ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ความดันชีพจร คือ ความแตกต่างระหว่างความดันช่วงหัวใจบีบตัวและความดันช่วงหัวใจคลายตัว โดยทั่วไปจะเห็นเป็นตัวเลขสองตัวที่ระบุความดันโลหิตของคุณ (กล่าวคือ 120/80 ตามลำดับ) เลขตัวบน (ตัวที่สูงกว่าจากค่าทั้งสอง) คือความดันช่วงหัวใจบีบตัวและแสดงถึงความดันในหลอดเลือดแดงตอนที่หัวใจส่งเลือดในระหว่างการหดตัว (การเต้นของหัวใจ) เลขตัวล่าง (ตัวที่ต่ำกว่าจากค่าทั้งสอง) คือความดันช่วงหัวใจคลายตัวและแสดงถึงความดันในหลอดเลือดแดงระหว่างการหดตัว (ระหว่างการเต้นของหัวใจ) การวัดนี้สามารถช่วยระบุว่าคุณมีความเสี่ยงกับปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดหัวใจและเหตุการณ์เกี่ยวกับหลอดเลือดที่หล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดสมองได้ [1] ความดันชีพจรจะถูกกำหนดจากสองค่า (ค่าช่วงหัวใจบีบตัวและค่าช่วงหัวใจคลายตัว) ที่อ่านได้ตอนวัดความดันโลหิต กล่าวคือความแตกต่างระหว่างเลขตัวบนและเลขตัวล่างของความดันโลหิตของคุณ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

การวัดความดันโลหิตของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การวัดความดันโลหิตแบบเดิมโดยใช้สายพันแขน หูฟัง และมาตรความดันโลหิตแบบอนาล็อกอาจจะใช้การฝึกฝนและต้องการคำแนะนำและประสบการณ์ บางคนใช้เครื่องอัตโนมัติที่ร้านขายยาเพื่อวัดความดันโลหิตของพวกเขา
    • เมื่อซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตสำหรับใช้ที่บ้าน ให้แน่ใจว่าสายพันแขน (สิ่งที่พันรอบแขนของคุณ) พอดีกับคุณ คุณสามารถอ่านหน้าจอได้ง่าย และสามารถจ่ายไหว แผนประกันจำนวนมากจะช่วยจ่ายสำหรับเครื่องตรวจวัดความดันโลหิตด้วย เครื่องเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นแบบอัตโนมัติ คุณแค่ใส่สายพันแขน กดปุ่มสตาร์ท และรอผลของคุณได้เลย [2]
    • หลีกเลี่ยงน้ำตาล คาเฟอีน และความเครียดมากเกินไปก่อนที่จะวัดความดันโลหิตของคุณ สิ่งกระตุ้นทั้งสามตัวนี้จะเพิ่มความดันโลหิตของคุณให้สูงขึ้นและให้ค่าตัวเลขที่อ่านจากอุปกรณ์ได้ไม่ถูกต้อง
    • ถ้าหากคุณยืนยันที่จะวัดความดันโลหิตของคุณเองที่บ้าน ให้ทำสามครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะทำได้ถูกต้อง ให้แน่ใจว่าคุณนั่งสบายๆ ผ่อนคลาย และแขนของคุณอยู่ที่หรือใกล้ระดับหัวใจของคุณ [3]
    • พึงสังเกตว่าเครื่องส่วนใหญ่ต้องมีการปรับตั้งค่ามาตรฐาน เพื่อที่จะทราบว่าอุปกรณ์ความแม่นยำหรือไม่นั้นก็ควรจะนำไปตรวจสอบที่สำนักงานแพทย์ปีละครั้งและเปรียบเทียบกับเครื่องวัดความดันโลหิตเพื่อความแม่นยำ
  2. เอาเป็นว่า 110/68 เป็นค่าความดันโลหิตของคุณที่อ่านได้จากอุปกรณ์ เป็นความคิดที่ดีที่จะบันทึกค่าเหล่านี้ไว้ที่ไหนสักแห่งเพื่อให้คุณสามารถติดตามความผันผวนของความดันโลหิตของคุณได้
    • เนื่องจากความดันโลหิตของคุณสามารถผันผวนได้ตลอดทั้งวัน คุณอาจจะต้องการวัดค่าตัวเลขที่อ่านได้จากอุปกรณ์หลายครั้งในช่วงเวลาที่แตกต่างกันตลอดทั้งวัน (ตลอดช่วงเวลาสองถึงสามสัปดาห์เพื่อความแม่นยำที่สุด) และค่าเฉลี่ยของจำนวนตัวเลขที่อ่านได้จากอุปกรณ์เหล่านี้
  3. ลบตัวเลขช่วงหัวใจบีบตัวออกจากตัวเลขช่วงหัวใจคลายตัวเพื่อให้ได้ความดันชีพจรของคุณ. ในตัวอย่างนี้คุณต้องลบ 68 ออกจาก 110 ดังนั้นความดันชีพจรของคุณก็คือ 42 [4]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

การแปลผลลัพธ์ของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตรวจสอบว่าความดันชีพจรของคุณอยู่ในช่วงที่ปลอดภัยหรือไม่. แม้ว่าคนในวัยและเพศที่แตกต่างกันจะมีความดันชีพจรแตกต่างกันเล็กน้อยก็ตาม แต่วงการแพทย์ได้ตั้งอัตราส่วนพื้นฐานไว้
  2. โทรตามแพทย์ถ้าหากความดันชีพจรของคุณมีค่าเกิน 60 มิลลิเมตรปรอท. ความดันชีพจรที่สูงกว่า 60 จะถือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหลอดเลือดสมอง และปัญหาโรคหัวใจและหลอดเลือดทั่วไป เช่น ความดันโลหิตสูง ความดันชีพจรที่สูงขึ้นอาจจะหมายถึงว่าลิ้นหัวใจของคุณนั้นไม่ได้ทำงานอย่างถูกต้องในการป้องกันการไหลย้อนกลับของเลือด และหัวใจของคุณอาจจะไม่ได้สูบฉีดเลือดไปข้างหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ (ลิ้นหัวใจรั่ว) [6]
    • ความดันโลหิตตัวบนสูงเกิดขึ้นเมื่อความดันโลหิตของคุณช่วงหัวใจบีบตัวเพิ่มขึ้นสูงเกินกว่า 140 และความดันช่วงหัวใจคลายตัวของคุณนั้นอยู่ค่อนข้างคงเดิม (ต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท) มียาหลายอย่างที่แพทย์อาจจะสั่งให้คุณเพื่อช่วยในภาวะนี้ [7]
    • บ่อยครั้งที่ความเครียดทางอารมณ์และทางกายภาพสามารถทำให้ความดันชีพจรเพิ่มขึ้นได้อย่างมากเช่นกัน ความเครียดสามารถทำให้ความดันชีพจรเพิ่มขึ้นอย่างมาก [8]
  3. ติดต่อแพทย์ถ้าหากความดันชีพจรของคุณนั้นต่ำกว่า 40 มิลลิเมตรปรอท. ความดันชีพจรที่ต่ำกว่า 40 อาจจะบ่งชี้ว่าการทำงานของหัวใจของคุณนั้นแย่ โดยมีหลายสภาวะที่สามารถก่อให้เกิดปัญหานี้ได้
    • ลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่วเกิดขึ้นเมื่อมีปัญหากับลิ้นหัวใจเอออร์ติก ซึ่งเป็นผลมาจากการไหลกลับของเลือดเข้าสู่หัวใจห้องล่างซ้าย นี่จะลดความดันช่วงหัวใจคลายตัว ถ้าคุณมีภาวะนี้จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด [9]
    • หัวใจล้มเหลว ไตวาย เบาหวาน และระดับของโซเดียมในเลือดต่ำ ทั้งหมดนี้สามารถก่อให้เกิดความดันโลหิตต่ำได้ [10] ปรึกษาแพทย์ของคุณเพื่อรับการวินิจฉัยโดยเฉพาะเจาะจง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ความดันชีพจรเป็นเพียงแค่ตัวชี้บอกของจำนวนปัญหาที่เป็นไปได้เกี่ยวกับหัวใจและระบบไหลเวียนเลือดของคุณ มันไม่ได้วินิจฉัยโรคที่เฉพาะเจาะจงใดๆ โดยตรง แต่ได้รับการแสดงในงานวิจัยจำนวนมากในการเป็นตัวชี้บอกที่ดีว่ามีปัจจัยเสี่ยงเกิดขึ้นและควรทำการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับหัวใจอย่างครบถ้วนต่อไป [11]
โฆษณา
  1. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2879196/
  2. Pulse Pressure Changes With Six Classes of Antihypertensive Agents in a Randomized, Controlled Trial William C. Cushman, Barry J. Materson, David W. Williams, Domenic J. Reda, for the Veterans Affairs Cooperative Study Group on Antihypertensive Agen

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 35,189 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา