝึกจินตนาการภาพที่ทำให้คุณต้องใช้ประสาทสัมผัสแค่ 1 - 2 ส่วนก่อน พยายามนึกภาพภาพถ่ายหรือสิ่งของที่คุ้นเคยทุกรายละเอียด พอคุณเก่งขึ้นแล้ว ให้พยายามนึกภาพหนังหรือความทรงจำทั้งฉาก สังเกตเสียง กลิ่น สี พื้นผิว และรสชาติ เมื่อคุณมีความสามารถในการจดจ่อและบรรยายรายละเอียดได้อย่างถูกต้องแล้ว ให้เริ่มนึกภาพตัวเองบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ คุณต้องนึกภาพตัวเองตามความเป็นจริงให้ได้มากที่สุด อย่าจมจ่อมอยู่กับสิ่งที่เป็นลบหรือนึกภาพตัวเองล้มเหลว แต่ให้นึกภาพตัวเองประสบความสำเร็จและทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้! เช่น ถ้าคุณนึกภาพตัวเองกำลังกล่าวสุนทรพจน์ ให้นึกภาพตัวเองหายจากการพูดติดอ่างหรือการพูดข้ามประโยคแทนที่จะคิดภาพฝูงชนลุกขึ้นยืนโห่ร้อง [5]
    • นึกภาพเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง เจาะจงไปว่าสิ่งที่คุณต้องการทำให้สำเร็จคืออะไร ระบุสถานที่ เวลา และสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบความสำเร็จของคุณ พยายามนึกรายละเอียดออกมาให้ได้มากที่สุด!
    • อย่านึกภาพว่าตัวเองเป็นยอดมนุษย์ แต่ให้จินตนาการภาพตัวเองในแบบที่เป็นคุณจริงๆ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ฝึกเจริญสติ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. การทำสมาธิ จะช่วยให้คุณจดจ่อและควบคุมจิตสำนึกตัวเองได้ ก่อนทำสมาธิ ให้กำหนดระยะเวลาที่จะทำสมาธิ ถ้าคุณเพิ่งเริ่มฝึก พยายามทำสมาธิ 5 นาที เปลี่ยนไปใส่เสื้อผ้าที่สบาย หยิบอุปกรณ์จับเวลาและเดินไปที่ที่มีสภาพแวดล้อมเงียบๆ สงบๆ เลือกสถานที่ที่ไม่มีของวางระเกะระกะหรือสิ่งที่กวนสมาธิ นั่งข้างนอก บนพื้นในอพาร์ตเมนต์ หรือตรงระเบียงหลังบ้าน ยืดเส้นยืดสายก่อนนั่งในท่ายืดขาสบายๆ แตะนิ้วโป้งเท้า คลายความตึงจากคอและผ่อนคลายหัวไหล่ [6]
  2. หาที่นั่งที่มั่นคง นั่งบนเก้าอี้พนักตรงแล้วให้เท้าวางบนพื้นอย่างมั่นคง หรือนั่งขัดสมาธิบนหมอนที่วางอยู่บนพื้นอีกที ยืดหลังตรง แล้วกระดูกสันหลังที่โค้งตามธรรมชาติจะปรากฏ วางแขนท่อนบนขนานไปกับด้านข้างของลำตัว ศอกของคุณจะงอเล็กน้อยแล้วมือก็จะอยู่บนหัวเข่าอย่างเบาๆ พอดี ก้มคางเล็กน้อยแล้วมองไปที่พื้น อยู่ในท่านี้ จดจ่ออยู่กับร่างกายของตัวเองก่อนที่จะเข้าสู่ลำดับถัดไป [7]
  3. กำหนดจิตไปที่ลมหายใจและความคิดที่ผ่านเข้ามา. หลับตาและเริ่มกำหนดจิตไปที่ลมหายใจ จดจ่อไปที่การหายใจเข้าและหายใจออก ขณะที่คุณผ่อนคลาย จิตของคุณจะล่องลอย ความคิดจะหลั่งไหลจากจิตใต้สำนึกมาสู่จิตสำนึก สังเกตความคิดเหล่านี้ แต่อย่าไปตัดสินมัน ปล่อยให้ความคิดเหล่านี้ผ่านเข้ามา เมื่อคุณรู้ตัวว่าจิตกำลังล่องลอย ให้กำหนดจิตกลับมาที่ลมหายใจอีกครั้ง สักพักจิตของคุณก็จะล่องลอยอีก แต่ให้กลับมาที่ลมหายใจเสมอ ทำซ้ำไปจนกว่าจะหมดช่วงการนั่งสมาธิ [8]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

ฝึกการเขียนแบบกระแสสำนึก

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. หยิบดินสอหรือปากกาและกระดาษมา 1 แผ่น หาเครื่องจับเวลา จะเป็นเครื่องจับเวลาต้มไข่ นาฬิกาจับเวลา หรือโทรศัพท์ก็ได้ ตั้งเวลาไว้ 5 หรือ 10 นาที เลือกสถานที่ที่บรรยากาศสงบและไม่มีสิ่งที่ทำให้เสียสมาธิ ปิดเสียงโทรศัพท์มือถือ อย่าใช้คอมพิวเตอร์หรือแท็บเล็ต เพราะว่ามันมีสิ่งที่ทำให้คุณวอกแวกมากเกินไป! [9]
  2. นั่งลงในท่าสบายและหายใจลึกๆ เพื่อตั้งสมาธิ เริ่มจับเวลาและเริ่มลงมือเขียน การเขียนแบบกระแสสำนึกจะไม่มีการกำหนดหัวข้อไว้ก่อน แต่จะปล่อยให้ความคิดผุดขึ้นมาตามธรรมชาติจากความคิดหนึ่งไปสู่อีกความคิดหนึ่ง ในขณะที่ความคิดแล่นเข้ามาในหัว ให้บันทึกลงบนกระดาษ อย่าเลี่ยงที่จะไม่เขียนถึงความคิดทั่วไปหรือไม่สนใจความคิดแปลกๆ เพราะความคิดเหล่านี้อาจจะผุดขึ้นมาจากจิตใต้สำนึก อย่าตัดสินความคิดหรือหยุดเพื่อวิเคราะห์ แค่เขียนลงไป บันทึกความคิดต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าเครื่องจับเวลาจะดัง [10]
  3. เมื่อจบช่วงการเขียน ให้อ่านความคิดของคุณ ทบทวนคำพูดของตัวเอง หาความคิดที่เกิดขึ้นซ้ำๆ หรือคำที่ฟังดูแปลกๆ พยายามหาความเชื่อมโยงระหว่างความคิด 2 ความคิดที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง สังเกตความคิดที่อาจมาจากจิตใต้สำนึก ขณะที่คุณทำแบบฝึกนี้ ให้อ่านงานเขียนก่อนหน้าของคุณด้วย ติดตามพัฒนาการการเขียนแบบกระแสสำนึกและประเมินว่าจิตใต้สำนึกของคุณปรากฏขึ้นมาแล้วหรือยัง [11]
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

ฝึกวิเคราะห์ความฝัน

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนผล็อยหลับไป ให้วางดินสอหรือปากกากับสมุดบันทึกไว้ข้างเตียง เวลาที่ตื่นขึ้นมาตอนเช้าหรือช่วงที่ตื่นระหว่างหลับตอนกลางคืน ให้บันทึกความฝันลงในสมุดบันทึก บันทึกทุกรายละเอียดของความฝันเท่าที่คุณนึกได้ จดรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ไม่ว่ามันจะดูไม่น่าสนใจหรือไม่สำคัญก็ตาม ถ้าคุณบันทึกความฝันมาแล้วสักพัก ให้สังเกตหัวข้อความฝัน ตัวละคร หรือสิ่งของที่ฝันถึงซ้ำๆ
    • จิตใต้สำนึกจะแสดงออกในรูปของความฝัน ดังนั้นการบันทึกและศึกษาความฝันจะทำให้คุณสามารถเข้าถึงจิตใต้สำนึกได้ [12]
  2. พิจารณาว่าความฝันสำคัญหรือไม่และจัดประเภทความฝัน. ความฝันที่ไม่สำคัญจะประกอบไปด้วยมุมมองของสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ความฝันของคุณอาจจะมีองค์ประกอบของกลิ่น เสียง และการกระทำทางกายภาพเกิดขึ้นรอบตัวคุณ แต่ความฝันที่สำคัญจะมาจากจิตใต้สำนึก ไม่ได้เป็นความฝันทั่วไปแต่มักจะเป็นความฝันที่แปลก น่าพิศวง หรือให้ความกระจ่าง ถ้าความฝันของคุณเป็นความฝันที่สำคัญ ให้พิจารณาว่าความฝันจากจิตใต้สำนึกนี้จัดอยู่ในประเภทไหน เป็นฝันบอกเหตุที่บอกรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอนาคต หรือความฝันนั้นเป็นคำเตือนหรือเปล่า ความฝันนั้นเป็นข้อเท็จจริงหรือไม่ แล้วมันยืนยันสิ่งที่คุณรู้อยู่แล้วใช่ไหม ความฝันสร้างแรงบันดาลใจหรือเติมเต็มความปรารถนาอย่างใดอย่างหนึ่งของคุณหรือเปล่า ความฝันเติมเต็มความปรารถนาหรือความต้องการที่จะประนีประนอมกับใครหรืออะไรหรือไม่ [13]
    • ความฝันที่ชัดเจนมักจะมีความสำคัญมากกว่า
  3. 3
    ตีความความฝันที่สำคัญ. ถึงคุณจะไม่ได้เป็นมืออาชีพ คุณก็สามารถวิเคราะห์ความฝันของตัวเองได้! ทั้งหมดที่คุณต้องทำคือใช้ความพยายามและการค้นคว้าแค่นิดหน่อย ซึ่งแหล่งข้อมูลที่มีประโยชน์เหล่านี้อยู่ในอินเทอร์เน็ตและในห้องสมุดท้องถิ่น! เวลาวิเคราะห์ความฝัน ให้ตีความโดยรวม แต่ละรายละเอียดที่คุณระลึกได้มีความสำคัญและจะทำให้คุณตีความความฝันได้มากขึ้นและเข้าใจจิตใต้สำนึกของตัวเองมากขึ้นด้วย ถ้าพจนานุกรมความฝันให้นิยามสัญลักษณ์ได้ไม่เพียงพอ ให้ลองตีความความฝันจากบริบทของชีวิตคุณเอง พยายามพิจารณาจากตัวเองว่า ทำไมภาพ คน หรือสิ่งนี้ถึงมาปรากฏในความฝันของคุณ [14]
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 15,099 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา