ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การดึงฟันออกและการถอนฟันจำเป็นต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญทางทันตกรรมที่ผ่านการฝึกแล้ว ในกรณีส่วนใหญ่ควรจะปล่อยให้ฟันหลุดเองตามธรรมชาติ หรือนัดพบทันตแพทย์เพื่อให้เขาจัดการให้ การถอนฟันออกโดยทันตแพทย์ที่มีผู้ช่วยซึ่งผ่านการฝึกอย่างถูกต้องและอุปกรณ์ทางทันตกรรมพร้อมย่อมดีกว่าการดึงฟันออกด้วยตัวเองที่บ้าน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

นำฟันน้ำนมออก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทันตแพทย์ส่วนใหญ่จะแนะนำไม่ให้พ่อแม่ทำอะไรก็ตามที่เป็นการเร่งให้ฟันหลุด [1] หากฟันหลุดก่อนเวลาอันควรก็อาจทำให้ฟันที่จะขึ้นมาแทนที่มีปัญหาได้ การดึงฟันออกก่อนเวลาเป็นการสร้างความเจ็บปวดที่ไม่จำเป็น
  2. ฟันและเหงือกรอบๆ จะต้องดูสุขภาพดีและไม่มีการผุหรือติดเชื้อ หากฟันผุ คุณอาจจะต้องให้ทันตแพทย์เป็นคนถอนออก
  3. หากต้องการให้ฟันหลุด ก็ให้เด็กดุนฟันด้วยลิ้นเท่านั้น. ไม่ใช่พ่อแม่ทุกคนจะอนุญาตให้เด็กโยกฟันเอง แต่ถ้าจะทำ ก็ควรแนะนำให้เด็กดุนฟันด้วยลิ้น เท่านั้น เนื่องจากมีเหตุผลดังนี้:
    • การใช้มือโยกอาจจะเป็นการเพิ่มความสกปรกและนำแบคทีเรียเข้าสู่ช่องปากได้ ซึ่งจะทำให้ติดเชื้อตามมา เด็กเองก็อาจจะทำความสะอาดช่องปากได้ไม่ดีพอ ซึ่งจะทำให้สุขอนามัยทางช่องปากแย่ได้
    • การใช้ลิ้นดุนจะเบากว่าการใช้มือ เด็กอาจจะเผลอดึงฟันหลุดก่อนเวลาได้ถ้าเขาใช้มือ การใช้ลิ้นดุนจะเสี่ยงน้อยกว่า เพราะลิ้นไม่สามารถยึดฟันได้เหมือนกับการใช้นิ้วสองนิ้วจับ
  4. ฟันแท้จะขึ้นหลังฟันน้ำนม บางครั้งก็จะเหมือนฟันฉลามเพราะขึ้นซ้อนกัน ซึ่งเป็นอาการปกติทั่วไปที่สามารถแก้ได้ ตราบใดที่ทันตแพทย์ถอนฟันน้ำนมออกและเตรียมพื้นที่ไว้มากพอที่ฟันแท้จะเคลื่อนเข้าสู่ตำแหน่งได้ มันก็จะไม่เป็นปัญหา
  5. หากเด็กปล่อยให้ฟันหลุดเอง เลือดก็จะไหลออกจากแผลน้อย. เด็กที่รอจนกว่าจะถึงเวลาที่ฟันจะหลุดเอง (บางครั้งก็อาจนาน 2 ถึง 3 เดือน) จะมีเลือดออกจากแผลน้อย
    • หากการโยกหรือดึงฟันทำให้มีเลือดออกมาก ก็ควรแนะนำให้เด็กหยุดโยก ฟันอาจจะยังไม่พร้อมที่จะหลุด และคุณก็ไม่ควรทำให้อาการมันแย่ลง
  6. หากฟันยังโยกอยู่ แต่ยังไม่หลุดหลังจากผ่านไป 2 ถึง 3 เดือนแล้ว ก็ให้ไปพบทันตแพทย์. เขาจะให้ยาชากับคุณและถอนฟันด้วยเครื่องมือที่เหมาะสม
  7. เมื่อฟันหลุดออกเอง ให้ประคบผ้าก๊อซตรงจุดที่ฟันหลุด. บอกให้เด็กกัดผ้าก๊อซเบาๆ เลือดจะเริ่มแข็งตัวและปิดปากแผล
    • หากเลือดที่แข็งตัวตรงแผลหลุด การติดเชื้อก็อาจเกิดขึ้นได้ อาการนี้เรียกว่ากระดูกเบ้าฟันอักเสบ และมักจะมีกลิ่นเหม็นเน่าตามมา [2] ปรึกษาทันตแพทย์หากคุณคิดว่าเลือดไม่แข็งตัวตามที่มันควรจะเป็น
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ถอนฟันแท้ออก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ฟันแท้จะอยู่กับคุณไปตลอดชีวิตถ้าคุณดูแลมันดี แต่ถ้าคุณจำเป็นต้องถอนมันออก ก็อาจจะเป็นเพราะสาเหตุดังนี้:
    • ฟันไม่มีที่อยู่ ฟันที่ขึ้นก่อนหน้าอาจจะเบียดกันจนไม่มีที่ว่างพอจะให้ฟันที่ขึ้นทีหลังเคลื่อนเข้าสู่ตำแหน่งได้ ทันตแพทย์อาจจะต้องถอนฟันออกในกรณีนี้
    • ฟันผุหรือติดเชื้อ หากอาการติดเชื้อในฟันลามไปถึงเนื้อฟัน ทันตแพทย์อาจจะต้องให้ยาปฏิชีวนะหรือรักษารากฟัน หากการรักษารากฟันไม่ได้ผล ทันตแพทย์ก็อาจจะต้องถอนฟันออก
    • ช่วยระบบภูมิคุ้มกัน หากคุณเพิ่งปลูกถ่ายอวัยวะหรือทำเคมีบำบัดมา การติดเชื้อก็อาจจะทำให้แพทย์ต้องถอนฟันออก [3]
    • โรคเหงือกอักเสบ โรคนี้คือการติดเชื้อของเนื้อเยื่อและกระดูกรอบๆ ฟัน หากโรคเหงือกอักเสบลามมาถึงฟัน ทันตแพทย์ก็อาจจะต้องถอนมันออก
  2. อย่าพยายามถอนฟันด้วยตัวเอง การถอนฟันออกโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญปลอดภัยกว่าการดึงออกด้วยตัวเอง และยังเจ็บน้อยกว่าอีกด้วย
  3. ทันตแพทย์อาจจะต้องเปิดเหงือกบางส่วนเพื่อนำฟันออก ในกรณีรุนแรงทันตแพทย์ก็ต้องถอนฟันออกมาทั้งซี่ [3]
  4. เลือดที่แข็งตัวเป็นสัญญาณว่าฟันและเหงือกรอบๆ กำลังฟื้นตัว ประคบผ้าก๊อซตรงส่วนที่ถอนฟันออกและกัดผ้าเบาๆ เลือดใหม่จะเริ่มแข็งตัวปิดปากแผล
    • หากเลือดที่แข็งตัวตรงแผลหลุด การติดเชื้อก็อาจเกิดขึ้นได้ อาการนี้เรียกว่ากระดูกเบ้าฟันอักเสบ และมักจะมีกลิ่นเหม็นเน่าตามมา [2] ปรึกษาทันตแพทย์หากคุณคิดว่าเลือดไม่แข็งตัวตามที่มันควรจะเป็น
    • หากคุณต้องการลดอาการบวม ให้ประคบถุงน้ำแข็งที่กรามด้านนอกใกล้กับจุดที่ถอนฟัน เหงือกจะบวมน้อยลง น้ำแข็งจะทำให้ชาและบรรเทาอาการปวด
  5. หลังจากถอนฟันแล้ว ก็ควรดูแลและปล่อยให้เลือดแข็งตัวรักษาแผล. โดยทำได้ดังนี้:
    • อย่ากลั้วหรือบ้วนปากแรงไป และพยายามอย่าใช้หลอดดูดน้ำใน 24 ชั่วโมงแรก
    • เมื่อผ่านไป 24 ชั่วโมง ให้กลั้วปากเบาๆ ด้วยน้ำเกลือที่ผสมจากเกลือ 1/2 ช้อนชา และน้ำอุ่นประมาณ 230 มิลลิลิตร
    • อย่าสูบบุหรี่
    • กินอาหารอ่อนและเหลวในช่วงสองสามวันแรก หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่แข็งและกรอบซึ่งต้องเคี้ยวมาก
    • ขัดและแปรงฟันตามปกติ แต่อย่าขัดหรือแปรงในจุดที่เพิ่งถอนฟันมา
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ดึงฟันออกด้วยของใช้ในบ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้ผ้าก๊อซแก่คนที่จะดึงฟันออก และให้เขาถือผ้าก๊อซไว้ใกล้ๆ ฟัน
    • ค่อยๆ โยกฟันกลับไปมา จากอีกด้านสู่อีกด้านหนึ่ง จำไว้เสมอว่าจะต้องทำอย่าง "เบามือ"
    • หากมีเลือดออกมาก ก็ให้หยุดโยกฟันก่อน การที่เลือดออกมากมักจะเป็นสัญญาณบอกว่าฟันยังไม่พร้อมจะหลุด
    • โยกฟันขึ้นอย่างช้าๆ และมั่นคง จนกว่าเอ็นที่ยึดฟันกับเหงือกจะขาด แต่ถ้ารู้สึกเจ็บหรือมีเลือดออกมาก ก็ให้หยุดก่อน
  2. การกัดแอปเปิลก็สามารถช่วยให้ฟันหลุดได้ โดยเฉพาะฟันน้ำนมในเด็ก การกัดแอปเปิลจะได้ผลกับฟันหน้ามากกว่าฟันที่อยู่ลึกข้างใน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คุณสามารถดันมันได้ แต่อย่าดันแรงไปล่ะ!
  • หากคุณพยายามดึงมันและรู้สึกเจ็บ ก็ให้หยุดและลองใหม่ทีหลัง เพราะฟันของคุณอาจจะยังไม่พร้อมจะหลุด
  • อย่าฝืนดึงฟันออก เพราะถ้าคุณรอให้มันหลุดเอง มันจะไม่เจ็บมากและเลือดจะไหลออกไม่มากด้วย
  • บิดช้าๆ เบาๆ
  • หากฟันไวต่อความรู้สึกมาก ก็อย่าพยายามถอนมันออก เพราะเส้นประสาทยังคงติดอยู่กับฟัน การดึงฟันออกอาจจะสร้างความเสียหายให้เส้นประสาทและทำให้เกิดการติดเชื้อได้
  • สำหรับเด็ก: หากยังมีเลือดออกหลังจากที่บ้วนปากแล้ว ก็ให้บอกพ่อแม่และไปพบทันตแพทย์
  • ขั้นตอนเหล่านี้จะใช้ได้ผลดีก็ต่อเมื่อฟันไม่ได้ยึดติดกับกระดูกแล้วและถูกยึดไว้ด้วยเหงือกเท่านั้น ฟันที่อยู่ในระยะนี้จะสามารถโยกไปได้ทุกทางและอาจจะรู้สึกปวด
  • โยกฟันไปมาอย่างช้าๆ
  • ปรึกษาทันตแพทย์หากจำเป็นจะต้องถอนฟัน แต่ถ้าไม่ ก็อย่าพยายามฝืนดึงมันออก
  • ดันฟันไปข้างหลัง โยก และบิดถ้าจำเป็น ฟันจะหลุดออกอย่างรวดเร็ว!
  • หากฟันแท้กินเนื้อฟันน้ำนม ให้ไปพบทันตแพทย์ เพราะอาจจำเป็นต้องถอนฟันออก
  • หลังจากที่เลือดแข็งตัว ก็อย่าสัมผัสบริเวณแผล เพราะจะทำให้เลือดออกได้อีก
โฆษณา

คำเตือน

  • หากคุณสงสัยว่าตัวเองติดเชื้อ ก็ให้พบทันตแพทย์ทันที การปล่อยอาการติดเชื้อให้คงอยู่ต่อไปโดยไม่รักษาอาจจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงกว่าตามมา
  • การดึงฟันออกแตกต่างจากการรักษาฟันหักหรือฟันร่วง ทั้งฟันแท้และฟันน้ำนม หากฟันน้ำนมเสียหายจากอาการบาดเจ็บทางร่ายกาย (ฟันร่วง) และหัก ก็อย่าใช้ขั้นตอนด้านบนนี้
  • หากคุณเป็นผู้ใหญ่หรือวัยรุ่นที่มีฟันโยก ก็ให้พบทันตแพทย์ทันที เขาจะวินิจฉัยอาการได้ และจะแนะนำไม่ให้ดึงฟันออกเองเพราะมีความเสี่ยง
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,519 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา